การบูร ณา การหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอ เพียง กับการจัดการ เรียน รู้

การบูร ณา การหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอ เพียง กับการจัดการ เรียน รู้

แนวทางในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาสาระท่ีกำหนดไว้ในหักสูตร ให้สอคล้องกับวิถีของผู้เรียน มีแนวทางการดำเนินการดังนี้

­

๑.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเน้นการฝึกทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหา เริ่มจากชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก

๒.จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติจริง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ทั้งในรูปของการทำโครงการ โครงงานและอื่น ๆทั้งการศึกษารายบุคคลและเป็นกลุ่ม

­

๓. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน

๑. ความรู้

๒. ทักษะกระบวนการ

๓.คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๑. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข )

๒.ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ " อยู่อย่างพอเพียง "

๓. บูรณาการการเรียนรู้ทุกกลุ่มบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

๔. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕.วิเคราะห์การเตรียมการสอนของครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๖. วิเคราะห์การเรียนรู้การอยู่อย่างพอเพียงจากการถอดบทเรียน

๗. ประเมินผลัพธ์ ของแผนการจัดการเรียนรู้ด้าน ( KPA )

­

การบูร ณา การหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอ เพียง กับการจัดการ เรียน รู้

โครงการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนผ่านสถานศึกษา

กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ

การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ตามที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล ตระหนักถึงความสำคัญใน "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ว่าเป็น "เครื่องมือ" สำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ มูลนิธิฯ จึงได้จัดตั้ง "โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และร่วมมือกับโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2548 – ปัจจุบัน โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมา มูลนิธิฯ พบว่า การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดอุปนิสัยพอเพียงได้เป็นอย่างดี

   ในขณะที่ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูล-จังหวัดตรัง ได้ร่วมกับทีมขับเคลื่อนโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล-ตรัง ได้นำกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในรูปแบบโครงงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ถึงประสงค์ 8 ประการ จนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

   มูลนิธิฯ ร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  “การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน” ให้กับผู้บริหารและครู ของเครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัวหวัดสตูล – ตรัง จำนวน 15 โรงเรียน ขึ้นในวันที่ 3-5 กันยายน 2555 ณ โรงแรมหาดใหญ่ ฮอลิเดย์ จ.สงขลา ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับการจัดการเรียนการสอนของเครือข่ายโรงเรียนวิจัยฯ ให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น

 วัตถุประสงค์  :

1.เพื่อให้ผู้บริหาร และครู เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง ได้เข้าใจคุณค่า ความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อการบ่มเพาะอุปนิสัยพอเพียงให้กับผู้เรียน

2.เพื่อให้ผู้บริหาร และครู สามารถนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปออกแบบจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้

  กลุ่มเป้าหมาย

•  ผู้อำนวยการ  15  คน

•  ครูแกนนำ  36  คน

•  พี่เลี้ยง  7  คน

  รวม  56  คน

 ผู้เข้าร่วมเวที

•  เจ้าหน้าที่มูลนิธิสยามกัมมาจล  5  คน

•  ทีมวิทยากรกระบวนการ  3  คน

•  ทีมคุณลิขิต (คิด ค้น คว้า )  4  คน

  รวม  12  คน

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 1.ผู้บริหารและครู  ในเครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง มีความเข้าใจในคุณค่า ความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อการบ่มเพาะอุปนิสัยพอเพียงให้กับผู้เรียน และสามารถนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปออกแบบจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้

 2.มูลนิธิสยามกัมมาจล และเครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่นฯ มีแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเยาวชนโดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาร่วมกัน

ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม

"ขออภัย"

ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้