เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

การเงิน

จัดการ 'ภาษีบุคคลธรรมดา' ฉบับเข้าใจง่าย กรณีมีรายได้เงินปันผล

เปิดวิธีจัดการและยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ฉบับเข้าใจง่ายๆ ในกรณีที่มีรายได้ประเภท "เงินปันผลจากหุ้น"

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเรามีรายได้ประเภทเงินปันผลจากหุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เงินปันผลจากหุ้นดังกล่าว ในทางภาษีถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 4 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เงินได้ประเภทเงินปันผล กฎหมายบังคับให้ผู้มีเงินได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 เสมอ แต่เมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว จะมีสิทธิเลือกเสียภาษีได้ 2 วิธี คือ

1) ใช้เลือกสิทธิ Final Tax ซึ่งสิทธิ Final Tax คือการที่เราได้รับเงินได้และถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้แล้ว จะถือว่าเราได้เสียภาษีไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องนำมายื่นรวมคำนวณฯ ตอนปลายปีในแบบ ภงด.90/91 อีก เช่น ได้รับเงินปันผลมา 100 บาท จะถูกหักภาษีไป 10% หรือ 10 บาท แปลว่าเราได้รับเงินได้สุทธิหลังหักภาษีมาเท่ากับ 90 บาทและเราก็ไม่ต้องนำไปยื่นภาษีอีก

2) ไม่ใช้สิทธิ Final Tax แต่เลือกเอาเงินได้ปันผล 100 บาทที่ถูกหักภาษีไว้ 10% มาเลือกรวมคำนวณฯ กับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90/91) ตอนปลายปี (แม้จะได้รับเงินปันผลสุทธิที่ 90 บาท แต่ปลายปีถือว่ามีเงินได้ปันผล 100 บาทที่เราจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบฯ)

โดยหลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มจากนำรายได้ที่เราได้รับ เช่น รายได้จากเงินปันผล 100 บาทที่เกิดในปีภาษีนั้น หัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน จะได้ “เงินได้สุทธิ” ซึ่งตัวเงินได้สุทธิตัวนี้ จะเป็นตัวที่เรานำไปคูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัจจุบันอยู่ในช่วง 5%-35% เมื่อคำนวณแล้วเสร็จได้จำนวนภาษีที่ต้องเสียเท่าไหร่ เราสามารถนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้ถูกหักไว้ 10% จากเงินได้ปันผลที่ได้รับมาใช้ หักออกจากภาษีที่คำนวณได้

นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับเงินปันผลรับที่ได้จากหุ้นนั้น เราสามารถใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่กฎหมายภาษีกำหนดให้ผู้เสียภาษีได้รับ โดยถือว่าเงินได้ปันผลที่ได้รับนั้น ถูกจ่ายมาจากกำไรที่เคยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาแล้ว ทำให้ผู้รับเงินปันผลจะได้รับเงินคืนภาษีที่เคยได้เสียภาษีไปแล้วคืน เราเรียกเงินนี้ว่า เครดิตภาษีเงินปันผล อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นสิทธิประโยชน์คืนภาษี ในทางกฎหมายภาษีจะถือว่าเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งด้วย ดังนั้นเมื่อได้รับเงินคืนภาษีที่มาจากเครดิตภาษีเงินปันผลแล้ว เงินตรงนี้ก็จะถือเป็นเงินได้ ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมด้วย

ทั้งนี้ การใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลที่ได้อธิบายไปข้างต้นนั้น จะไม่รวมถึงเงินปันผล(ส่วนแบ่งกำไร)ที่ได้รับจากกองทุนรวม ซึ่งจะไม่สามารถใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลนี้ได้

สำหรับประเด็นที่ว่า ควรเลือกใช้สิทธิ Final Tax และไม่ต้องนำมายื่นรวมคำนวณฯ ตอนปลายปีในแบบ ภงด.90/91 หรือ ควรเลือกนำเงินปันผลที่ได้รับนี้มารวมคำนวณฯ เพื่อยื่นภาษีตอนปลายปี ตรงนี้ผู้เสียภาษีควรจะต้องนำมาลองคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาก่อน หากต้องการเลือกรวมคำนวณฯ รวมกับเงินได้ประเภทอื่นตอนปลายปีในแบบ ภงด.90/91 ผู้เสียภาษีควรจะต้องพิจารณาดูว่าการเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลที่ได้รับจากหุ้นนั้น ช่วยให้ท่านขอคืนภาษีได้มากขึ้นหรือช่วยให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่เสียภาษีในฐานภาษีที่ค่อนข้างสูงเช่น 30%-35% ขึ้นไปแล้วนั้น

การเลือกนำกลุ่มเงินปันผลมารวมกับคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นตอนปลายปีในแบบ ภงด.90/91 อาจทำให้ท่านมีภาระภาษีต้องเสียภาษีมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้อาจพิจารณาเลือกใช้สิทธิ Final Tax อาจจะเป็นการดีกว่า แต่อย่างไรก็ดี สำหรับผู้เสียภาษีในฐานภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า 30% ควรลองคำนวณฯ เปรียบเทียบเพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้ว่า ควรจะเลือกเป็น Final tax หรือเลือกนำมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบฯตอนปลายปีแบบไหนจะดีกว่ากัน

ข้อสังเกตและประเด็นที่ต้องระวังอีกประการ ก็คือในปัจจุบันเงินปันผลที่ได้รับจากหุ้นรวมถึงส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกันแล้ว ดังนั้นหากเราเลือกใช้สิทธิ Final Tax กับเงินได้ประเภทนี้ ก็จะต้องใช้วิธี Final Tax กับทุกจำนวนเงินได้ที่ได้รับในกลุ่มประเภทเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แต่หากจะเลือกรวมคำนวณฯ (ไม่ใช้สิทธิ Final Tax) ก็ต้องปฏิบัติกับทุกจำนวนเงินได้ที่ได้รับจากเงินได้ประเภทดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพราะถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน

จากบทความในตอนนี้คงจะพอได้แนวทางเพื่อนำไปใช้พิจารณาเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนที่กำลังพิจารณาเรื่องผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการภาษี แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า สวัสดีครับ

เงินได้ที่มีการเสียภาษีสุดท้าย (Final Tax) คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้


ปัจจุบัน  Final Tax มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่

ประเภทเงินได้

เงินได้ตามมาตรา

อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ดอกเบี้ยต่างๆ (เช่น เงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้)

40 (4)

15%

ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตราสารหนี้

40 (4)

15%

กำไรจากการโอนขายตราสารหนี้

40 (4)

15%

เงินปันผล

40 (4)

10%

เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ได้ทางมรดก และไม่มุ่งค้าหรือหากำไร)

40 (8)

อัตราก้าวหน้า โดยสำนักงานที่ดินคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

ดังนั้นกลยุทธ์สำคัญในการวางแผนภาษี คือ ต้องเข้าใจว่าตัวเองมีเงินได้อะไรบ้าง และมีเงินได้ใดที่ได้สิทธิ Final Tax ซึ่งหมายความว่าเราจะได้สิทธิในการนำเงินได้นั้นมารวมหรือไม่รวมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีนั่นเอง


การรวมรายได้ทุกประเภทที่ได้รับตลอดทั้งปีไปรวมยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความเสี่ยงที่จะมีเงินได้เพิ่มจนเกินอัตราภาษีที่เคยจ่าย เพราะอัตราภาษีไทยเป็นอัตราก้าวหน้า หมายความว่า ยิ่งมีรายได้มาก ยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น หากตัดภาระที่เสียภาษีระหว่างปีที่ได้รับสิทธิ Final Tax ออกไป จะทำให้ลดความยุ่งยากในการยื่นภาษี และทำให้เราเสียภาษีเงินได้น้อยลงอีกด้วย


เพื่อให้เห็นภาพ เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่าคุณมีรายได้จากเงินเดือนและโบนัสอยู่ที่ปีละ 1 ล้านบาท ระหว่างปีได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำ 10,000 บาท และได้ขายทาวน์เฮาส์ที่อาศัยมา 10 ปีได้ในราคา 2 ล้านบาท (มีราคาประเมิน 2 ล้านบาทเช่นกัน) เพื่อขยับขยายไปซื้อบ้านเดี่ยวชานเมือง คุณจะต้องวางแผนภาษีอย่างไร

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

ขั้นตอนแรก เรามาดูรายได้แต่ละประเภท และการคำนวณภาษีกันก่อนดีกว่า

รายได้จากเงินเดือนและโบนัส เป็นรายได้ในมาตรา 40(1) ซึ่งต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า มีวิธีคำนวณภาษี โดยสมมติว่าคุณมีซื้อประกันชีวิต 100,000 บาท มีการลงทุนใน RMF 50,000 บาท และจ่ายประกันสังคม 9,000 บาท ดังนี้

  • รายได้จากเงินเดือนและโบนัส

1,000,000 บาท

  • หัก ค่าใช้จ่าย (50% ของรายได้แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท)

100,000 บาท

  • หักค่าลดหย่อนตัวเอง

       60,000 บาท

  • หัก เบี้ยประกันชีวิต     

       100,000 บาท 

  • หัก ประกันสังคม

          9,000 บาท

  • หัก เงินลงทุนใน RMF

   50,000 บาท

เงินได้สุทธิ

               681,000 บาท

คำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าตามตาราง

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท)

อัตราภาษี

ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ(บาท)

ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)

0 – 150,000

ได้รับยกเว้น

0

0

150,001 – 300,000

5%

7,500

7,500

300,001 – 500,000

10%

20,000

27,500

500,001 – 750,000

15%

37,500

65,000

750,001 – 1,000,000

20%

50,000

115,000

1,000,001 – 2,000,000

25%

250,000

365,000

2,000,001 – 5,000,000

30%

900,000

1,265,000

> 5,000,000

35%

ดังนั้นจะเห็นว่าจากเงินได้สุทธิที่คำนวณได้ 681,000 บาท ทำให้คุณเสียภาษีอยู่ในอัตรา 15%

  • รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 10,000 บาท (มาตรา 40 (4)) จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% (เป็น Final Tax) จะเห็นว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่ากับอัตราภาษีที่คุณเสียอยู่ คือ 15% ดังนั้นเราจะเลือกใช้สิทธิ Final Tax
  • เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มุ่งค้าหากำไร (มาตรา 40 (8)) มีวิธีการคำนวณเพื่อเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยใช้ราคาประเมิน หักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง ดังนี้

ระยะเวลาการถือครอง (ปี)

1

2

3

4

5

6

7

มากกว่า 8 ปี

ค่าใช้จ่ายที่หักได้ (%)

92

84

77

71

65

60

55

50

หากอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้รับมาโดยทางมรดก หรือ รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50

  • จากตัวอย่าง ราคาประเมิน   2,000,000 บาท
  • หัก ค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง (> 8 ปี = 50%)  1,000,000 บาท      
       
  • เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย  1,000,000 บาท
  • เงินได้เฉลี่ยต่อปี (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง)        100,000 บาท
  • ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (0 – 300,000* เสียภาษี 5%)  5,000 บาท
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภาษีเงินได้เงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีที่ถือครอง)  50,000 บาท
  • เมื่อคิดย้อนไปที่เงินต้น 2,000,000 บาท เท่ากับเสียภาษีเพียง 2.5% ดังนั้นเราจะเลือกใช้สิทธิ Final Tax เพราะหากมารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปี จะทำให้ฐานรายได้ของคุณสูงขึ้น และคุณจะเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าที่สูงขึ้น

* การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ คำนวณตามอัตราก้าวหน้า และไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

ดังนั้นแม้ว่าคุณจะมีรายได้จาก 3 ทาง คือ รายได้จากการทำงานประจำ รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มุ่งค้ากำไร แต่คุณสามารถเลือกที่จะไม่นำรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มุ่งค้ากำไรมารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้ประจำปี เพราะจะทำให้คุณมีโอกาสเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง


แล้วกรณีไหนที่ควรเอามารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้ประจำปีล่ะ ก็กรณีที่คุณไม่มีรายได้ระหว่างปีเลย และมีเงินได้จากดอกเบี้ยสัก 300,000 บาทในปีนั้น หัก Final Tax 15% เสียทันที 45,000 บาท


ทว่าหากนำส่วนนี้ไปคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปีโดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หักค่าใช้จ่ายได้ 0 บาท (ดอกเบี้ยไม่มีหักค่าใช้จ่าย) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เหลือ 240,000 บาท คำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยที่เงินได้ 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้น และเมื่อเอา 90,000 บาทส่วนที่เกินไปคำนวณภาษี 5% ก็เท่ากับยื่นแบบเสียภาษีเพียง 4,500 บาท


สรุป สามารถขอคืนภาษีได้ 40,500 บาท หากไม่รู้หลักการนี้ และยอมให้หักภาษี 45,000 บาทไปเลย ก็จะไม่ได้เงินคืนภาษีตั้ง 40,500 บาท


ดังนั้นหลักการง่ายๆ ในการพิจาณาว่าจะใช้ Final Tax หรือไม่ คือ หากคุณมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีประจำปีในอัตราเท่ากับหรือสูงกว่าอัตรา Final Tax แล้วละก็ คุณเลือกเสีย Final Tax น่าจะดีกว่า แต่หากต้องการความถูกต้องแม่นยำ ให้ลองคำนวณทั้ง 2 แบบ แล้วเปรียบเทียบว่าวิธีไหนที่ทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากที่สุด


กล่าวโดยสรุป ผู้มีเงินได้ทุกคนสามารถบริหารภาษี และเสียภาษีน้อยลงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องรู้ 3 เรื่องได้แก่ เงินได้เรามีอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี.เงินได้อะไรบ้างที่สามารถเสียภาษีได้เลยตั้งแต่เมื่อได้รับ โดยไม่ต้องรวมปลายปี และเงินได้ที่ได้รับยกเว้นมีอะไรบ้างที่ไม่ต้องรวมในแบบ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


บทความโดย :  นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®  นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร