สรุปโครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

                จากการดำเนินงานตามโครงการจิตอาสา เรื่อง การดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คณะผู้จัดทำไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ล้วนแต่มาจากโรงเรียนและบ้านนักเรียนทั้งสิ้น ผลจากการดำเนินโครงการจิตอาสา เรื่อง การดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ทำกิจกรรมเกิดความสุขใจ เกิดความรู้จากสิ่งใหม่ๆ เกิดความสามัคคี ทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตใต้สำนึกตนเองให้รู้จักใส่ใจสิ่งรอบข้าง และดูแลรักษาความสะอาดรอบๆตัวทั้งในโรงเรียนและในชุมชน มีจิตใต้สำนึกในการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สืบไป

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อให้ชุมชนตำบลจะกวีะ มีสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่น่าอยู่ขึ้น 4.เพื่อให้ชุมชนตำบลจะกว๊ะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนตำบลจะกว๊ะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

จากกลุ่มเด็กนักเรียนแกนนำที่คุณครู ชักชวนเข้ามาร่วมทำโครงการสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหาขยะในโรงเรียนสันป่าไร่ จนเกิดเป็นธนาคารขยะขึ้นในโรงเรียน ซึ่งถือว่ากลุ่มนี้เกิดขึ้นจากเด็กเยาวชนที่เคยทำกิจกรรมร่วมกันมาก่อน จึงรวมตัวกันอีกครั้งในนามกลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนสันป่าไร่ เพื่อลุกขึ้นไปจัดการแก้ปัญหาขยะในชุมชน

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวมะลิวรรณ -               ประธานสภาเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

2.นางสาวพัชระ มันตาธรรม       รองประธานสภาเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

3.นางสาวสุภาภรณ์ คำอ่อน       เลขากลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.นางสาวจุฑาทิพย์ อินนุ่ม

5.นางสาวธนาภรณ์ ฟองตัน

6.นางสาวอทิตยา ปะระเขียว

7.ด.ญ.แพรพราว คีรีทับทิมกร

8.ด.ญ.นราภรณ์ ใจวงษ์แว่น

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบ้านห้วยแห้ง ตั้งอยู่ใน ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก สภาพพื้นที่ของชุมชนล้อมรอบไปด้วยภูเขามีทั้งชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและชนพื้นราบ อยู่อาศัย 40 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร มีวัฒนธรรมที่ผสมผสานทั้งสองวัฒนธรรม

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

สภาพปัญหาในชุมชนคือไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง โดยการมี อบต. มารับขยะทุกอาทิตย์แต่แต่ขยะมีจำนวนมากและไม่มีการแยกประเภทของขยะจึงก่อปัญหาขยะเน่าเหม็นส่งกลิ่นรบกวน เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ เนื่องจากหมู่บ้านห้วยแห้งเป็นหมู่ที่กำลังพัฒนาคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา มีรถเข้าไปรับชื้อขยะในหมู่บ้านนานๆครั้ง อีกทั้งคนในชุมชน ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะโดยไม่เลือกที่ เช่น บริเวณข้างถนน ในแม่น้ำลำคลองทำให้สภาพหมู่บ้าน และแม่น้ำลำคลองสกปรก ไม่สวยงาม ขยะเริ่มเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยเนื่องจากไม่มีใครสนใจ

­

ในฐานะที่เราเป็นกลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาขยะในชุมชนโดยการให้ความรู้วิธีการจัดการที่ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชน เนื่องจากเราได้รับรางวัลธนาคารขยะระดับภาค กิจกรรมการจัดการขยะในโรงเรียนมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการแยกขยะ จึงทำให้ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง กลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงต้องการต่อยอดไปยังชุมชนเพื่อให้ชุมชนสะอาดขึ้น

­

เป้าหมายของโครงการ

ชุมชนสะอาด บ้านเรือนน่าอยู่ทุกครัวเรือน คนในชุมชนดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คนในชุมชนมีการแยกขยะที่ถูกต้องทั้ง 40 ครัวเรือน ขยะลดน้อยลง

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  • แกนนำเยาวชนฯ หาข้อมูลและสำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชน (ปริมาณ ประเภทขยะ รูปแบบการจัดการขยะในชุมชน)
  • เผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการขยะ วิธีแยกขยะ ให้กับโรงเรียนสันป่าไร่ และโรงเรียนจาตุรจินดา
  • ลงพื้นที่พูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะ การจัดการและวิธีแยกขยะในหมู่บ้านห้วยแห้ง
  • พูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะ การจัดการขยะและวิธีการแยกกับขยะกับกลุ่ม อสม.
  • ให้คนในชุมชนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยเข้ามาเป็นคณะ เช่น อสม. และประชุมผู้ปกครอง
  • เดินรณรงค์พร้อมทั้งเก็บขยะและแจกแผ่นพับ
  • สร้างสื่อหนังสั้น
  • กิจกรรมแนะนำและพาชาวบ้านแยกขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน และตั้งธนาคารขยะในหมู่บ้าน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

  • กลุ่มเยาวชนฯ มีระบบการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน
  • แกนนำเยาวชน มีความเป็นผู้นำ มีทักษะการเก็บข้อมูล

.........................................................................................

สรุปโครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

นางสาวมะลิวรรณ - (มะเล) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันป่าไร่

ตำแหน่ง ประธานสภาเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

มะเลเป็นหัวหน้าโครงการที่คอยวางแผนการทำงานและแบ่งงานให้ทีมทำงาน มีความมั่นใจกล้าที่จะพูดสื่อสารต่อหน้าคนเยอะๆ และได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรให้ความรู้กับเยาวชนในพื้นที่เมื่อก่อนจะไม่ค่อยชอบเขียนบันทึกแต่ตอนนี้จะเขียนบันทึกในสิ่งที่พบเห็นทุกครั้ง

*******

สรุปโครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

นางสาวพัชระ มันตาธรรม (มึฉิ) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันป่าไร่

ตำแหน่ง รองประธานสภาเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

ได้แค่คิดว่าจะทำ แต่ไม่คิดว่าเราซึ่งเป็นเด็กตัวเล็กจะสามารถทำโครงการที่เปลี่ยนแปลงชุมชนทั้งชุมชนได้ เป็นคนขี้กลัวและไม่กล้าที่จะทำอะไร แต่พูดเยอะ ไม่ค่อยมีคนรู้จัก

มึฉิสะท้อนให้ฟังถึงสิ่งที่ได้ว่า “ได้ความเป็นผู้นำจากการร่วมทำงาน มีความกล้าแสดงออกและกล้าที่จะคิดมากขึ้นได้ลงมือทำงานซึ่งเป็นบทเรียนชีวิตที่ยิ่งใหญ่กับตัวเองได้ช่วยเหลือชาวบ้านและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนและชาวบ้าน”

*******

สรุปโครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

นางสาวสุภาภรณ์ คำอ่อน (เมย์) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันป่าไร่

ตำแหน่ง เลขานุการเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

“ได้เรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องจากการลงพื้นที่ รวมถึงรูปแบบในการสื่อสารออกมาในรูปแบบของวีดีโอ เทคนิคการจดรายละเอียดในการลงพื้นที่และเทคนิคการสอบถาม หาข้อมูล จัดทำสื่อ และได้ลงมือถ่ายทำ ตัดต่อออกมาให้ผู้อื่นได้ชม และนำไปเป็นสื่อการเรียนรู้ต่อได้ สามารถทำตามที่ตัวเองรับผิดชอบได้ และสามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้”