เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

วิดีโอ YouTube


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชพระผู้พระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
        เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้ เป็นอย่างดี


หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
        3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
            ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
            ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
            ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
        2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
            เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
            เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
        พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt

ปริชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาชุมชน
        1. การพัฒนาชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผลจากการสั่งสมความรู้จากการปฏิบัติจริง
        2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะการวิเคราะห์บนพื้นฐานความจริงของสังคมไทย
        3. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสหสาขาวิชาการ
        4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมองปัญหาจากตัวมนุษย์แบบองค์รวม
        5. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้ได้กับหน่วยวิเคราะห์ทุกระดับ
        6. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลได้ในทุกสาขาอาชีพ
        7. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ชุดความรู้แบบสำเร็จรูป แต่ต้องประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
        8. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมัตัวอย่างเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้กับการเกษตร คือทฤษฎีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt

ที่มา https://sites.google.com/site/khrusuphwrrn59/sers

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน

แนวทางในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคปฏิบัติสามารถนำไปยุกต์ใช้ได้ในธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมตามหลักการ ดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคการเกษตร
        พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้
        ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือน ให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไป
        ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
            (๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
            (๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
            (๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
            (๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
            (๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
            (๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
        ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง) ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น

เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ม.2 ppt


ภาคธุรกิจ
        เศรษฐกิจพอเพียงสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
            (1) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่หนึ่ง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ที่เน้นความพอเพียงในระดับกิจการหรือบริษัท คือ การดำรงอยู่ของกิจการหรือความอยู่รอดของธุรกิจสามารถพัฒนากิจการให้มีความเข้มแข็ง เป็นอิสระ และดำเนินกิจการโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ภายในกิจการ มีรายรับที่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ ปราศจากภาระหนี้สินยึดหลักความถูกต้อง มีคุณธรรม และโปร่งใส จัดเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
            (2) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สอง เป็นความพอเพียงในระดับกลุ่มธุรกิจ หรือระดับชุมชนในท้องถิ่น จัดเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า เน้นการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจการร่วมค้า สมาคมสหกรณ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายธุรกิจร่วมกัน ด้วยการแบ่งหรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อสร้างประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต
            (3) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สาม เป็นความพอเพียงในระดับสังคมและประเทศ เน้นการร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจกับชุมชนในท้องถิ่น รวมถึงสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษาสถาบันวิจัย สถานบันการเงิน สถานบันการเมือง สหกรณ์ ในการพัฒนาสังคมภายใต้รูปแบบของการพึ่งพาอาศัย สงเคราะห์เกื้อกูล มีจริยธรรม มัความสำนึ้กรับผิดชอบต่อสังคม
        การจำแนกเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งตนเอง โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา (Dependent) เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง เป็นอิสระ (Independent) แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จนนำไปสู่การพึ่งพิงอิงกัน (Inter-dependent) สงเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน และประสานกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น        ลักษณะการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ประเภท คือ
        1. กิจกรรมการผลิต
        2. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนและบริการ
        3. การบริโภค


ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นตอนการผลิตสินค้าและบริการ

        กิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น
        1. การผลิตในครัวเรือน -สมาชิกในครัวเรือน เป็นกิจกรรมขนาดเล็ก เงินทุนในการดำเนินธุรกิจไม่มากนัก ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน มีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน
        2. การรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ - กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน นำเอาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูป จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ปล้าส้ม ไข่เค็ม กล้วยทอด น้ำพริกเทคโนโลยีที่มีผลต่อการผลิตสินค้าและบริการ


        เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ 
เทคโนโลยีที่มีผลต่อการผลิตสินค้าและบริการ คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้การผลิตสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพและช่วยส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นหลักการผลิตกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
        1. ด้านเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการปลิตและการบริการ ดังนี้
            1. ผลิตอะไร ควรผลิตสินค้าหรือบริการประเภทใด จึงจะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด
            2. ผลิตอย่างไร ควรหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อลดต้นทุนและสามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากที่สุด
            3. ผลิตเพื่อใคร ควรคำนึงว่าใครคือกลุ่มผู้บริโถคสินค้าและบริการ ควรจัดแบ่งสินค้าและบริการอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มบุคคล

        2. ด้านสังคม การผลิตสินค้าและบริการที่คำนึงถึงสังคม คือ ระบบการค้าี่สร้างความเป็นธรรมให้ทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค และแรงงานที่อยู่ในระบบ มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบ จัดจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม

        3. ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ คววบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักจริยธรรม การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ