บทความ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

  • พิชรกัญญ์ นันทะชัย
  • ยงยุทธ ยะบุญธง
  • ชูชีพ พุทธประเสริฐ

คำสำคัญ: แนวทางการเสริมสร้าง, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู 2) เพื่อจัดทำแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อตรวจสอบแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 24 องค์ประกอบ การจัดทำแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการตรวจสอบแนวทางโดยผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการพรรณนาวิเคราะห์ และการสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักด้านการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ องค์ประกอบหลักด้านการมีวิสัยทัศน์ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติต

  • ชื่อบทความ :

    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

  • Article Title :

    Transformational leadership

  • ชื่อวารสาร :

    วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

  • Serial Title :

    Journal of Social Sciences and Humanities (Thailand)

  • ฉบับวันที่ :

    ม.ค.-มิ.ย. 2545

  • ISSN :

    0125-2860

  • ปีพิมพ์ :

    2545

  • ผู้แต่ง :

    รัตติกรณ์ จงวิศาล

  • ปีที่/ฉบับที่ :

    ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 หน้า 31-48

  • ภาษา :

    ไทย

  • คำสำคัญ-ไทย :

    ผู้นำ;ภาวะผู้นำ;การเปลี่ยนแปลง;คุณลักษณะ;ทฤษฎี;พฤติกรรม

  • ผู้แต่ง :

    [1] รัตติกรณ์ จงวิศาล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา)

บทความ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

915 114

  ค้นเพิ่มเติม

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง.  วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 28 (1) ,31-48


รัตติกรณ์ จงวิศาล. "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง" วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 28, 2545, 31-48.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง.  วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 28 (1) ,31-48

ชื่อบทความ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Transformationl  Leadership) ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

ชื่อผู้เขียนบทความ ดร.รัตติกรณ์  จงวิศาล

ที่มา http://www.lionjob.com/Article-HrVisionDetail.php?ClD=1105&a...-28k

 สรุปสาระสำคัญของบทความ

     ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ทุกๆองค์การต้องเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับสังคม ระดับองค์การ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและอื่นๆ และผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลทั้งทางบวกและทางลบ สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาเราได้เผชิญกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและยังมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน หากมองในระดับองค์การทุกองค์การทั้งในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน และในทุกระดับ ทุกกลุ่มขององค์การ มีความจำเป็น ที่จะต้องมีการ วิเคราะห์ตนเอง หรืออาจจะต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันของตน ทั้งในจุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคปัญหาต่างๆขององค์การเพื่อให้เห็นความสำคัญ และความเร่งด่วน ในการที่จะต้องปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงตนเอง และเพื่อให้ตระหนักอย่าง แท้จริงว่าหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตนเอง ขณะที่สภาะ แวดล้อม และปัจจัยต่างๆรอบตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือมัวแต่หลงตนเองว่าตนยิ่งใหญ่และเชื่อว่าตนจะสามารถอยู่ได้โดย ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะนำเราไปสู่ความหายนะหรือความล้มเหลวหรือการสาบสูญ ล้มละลายเหมือนสัตว์ยุคโบราณที่เราได้ยินแต่ชื่อและเห็นแต่ซาก เช่นไดโนเสาร์หรือองค์การ ต่างๆที่ต้องปิดตนเองไปจำนวนมากมายหรือต้องกลายไปเป็นของต่างชาติ สำหรับ การเปลี่ยนแปลงในระดับองค์การในยุคนี้มิใช่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กๆน้อยๆ หรือเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่นหากแต่พบว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่ต้องเปลี่ยนสภาพของตนเองเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เหมือนสิ่งมีชีวิตบางชนิดเช่น หนอนที่ต้อง เปลี่ยนสภาพเป็นผีเสื้อ เหมือนลูกอ๊อด เปลี่ยนสภาพไปเป็นกบ อย่างไรก็ตามวิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือแบบเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และ ขึ้นอยู่กับอาการขององค์การนั้นว่ารุนแรงหรือ อาการหนักมากหรือน้อยเพียงใด

      สำหรับในระดับองค์การ ในยุคนี้วงการวิชาการต่างมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลต่อองค์การ ตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อผลการปฎิบัติงานของพนักงาน แรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานหรือของกลุ่มทำงาน รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับว่ามีอิทธิพลมากคือ ภาวะผู้นำ ทั้งภาวะผู้นำของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในทุก ๆ ระดับ และทั้งภาวะผู้นำของพนักงานทุกๆคนในองค์การด้วย ภาวะผู้นำในที่นี้จะหมายถึงพฤติกรรมหรือกระบวนการที่บุคคลหนึ่งมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น หรือกลุ่มในการทำงานเพื่อให้ บรรลุผลตามเป้าหมาย

      ในทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้ที่มีประสิทธิภาพมีจำนวนมาก แต่มีแนวคิดทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงกันมากคือ “ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง “ (Transformational Leadership) ซึ่งมีงานวิจัยนับหมื่นๆเรื่องที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ในทั่วโลกและยืนยัน ว่า ทฤษฎีสามารถนำไปประยุกต์ได้ใช้ได้ และสามารถพัฒนาภาวะผู้นำนี้ได้ในทุกองค์การ และในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การที่อยู่ในอเมริกา ยุโรป หรือในเอเชีย สำหรับในเอเชีย มีการศึกษาวิจัยในองค์การธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และในประเทศไทยพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การ ผลการ ปฏิบัติงาน ทั้งของกลุ่ม และของผู้ใต้บังคับบัญชา เจตคติต่อการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมความเป็น พลเมืองดี (Organizational Citizenship Behavior : OCB) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในองค์การ และตัวแปรหรือปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ทฤษฎี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theory)

การนำไปประยุกต์ใช้

          ในยุคปัจจุปันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งองค์การต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ขององค์กการใหม่ หากไม่ตระหนักพร้อมเปลี่ยนแปลงอาจนำไปสู่ความหายนะ เช่นไดโนเสาร์ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอาจค่อยเป็นค่อยไปหรือเปลี่ยนอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แนวคิดทฤษฏีที่ได้รับการยอมรับมาก คือ "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง" สามารถประยุกต์ใช้พัฒนาผู้นำในทุกองค์การ

สรุปโดย  นายถิรวัสส์  ธเนศเฉลิมพงษ์  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ ๒ ศูนย์หนองบัวอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี