สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

Post Views: 15,089

Show

เผยแพร่ครั้งแรก 24 มิถุนายน 2022 โดย

แก้ไขล่าสุด 18 ตุลาคม 2022

ทำฟัน ประกันสังคม คืออะไร?

ทำฟัน ประกันสังคม คือ สิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 จะสามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม สำหรับบริการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับบริการ ภายในวงเงิน 900 บาท/ปี

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ทำฟันประกันสังคม คืออะไร?

หากคุณเป็นผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่ทำการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน รวมถึงในกรณีที่คุณลาออกจากงานแล้ว ประกันสังคม ทำฟัน ยังให้สิทธิคุ้มครองค่าทำฟันฟรีต่อให้คุณอีก 6 เดือน โดยรายละเอียดการทำฟันประกันสังคม ที่รวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ ได้แก่ การ ขูดหินปูนประกันสังคม, การอุดฟัน, การถอนฟัน, และการผ่าตัดฟันคุด ซึ่งทางคลินิกทันตกรรม จะให้สิทธิคุณทำฟันรายการดังกล่าว 900บาท/ปี โดยที่คุณไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน รวมถึงคุณยังสามารถเบิกค่าใส่ฟันเทียมหรือการทำฟันปลอมได้อีกด้วย

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ประกันสังคม ทันตกรรม ทำฟัน ฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย

หัวข้อที่น่าสนใจของการ ทำฟัน ประกันสังคม

ทำฟัน ประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
สรุป-สิทธิทำฟันประกันสังคม ล่าสุด 2565 ฟันฟลอม ประกันสังคม เบิกได้
ที่มาของภาพ: สำนักงานประกันสังคม

การใช้สิทธิ ประกันสังคม-ทันตกรรม ซึ่งได้ให้สิทธิสำหรับผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษา บริการทางทันตกรรม ได้ดังต่อไปนี้

1. สิทธิ ขูดหินปูน ประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
สิทธิ ขูดหินปูน ประกันสังคม

เป็นสิทธิการได้รับบริการทำฟันสำหรับผู้ประกันตนที่มีสิทธิ “ประกันสังคม>ทันตกรรม” สำหรับการขูดหินปูนด้วยวิธีการขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณฟัน และซอกฟันให้หลุดออก โดยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพฟัน และช่องปากที่แข็งแรง และช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการสะสมของคราบหินปูนในปริมาณมากๆ โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ ขูดหินปูน เพื่อทำความสะอาดคราบหินปูนสะสม ในทุกๆ 6 เดือน

2. สิทธิการ อุดฟัน ประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
สิทธิ อุดฟัน ประกันสังคม

คือ สิทธิสำหรับผู้ประกันตน ในการรับการรักษาทาง ทันตกรรม ประกันสังคม สำหรับการอุดฟัน ได้แก่ การบูรณะหรือการซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ โดยทันตแพทย์เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยฟันที่ยังสามารถอุดได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฟันที่ยังไม่มีอาการปวด หรือบวมอักเสบ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว วัสดุที่ทันตแพทย์ใช้ในการอุดฟันจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ วัสดุอุดฟันสีขาวหรือคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin) และ วัสดุอุดฟันสีเงินหรืออมัลกัม (Amalgam)

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
สิทธิ ถอนฟัน ประกันสังคม

คือ สิทธิทาง ทันตกรรม ประกันสังคม ที่ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิ ถอนฟัน ประกันสังคม ในการรักษาทางทันตกรรม สำหรับกรณีฟันที่ผุมาก เช่น ฟันที่ผุจนทะลุถึงโพรงประสาทรากฟัน หรือมีฟันที่ผุมากจนเหลือแต่ตอและมีอาการที่ปวดฟันมากร่วมด้วย และผู้ประกันตนไม่ประสงค์ที่จะทำการรักษารากฟันและครอบฟันเพื่อเก็บฟันซี่นั้นไว้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และการรักษารากฟันและครอบฟันนี้จะไม่ครอบคลุมอยู่ในสิทธิ ประกันสังคม-ทันตกรรม ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ทันตกรรม-ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิ ถอนฟัน ประกันสังคม ได้เช่นเดียวกัน

4. สิทธิ ถอนฟันคุด หรือ ผ่าฟันคุด ประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
สิทธิ ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด ประกันสังคม

เป็นสิทธิที่ผู้ประกันตนที่สามารถใช้ สิทธิทำฟัน ประกันสังคม สำหรับการผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดซึ่งได้แก่ การรักษาทางทันตกรรม เพื่อเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้าย ในขากรรไกรที่ไม่สามารถ โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าว อาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และ ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ฟันซี่นั้นๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการเอาออกโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

โดยแต่ละปีที่ผู้ประกันตนมาใช้สิทธิรับการรักษาทางทันตกรรม จะมีวงเงินให้ปีละ 900 บาท ถ้าหากว่า การใช้สิทธิ ประกันสังคม-ทันตกรรม มีค่าใช้จ่ายมากเกินกว่า 900บาท ผู้ประกันตนจะต้องสำรองจ่ายส่วนต่างเองค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

สิทธิการทำ ฟันปลอม ประกันสังคม

นอกเหนือจากสิทธิ ทำฟันประกันสังคม ในการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และผ่าฟันคุด แล้ว ประกันสังคม ทันตกรรม ยังให้สิทธิผู้ประกันตนในการเบิก ฟันปลอม ประกันสังคม ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม โดยรายละเอียดของฟันปลอม จะแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ฟันปลอม ประกันสังคม ชนิดถอดได้บางส่วน

  • ฟันปลอมจำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
  • ฟันปลอมจำนวน 5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท

2. ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ฟันปลอม ประกันสังคม ชนิดถอดได้ทั้งปาก

  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม
  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ประกันสังคม ทำฟัน ที่ไหนได้บ้าง?

สำหรับคำถามที่ว่า ประกันสังคมทำฟัน ที่ไหนได้บ้าง? เป็นคำถามที่พบได้บ่อยและมีคนสังสัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิในการรักษาฟันได้ทั้ง โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรม แต่จะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ได้ทำสัญญาไว้กับทางสำนักงานประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ประกันสังคมทำฟัน ที่ไหนได้บ้าง?

โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ มักจะมีป้ายประชาสัมพันธ์ หรือมีสติกเกอร์ของทางสำนักงานประกันสังคมแจ้งติดเอาไว้หน้าคลินิกว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ‘ทำฟัน’ ไม่ต้องสำรองจ่าย” ซึ่งจะเป็นคลินิกทันตกรรมที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม และสามารถให้ผู้ประกันตนเข้าใช้สิทธิ ทำฟันประกันสังคม ได้โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า

ทางคลินิกทันตกรรม SmileDC ให้บริการ ทันตกรรม ประกันสังคม โดยผู้ประกันตนในมาตรา 33 และมาตรา 39 ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท/ปี เหลือจ่ายแค่ส่วนที่เกินจากสิทธิที่ได้รับเท่านั้นค่ะ รวมถึงในกรณีของการใส่ฟันปลอม ทางคลินิกทันตกรรม SmileDC สามารถให้การรักษาใส่ฟันปลอม และออกใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ เพื่อให้ผู้ประกันตน สามารถไปเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากทางสำนักงานประกันสังคมได้เช่นเดียวกันค่ะ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ทำฟัน ประกันสังคม ทันตกรรม ไม่ต้องสำรองจ่าย

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

เลือกคลินิก ทำฟัน ประกันสังคม ใกล้ฉัน ที่ไหนดี?

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกันตน ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในการรักษาทางทันตกรรม คุณสามารถติดต่อไปยังคลินิกทันตกรรม ที่มีสัญลักษณ์ “ทำฟัน ประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย” ที่คุณสะดวก เพื่อเช็คสิทธิคงเหลือของคุณ ว่ายังเหลือวงเงินในการทำฟันอยู่ที่เท่าไหร่ โดยวิธีการในการเช็คสิทธิ ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงคุณเตรียมบัตรประชาชนไปเท่านั้น ทางสถานพยาบาล จะสามารถเช็คสิทธิคงเหลือของคุณได้ทันที

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
เลือกคลินิก ทำฟันประกันสังคม ใกล้ฉัน ที่ไหนดี?

คุณสามารถนัดหมาย ทำฟันประกันสังคม ใกล้ฉัน ได้ที่คลินิกที่มีมาตรฐาน มีทันตแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมให้คำแนะนำในการรักษาฟันให้คุณ และมีการฆ่าเชื้อเครื่องมืออย่างถูกต้อง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรอง เพื่อให้มั่นใจ ว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ และปลอดภัยค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

การเบิกค่าทำ ฟันปลอม ประกันสังคม ทำอย่างไร?

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
การเบิกค่าทำ ฟันปลอม ประกันสังคม ทำอย่างไร?

สำหรับ เอกสารที่ใช้ในการยื่น เพื่อใช้เบิกค่าทำ ฟันปลอม ประกันสังคม มีดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (ที่บันทึกการรักษา กรณีทำฟันปลอมถอดได้)
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ของผู้ประกันตน โดยมีธนาคารที่คุณสามารถรับค่ารักษาคืนได้อยู่ 10 แห่ง ดังนี้

ธนาคารที่ผู้ประกันตนสามารถรับค่ารักษาคืนได้:

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารไทยพานิชย์
  • ธนาคารทีทีบี
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โดยนำเอกสารทั้งหมด ยื่นต่อสาขาสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการ ที่ระบุเอาไว้ในใบรับรองแพทย์ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถขอรับสิทธิค่าทำฟันปลอม ได้จากสำนักงานประกันสังคมแล้วค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ใครสามารถ ทำฟัน ประกันสังคม แบบไม่ต้องสำรองจ่ายได้บ้าง?

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
ใครสามารถใช้สิทธิ ทำฟันประกันสังคม แบบไม่ต้องสำรองจ่ายได้บ้าง?

ผู้ที่จะสามารถใช้สิทธิในการรักษาทาง ทันตกรรม ประกันสังคม ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น (ผู้ประกันตนตามมตรา 40 จะไม่มีสิทธิในข้อนี้) โดยผู้ประกันตน จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะถึงเดือนที่ผู้ประกันตนจะมาใช้บริการ ทำฟันประกันสังคม แต่ในกรณีที่ผู้ประกันตนลาออกจากงาน หลังจากที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว ผู้ประกันตนจะยังมีสิทธิทำฟันต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันที่ผู้ประกันตนลาออก ดังนั้นผู้ประกันตนสามารถนัดหมายเข้ารับการรักษาได้อย่างไม่ต้องกังวลนะคะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

สอบถามนัดหมาย – ทำฟัน ประกันสังคม

กรณีมีคำถามเพิ่มเติม ตรวจสอบค่าบริการทันตกรรม หรือต้องการนัดหมายการใช้ สิทธิทำฟันประกันสังคม สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านนี้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

บทสรุป – การทำฟันประกันสังคม

หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม คุณจะมีสิทธิในการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายได้ 900 บาท/ปี ดังนั้น คุณสามารถรักษาสิทธิของตัวคุณเองได้ โดยการทำนัดหมายเข้ารับการตรวจรักษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิสำหรับการ ขูดหินปูน ประกันสังคม, อุดฟัน ประกันสังคม, ถอนฟัน ประกันสังคม,ผ่าฟันคุด ประกันสังคม หรือแม้แต่การ ทำฟันปลอม ประกันสังคม ได้แล้ววันนี้ ที่คลินิก ทำฟัน ประกันสังคม ใกล้ฉัน ที่มีสัญลักษณ์ของการ ทำฟัน ประกันสังคม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ะ

คำถามที่พบบ่อย – ทำฟัน ประกันสังคม

ทำฟันปลอม เบิกประกันสังคม ได้หรือไม่?

ทำฟันปลอม ประกันสังคม สามารถเบิกได้ ทุกๆ 5 ปี โดยการเบิกนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันปลอมที่เลือกทำ ได้แก่
– ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
1.) จำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
2.) จำนวน 5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
– ฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก
1.) บนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
2.) บนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

รักษารากฟัน สามารถใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ได้มั๊ย?

รักษารากฟัน ไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้ โดยสำนักงานประกันสังคม ได้ให้สิทธิสำหรับผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าทำฟันได้ เฉพาะบริการทางทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด/ถอนฟันคุด โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้ากับคลินิกทันตกรรมที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม ส่วนการใส่ฟันเทียม (ทำฟันปลอม) สามารถเบิกได้ แต่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าและนำหลักฐานไปเบิกภายหลังได้ที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ให้บริการ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

การใช้สิทธิ ทำฟัน-ประกันสังคม โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับการใช้สิทธิ ทำฟัน ประกันสังคม โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงพกบัตรประชาชนประจำตัว เพียงใบเดียว สำหรับใช้ในการเช็คสิทธิ และยืนยันการใช้สิทธิทำฟันได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายได้ทันทีค่ะ และเพื่อความสะดวกในการใช้บริการ กรุณาสำรองนัดหมายล่วงหน้านะคะ จะได้ไม่ต้องนั่งรอคิวนานค่ะ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

= = = = = = = = = = = = = = = = = =

เวลาทำการสำหรับนัดหมาย ทำฟัน ประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
เวลาทำการสำหรับนัดหมาย ทำฟัน ประกันสังคม?

จันทร์-เสาร์ 10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์ 10:00 – 12:00 น.

= = = = = = = = = = = = = = = = = =

แผนที่

คลินิกทันตกรรม SmileDC ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน
แผนที่ คลินิกทันตกรรม – ประกันสังคม ทันตกรรม

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = =

บริการทันตกรรมเฉพาะทางด้านอื่นๆ

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือ ถอนฟันคุด (Wisdom tooth extraction) คือ การเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้าย ในขากรรไกร ที่ไม่สามารถ โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าว อาจฝังตัวอยู่ใน กระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และ ถ้าเกิดอาการเหล่านี้… (อ่านเพิ่มเติม)

อุดฟัน

อุดฟัน คือ การบูรณะเนื้อฟัน ที่สูญเสียไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากฟันผุ หรือฟันแตกหักไป ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เนื้อฟันตามธรรมชาติ ต้องถูกทำลายไป อาจจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด, ความไม่สวยงาม และ การไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างเต็มที่ ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทางทันตกรรม ได้มีการพัฒนาไป จนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้การอุดฟัน นอกจากจะทำให้… (อ่านเพิ่มเติม)

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน หรือ รักษาคลองรากฟัน เป็นกระบวนการรักษาฟัน ที่มีการผุลุกลาม เข้าไป จนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะไม่สามารถรักษา โดยการอุดฟันธรรมดาได้ โดยสาเหตุหลักๆ ของการผุ จนเข้าไปถึงรากฟัน คือ การปล่อยปละละเลย ฟันที่ผุในระยะเริ่มต้น โดยไม่…(อ่านเพิ่มเติม)

ทำฟันปลอม

ฟันปลอม คือสิ่งประดิษฐ์ ที่นำมาใช้ เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เนื่องจากสาเหตุต่างๆ โดยมีวัสดุหลากหลายชนิด ที่สามารถนำมาผลิตเป็นฟันปลอมได้ เช่น พลาสติก เซรามิค หรือโลหะ เป็นต้น ซึ่งวัสดุแต่ละประเภท ก็จะมีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันไป ดังนั้น การเลือกฟันปลอมที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละกรณี จึงเป็นเรื่องที่จะต้องใช้ข้อมูลหลายๆด้าน มาประกอบการตัดสินใจ นอกจากวัสดุที่ใช้ทำฟันปลอม จะมีหลายประเภทแล้ว ชนิดของฟันปลอมนั้นก็มีด้วยกันหลายแบบเช่นกัน… (อ่านเพิ่มเติม)

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม หรือ รากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่าง คล้ายรากฟันธรรมชาติ ผลิตมาจากวัสดุประเภทต่างๆ ซึ่ง มีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับร่างกายคนเรา ปกติแล้ว จะใช้เพื่อฝังลงในกระดูกขากรรไกร ช่วยเพิ่มหลักยึดให้กับฟันปลอมทั้งชนิดถอดได้และติดแน่น โดยที่ ไม่ต้องมีการกรอหรือยุ่งเกี่ยวกับฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง ในปัจจุบันนี้การทำรากฟันเทียม นับเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง… (อ่านเพิ่มเติม)

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = =

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

มีฟันคุด ไม่เอาออกได้มั๊ย?

มีฟันคุด ในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ได้ไปผ่าฟันคุด ปล่อยปละละเลย หรือ ทิ้งเอาไว้ภายในช่องปาก อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ หลายๆคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ถ้าเรา มีฟันคุด แล้วไม่ผ่าหรือ ถอนฟันคุดออกได้มั๊ย? ตามมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย? ผ่าฟันคุดเจ็บไหม?

ภายหลังจากการผ่าฟันคุด คำถามที่คนทั่วไปอยากรู้มากที่สุดคือ ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ หรือ ผ่าฟันคุดกี่วันหาย จึงจะสามารถ…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ คือ ภาวะของเนื้อฟันที่มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ฟันผุ เกิดจาก การสูญเสียแร่ธาตุที่มีลักษณะแข็งของตัวฟัน มีสาเหตุหลักมาจาก…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ สาเหตุและวิธีรักษา

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ คือภาวะที่เหงือกมีลักษณะผิดไปจากปกติ อาจมีอาการเจ็บปวด มีเลือดออกตามร่องเหงือก หรือมี…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

มารู้จัก รากฟันเทียม กันเถอะ !!!

ผลจากการสูญเสียฟันธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้การบดเคี้ยวอาหารด้อยลง มีปัญหาการพูดการออกเสียง แต่ยังส่งผลถึงการ…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน!?

สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมต้องรักษารากฟัน มีเหตุผลและความจำมั๊ย มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมพบกับ 5 เหตุผล โดย ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ทำไมจึงควร…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

รักษารากฟันเจ็บไหม? เป็นคำถามที่หลายๆคนอยากจะรู้ เพื่อช่วยประเมินก่อนการตัดสินใจทำการรักษารากฟัน ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยค่ะ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร?!

หลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันกับ…

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทำฟัน

ทำฟัน ประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย ฟรี 900 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?!

ทำฟัน ประกันสังคม คือ สิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 จะสามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม สำหรับบริการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับบริการ…

ประกันสังคมมาตรา 40 ทำอะไรได้บ้าง

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40.
ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี).
ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี).
เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต).

ส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะใช้สิทธิทำฟันได้

โดยผู้ประกันตน จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะถึงเดือนที่ผู้ประกันตนจะมาใช้บริการ ทำฟัน ประกันสังคม แต่ในกรณีที่ผู้ประกันตนลาออกจากงาน หลังจากที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว ผู้ประกันตนจะยังมีสิทธิทำฟันต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันที่ผู้ประกันตนลาออก ดังนั้นผู้ประกันตน ...

ประกันสังคมทำฟันได้ปีละกี่บาท

ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในวงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี รายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง 900 บาท/ครั้ง/ปี

ทำฟันประกันสังคมได้กี่ครั้ง

Q ประกันสังคมสามารถเบิกค่าทำฟันได้กี่ครั้งต่อปี? A ประกันสังคมไม่ได้จำกัดว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี แต่หากค่าใช้จ่ายการทำฟันของเรายังไม่ถึง 900 บาท เราก็ยังมีสิทธิยื่นเบิกได้เรื่อย ๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท แต่ต้องต่อปีเท่านั้นนะ (ถ้าปีนั้นเราไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมจะไม่ทบปีถัดไปให้)