ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

กรรมการ

ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

          ครึ่งนึงวัดครึ่งนึงกรรมการครึ่งนึง แม้ในอดีตจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำนี้สักเท่าไหร่นัก ว่าวัดครึ่งนึงคืออะไร และกรรมการได้ครึ่งนึงคืออะไร เพราะวัดเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่คนที่มีจิตศรัทธา ต้องหาความสงบทางจิตใจ พร้อมกับมีโอกาสได้ทำบุญสร้างเสริมบุญบารมีให้กับตนเองทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อเป็นแบบนี้แล้วจะมีอะไรมาแบ่งกันแบบครึ่ง ๆ มันไม่น่าจะเป็นไปได้เลย เหมือนกับที่ชอบพูดกันว่าบ้านเราเมืองเราเต็มไปด้วยการทุจริต โกงกิน คอรัปชั่น เป็นไปไม่ได้หรอก หากมีต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน ส่วนอิฐ หิน ปูน ทราย ที่คาปาก หรือเงินที่นำไปใช้แก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมตั้งมากมาย แค่ฝนตกมาโครมใหญ่แล้วน้ำดันเกิดน้อยใจไม่ยอมไหลลงท่อ ก็เป็นเรื่องของเทวดา นางฟ้า ที่ใจร้าย ปล่อยน้ำฝนลงมาโดยไม่ยอมบอกกล่าวล่วงหน้า บนบานให้ตกน้อย ๆ ในที่ไม่ควรตก และให้ไปตกในที่ที่อยากให้ตก ก็ไม่ยอมรับสินบน เห็นมะ เรื่องสินบน เรื่องทุจริตไม่มี...จริง ๆ

          แต่พอเติบโตเต็มวัย เอ๊ยเติบโตขึ้น ยิ่งได้รับฟังข่าวยิ่งทำบุญ จะยิ่งรวย จะมีโอกาสบรรลุธรรมชั้นสูง ก็เลยถึงบางอ้อ พอจะเข้าใจความหมายได้พอเลา ๆ แต่ที่กล่าวมานี่ไม่ได้กล่าวหาอะไรใครนะครับ เดี๋ยวบาปจะติดตัว และเรื่องที่จะพูดถึงก็ไม่ได้ถึงกรรมการของวัดไหน ๆ ให้ใครต้องเดือนร้อนว่าจะโดนแฉให้หนาว ๆ ร้อน เหมือนหลายคนที่โดนเสี่ยอ่างแฉ แต่จะพูดเรื่องของหลายคนที่มีความสามารถ และได้รับเชิญให้เป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบใหญ่ โดยอาจจะไม่ได้มีหน้าที่ ตำแหน่งการงานในองค์กร เหมือนลูกจ้างกินเงินเดือน แต่อาจจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และค่าเบี้ยประชุม

          พอพูดถึงเรื่องค่าตอบแทนกรรมการ และเบี้ยประชุม ซึ่งกรรมการหลาย ๆ คนบอกว่า มันไม่ใช่เงินเดือน หรือเงินได้ที่ได้รับในฐานะลูกจ้าง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี แบบว่า ขออาศัยช่วงชุลมุน หลบลี้รายได้ไม่จะไม่นำไปเสียภาษีซะงั้น โดยเฉพาะกรรมการบางท่านที่ได้รับค่าตอบแทนต่อบริษัทอาจจะไม่สูงมากนัก ทำให้ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำให้พาลนึกไปว่า ฟ้าไม่รู้ ดินไม่รู้ คุณสรรพ์ก็คงไม่รู้ ฉันก็ซ่อน เธอก็หา ถ้าหาไม่เจอฉันก็รอด

ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

          เพื่อให้เกิดความชัดเจน เรามาดูกันก่อนว่าไอ้ค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับ มันมีกำหนดไว้ว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ เราไปดูกันก่อนว่า เงินได้จากการเป็นพนักงาน ลูกจ้าง มันครอบคลุมทุกพื้นที่ เอ๊ยครอบคลุมถึงรายได้ที่กรรมการได้หรือหรือไม่ก่อน

ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

          หากดูจากมาตรานี้ ฟันธง กรรมการ ไม่ใช่ลูกจ้าง จึงไม่มีเงินได้ที่เข้าเงื่อนไขที่ต้องนำมาเสียภาษีตามมาตรานี้แน่นอน แต่เดี๋ยวก่อน เพียงคุณโทรมาตอนนี้ เอ๊ยแม้จะไม่เข้ามาตรานี้ แต่ยังมีมาตราอื่น ๆ ที่ต้องให้ความสนใจด้วย เราลองไปดูมาตราถัดไปก่อน ไล่เรียงกันทีละมาตราแบบนี้ ถ้ารอดก็ต้องเลี้ยงฉลองกัน 7 วัด เอ๊ย 7 วันเลยล่ะ

มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

          อ่านขงเบ้ง 3 จบ คบไม่ได้ อันนี้ไม่ได้พูดเองนะ ได้ยินเค้าพูดเลยจำมาบอกต่อ จริงไม่จริงไม่รู้ แต่อ่านภาษีไม่ถึง 3 จบ ห้ามลงมือคิดการใหญ่เด็ดขาด เพราะอาจจะโดนประเมินล้มทั้งยืนได้ เมื่ออ่านหลาย ๆ เที่ยว จะได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า ค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากตำแหน่งงานที่ทำ จึงมีผลให้ ค่าตอบแทนกรรมการที่รับเป็นรายเดือน, ค่าเบี้ยประชุมที่รับเป็นรายครั้ง, ค่าเดินทาง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการ ต้องนำมารวมเป็นเงินได้ทั้งหมด

          เมื่อเป็นเงินได้ ก็ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมก็มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เราลองไปไล่ต่อให้ครบองค์ว่าจักต้องทำเยี่ยงใด

          มาดูฝั่งของคนรับเงินก่อน หากต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี จะหักรายจ่ายได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งมีข้อสรุปดังนี้

มาตรา 42 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

          ชัดนะ หากมีเงินเดือน และค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ ต้องนำมารวมกัน แล้วหักรายจ่ายได้เป็นการเหมาอย่างเดียว ตั้ง 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท คงต้องบอกว่า ร้องไห้ เพราะเสียภาษีหนักมาก!

ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

          มาดูฝั่งคนจ่ายบ้างว่า เวลาจ่ายค่าตอบแทนให้กับกรรมการ จักต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ตอบชัด ๆ ฟันธงกันไปเลยแบบไม่กลัวธงหักว่า หักภาษี ณ ที่จ่าย แน่นอน แต่ไม่ได้หัก 3% อย่างที่เข้าใจกัน แต่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราก้าวหน้า ซึ่งหากรายได้ไม่ถึงฆาต เอ๊ย ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแปลว่า หัก แต่ไม่มีภาษีนำส่ง ยืนยันด้วย

มาตรา 50 ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี

          เข้าใจตรงกันนะว่า ค่าตอบแทนกรรมการ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราก้าวหน้า หากเงินได้ไม่ถึงก็ไม่ต้องหัก ปล่อยให้กรรมการเค้าไปจัดการกันเองตอนปลายปี สบายกว่ากันเยอะ ส่วนคุณสรรพ์ก็อย่ามุ่งเน้นเรื่องเก็บภาษีอย่างเดียว เที่ยวไปประเมินให้เค้าหัก 3% โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงเลย อันนี้เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าคงไม่มีคุณสรรพ์คนไหนทำแบบนี้แน่...ฟันหัก เอ๊ยฟันธง

ด้วยรัก

นายภาษี

ค่าตอบแทนกรรมการต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

ค่าตอบแทนกรรมการหักกี่%

2. การจ่ายเงินเดือนกรรมการคำนวณในอัตราก้าวหน้าและจ่ายค่าตอบแทนกรรมการเพิ่ม หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% คนละอย่างในเดือนเดียวกัน นั้น บริษัทฯ ไม่สามารถกระทำได้ บริษัทฯ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกัยการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ...

เงินเดือนพนักงานต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี - เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี - เงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี - หากไม่ได้จ่ายประกันสังคม และเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

เจ้าของกิจการต้องมีเงินเดือนไหม

admin มีนาคม 24, 2021. เจ้าของกิจการ ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ คำตอบก็คือ ไม่มีก็ได้ แต่อาจไม่เหมาะสม กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีเงินเดือน การจ่ายเงินเดือนเป็นอำนาจบริษัท แต่การทำงานโดยไม่มีเงินเดือนเป็นเหมือนการทำงานฟรี ซึ่งต้นทุนส่วนนี้ไม่ได้นำมาเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้บริษัทเสียภาษีเยอะจากฐานกำไรสุทธิที่สูง

บริษัท จ้าง กรรมการได้ไหม

คำตอบคือ ได้ เพราะตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น บริษัทและเจ้าของเป็นคนละบุคคลกันตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทจึงควรจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ เงินเดือนเจ้าของนี้มักเรียกกันว่า เงินเดือนกรรมการ หรือ ค่าตอบแทนกรรมการ