โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

Show

เราจะมีดอกกุหลาบสีเดียวไปทำไม ในเมื่อเรามีวิธีสร้างสีสันให้ดอกไม้กันแล้ว ผู้คิดค้นการสร้างดอกกุหลาบสีรุ้งคือ Perter van der werken เจ้าของบริษัทดอกไม้ในประเทศฮอลแลนด์ เขาสร้างสีสันให้กุหลาบโดยการฉีดสารสีเข้าไปที่ลำต้นกุหลาบสีครีมพันธุ์ Vendella ในระหว่างที่ดอกกุหลาบกำลังเจริญเติบโต ทำให้ดอกกุหลาบซึมซับสีเอาไว้ และกลายเป็นกุหลาบสีรุ้ง (Rainbow Roses) เป็นหนึ่งในมหัศจรรย์แห่งพรรณไม้ของฮอลแลนด์เลยค่ะ

กุหลาบสีรุ้ง มหัศจรรย์พรรณไม้ ของฮอลแลนด์

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

กุหลาบสีรุ้งมักจะถูกใช้ในงานสำคัญๆ อาทิ แต่งงาน หรือ เป็นช่อดอกไม้ให้คนพิเศษ และจะถูกนำไปใช้เป็นของขวัญราคาแพง  ประเทศฮอลแลนด์จะผลิตขายตามใบสั่งเท่านั้น

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

และวันนี้เราจะมาลองทำดอกกุหลาบสีรุ้ง ตามหลักวิทยาศาสตร์กันค่ะ

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

อุปกรณ์ไม่เยอะมาก ดังนี้…

-ดอกกุหลาบ สีขาว

-สีผสมอาหาร (ตามสีที่ชอบ)

-แก้วพลาสติกแบบสั้น 4 ใบ

-น้ำเปล่าสะอาด

-คัตเตอร์

วิธีทำแสนง่าย แต่สวยงามแน่นอน

-ตัดก้านดอกกุหลาบด้านล่าง เป็น 4 แฉกทางยาวพอจะจุ่มน้ำได้

-ผสมสีผสมอาหารในแก้วพลาสติกทั้ง 4 ใบ ใช้สีที่แตกต่างกันตามความชอบ

-นำก้านดอกกุหลาบที่ตัดเสร็จแล้ว แหวกเสียบลงในแก้วพลาสติกแยกกัน

-รอเวลารอสักครู่ กลีบดอกกุหลาบก็จะเริ่มเปลี่ยนสีตามที่เราใส่ลงไป

ลองทำตามสนุกๆ เลยจ้า อาจไม่สวยงามเท่าของฮอลแลนด์แต่ก็แปลกใหม่สำหรับประเทศไทยเรานะคะ เราจะได้ดอกกุหลาบสีรุ้งไปประดับโต๊ะ ประดับแจกัน แล้วจ้า ง่ายนิดเดียวเนอะ ^^

โครงงานดอกไม้เปลี่ยนสี

ครูผู้สอน       นางวรรณา  เปลี่ยนศักดิ์

โรงเรียนอนุบาลสระบุรี  

ชั้นอนุบาลปีที่ 1/3  จำนวนนักเรียน 40 คน 

ปีการศึกษา 2554

ระยะเวลา 16 ธันวาคม - 22ธันวาคม รวม 5 วัน

  ที่มาของโครงงาน

             เนื่องจากนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/3  ได้ทำกิจกรรมในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เรื่อง อินดิเคเตอร์จากพืช เด็กๆมีความสนใจในกิจกรรมนี้ ที่นำดอกอัญชันมาคั้นน้ำได้สีน้ำเงิน แล้วหยดมะนาวลงไป ทำให้น้ำดอกอัญชันเปลี่ยนสี จากสีน้ำเงินเป็นสีม่วง เด็กๆตื่นเต้นกันมากทำให้เด็กหลายคนสงสัยว่ามีดอกไม้ชนิดอื่นๆคั้นน้ำออกมาจะเป็นสีอะไร บางคนสงสัยว่าถ้าหยดมะนาวลงไปน้ำจะเปลี่ยนสีหรือไม่    จึงเป็นที่สนใจของเด็กที่จะเรียนเรื่อง  สีของดอกไม้ชนิดต่างๆในธรรมชาติและตั้งชื่อว่า โครงงาน

ดอกไม้เปลี่ยนสี  เด็กต่างตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยเช่น  ในโรงเรียนของเรามีดอกไม้อะไรบ้าง ดอกดาวเรืองคั้นน้ำแล้วจะเป็นสีอะไร ดอกชวนชมคั้นน้ำแล้วเป็นสีอะไร บางคนสงสัยว่าถ้าหยดน้ำโซดาลงไปจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร              บางคนสงสัยว่า ถ้าหยดน้ำส้มสายชูลงไปจะเปลี่ยนสีเป็นสีอะไร เป็นต้น จากคำถามจึงนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง จากแหล่งเรียนรู้ จากการทดลอง จากผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว การมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

 

วัตถุประสงค์

         1.เพื่อให้เด็กสังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำดอกไม้ชนิดต่างๆได้

         2.เพื่อให้เด็กนำเสนอผลการสังเกตการเปลี่ยนสีของน้ำดอกไม้ชนิดต่างๆด้วยวิธีการและเหตุผลที่เหมาะสมกับวัยได้

         3.เพื่อให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น

         4.เพื่อให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

         5.เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน

  ระยะที่1 เริ่มต้นโครงงาน

             เด็กสนทนาประสบการณ์เดิมจากการทดลองในกิจกรรมอินดิเคเตอร์จากพืช เด็กๆสงสัย                ไปสำรวจบริเวณสวนหย่อมหน้าอาคารบัวชมพู  สอบถามจากผู้ปกครอง เกี่ยวกับดอกไม้ชนิดต่างๆที่สามารถนำมาคั้นเป็นน้ำได้ เด็กบอกสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับ อินดิเคเตอร์จากพืชโดยเฉพาะจากดอกไม้ แล้วสรุปประเด็นคำถามในแผนที่ความคิด  ครูแจ้งข่าวสารถึงผู้ปกครอง ว่าเด็กสนใจที่จะเรียนรู้โครงงานดอกไม้เปลี่ยนสี        ขอความร่วมมือ ผู้ปกครองสนทนาและเตรียมสื่อ/อุปกรณ์เกี่ยวกับ  โครงงานดอกไม้เปลี่ยนสี มาที่โรงเรียน

(ระยะเริ่มต้นโครงงานระยะเวลา 1วัน)

ประสบการณ์เดิม เกี่ยวกับดอกไม้

น้องริว       - ที่บ้านริวมีดอกอัญชันด้วยครับ

น้องแพรวา  -คุณแม่ทำขนมจากดอกอัญชันให้ทานค่ะ

น้องนาย    -บ้านน้องนายมีดอกกุหลาบแดงด้วยครับ

น้องฟ้า         -ยายชอบปลูกดอกดาวเรือง

น้องหนึ่ง           -แม่ชอบดอกมะลิ

น้องมิ้ง                 -หนูชอบเก็บดอกปีบหลังตึกค่ะ

น้องเกรล       -ที่บ้านเกรลมีดอกชวนชมสีแดงค่ะ

น้องภัทรพล    -บ้านยายมีดอกชบาสีส้มเยอะเลยครับ

น้องรุริญา      -หนูเห็นดอกไม้สีแดงๆดอกเล็กๆที่หน้าตึกค่ะ

น้องชลธิชา  -ยายปลูกกล้วยไม้ด้วยหลายๆสีเลย

น้องชยพล    -ที่บ้านหนูไม่มีดอกไม้มีแต่ที่บ้านยายดอกอะไรไม่รู้สีส้มๆหนูชอบ

คำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับดอกไม้ชนิดต่างๆ

น้องพชรพล  - ที่โรงเรียนเรามีดอกไม้อะไรบ้าง

น้องธีรวัฒน์   - ดอกอะไรบ้างคั้นออกมาเป็นน้ำได้ครับ

น้องฟ้า         - น้ำอะไรบ้างที่เราจะมาทดลอง

น้องเกรล   - ถ้าหยดมะนาวลงในน้ำดอกไม้ต่างๆจะเป็นสีอะไร

น้องนาย    - ถ้าเทน้ำโซดาลงไปในน้ำดอกไม้ต่างๆจะเป็นสีอะไร

น้องเดี่ยว   - ใส่น้ำส้มสายชูลงไปในน้ำดอกไม้จะเป็นอย่างไร

จากการตั้งคำถามของเด็ก จึงสรุปลงในแผนที่ความคิด(web)

ระยะที่2 พัฒนาโครงงาน

เด็กค้นคว้าหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายผ่านกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง                        การทดลอง   จากผู้ปกครอง สำรวจบริเวณโรงเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงมากที่สุด

           1.เด็กสำรวจดอกไม้บริเวณสวนหย่อมหน้าอาคารบัวชมพู

            2.เด็กแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ4-6คน ตัวแทนออกมาเลือกดอกไม้ ที่ครูเตรียมไว้ ได้แก่ ดอกเฟื่องฟ้า,  ดอกชวนชม, ดอกกุหลาบ,ดอกชบา,ดอกเยอร์บีร่า,ดอกเบญจมาศ,ดอกดาวเรือง จำนวน 10ดอก/กลุ่ม โดยเลือกเฉพาะดอกที่สดไม่ใช้ดอกไม้แห้ง

  3.เด็กทดลองหยดน้ำทั้ง3ชนิดวันละ 1 ชนิด ก่อนการทดลองทุกครั้งครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก    คาดเดาว่าถ้าหยดน้ำมะนาว,น้ำส้มสายชู,น้ำโซดาลงในน้ำดอกไม้ที่คั้น น้ำจะเปลี่ยน สีหรือไม่ เด็กวาดภาพระบายสี

 

           4.เด็กแต่ละกลุ่มนำดอกไม้ที่รับมาใส่ถุงขยี้ให้ละเอียด เติมน้ำลงไปเกือบเต็มแก้ว คนให้เข้ากันแล้วกรองน้ำดอกไม้ไว้

     5.เด็กแต่ละกลุ่มแบ่งน้ำดอกไม้ออกเป็น 4 แก้วเท่าๆกัน  แก้วที่1 เก็บไว้เปรียบเทียบ แก้วที่ 2- 4 เด็กใช้สำหรับหยดน้ำมะนาว,น้ำส้มสายชู,น้ำโซดา ผลัดกันหยดคนละ3-5หยดให้ครบทุกคนในกลุ่ม

..

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

  

 
โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

   6.เมื่อเด็กหยดน้ำมะนาว,น้ำส้มสายชู,น้ำโซดาลงในน้ำสีของดอกไม้ชนิดต่างๆในแต่ละวัน ให้เด็กนำน้ำสีของดอกไม้แก้วที่ 1 มาเปรียบเทียบสีว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากสีเดิมหรือไม่

 
โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

เด็กวาดภาพสรุปผลการทดลองทุกครั้ง

 

ระยะที่ 3 สรุปโครงงาน

 1.เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกกลุ่ม  

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

 2.เด็กและครูสรุปโครงงานดอกไม้เปลี่ยนสีเป็นแผนผังความคิด

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

                                                                                                                                             3.เด็กเล่ากิจกรรมการทดลองให้ผู้ปกครองบันทึกในใบงาน

 

 
โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง

 โครงงานนี้นำเสนอเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจและครูปฐมวัยที่เข้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งตอนที่ทำก็ไม่มีข้อมูลในการทำว่าจะเริ่มอย่างไร หาข้อมูลใน net ก็ไม่มี พอทำเสร็จแล้วคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนชาวปฐมวัยที่ยังไม่ได้ทำบ้างไม่มากก็น้อย อาจจะไม่สมบูรณ์ ท่านใดมีข้อเสนอแนะ ยินดีนะคะ

โครงงาน วิทยาศาสตร์ ดอกกุหลาบสีรุ้ง