โครง งาน วิทยาศาสตร์ น้ำยา ล้าง จาน จาก มะกรูด

บทที่1

บทนำ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

    ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยของเราประสบปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำซึ่งมีผลต่อราคาของสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งอุปโภคและบริโภคทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาเหล่านี้และกลุ้มใจในรายรับ-รายจ่ายที่ตามมาภายในครัวเรือนซึ่งรายจ่ายมากกว่ารายรับพวกเราจึงได้ปรึกษาและหาทางออกเพื่อช่วยท่านพ่อบ้านและแม่บ้านทั้งหลาย ให้มีรายจ่ายภายในครัวเรือนลดน้อยลงบ้าง ซึ่งต้องเริ่มจากสิ่งที่เราใช้ทุกวัน และสิ้นเปลืองอย่างมาก เช่น น้ำยาล้างจาน เราจึงได้คิดค้นวิธีศึกษา และวิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองซึ่งจะทำให้ได้ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนอีกทั้งน้ำยาล้างจานที่เราได้ศึกษาและนำมาเสนอนี้ล้วนมีวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติหาได้ภายในครัวเรือนและท้องถิ่น ไม่อันตราย แถมยังไม่ต้องซื้อหา ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนอีกมากมาย ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำได้คิดการสร้างสื่อเพื่อการศึกษาโดยใช้ Google Sites เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาในการทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะนาว และสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคทั่วไปของมะกรูด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาได้ตลอดเวลาอีกทั้งยังทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนได้อีกด้วย

1.วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้าง Google Sites เป็นสื่อในการศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
2.เพื่อศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของมะนาวและมะกรูด
3.เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลใน Google Sites ที่ได้สร้างไว้

4.เพื่อให้เห็นประโยชน์ความสำคัญของธรรมชาติสิ่งรอบตัวโดยใช้ให้อย่างคุ้มค่า

5.เพื่อเป็นการหาอาชีพเสริม และการหารายได้ให้ตนเองและครอบครัว


2.ขอบเขตของโครงงาน

เนื้อหา: เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะนาวและมะกรูดและวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
ระยะเวลา: ตั้งแต่วันที่ 2 -5 สิงหาคม 2559
สถานที่: โรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์ จังหวัดนครราชสีมา

3.หลักการและทฤษฎี
    

    จากการศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง การทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะกรูด นั้นทำให้เราได้ความรู้ และประโยชน์ในการใช้สมุนไพรในการนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และ Google Sites เป็นสื่อในระบบ 

E-learning ไว้สำหรับเป็นสื่อเพื่อการศึกษาทำให้เรารู้จักใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ และ  Google Sites เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้สนใจที่จะสร้างสื่อกลางเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างดี


4.ผลที่คาดว่าจะได้รับ


1. สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม
2. ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของมะกรูด
3. ใช้  Google Sites เป็นสื่อกลางในการศึกษา ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

4. ให้ผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

5.วิธีการดำเนินโครงการ

เลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง การทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด
เสนอหัวข้อต่ออาจารย์
วางแผนการดำเนินโครงการ
4 เริ่มดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
นำเสนอผลการดำเนินโครงการแก่อาจารย์ผู้สอน

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถทำน้ำยาล้างจานจากวัสดุตามธรรมชาติได้

ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
สามารถต่อยอดความคิดนำผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมได้

7. นิยามศัพท์

          หัวเชื้อ N70 หมายถึง N70 มาจาก Texapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีทำให้เกิดฟองได้เร็ว ลักษณะทางกายภาพของสารนี้เป็นลักษณะคล้าย Gel ข้นๆครับมีความหนาแน่นค่อนข้างมากสีขุ่นขาวใส(คล้ายครีมนวดผม) จากการตรวจสอบแล้วมันสามารถละลายไขมันได้อย่างดีเยี่ยม

IS 2

เรื่อง น้ำยาล้างจานจากมะกรูด

 

 

จัดทำโดย

 

นางสาวจุฑาทิพย์ เรืองฉาย ม.5/1 เลขที่ 1

นางสาชนมน รุ่งเรือง ม.5/1 เลขที่ 4

นางสาว บุญญิสา ตันตะราวงศา ม.5/1 เลขที่ 10

 

เสนอ

 

คุณครูวิชุดา คงวัฒนะ

 

 

โรงเรียนดัดดรุณี ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2556

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาไอเอส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้การทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จากการสืบค้นข้อมูลตามชุมชน และสิ่งที่พบเห็นในการใช้ชีวิตประจำวัน
                ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นประยุกต์ใช้ธรรมชาติได้อย่างคุมค่าและมีประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งาน เราจะต้องขอขอบคุณ อ.วิชุดา คงวัฒนะ ผู้ให้ความรู้ และแนวทางดำเนินการทำโครงงานนี้  เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

                                             

                                                                                                          

                                                                                                                         ผู้จัดทำ

                                                                                                                        

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                       หน้า

คำนำ                                                                                                                                          ก

สารบัญ                                                                                                                                       ข

ความเป็นมาของปัญหา                                                                                                               1

ที่มาและความสำคัญของปัญหา                                                                                           2-6

                       ขอบข่ายของเนื้อหา                                                                                                                    7                    

  วัตถุประสงค์                                                                                                                             7-8

นิยาม                                                                                                                                         8

วัสดุ – อุปกรณ์                                                                                                                          9

ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน                                                                                                         9

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                              10

อภิปรายและสรุปผล                                                                                                                 10

ข้อเสนอแนะ                                                                                                                            10

อ้างอิง                                                                                                                                       11

ภาคผนวก                                                                                                                                 12

ความเป็นมาของปัญหา

                มะกรูดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ลำต้นเกลียวเกลา กิ่งก้านมีหนามแหลม ใบสีเขียวหนามีกลิ่นฉุน ลูกกลมหนาขรุขระ มี น้ำมันหอมระเหย ออกดอกเป็นช่อสีเขียวมีนวลเหลืองบ้าง หาได้ง่ายในท้องถิ่น ตามบ้านเรือน  เราจะสามารถนำมะกรูดมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร สามารถนำไปประกอบอาหารดับกลิ่นคาวและเป็นยารักษาโรค เช่น ช่วยแก้อาการท้องอืด แก้ปวดท้อง บำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ ฯลฯ นอกจากการบริโภคเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆได้อีกด้วย เช่น แชมพู ครีมนวด ครีมหมักผมเป็นต้น ส่วนต่าง ๆของมะกรูด สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของแห้ง คือ ใบมะกรูดแห้ง และผิวมะกรูดแห้ง หรือน้ำมันหอมระเหยสารสกัดวิธีต่างๆปัจจุบันความต้องการมะกรูดของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องด้วยสรรพคุณของมะกรูดที่มีความหลากหลาย แต่เกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันในลักษณะเป็นพืชผักสวนครัว หรือพืชรองเท่านั้น

เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทยได้เกิดวิกฤตสินค้าราคาแพงทำให้ชาวบ้านที่ยากจนไม่มีเงินซื้อของจึงคิดวิธีที่จะประหยัดในการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันก็คือ น้ำยาล้างจานจากมะกรูด เพราะเป็น สมุนไพรในพื้นที่ที่มีอยู่มากมายหาง่ายและยังมีประโยชน์มากมาย จึงได้นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน  เมื่อนำไปล้างจานก็สะอาดพอๆกับน้ำยาล้างจานสารเคมี ต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้

 จากการศึกษาผลมะกรูดพบง่าสามารถนำมะกรูดมาทำน้ำยาล้างจานได้ จึงมีจุดมุ่งหมายในการทำโครงงานโดยการนำมากรูดมาแปรรูปทำเป็นน้ำยาล้างจานที่ปลอดสารพิษ มีประโยชน์ และยังเป็นการนำสิ่งหาง่ายในท้องถิ่นของเรามาใช้ประโยชน์นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำไปหารายได้เสริมระหว่างเรียนได้

ที่มาและความสำคัญของปัญหา 

ชื่อสามัญ :    Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus hystrix DC.

วงศ์  Rutaceae

ชื่อท้องถิ่น :   มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)


มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อยใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนามีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่ายมีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็น ส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้วยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซ๋นติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ

ลักษณะทั่วไป

ไม้ ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด

การใช้ประโยชน์ การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน

น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้

 ในสรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูดนั้น เรียกได้ว่ามีมากมาย และที่โด่งดังเห็นทีจะเป็นในเรื่องของ สรรพคุณของมะกรูด ที่ใช้ในการรักษาเส้นผมให้สวย ดกดำ และเงางาม รวมถึงดูแลหนังศรีษะให้สุขภาพดี ประโยชน์ของมะกรูด มีมากจริง ๆ เพราะ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มีมากเหลือเกิน เราจึงก็รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มาบอกคุณ ๆ ที่มักจะใช้มะกรูดและกำลังคิดจะใช้สมุนไพรตัวนี้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงนำมาปรุงอาหารอีกด้วย

ส่วนที่ใช้

ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก

คุณสมบัติ

1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน

2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ

3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม

4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ

5.ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้

6.น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน

7.เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู

8.เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน

9.เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู่

 

ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค
- แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
- ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือลนไฟให้เปลือกนิ่มบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
- เป็นยาสระผมหรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิวทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาดนอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระ ผม

                นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้วยังมีรายงาน ว่าน้ำมันจากใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส (บัญญัติ, 2527)

§  แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี

§  ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ

§  เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม

สารสำคัญ

ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

วิธีการปลูก

ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึกประมาณ80เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุมระยะปลูกประมาณ 5 x 5เมตร

การปฏิบัติดูแลรักษา

1.             การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี

2.             การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15

3.             การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย

มะกรูดเป็นพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมนุษย์ได้ รู้จักนำเอาประโยชน์ที่ได้รับจากมะกรูดเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมของยา ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะและระงับการไอ ส่วนใบใช้ในการดับกลิ่นคาวในอาหารใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด และผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางและน้ำของมะกรูดมีกรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม นอกจากนี้ผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพื่อกำจัดรังแคที่มาจากเชื้อรา

มะกรูด เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการดับกลิ่นคาวและกำจัดคราบอาหาร น้ำมะกรูดมีความเป็นกรด คือ มีค่าความเป้นกรดด่าง ประมาณ 2-2.5 ซึ่งน้ำมะกรูดสามารถใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหารและใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่างๆเป็นต้น เนื่องตากมะกรูดเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

ขอบข่ายของเนื้อหา

                ศึกษาน้ำยาล้างจานจากธรรมชาติ      คือ     น้ำยาล้างจานจากมะกรูด

วัตถุประสงค์

 1.เพื่อให้เห็นประโยชน์ความสำคัญของธรรมชาติสิ่งรอบตัวโดยใช้ให้อย่างคุ้มค่า

2.สนับสนุนให้ผู้คนใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติมากกว่าผลิตภัณฑ์จากสารเคมี

3.เพื่อเป็นการหาอาชีพเสริม และการหารายได้ให้ตนเองและครอบครัว

4.เพื่อการเรียนรู้คุณประโยชน์ของมะกรูดอย่างลึกซึ้งและนำมาให้ประโยชน์ได้

5. เพื่อเป็นการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของมะกรูด ในการทำความสะอาดภาชนะ

เราจึงนำมะกรูดมาศึกษาต่อเพื่อทำเป็นน้ำยาล้างจานที่สามารถใช้ได้ในครัวเรือน และอาจจะนำไปเป็นกิจกรรมเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย ซึ่งเรามีขั้นตอนการดำเนินงานวิธีทำง่ายๆ สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างได้

                              

                               มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 3 เมตร ในชนบทมีการปลูกมะกรูดเพื่อใช้สอยแทบทุกครัวเรือน ใบมะกรูดนำไปซอยหรือเด็ดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ปรุงรสในต้มยำ เปลือกผลมะกรูด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ตำรวมเป็นน้ำพริกแกง มะกรูดทั้งผลนำไปวางในห้องน้ำทำให้มีกลิ่นหอม    นอกจากนี้บางคนยังได้นำผลมะกรูดไปสระผมทำให้ผมสลวยสวยงาม  จากประโยชน์ที่ได้กล่าวมา  มะกรูดจึงเป็นพืชหนึ่งที่มีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เช่นเป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม  น้ำยาล้างจาน

นิยาม

          หัวเชื้อ N70 หมายถึง N70 มาจาก Texapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีทำให้เกิดฟองได้เร็ว ลักษณะทางกายภาพของสารนี้เป็นลักษณะคล้าย Gel ข้นๆครับมีความหนาแน่นค่อนข้างมากสีขุ่นขาวใส(คล้ายครีมนวดผม) จากการตรวจสอบแล้วมันสามารถละลายไขมันได้อย่างดีเยี่ยม