งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3 สาระ

แผนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ชื่อโครงการ                          งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

สนองพระราชดำริโดย       โรงเรียนสามแยกบางคูลัด  ( จั่นเพชรวิทยาคาร  )

ปีการศึกษา                           2556

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                                1.  นายเชียง                                  อธิจันทรรัตน์         ประธานโครงการ

                                2.  นางรัชนี                                    วายโสกา             รองประธานโครงการ

                                3.  นางสนองนาฏ                            เสาวภาส             ผู้ประสานงาน

                                4.  นางอรุณ                                    หยวกทอง           กรรมการ

                                5.  ว่าที่ร้อยตรีอนุพันธ์                       บุญธรรม               กรรมการ     

                                6.  นางสาวพัณณ์ชยา                      ภัคธนาชัยอนันท์ กรรมการ      

 ความเป็นมา

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรม

ราชกุมารี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนบุคลทั่วไปเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรม

พืช รู้จักหวงแหนและนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง  ๆ  เช่น

                 -  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเชื่อมโยงบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง  8 กลุ่มสาระด้วยกิจกรรมพัฒนาต่าง  ๆ  ตามความเหมาะสมของนักเรียน

                  -  ด้านสิ่งแวดล้อม มีการปลูกพันธุ์ไม้ต่าง  ๆ  ในโรงเรียนเพื่อความสวยงาม ร่มรื่น สร้าง สิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่โรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนที่มีความเข้าใจธรรมชาติ  รักธรรมชาติ   จิตใจอ่อนโยนและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้
                  -  ด้านการอนุรักษ์เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ต่าง  ๆ  เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้หายาก ไม้ในท้องถิ่นและพืชสมุนไพร

โรงเรียนสามแยกบางคูลัด ( จั่นเพชรวิทยาคาร )  ตระหนักถึงความสำคัญของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี  และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ดำเนินการสอนโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อในการเรียนการสอน เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้กับเยาวชนและบุคลากรในโรงเรียนและเป็นแหล่งเรียนรู้  โดยให้นักเรียนมีโอกาสเข้าไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง            

 2.  วัตถุประสงค์

1)    เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน มีความรักและเห็นคุณค่าของพืชพรรณไม้ ไม่คิดทำลายและมีแนวคิดในการอนุรักษ์ต่อไป

2)    เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเผยแพร่ต่อไป                     

3)   เพื่อสร้างบรรยากาศของของโรงเรียนให้ร่มรื่น สวยงามและเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน

4)    เพื่อให้ความรู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

5)    เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง

6)     เพื่อให้นักเรียนตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนรักและภาคภูมิใจในกิจกรรมในท้องถิ่นของตน

3.   เป้าหมาย           

                3.1    เชิงปริมาณ

                -   นักเรียนโรงเรียนสามแยกบางคูลัด  ( จั่นเพชรวิทยาคาร ) ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  166  คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ

-  ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนใน โรงเรียนให้การส่งเสริมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรม

               3.2  เชิงคุณภาพ

-   นักเรียนโรงเรียนสามแยกบางคูลัด ( จั่นเพชรวิทยาคาร ) มีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึก

เห็นคุณค่าประโยชน์ของพืชพรรณไม้ต่าง  ๆ  และไม่คิดทำลาย

-  โรงเรียนมีต้นไม้ไว้ใช้ในการตกแต่งบรรยากาศของโรงเรียนอย่างเหมาะสม สวยงาม

-  โรงเรียนมีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้

-  โรงเรียนมีต้นไม้หลากหลายชนิดใช้ในการตกแต่งบรรยากาศโรงเรียนให้สวยงาม ร่มรื่น และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้

4.  สถานที่ในการดำเนินงาน

                       โรงเรียนสามแยกบางคูลัด   2 / 3  หมู่  11   ต. บ้านใหม่     อ. บางใหญ่  จ. นนทบุรี      11140 มีเนื้อที่ดำเนินการจำนวน  3  ไร่  2  งาน  80  ตารางวา

 5.  ระยะเวลาดำเนินการ

เริ่มต้น

16  พฤษภาคม    พ.ศ. 2556

สิ้นสุด

30   มีนาคม  พ.ศ. 2557

6.  งบประมาณ

งบประมาณ     6,500  บาท

7.  การติดตามและประเมินผล

             ครูและนักเรียนที่ร่วมโครงการช่วยกันดูแลพื้นที่และผลิตผลที่ปลูก  โดยการสังเกต และสอบถามจากนักเรียนและครูที่อยู่ภายในโรงเรียน

 8.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนเกิดความร่วมมือร่วมใจภายในโรงเรียนและโรงเรียนกับชุมชน   มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณของท้องถิ่น ตระหนัก รู้ค่าของสรรพสิ่ง ได้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  รู้จักชื่อพรรณไม้ มีความรัก  และเห็นคุณค่าของพรรณไม้  ผลผลิตที่ได้จากโครงการจะนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนได้ และพื้นที่ที่ถูกปล่อยให้ว่างเปล่าก็สามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์ได้   และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้