พระ ราช ดำรัส ของ บิดาแห่งการแพทย์

24 กันยายน “วันมหิดล” พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขนานนาม วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ ในกาลต่อมา

ในปี พ.ศ. 2493 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและบรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้มีการร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493

และนับแต่นั้นเป็นต้นมาทุกวันที่ 24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ของทุกปี จึงเป็นวัน “วันมหิดล”

พระ ราช ดำรัส ของ บิดาแห่งการแพทย์

พระ ราช ดำรัส ของ บิดาแห่งการแพทย์
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงสนพระทัยการแพทย์และการสาธารณสุข ตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งนายทหารแห่งกองทัพเรือสยาม ทรงเห็นว่าการแพทย์ และการสาธารณสุขของไทยยังล้าสมัยอยู่มาก ในที่สุดก็ตกลงพระทัย จะทรงช่วยปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะเสียก่อน ในระหว่างที่ทรงศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ทรงสนพระทัย และเป็นห่วงกิจการแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศตลอดเวลา ทรงตระหนักว่าการสาธารณสุข มีส่วนสำคัญในการพัฒนาของประเทศ และการสาธารณสุขจะได้ผลดี ก็ต้องมีแพทย์ที่มีคุณภาพสูง และมีการศึกษาแพทย์ที่เหมาะสม สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย การเจรจานั้นทรงกระทำหลายครั้ง ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย พระราชกรณียกิจประการแรกของพระองค์ ที่มีความสำคัญต่อวงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศ คือการพระราชทานทุนให้ นักเรียนออกไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ในสาขาการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล และในแขนงวิชาเตรียมแพทย์ต่างๆ

ในปี พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชชนก เป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย สมเด็จพระบรมราชชนกทรงงาน ในฐานะนายกกรรมการ คณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ในปี พ.ศ. 2468 ในช่วงที่ทรงดำรงตำแหน่งทั้ง 2 ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพย์ และพระวรกาย พระสติกำลัง เพื่อพัฒนา และปรับปรุงระบบการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทย์และพยาบาลของประเทศไทย

หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร ทรงรับเป็นพระอาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงงานในฐานะแพทย์ประจำ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทรงประทับกับครอบครัวดร. อี.ซี. คอร์ท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น สมเด็จพระบรมราชชนก จะทรงออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก พร้อมกับหมอคอร์ท ทรงโปรดรักษาเด็ก และโรคประสาทต่างๆ ทรงทำงานด้านห้องทดลองด้วยพระองค์เอง ตอนกลางคืนก่อนบรรทม ก็จะเสด็จออกตรวจคนไข้ทุกๆ เตียง นอกจากทรงมีพระเมตตาผู้ป่วยแล้ว พระราชอัธยาศัยและการวางพระองค์ต่อบรรดาแพทย์ และพยาบาล ก็เป็นไปอย่างละมุนละม่อม ไม่ถือพระองค์ ชาวเมืองเชียงใหม่ถวายพระนามแด่พระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า”

ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ทรงเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และการสาธารณสุข สมเด็จพระบรมราชชนก ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์ต่อการแพทย์ และการสาธารณสุขของไทยอย่างมากมาย จนเป็นที่ประจักษ์ และทรงได้รับการยกย่องเป็น “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย”

พระราชดำรัสสำคัญ

  • สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนของพระองค์ ทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ ทรงอบรมให้รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า

    “เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป”

  • สมเด็จพระบรมราชชนกทรงห่วงใยนักเรียนของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะแต่การเรียนเท่านั้น แม้ในด้านส่วนตัว การอยู่การกิน ได้เสด็จตรวจหอพักโดยไม่ทรงบอกกล่าว ล่วงหน้า สิ่งที่ทรงพร่ำสอนแก่นักศึกษาแพทย์ทั้งหลายคือ

    “อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรประกอบอาชีพอื่น”

  • ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงแสดงปาฐกถาในการประชุมใหญ่ประจำปีของแพทยสมาคม ความตอนหนึ่งดำรัสว่า

    “การที่พระองค์ทรงศึกษาวิชาแพทย์นั้นทำให้ทรงได้รับความสนุกและพอพระทัย แต่พระราชประสงค์ที่แท้จริงคือ เพื่อจะทำพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ ในประเทศไทยนั้นยังมีหนทางอีกมาก ที่จะช่วยกันบำรุงการแพทย์ให้เจริญขึ้นได้ และควรจะช่วยกันทำการค้นคว้าเรื่องราวสมมุติฐานของโรคในเมืองนี้”

พระราชนิพนธ์สำคัญ
พระ ราช ดำรัส ของ บิดาแห่งการแพทย์

  • “โรคทูเบอร์คูโลสิส” พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พ.ศ. 2463
  • “วิธีปฏิบัติการสุขาภิบาล” ทรงแสดงในการอบรมแพทย์สาธารณสุข พ.ศ. 2467
  • พระราชหัตถเลขา ถึง ดร. เอ. ยี. เอลลิส อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล และอดีตนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2471 (ภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทย)
  • “Diphyllobothrium Latum in Massachusetts” A Report of Two Indigenous Cases:, JAMA: 90: 1607-1608, May 19, 1928 (ภาษาอังกฤษ)
  • เอกสารประวัติศาสตร์ “การเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ พ.ศ. 2465”
    • พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
    • พระราชหัตถเลขาโต้ตอบกับ มร. ริชาร์ด เอ็ม เพียร์ซ มูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ ระหว่าง วันที่ 3 ตุลาคม-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 (ภาษาอังกฤษ)