เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

เมื่อญี่ปุ่นไม่ยอมจำนนตามคำ ประกาศแห่งเมืองปอตสดัม สิ่งเลวร้ายเกินกว่าที่ใครจะคาดคิดจึงได้เกิดขึ้น!!

          หากพูดถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ หลายคนรู้ดีว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และนำมาสู่การยอมจำนนของฝ่ายญี่ปุ่น

          หากแต่ยังมีเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่มาของการที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจใช้วิธีการอันเด็ดขาดและโหดเหี้ยมดังกล่าว

            และเพื่ออธิบายว่า การทิ้งบอมบ์ 2 เมืองนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย แต่ยังมีขั้นตอนสำคัญก่อนหน้านั้น จึงขอนำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้

            นั่นคือ สิ่งที่เรียกกันว่า “ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม” หรือ คำประกาศข้อปฏิบัติเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนน อันเป็นถ้อยแถลงเรียกร้องให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

            พูดง่ายๆ ว่ามันคือข้อเสนอให้ญี่ปุ่นยอมแพ้! นั่นเอง...

            และการประชุมนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.. 1945 (.. 2488) หรือวันนี้ของ 73 ปีก่อน ณ เมืองพ็อทซ์ดัมของเยอรมนี

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

การประชุมพ็อทซ์ดัมของผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมืองพ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี (ภาพจากวิกิพีเดีย)

            ในการประชุมนั้น มี ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน เป็นผู้นำประชุม นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญต่างๆ อาทิ นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล และ ประธานเจียง ไคเช็ก แห่งรัฐบาลแห่งชาติจีน

            การประชุมครั้งนี้ได้แถลงข้อปฏิบัติหากจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนน นอกจากนี้ยังมีคำเตือนอีกว่าญี่ปุ่นอาจจะเผชิญหน้ากับ "ความล่มสลายอย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า" หากไม่ยอมจำนน ซึ่งเป็นคำเตือนถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

แฮร์รี เอส. ทรูแมน (2427 – 2515), ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 33 ระหว่าง พ.ศ. 2488 - 2496

            สำหรับข้อเสนอต่อญี่ปุ่นได้แก่ ดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครองอยู่จะอยู่ใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรแทน, อธิปไตยของญี่ปุ่นจะถูกจำกัดในพื้นที่เ กาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกะกุ, ทหารญี่ปุ่นที่วางอาวุธจะได้รับอนุญาตให้กลับแผ่นดินเกิดได้โดยสวัสดิภาพ, ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่มีความประสงค์ที่จะกดขี่หรือทำลายชาติญี่ปุ่น

            แน่นอนที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ เพราะเลือดบูชิโด วิถีแห่งนักรบ ผู้ไม่กลัวตาย แล่นพล่านอยูในร่างกายของชาวญี่ปุ่นผู้ได้ชื่อว่าเป็นลูกพระอาทิตย์ทุกคน ดังนั้น ชาติ ศักดิ์ศรี และองค์จักรพรรดิ คือ สิ่งสูงสุด!

           และแน่นอนเช่นเดียวกัน เมื่อญี่ปุ่นไม่ยอมจำนนตามคำประกาศแห่งเมืองพ็อทซ์ดัม (Potsdam Declaration) ประธานาธิบดีทรูแมน จึงได้ลงนามในคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ..2488 ให้ทิ้งระเบิดปรมาณูเมืองฮิโรชิมาโดยเร็ว

           และแล้วเครื่องบินชื่อ Enola Gay ภายใต้การบังคับการของพันเอกพอล ทิบเบตส์ ก็หย่อน Little Boy หรือ Thin Man (ชื่อเล่นของระเบิดปรมาณู) ลงสู่เมืองฮิโรชิมา ในเช้าวันที่ 6 .. 2488

           จากนั้นวันที่ 9 .. "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สอง ก็ถูกปล่องลงไปถล่มเมืองนางาซากิ จนราบเป็นหน้ากลองทั้งสองเมือง

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

กลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดของ "ลิตเติลบอย" และ "แฟตแมน" ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมะ(ซ้าย) และเหนือเมืองนางาซากิ (ขวา) (ภาพจากวิกิพีเดีย)

           นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือนแล้ว

           การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมะ 140,000 คนและที่นางาซากิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลง มีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้

           และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน

           หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 .. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 .. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ..2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

           อย่างไรก็ดี แม้ว่าสหรัฐกระทำการภายใต้เหตุผลที่ญี่ปุ่นไม่ยอมทำตามข้อเสนอให้แพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ..2488 แต่ทั่วโลกก็ประณามการกระทำของสหรัฐเป็นอันมาก

           หรือที่จริงแล้ว ก่อนการทิ้งบอมบ์ บรรดาชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ก็มีการเคลื่อนไหวเพื่อขอให้รัฐบาลอเมริกันระงับการทิ้งระเบิดปรมาณูญี่ปุ่น

           ข้อเสนอแนวหนึ่งก็คือ ให้นำระเบิดปรมาณูไปทิ้งในสถานที่ที่ปราศจากผู้คน เพื่อให้นานาชาติได้เห็นถึงความร้ายแรงของอาวุธชนิดนี้ โดยหวังว่าญี่ปุ่นจะยอมประกาศวางอาวุธ

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

ภาพถ่ายในจังหวะที่นิวเคลียร์ตกลงมาที่เมืองนางาซากิ ในภาพคนถ่ายอยู่ไกลออกจากจุดตกประมาณ 9.6 กิโลเมตร (ภาพจาก www.buzzfeednews.com)

           การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญได้แก่ การยื่นข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์คนสำ คัญแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกรวม 7 คน ซึ่งนำ โดยศาสตราจารย์เจมส์ แฟรงก์ ต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสงครามในเดือนมิถุนายน 2488 บันทึกนี้รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า Franck Report แต่การรณรงค์ของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ไร้ผล

           นอกจากนี้ มุมหนึ่งที่พูดกันทั่วไปคือ สหรัฐเองนั้น ก็เต็มไปด้วยนักการเมืองสายเหยี่ยวที่เด็ดขาดนับตั้งแต่ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน, เจมส์ ไบร์นส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพลจัตวาเลสลี่ โกรฟส์ ผู้อำนวยการโครงการแมนฮัตตัน

เหตุการณ์ใดที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

สภาพความเสียหายหลังเหตุการณ์ (ภาพจาก www.buzzfeednews.com)

           ว่ากันว่า ประธานาธิบดีทรูแมนลำพองในอำนาจ จนนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษสังเกตเห็น เมื่อประชุมร่วมกับสตาลิน ณ เมืองปอตสดัมในช่วงเวลาเดียวกันนั้น

           จนเมื่อเห็นว่าญี่ปุ่นไม่ยอมจำนนตามคำ ประกาศแห่งเมืองปอตสดัม เขาจึงได้ทีในการแสดงแสนยานุภาพทางอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อให้สมค่ากับที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ผลิตอาวุธปรมาณูได้!!

////////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

- วิกิพีเดีย

- คอลัมน์ "จากท่าพระจันทร์ถึงสนามหลวง" ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2538ระเบิดปรมาณูกับสงครามโลกครั้งที่สอง เขียนโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

- https://www.buzzfeednews.com/article/gabrielsanchez/the-devastating-and-apocalyptic-aftermath-of-a-nuclear#.jo3dM933R