ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

ยากกว่าการเรียนให้จบก็คือการหางานนี่แหละ แรกเริ่มหลายคนตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ แต่เมื่ออะไรๆ ไม่เข้าเป้าจึงต้องเลือกทำในสิ่งที่ไม่ถนัดหรือมีความใกล้ชิดกับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้

ซึ่งการจะถูกบริษัทเรียกตัวสัมภาษณ์นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรซูเม่เป็นอาวุธเด็ดที่สำคัญมากจริงๆ และหากบัณฑิตหน้าใสยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ประวัติส่วนตัวดูโดดเด่น เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก อย่าง 10 ทักษะต่อไปนี้ที่นักศึกษาจบใหม่สามารถนำมาใส่ในเรซูเม่ได้

ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

1. Commercial awareness

คือการมีความเข้าใจในโลกธุรกิจ รวมถึงประเภทธุรกิจของบริษัทที่คุณสมัคร เข้าใจในภาพรวม กลุ่มเป้าหมาย การดำเนินงาน หรือการแข่งขันในตลาด

2. Communication

ความสามารถในการสื่อสาร ครอบคลุมทั้งเรื่องการพูด การเขียน การฟัง และการถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็น

ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

3. Teamwork

สามารถทำงานเป็นทีมได้ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีต่อสมาชิกในทีม โดยสามารถจัดการ และรับผิดชอบให้งานบรรลุเป้าหมายได้

4. Negotiation and persuasion

คือทักษะในการรู้จักประนีประนอม และเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการหรือทำให้ผู้อื่นยอมรับในทางออกที่มี

5. Problem solving

คือทักษะในการแก้ปัญหานั่นเอง เข้าใจถึงปัญหาในมุมมองต่างๆ มีความสามารถในการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา

ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

6. Leadership

ตำแหน่งที่เกี่ยวกับผู้นำ หรือเป็นหัวหน้านี้นักศึกษาจบใหม่อาจไม่สามารถสมัครได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามผู้สมัครสามารถแสดงศักยภาพของความเป็นผู้นำได้โดยสร้างแรงบันดาลใจ หรือโน้มน้าวเพื่อนร่วมทีม

7. Organisation

คือทักษะในการจัดลำดับความสำคัญว่างานใดควรทำก่อนทำหลัง โดยต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งทันเวลา

8. Perseverance and motivation

ว่าด้วยเรื่องกำลังใจ การมองโลกในแง่ดี ทุกการทำงานย่อมมาพร้อมกับอุปสรรค แต่ในฐานะผู้รับผิดชอบงานต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการก้าวผ่านอุปสรรคไปให้ได้

ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

9. Ability to work under pressure

การทำงานภายใต้ความกดดันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติหลักที่นายจ้างมองหาจากผู้สมัคร โดยพวกเขาต้องการเห็นว่าผู้สมัครแสดงออกอย่างสงบในสถานการณ์วิกฤติได้อย่างไร

10. Confidence

ข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่ผู้สมัครควรมีอย่างพอเหมาะพอดี ไม่แสดงออกให้นายจ้างเห็นจนกลายเป็นความเย่อหยิ่ง

ทักษะ ใน การ ทํา งาน เร ซู เม่

นอกจาก 10 ทักษะที่สำคัญนี้แล้ว การทำเรซูเม่ต้องอาศัยความตั้งใจ และการตรวจทานคำผิด หรือใส่ใจแม้กระทั่งรูปแบบสีสันที่เลือกใช้ อย่างที่กล่าวไปว่าเรซูเม่เป็นอาวุธสำคัญในการสมัครงาน ดังนั้น ทำได้ดีก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง

ที่มา: targetjobs

ร่วมแสดงความคิดเห็นกันจ้า...

  • ชื่อนามสกุลและข้อมูลการติดต่อเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะถ้าไม่มีข้อมูลส่วนนี้ บริษัทก็จะไม่สามารถติดต่อเราได้
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาควรจะบอกชื่อสถาบันการศึกษา สาขาวิชาที่เรียน และรางวัลที่ได้รับระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ให้ครบถ้วนและชัดเจน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานควรเน้นไปที่เรื่องของบทบาทหน้าที่ที่เราได้รับ และทักษะที่ได้จากการทำงานนั้น ๆ สามารถนำมาขึ้นก่อนข้อมูลการศึกษาได้ ถ้าเราคิดว่าผลการศึกษาของตัวเองไม่ค่อยดีนัก
  • ทักษะจะแสดงให้องค์กรเห็นว่าเรามีความสามารถอะไรบ้าง แล้วทักษะที่เรามีตรงกับความต้องการของบริษัทแค่ไหน การเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงกับประกาศรับสมัครงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เรซูเม่ของเราสะดุดตาองค์กรมากขึ้น
  • การใส่งานอดิเรก และความสามารถพิเศษอาจจะทำให้องค์กรประทับใจในตัวเรามากขึ้น ถ้าสิ่งเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อการทำงาน หรือสามารถเชื่อมโยงกับตำแหน่งงานที่สมัครได้

ถ้าพูดถึงการทำ Resume ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองต้องใส่อะไรลงไปบ้าง และต้องเขียน Resume ด้วยรูปแบบไหนถึงจะน่าสนใจ แต่จริง ๆ แล้ว การทำ Resume ที่ดีไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวอะไร เพราะมันขึ้นอยู่กับประเภทงานที่เราสมัคร รวมถึงตัวองค์กรเอง เช่น งานสายครีเอทีฟ ก็จะต่างกับงานในสายพัฒนาธุรกิจ การเงิน ธนาคาร ที่เน้นความน่าเชื่อถือและถูกต้องตามแบบแผนมากกว่า ดังนั้นวันนี้ JobThai เลยจะมาบอกว่าจะทำ Resume ให้ดีต้องมีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นเลยเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Resume มีไว้เพื่อบอกเล่าประวัติส่วนตัว ดังนั้นเราต้องทำให้มันอ่านง่ายที่สุด จัดเรียงข้อมูลใน Resume ให้เป็นสัดส่วนและเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย โดยแบ่งได้เป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ข้อมูลส่วนตัว

ส่วนสำคัญที่สุดของการทำ Resume เพราะถ้าเราไม่เขียนชื่อและข้อมูลติดต่อ HR หรือหัวหน้างานที่ได้อ่านเรซูเม่ของเราก็จะไม่รู้เลยว่านี่คือ Resume ของใคร ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราควรใส่ลงไปในส่วนนี้ ได้แก่

ชื่อ – นามสกุล: เขียนลงไปเฉพาะชื่อจริงก็พอ ยกเว้นบางบริษัทที่ระบุให้ใส่ชื่อเล่น

เบอร์โทรศัพท์: นอกจากเบอร์เรา ใส่เบอร์ของคนใกล้ชิดสำรองไว้ด้วย

อีเมล: อย่าใช้อีเมลชื่อเล่นและไม่เป็นทางการ แต่ควรใช้อีเมลที่เป็นชื่อจริง – นามสกุล

โซเชียลมีเดีย: ใช้ชื่อที่ตรงกับในเรซูเม่มากกว่าใช้ชื่อที่แค่รู้จักกันแค่ในกลุ่มเพื่อน และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อโซเชียลมีเดียที่คำไม่สุภาพ

Blog หรือเว็บไซต์: การมี Blog เว็บไซต์ หรือช่อง YouTube อาจเพิ่มความน่าสนใจ แต่ข้อมูลในช่องทางเหล่านี้ควรเป็นไปในทางที่ดี ไม่อย่างนั้นความน่าเชื่อถือของเราก็จะลดลงไปด้วย

ที่อยู่: อาจไม่ค่อยจำเป็นแล้วเพราะการติดต่อการสัมภาษณ์งานมักใช้อีเมล โทรศัพท์ หรือไลน์ด้วยซ้ำ แต่ข้อมูลส่วนนี้ก็ยังจำเป็นต้องกรอกในใบสมัครวันที่บริษัทนัดเราเข้าไปสัมภาษณ์งานนั่นเอง

2. ข้อมูลการศึกษา

ให้เรียงลำดับจากปัจจุบันขึ้นก่อนแล้วไล่ไปจนถึงการศึกษาก่อนหน้า เช่น ถ้าเราเพิ่งเรียนจบปริญญาโท ก็ให้ใส่เป็นรายการที่ 1 ไล่ไปหาปริญญาตรีเป็นรายการที่ 2 และมัธยมศึกษา ส่วนสิ่งที่ควรใส่ลงไปเพิ่มเติมก็มี

สาขาวิชาที่เรียน: ระบุให้ชัดเจนว่าเราเรียนอะไรสมัยมหาวิทยาลัย บางคณะ บางสาขายังไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างหรือมีเฉพาะแค่บางประเทศเท่านั้น ก็อาจจะใส่คำอธิบายสั้น ๆ ลงไป

ชื่อสถาบันการศึกษา: ควรใส่ชื่อเต็มเท่านั้น แม้จะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงก็ตาม ที่สำคัญคืออย่าลืมใส่ปีที่สำเร็จการศึกษา และช่วงเวลาที่เรียนอยู่ เช่น ปี 2014 – 2018

รางวัลที่ได้: รางวัลที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ประกวดถ่ายภาพ, ร่วมทีมพัฒนาธุรกิจ SME, ตอบปัญหากฎหมาย, นักกิจกรรมดีเด่น ฯลฯ รางวัลเหล่านี้จะเป็นเครื่องการันตีให้บริษัทรู้ว่าเรามีความสามารถด้านนั้นจริง ๆ

ถ้าเกรดไม่ดี ควรใส่ลงไปใน Resume ไหม?

ถ้าเราได้เกรดไม่ดี เราอาจจะยังไม่ใส่เกรดลงไปใน Resume ก็ได้ แล้วค่อยเอาไปยื่นในวันที่ถูกเรียกสัมภาษณ์แทน แต่ถ้าเรามั่นใจว่าเกรดสวย ได้เกียรตินิยม การใส่ลงไปใน Resume จะทำให้โดดเด่นขึ้นมาทันที

3. ข้อมูลการทำงาน

ส่วนนี้ “ประสบการณ์การทำงาน” สำคัญที่สุด เพราะข้อมูลนี้จะช่วยให้บริษัทได้รู้ว่าเราเคยทำอะไรมาบ้าง การเรียงลำดับก็เหมือนกับประวัติการศึกษาที่เรียงจากประสบการณ์ล่าสุดขึ้นก่อนแล้วไล่ไปหาอดีต และสามารถนำมาขึ้นก่อนข้อมูลการศึกษาได้ ถ้าเราเป็นคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาสักระยะ หรือคิดว่าผลการศึกษาของตัวเองไม่ค่อยดีนัก โดยในเนื้อหาก็ควรลิสต์ลงไป 5 – 6 ข้อ โดยเน้นเรื่องหน้าที่ที่เราทำ อธิบายสั้น ๆ ด้วยว่าเราได้ทักษะอะไรจากงานนี้บ้าง เพื่อให้เชื่อมโยงไปถึงงานใหม่และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าว่างจากงานประจำนาน ๆ แล้วไปทำฟรีแลนซ์ควรใส่ใน Resume ไหม?

อยู่ที่ว่างานฟรีแลนซ์นั้นเกี่ยวข้องกับงานที่เรากำลังสมัครหรือเปล่า ถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานใหม่ก็อาจจะไม่น่าดึงดูด แต่เราสามารถเก็บไว้ตอบตอนสัมภาษณ์ก็ได้ว่า งานฟรีแลนซ์ช่วยให้เราได้ทักษะอะไรเพิ่มเติมมาบ้าง

4. ทักษะ

เป็นสิ่งที่องค์กรมองหาจากคนสมัครงานทุกคน เพื่อดูว่าใครมีทักษะตรงกับที่บริษัทกำลังประกาศรับอยู่บ้าง เราอาจเขียนทักษะลงไป 2 ส่วนเลยก็ได้ คือส่วนที่บริษัทต้องการและทักษะอื่นที่เรามี แม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับตำแหน่งนั้นโดยตรง แต่จะช่วยเสริมให้เรซูเม่เราน่าสนใจมากขึ้น

ทักษะอื่นมีอีกเพียบ จะใส่เพิ่มลงไปใน Resume ดีไหม?

ต้องดูว่าทักษะนั้นส่งผลกับงานโดยรวมและจะช่วยให้งานออกมาดีขึ้นไหม การเลือกใส่ทักษะพวกนี้ก็จะส่งผลดีต่อตัวเรา เช่น ถ้าสมัครตำแหน่ง Business Development ก็ใส่ Soft Skills ลงไปด้วยไม่ว่าจะเป็น การคิดเชิงวิเคราะห์, ความเป็นผู้นำและการจัดการเวลา

5. ความสนใจและความสามารถอื่น

หลายคนไม่แน่ใจว่าควรใส่ความสนใจ และความสามารถพิเศษลงไปใน Resume ดีไหม แต่ปัจจุบันหลาย ๆ บริษัทก็มักจะถามถึงงานอดิเรกอยู่เสมอ เพราะมันแสดงออกถึงทักษะบางอย่างที่อาจจะช่วยเสริมการทำงานของเราได้ เช่น ชอบถ่ายภาพ, ชอบอ่านหนังสือ, ชอบดูหนังและทำเพจวิเคราะห์หนัง แต่เราต้องดูถ้าบริษัทนั้นใหญ่ขนาดต้องรับเรซูเม่จำนวนเป็นพันต่อเดือน ก็ควรทำให้สั้น กระชับ อย่าใส่งานอดิเรกที่ไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบงานลงไป

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 3 สิงหาคม 2018 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

ที่มา:

thebalance.com

resumeok.com