วิจัยในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ป.6 สม การ

การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ B-SLIM Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิริรัตน์ มงคล

http://khoon.msu.ac.th/full158/sirirat134007/titlepage.pdf

การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนภูมิกราฟิก / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กฤติกา ศรียงค์

http://khoon.msu.ac.th/full155/krittiya133668/titlepage.pdf

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามสไตล์การเรียนรู้ของเดวิด คอล์บ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นลินรัตน์ ฤทธิวัฒนานุสรณ์

http://khoon.msu.ac.th/full151/nalinrat133201/titlepage.pdf

การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ B-SLIM model โรงเรียนบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิชัย ศรีมหันต์

http://khoon.msu.ac.th/full155/wichai133672/titlepage.pdf

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญรักษ์ ชนูนันท์

http://khoon.msu.ac.th/full159/boonrak134103/titlepage.pdf

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบการใช้สื่อการสอนวีซีดีเรื่องการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาสาระวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เพ็ญศรี อินทร์อุดม

แบบฝึกซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓

  ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการสอนซ่อมและเสริมนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านและเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓   โดยได้ทำตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา  ขณะนี้ได้พัฒนาเรื่องภาพและเนื้อห จึงเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสพท.เชียงใหม่ เขต ๑ และเว็บไซต์ของผู้เขียนเอง ที่นำมาบอกกล่าวแก่คุณครูในบันทึกนี้ เนื่องจากมีคุณครูหลายๆท่านทั่วไทยโทรศัพท์มาสอบถามและอยากเห็นตัวอย่าง/แนวทางในการนำไปใช้  จึงขออนุญาตนำมาฝากค่ะ..

 เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างกิจกรรมในแบบฝึกได้นำเนื้อหาสาระต่างๆในบทเรียนในเรื่องความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เกี่ยวกับรูปและเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การแจกลูกสะกดคำ การผันอักษร และ คำควบกล้ำ ซึ่งนักเรียนมักจะประสบปัญหาในการอ่านและเขียน   เนื่องจากทั้งการอ่านและการเขียนเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนสำหรับเด็กที่หัดอ่านใหม่ๆ   ถ้าเด็กยังไม่มีความพร้อม ครูจะสอนอย่างไรนักเรียนก็อ่านเขียนไม่ได้ เด็กที่มีความเจริญเติบโตด้านร่างกาย ได้แก่ ประสาทหู ประสาทตา มีความเจริญถึงขั้นที่จะฟังหรือเห็นความแตกต่างระหว่างรูปและเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ในด้านสมองมีความเข้าใจพอที่จะทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจเรื่องที่ครูเล่าหรืออ่านให้ฟัง มีความคิดรวบยอดกับสิ่งต่าง ๆ โดยการที่จะมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ได้นั้นก็ต้องอาศัยประสบการณ์ที่กว้างขวางทางสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเด็กเองจะส่งผลให้เด็กมีความพร้อมที่จะอ่านและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความพร้อมทางด้านต่าง ๆ แล้ว การเรียนรู้ภาษาไทยให้ได้ผลยังจะต้องได้รับการฝึกฝนให้คล่องแคล่ว แม่นยำ จึงจะนำไปใช้ได้ เช่น การฝึก การอ่านคำให้จำรูปคำได้แล้วฝึกแจกลูกสะกดคำ ให้นักเรียนนำหลักเกณฑ์ไปอ่านและเขียนคำอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมและการฝึกฝนเป็นสำคัญ    

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกฯ (๑)ให้ครูผู้สอนใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีข้อบกพร่อง ด้านการอ่านและเขียนที่สืบเนื่องมาจากขาดความพร้อมและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้/บทเรียน  (๒)ให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนที่ถูกวิธีตามลำดับขั้นตอนของการฝึกทักษะ คือ ให้เห็นตัวอย่างแล้วทำตามอย่างได้ แล้วจึงฝึกให้ทำเองโดยไม่ต้องดูตัวอย่างและฝึกฝนบ่อยๆ จนคล่องแคล่ว สามารถนำไปใช้ได้  (๓)เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เช่น การอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดต่าง ๆ การผันตัวอักษร การแจกลูกสะกดคำ การออกเสียงคำควบกล้ำ เป็นต้น

ลักษณะกิจกรรมในแบบฝึก

๑.ได้จัดเป็นแบบฝึกหัดแต่ละเรื่องตามเนื้อหา โดยแต่ละแบบฝึกหัดจะมี กิจกรรมประมาณ ๔-๖ กิจกรรม ซึ่งเนื้อหาได้จัดเรียงลำดับตามสาระการเรียนรู้ที่นำเสนอในสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถปรับใช้ได้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สถานศึกษาจัดขึ้นตามความเหมาะสม

๒.ทุกแบบฝึกหัดได้จัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก การฝึกแต่ละ กิจกรรมมีรูปภาพและเพลงประกอบทุกกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นและเร้าให้เด็กมีความสนใจที่จะทำแบบฝึกหัดและให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

๓.ทุกแบบฝึกหัดจะประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ ดังต่อไปนี้คือ

  • การร้องเพลงเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้น่าสนใจและสนุกสนานโดยเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เป็นเนื้อหา / สาระของแต่ละเรื่อง
  • การเขียนตามรอยและการขีดเส้นใต้คำ เพื่อให้จำรูปคำสระ และชื่อของพยัญชนะได้
  • การทายพยัญชนะจากภาพ เพื่อให้จำรูปและชื่อพยัญชนะได้
  • การโยงเส้นคำและข้อความกับรูปภาพ เพื่อให้รู้ความหมายของคำและข้อความ
  • การประสมคำจากภาพ เพื่อให้จำรูปพยัญชนะได้
  • การแยกส่วนประกอบของคำ เพื่อให้รู้จักหลักเกณฑ์ของการประสมคำ
  • การเติมคำหรือข้อความในช่องว่าง เพื่อให้รู้จักรูปและความหมายของคำและข้อความ
  • การจับคู่คำและความหมาย เพื่อให้รู้จักรูปคำและความหมาย
  • การเขียนคำให้ตรงกับภาพ เพื่อให้จำรูปคำและรู้จักสะกดคำ
  • การทายปริศนาคำทาย เพื่อให้รู้จักคิดด้วยความสนุกสนานเร้าใจ
  • การเรียงคำเป็นประโยค เพื่อให้รู้จักใช้คำในประโยค
  • การแต่งประโยคจากภาพ

วิธีใช้แบบฝึกในการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียน ภาษาไทย

๑. ใช้สอนเป็นรายบุคคล

เป็นการสอนแบบตัวต่อตัว ตามข้อบกพร่องของแต่ละคน ควรใช้กับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนที่มี     ข้อบกพร่องในการเรียนเรื่องนั้น ๆ น้อยคน แต่มีลักษณะของปัญหา ต่างกัน ความสำเร็จของการสอน/จัดกิจกรรมวิธีนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ การสร้างแรงจูงใจและความเอาใจใส่ใกล้ชิดของครู

๒. ใช้สอนเป็นกลุ่มย่อย

ในบางเนื้อหานักเรียนจะมีปัญหาลักษณะเดียวกันหรือเรื่องเดียวกัน ควรให้เรียนรวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามปัญหา ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันบ้าง หรือแยกฝึกเป็นรายบุคคลบ้าง ครูผู้สอนสามารถสลับการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม

๓. ให้นักเรียนสอนกันเอง

ครูผู้สอนสามารถใช้แบบฝึกนี้โดยให้นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน ลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาจสอนตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มย่อย ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของครู ครูจะต้องทำความเข้าใจให้นักเรียนที่เป็นผู้สอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน ขั้นตอนการสอน การใช้สื่อ และการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนสอนกันเอง นักเรียนจะสื่อความหมายเข้าใจกันได้ง่ายกว่าที่ครูสื่อกับนักเรียนเพราะเป็นเด็กด้วยกันนอกจากจะทำให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเรียนดีขึ้นแล้ว นักเรียนที่เป็นผู้สอนยังได้ทบทวนความรู้และทักษะของตนเองให้ดีขึ้นไปด้วย ข้อควรระวังคือ พฤติกรรมการสอนของนักเรียนเก่งอาจสร้างปมด้อยให้นักเรียนอ่อน ครูจึงควรหาวิธีแนะนำให้เข้าใจ ใช้คำพูดไม่กระทบกระเทือนจิตใจ และให้กำลังใจเพื่อนผู้เรียนอ่อนอยู่เสมอ

รายละเอียดเนื้อหา เล่ม ๑    (๑๕๖ หน้า)

แบบฝึกหัดที่ ๑ คำที่ใช้สระอาและพยัญชนะ ต ถ ฟ ม ร

แบบฝึกหัดที่ ๒ คำที่ใช้สระอูและพยัญชนะ ก ด ข ห น ว ด

แบบฝึกหัดที่ ๓ คำที่ใช้สระอี สระใอ(ไม้ม้วน) และพยัญชนะ ช บ อ

แบบฝึกหัดที่ ๔ คำที่ใช้สระโอ สระไอ(ไม้มลาย)และพยัญชนะ จ ป พ

แบบฝึกหัดที่ ๕ คำที่ใช้สระอุ สระอำ

แบบฝึกหัดที่ ๖ คำที่ใช้สระอะ

แบบฝึกหัดที่ ๗ คำที่ใช้สระอิ สระเอ

แบบฝึกหัดที่ ๘ คำที่ใช้สระอัว สระออ

แบบฝึกหัดที่ ๙ คำที่ใช้สระเอา สระเออ

แบบฝึกหัดที่ ๑๐ คำที่ใช้สระอือ

แบบฝึกหัดที่ ๑๑ คำที่ใช้สระแอะ และผันวรรณยุกต์อักษรสูง

แบบฝึกหัดที่ ๑๒ คำที่ประสมด้วยสระเออะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๓ คำที่ประสมด้วยสระเอือ สระเอะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๔ คำที่ประสมด้วยสระเอีย สระโอะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๕ คำที่ประสมด้วยสระเอาะ

รายละเอียดเนื้อหา เล่ม ๒ (๑๐๐ หน้า)

แบบฝึกหัดที่ ๑ อ่าน เขียนคำที่มี ง สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๒ อ่าน เขียนคำที่มี ย สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๓ อ่าน เขียนคำที่มี ว สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๔ อ่าน เขียนคำที่มี ก สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๕ อ่าน เขียนคำที่สะกดด้วยแม่กด

แบบฝึกหัดที่ ๖ อ่าน เขียนคำที่สะกดด้วยแม่กบ

แบบฝึกหัดที่ ๗ อ่าน เขียนคำที่สระเปลี่ยนรูปและลดรูป

แบบฝึกหัดที่ ๘ ทบทวนการใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด

คู่มือครูแนวการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน

เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

อีกนิดค่ะ..ในการใช้แบบฝึกซ่อมเสริมฯ

ระหว่างสอน/จัดกิจกรรม

๑.ควรให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติและคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ครูเป็นผู้คอยกระตุ้นให้คิดและชี้แนะวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนเท่านั้น เพราะการใช้แบบฝึกที่นักเรียนค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้เรียนเต็มตามศักยภาพและความสามารถของตนเอง 

 ๒.ครูผู้สอนควรให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนซ่อมเสริม โดยไม่รู้สึกว่าเกิดปมด้อย ควรมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรบันทึกผลการทดสอบไว้ในสมุดบันทึกการสอนซ่อมเสริม แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนและข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียด

๓.ครูผู้สอนควรนำหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ นักเรียน เช่น การเสริมแรง ให้กำลังใจ ชมเชย กระตุ้นยั่วยุ ชี้แนะให้นักเรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว พร้อมทั้งระลึกเสมอว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนบางคนควรแทรกทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เช่น การเล่นเกม ให้อวัยวะเคลื่อนไหว การฝึกกวาดสายตา เช่น ฝึกสมาธิก่อนอ่านหนังสือ เป็นต้น  

หลังสอน/จัดกิจกรรม

ควรให้นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเองว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น บันทึกผลการเรียนการสอนซ่อมเสริม เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป และควรรายงานให้ ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองและผู้บริหารสถานศึกษาทราบ เพื่อการร่วมมือกันแก้ไขต่อไป