วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน

วิจัยในชั้นเรียน-เรื่อง-การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนฯ-ด้วยวิธีเสริมแรงบวก

สิงหาคม 2, 2020สิงหาคม 28, 2020 by masterbp

masterbp

No comments yet

วิจัยในชั้นเรียน- นายอัฏฐวิวัฒน์     คำธะณี ครู อันดับ คศ.1
วิจัยในชั้นเรียน-เรื่อง-การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนฯ-ด้วยวิธีเสริมแรงบวก.pdf

 

ประชาสัมพันธ์และดาวน์โหลด

เมนูนำทาง เรื่อง

ประกาศ เรื่องผลการจัดห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2563

วิจัยในชั้นเรียน- นายพนัส ทองปาน ครู อันดับ คศ.3

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

ความเห็น

ชื่อ *

อีเมล์ *

เว็บไซท์

วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
 หนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ กระทรวงต่างๆ 77จังหวัดทั่วไทย ส่วนราชการที่สำคัญ เว็บบริการข้อมูล
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
แบบสำรวจความคิดเห็น
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
ท่านต้องการให้ สำนักงานท้องถิ่นพัฒนาในส่วนใดมากที่สุดไฟฟ้าถนนน้ำประปาบริการประชาชนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรการศึกษา 
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
 

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดน่าน

วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องความรับผิดชอบงานบ้าน
ศูนย์ราชการจังหวัดน่าน ชั้น 5 ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55000
( โทร / โทรสาร 054-716383-5 ) อีเมล์ : [email protected]สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615

 

                     ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัย

1. ชื่อเรื่อง                         การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์  เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา   ของนักเรียน

                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย                            นางสาวประภัสรา  โคตะขุน

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.สมชาย  วรกิจเกษมสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสุรางค์  ทีนะกุล

ปริญญา                       ครุศาสตรมหาบัณฑิต 

ปีการศึกษา                 2545

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์   เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน  ภายหลังได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน  ที่พัฒนาขึ้น

             ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัตติวิสม์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านอูบมุง  อำเภอหนองวัวซอ  จังหวัดอุดรธานี  จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการสอน  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น  ที่เน้นกระบวนการ  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ ,  แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ,  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ 

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัย  พบว่า

             1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ในภาพรวม  เท่ากับ  88.89 / 81.67  เฉพาะเด็กเก่ง  เท่ากับ  97.79 / 92.00  และเด็กปานกลาง  เท่ากับ  89.64 / 85.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ส่วนเด็กอ่อน  เท่ากับ  78.23 / 63.33   ซึ่งมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์

โดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

             2. นักเรียนทั้งเด็กเก่ง  เด็กปานกลางและเด็กอ่อน  มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ภายหลังได้รับการสอนสูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ .01  และมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี 

2. ชื่อเรื่อง                   ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ  BSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ของนักเรียน

                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย                                     นางนันทกา   คันธิยงค์

อาจารย์ที่ปรึกษา                รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด   สร้อยน้ำ

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม        อาจารย์ ดร.ชาติชาย  ม่วงปฐม

ปริญญา                               ครุศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา                2547

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ  80  ของคะแนนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ  BSCS

                      ดำเนินการโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว  ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านบกโนนเรียง  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองบัวลำภู  จำนวน  40  คน  ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง พลังงาน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า

                      1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ  BSCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ  80  ของคะแนนเต็ม  ปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ81.20  ซึ่งไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ  BSCS มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ  80  ของคะแนนเต็ม  ปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย  คิดเป็นร้อยละ  81.00  ซึ่งไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

3. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสมสวาท โพธิ์กฎ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปัญหาที่พบคือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะอยู่ในระดับต่ำ และมีทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือน้อยมาก

จากปัญหาดังกล่าวหากใช้ความพยายามพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านการเรียนรู้และ

ทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือ ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้หลากหลายและเหมาะสมคงจะช่วยใน

การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อศึกษาเจตคติ ที่มีต่อการเรียนรู้นาฏศิลป์

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม จำนวน 36 คน ซึ่งได้มา

จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 5 ชนิด

ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรมแผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบ

วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 แบบเติมคำตอบ

จำนวน 9 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.55 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77

แบบวัดทักษะการปฏิบัติ จำนวน 7 ข้อ 1 ฉบับ แบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ที่มีต่อการเรียนรู้นาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.56 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 แบบสอบถามความพึงพอใจของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้

ศิลปะ 1 ฉบับ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.54 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ( Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.52 ถึง 77.50

ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6501 แสดงว่านักเรียนมี

ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 65.01

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

5. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวม

อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน มีทักษะการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือและให้ความร่วมมือในการเรียนดีขึ้น สามารถใช้เป็น

แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ จึงควรส่งเสริม

สนับสนุนให้ครูนำแผนนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นต่อไป

4. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

และเทคนิค TGT เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่มีเพศต่างกัน

ผู้วิจัย นายสิริมาศ ราชภักดี

กรรมการควบคุม รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ และ

รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยียังขาด

สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาและเกิดทักษะ

กระบวนการในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองในการ

วางแผนการทำงาน จึงทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึง

มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียน และเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

ช่างไม้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 ที่มีเพศต่างกัน จำนวน 79 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

ช่างไม้ แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน โดยใช้การเรียน

แบบร่วมมือเทคนิค STAD และใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT จำนวนกลุ่มละ 8 แผน แผน

ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือและ

วัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ จำนวน 40 ข้อ และแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์จำนวน 5 ด้าน

54 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test,

F-test (Two –way ANCOVA และ Two-way MANCOVA)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.93/81.92

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7156 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็น

ร้อยละ 71.56

3. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียน และคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนโดยรวมและรายด้าน 5 ด้านเพิ่มขึ้นจาก

ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่มีเพศต่างกันและเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือต่างกัน

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นราย 5 ด้าน

ไม่แตกต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์

5. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนชาย นักเรียนหญิง ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT มีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่าง

กัน

โดยสรุป โปรแกรมบทเรียนที่ใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT

มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิด

เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้

ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมบทเรียนที่ใช้เทคนิคการร่วมมือ

ดังกล่าว

5. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพ

เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายวิบูลย์ จรูญพันธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นิราศ จันทรจิตร

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียน

ได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ รวมทั้งการพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี

ต่อกันเพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี

ความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาด

ภาพเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนบ้านโคกก่องดอนทองวิทยา อำเภอคอนสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ

เขต 1 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.21-0.73 มีค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( rxy ) ตั้งแต่ 0.35 – 0.69

มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง

การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ

86.66/83.85 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6387 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการ

เรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้ผู้เรียน

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้

ร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีคุณภาพ ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้

ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

6. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต

และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางนิรมล สมตัว

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภาพการ์ตูนประกอบด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่ม

โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผลสำเร็จของการเรียนรู้ อยู่ที่ความ

ร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำนวนสุภาษิต และคำพังเพย ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้

การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการ

เรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5 จำนวน

30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน

30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.68 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดการ

เรียนรู้ดว้ ยตนเอง จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทงั้

ฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ

ทดสอบสมมุติฐานด้วย t - test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน

สุภาษิต และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มแบบ STAD

มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.02/ 81.00

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน

สุภาษิต และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6952

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีคะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ .01

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD มีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผล สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้

อย่างมีประสิทธิภาพ

7. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรัตติกร ภิรมย์ไกรภักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นแนวทางการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

และส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จึง

มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหา

ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเอง

ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 50 คน

ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8 แผน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมโดยรวมเท่ากับ 4.43 แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง

จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.95/ 80.20

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 0.6217

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเชื่อมั่นในตนเอง อยู่ในระดับมาก

4. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นที่น่าพอใจ นักเรียนสามารถ

ปฏิบัติงานกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขสนุกสนานกับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

โดยสรุป การนำกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

8. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายหัสชัย เปาะวัน

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2549

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร และเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียน

ดังนั้นจึงควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี แต่จากการศึกษาสภาพปัญหาการใช้ภาษาไทย

ของนักเรียนพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องการใช้คำสมาส และคำสนธิ ซึ่งเป็นคำ

ที่สร้างจากหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ทำให้ยากต่อการจดจำและเรียนรู้ ดังนั้น

ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ

เคมมิส และแมคแทกการ์ท 3 วงรอบ แต่ละวงรอบมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ

ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าประกอบด้วยครูผู้สอนวิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน

36 คน ระยะเวลาที่ใช้ทำการศึกษาค้นคว้า เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1

มีนาคม 2549 รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผลจากการประเมินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

คิดเป็นร้อยละ 50.74 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 82.31 และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละ

วงรอบสรุปได้ดังนี้ วงรอบที่ 1 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง การใช้

คำสมาส โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจ และสนใจเรียนดี

แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่พบในวงรอบนี้ คือ ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน และขั้นสอน ครูผู้สอนใช้

เวลาในช่วงนี้มากเกินกว่าที่กำหนด รวมทั้งกิจกรรมที่นักเรียนต้องเปิดพจนานุกรมหาความหมาย

ของคำศัพท์ และให้นักเรียนหาคำสมาสจากหนังสือพิมพ์ พบว่านักเรียนสนใจภาพหรือข่าวอื่น

มากกว่าสนใจเรื่องที่ครูให้ทำ นักเรียนบางคนไม่สนใจเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนอ่อนจะทำ

กิจกรรมต่าง ๆ ช้า กิจกรรมกลุ่มยังมีปัญหาคือเกี่ยงหน้าที่กัน ไม่ค่อยปรึกษาหารือกัน การนำเสนอ

ผลงานหน้าชั้นเรียนยังประหม่า ข้อมูลไม่ชัดเจน และนอกจากนี้การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มน้อย วงรอบที่ 2 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง การใช้คำสนธิ

โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจ และสนใจเรียนดีส่วนปัญหาที่พบ

ในวงรอบที่ 1 นั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการแก้ไขปัญหาที่ครูใช้เวลามากเกินกว่าที่กำหนดในขั้น

นำเข้าสู่บทเรียนและขั้นสอน โดยการให้นักเรียนศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจเนื้อหามาล่วงหน้า

และครูใช้บัตรคำเป็นสื่อในกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้การเรียนรู้เรื่องคำสนธิเร็วขึ้น ส่วนปัญหา

นักเรียนบางคนไม่ตั้งใจ และไม่สนใจเรียนนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้วิธีการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ

ของการเรียน ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนที่ให้ความร่วมมือในกลุ่มน้อย ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กระตุ้นให้

ตั้งใจเรียน และกระตุ้นให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม รวมทั้งการให้คำชมเชย ส่งผลให้นักเรียน

ที่เรียนอ่อนตั้งใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น สำหรับปัญหาในการนำเสนอ

หน้าชั้นเรียน ผู้ศึกษาค้นคว้าให้การแนะนำว่าให้ฝึกซ้อม และฝึกพูดบ่อย ๆ ทบทวนข้อมูลเนื้อหา

มาให้ดี รวมทั้งครูผู้สอนได้สาธิตการนำเสนอผลงานให้นักเรียนดู สำหรับปัญหาที่พบในวงรอบนี้

คือ บางกลุ่มส่งเสียงดัง รวมทั้งลอกแบบฝึกท้ายแผนและข้อสอบ ส่วนการปรึกษาหารือกันยังไม่ดี

เท่าที่ควร เพราะบางกลุ่มนักเรียนที่เรียนเก่งจะเป็นคนทำเอง การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนดี

ผู้ศึกษาค้นคว้าแนะนำให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ให้สำรวจมารยาทในการพูด

และหมั่นฝึกซ้อมการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาให้ชัดเจน

วงรอบที่ 3 เป็นการทบทวนเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา โดยเน้นเฉพาะส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจจริง ๆ

และปรับกิจกรรมการรู้ใหม่โดยการคละกลุ่มใหม่ แต่สมาชิกยังเท่าเดิม และยึดหลักกลุ่มแบบ STAD

เหมือนเดิม รวมทั้งเพิ่มแบบฝึกเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนายิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น

สนใจและมีความตั้งใจเรียนดีขึ้น นักเรียนกล้าแสดงออกดีมาก ครูให้แรงเสริมรวมทั้งการให้รางวัล

ทุกกลุ่มที่มีผลงานพัฒนาการดีขึ้น ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความสนุกสนานและมีความสุข ส่งผล

ให้นักเรียนมีคะแนนในวงรอบนี้สูงขึ้น

โดยสรุป การพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD ทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง

กล้าแสดงออกเพิ่มมากขึ้น มีทักษะในการทำงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการการใช้คำสมาสและคำสนธิดีขึ้น

9. ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

ด้วยนิทานพื้นบ้าน

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายวานิช ยืนชีวิต

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ยังมีปัญหา

อยู่มาก นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะด้านการอ่าน อ่านแล้วจับใจความ วิเคราะห์ความและ

สรุปความไม่ได้ จึงทำให้ไม่มีความมั่นใจในการอ่านเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ศึกษา

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนากิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ

STAD ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ

แบบ STADโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน (3) เปรียบเทียบคะแนนการอ่านของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริม

การอ่านด้วยนิทานพื้นบ้านระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน (4) ศึกษาความมั่นใจในตนเองของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนบ้านอาจสามารถ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา

2551 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด

ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

แบบทดสอบวัดการอ่าน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่

0.34 ถึง 0.69 มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91

และแบบวัดความมั่นใจในตนเอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน

ใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือ

ส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.12/84.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

ที่ตั้งไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 0.7727 แสดงว่านักเรียนมี

ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 77.27 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความมั่นใจใน

ตนเอง อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้และหนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน

ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านของนักเรียนให้บรรลุ

เป้าหมายของหลักสูตรต่อไป

10.  ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางเสงี่ยม โกฏิรักษ์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุขิริน เย็นสวัสดิ์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำเป็นสิ่งที่สำคัญ

ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเริ่มเรียนภาษาไทย

จำเป็นต้องมีการฝึกฝนให้เกิดทักษะ และมีการนำทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือมาใช้ในการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลาย และเหมาะสมจะช่วยให้นักเรียนสามารถอ่านและเขียนสะกดคำ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการ

จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียน

สะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์

80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียน

สะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียน

หนองไม้พลวงวิทยาคม จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ

ในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ชุด

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝกึ ทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง

การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบการอ่านออกเสียงคำ จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบการเขียนคำ จำนวน 20 ข้อ รวมจำนวน 40 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 และแบบวัดความพึงพอใจ

ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่า

อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.82 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.61/86.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

80/80 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7707 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าใน

การเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.07

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการรู้

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

โดยสรุป ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเหมาะสม นักเรียนมีทักษะ

การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา เพิ่มขึ้น สามารถสร้างองค์ความรู้และตรวจสอบ

ความรู้ด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง มีทักษะการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีความรับผิดชอบ

มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงควรนำ

รูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ไปใช้ในการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ให้แพร่หลายและเกิดผลดีต่อผู้เรียนต่อไป

11. ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2

โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD

ผู้ศึกษาคนคว้า ทัศฎาพร ทุยเวียง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด โดยการเรียนแบบกลุ่ม

ร่วมมือเทคนิค STAD เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับ

ความต้องการและความสนใจของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้

ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้า

จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง

มาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ตามเกณฑ์ 80/80

2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้

ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1 ห้อง รวม 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ

สมมุติฐานด้วย T-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่องมาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 87.20 / 85.87

2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด

ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7557

3. นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความ

คงทนในการเรียนรู้ หลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ ได้ค่าเฉลี่ย 25.68 คิดเป็นร้อยละ 85.60

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD

เรื่องมาตราตัวสะกด ส่งผลให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีผลการเรียนรู้สูงขึ้น มีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลเหมาะสม

12. ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวสุดใจ พงษ์เพียจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย ศรีอำไพ

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเรียนรู้และการพัฒนาชีวิต

โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ซึ่งเป็นการอ่านที่สามารถสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แก่นักเรียน

ได้ เป็นอย่างดี การอ่านเชิงวิเคราะห์จะช่วยให้นักเรียนได้ข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานความรู้ เพื่อ

นำไปใช้ในการแก้ปัญหา การประเมินและการตัดสินเรื่องราวต่างๆได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การสร้าง

วิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต การฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนานักเรียนให้

สามารถอ่านเชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหา

ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึก

ทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มี

ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 3

ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จากกลุ่มประชากรนักเรียน 3 กลุ่ม

จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบฝึกทักษะ

การอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 6 ชุด และแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.91 และมีค่า

ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 เวลาในการทดลองครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง สถิติที่ใช้

คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.83 / 81.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6547 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน

ร้อยละ 65.47

โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบ

ฝึกทักษะ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สามารถนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึก

ทักษะไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะทางสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

13.  ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวพรทิภา มากมูลดี

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปัญหาที่พบคือ ผู้เรียนมีทักษะ

กระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือน้อยมาก จากปัญหาดังกล่าว

หากใช้ความพยายามพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือ ในการจัด

กิจกรรมเรียนรู้ให้หลากหลาย และเหมาะสมคงจะช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้ศึกษา

ค้นคว้าจึงมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนา

ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้

แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อ

เปรียบเทียบการอ่านเชิงวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิง

วิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้

เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาวาราชกิจพิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหารเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน

จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึก

ทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน

แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40

ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.85 และแบบทดสอบวัด

ความสามารถการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 32 ข้อ มีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.20-0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.84 และแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ มีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.63-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.76 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ใช้ Dependent t – test

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้าน

การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.48/74.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีค่าเท่ากับ 0.4370 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 43.70

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีผลการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

มีประสิทธิภาพเหมาะสม นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ และทักษะด้านการอ่านเชิง

วิเคราะห์เพิ่มขึ้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญได้ และนักเรียนสามารถนำความรู้ในการอ่านเชิงวิเคราะห์ไปพัฒนาการเรียนรู้ได้

ทุกรายวิชา

14.  ชื่อเรื่อง --- การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา

--- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรม

--- ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า --- นางโสภิต พันธ์วิริยะกุล

อาจารย์ที่ปรึกษา --- อาจารย์สุดาเรศ รัตนาถาวร

ปริญญา กศ.ม สาขาวิชา สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนไทยทุกคน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ภาษาในการดำรงชีวิต

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้

ภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาความสามารถทางด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนา

ความสามารถทางด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อศึกษา

กระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เกิดจากการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ

STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านปากช่อง อำเภอ

ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 24 ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัด

กิจกรรม จำนวน 12 แผน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินแผนมีค่าอยู่ระดับ 4.51- 5.00 ซึ่งหมายถึงอยู่ใน

ระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบฝึกทักษะ 12 ชุด ชุดละ 3 แบบ ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินค่าอยู่ระหว่าง

4.51- 5.00 ซึ่งหมายถึงอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .26 - .66 ค่าความเชื่อมั่น 0.86 และ

แบบสังเกตกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนา

ความสามารถด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ 85.00/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ภาษาไทย การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.5872

นั่นคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 58.72 กระบวนการทำงานกลุ่มของ

นักเรียนโดยรวมสามารถเรียงคะแนนจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติงานเสร็จทันเวลา

ด้านการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม ด้านการทำงานตามขั้นตอน ด้านการรู้จักแสดงความคิดเห็น

มีค่าเฉลี่ย ด้านความเป็นระเบียบและสะอาด

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัด

กิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถเสริมสร้าง

ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น มีกระบวนการทำงานกลุ่มที่มีคุณภาพ ดังนั้น ครู

และผู้สนใจสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

15. ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางกฤติกา เจริญยศ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น

ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการร่วมปฏิบัติกิจกรรมช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม คำนึงถึงความแตกต่าง

ระหว่างบุคคล ความสำเร็จของบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ศึกษา

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพ

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้

คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนกุดบากราษฎร์บำรุง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 27 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดย

การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้

ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ

แบบวัดความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก

รายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 88.04/86.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้

2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7095

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียน

คำยาก โดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ส่งผลให้นักเรียนสามารถอ่านและเขียนคำยากได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ครูผู้สอนสามารถนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ไปใช้จัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยได้วิธีหนึ่ง

16.  ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรินรดา จันทะวัน

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุมาลี ธรรมโหร

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550

บทคัดย่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ทักษะการอ่าน

โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนไม่นำทักษะและเทคนิคการสอน

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดในการวิเคราะห์ จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถสรุปประเด็นสำคัญหรือ

จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้เท่าที่ควร ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้

แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมี

ความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อศึกษาดัชนี

ประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

บ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2549 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 35 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive

Sampling) เครื่องมือ ได้แก่ แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านเชิงวิเคราะห์

แบบอัตนัยหรือความเรียง จำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

80/80 ที่ตั้งไว้และมีดัชนีประสิทธิผล 60.28 หมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.28

โดยสรุป ได้แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่มีประสิทธิภาพ

เหมาะสม และเป็นนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน สามารถจับใจความสำคัญ และสรุปประเด็นของเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี

จึงขอสนับสนุนให้ครูภาษาไทยสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิด

ทักษะด้านการอ่านเป็นอย่างดี

17. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบ

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางจุฑามาศ ชัยสงคราม

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุดาเรศ รัตนาถาวร

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีข้อดี

หลายประการ ได้แก่ นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยสื่อที่น่าสนใจ นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันโดยแต่ละกลุ่ม

จะมีนักเรียน 4 - 5 คน ซึ่งมีนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ได้เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมทำงาน

ร่วมวางแผน และนำเสนอผลงานกลุ่ม โดยกลุ่มจะช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อนให้มีพัฒนาการที่ดี

ขึ้น และมีการเสริมแรงด้วยการยกย่องชมเชยเมื่อมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

เมื่อนำเอากิจกรรมดังกล่าว มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จะช่วยให้

ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในกลุ่มสาระภาษาไทยได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้า

จึงมีความสนใจที่จะจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านและนำกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือ

ส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าดัชนี

ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความ กลุ่ม

ตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ภาษาไทย โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 7 แผน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก

จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.56 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20

ถึง 0.58 และ มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ (E1/E2)

เท่ากับ 84.72/82.22

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.6300 แสดงว่า

นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 63

3. การพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD คิดเป็นร้อยละ 82.22 และพิจารณานักเรียนเป็นรายบุคคล

นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 67

4. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ปรากฏว่า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD นักเรียนสามารถเข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน

ของกิจกรรมได้การจัดทำแผนผังความคิด นำเสนอผลงาน การอ่านจับใจความจากเรื่องในหนังสือ

ส่งเสริมการอ่าน การทดสอบย่อยท้ายแผน ทุกขั้นตอนมีความเหมาะสม ทันเวลาและได้ผลดีเป็นที่

น่าพอใจ

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และมีทักษะด้านการอ่านจับใจความ

เป็นอย่างดี

18.  ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า จิระนันท์ ไตรแสง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมแบบ STAD (Student Teams Achievement Division) เป็นรูปแบบ

หนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) ที่สนองตอบต่อ

ความแตกต่างระหว่างบุคคล และยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้

มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหา

ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (4) ศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนพระธาตุบังพวน

วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster

Random Sampling) ใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 7 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 2 ชั่วโมง

(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่า

อำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.60 โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86

และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ชนิดมาตราส่วน

ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (rxy ) ตั้งแต่ 0.317

ถึง 0.727 มีค่าความเชื่อมั่น (α ) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติทใี่ ช  ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.81/85.75 ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.5857 และนักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD อยู่ในระดับมาก

โดยสรุปแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ส่งผลให้

นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเหมาะในการที่จะ

นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย

19. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้เทคนิค STAD

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรักคณา ไชยทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เป็นการจัดกิจกรรม

ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มทุกคนได้ช่วยเหลือและเกื้อกูลกันในการเรียนรู้ เพื่อความสำเร็จ

ของตนเองและของกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือ เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร

ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 28 คน

จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน

การศึกษาค้นคว้า มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยเทคนิค STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.80 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

เท่ากับ 0.79 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ

เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.46-0.84

ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้เทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 86.54/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD มีค่าเท่ากับ 0.7266 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น

จากพื้นฐานความรู้เดิมร้อยละ 72.66

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพังพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า

สร้างและพัฒนาขึ้น ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีความสุขในการเรียนรู้

20. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายไพศาล พระจันทร์ลา

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นิ่มจินดา

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่ม

ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากร

การเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่า

สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่จะรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องรับผิดชอบต่อ

การเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอน

แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ประจำ

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 24 คน ได้มาโดยการเลือก

แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่

0.21 ถึง 0.94 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 1 ชุด 20 ข้อคำถาม

ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.202 ถึง 0.769 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.838 สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ

เทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ 83.40/81.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ดัชนีประสิทธิผล

0.3883 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน ร้อยละ 38.83 และนักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อการพัฒนา

ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพ ใช้แล้วเกิดประสิทธิผลใน

การแก้ปัญหาด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทยสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในการสอนการอ่านโดยเฉพาะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้

อย่างดี นอกจากนี้ยังเห็นสมควรให้นำไปพัฒนาใช้กับครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่น ๆ ต่อไป

21. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบ

การจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปาริชาติ นุริศักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการคิด

วิเคราะห์ยังไม่เหมาะสม ทำให้ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการคิดวิเคราะห์ต่ำกว่าเกณฑ์ดังนั้น ผู้ศึกษา

ค้นคว้าจึงได้พัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแผนการ

จัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผล

ของแผนการพัฒนาทักษาการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน

ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบSTAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / 1

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านขามเรียน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก

แบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน

เชิงวิเคราะห์จำนวน 6 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จำนวน 6 ชุด แบบวัดทักษะการ

อ่านเชิงวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.27-0.70

มีค่าอำนาจจำแนก (B-Index) ตั้งแต่ 0.22-0.89 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความ

พึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.05/87.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้มีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ

0.7210 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.10 และนักเรียน

มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้

แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD อยู่ในระดับมาก

22.  ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโคกระกา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเสียงต่ำ เนื่องจากนักเรียนใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย โดยเฉพาะ