ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

โมบายแอปพลิเคชัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้​ 

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

สามารถติดต่อเราผ่าน Line

ได้แล้ววันนี้

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้
 

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

ติดตาม กรมการแพทย์แผนไทยฯ

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่ 

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 ของกรมป่าไม้

กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก

สำนักงานเลขานุการกรม อาคาร 3 ชั้น 2

เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000  

โทรศัพท์ : 02-591-7007 ต่อ 3209

โทรสาร : 02-149-5699

43 ข้อ 6 หมวด 1 บทเฉพาะกาล
บังคับใช้ 1 มกราคม 2547
ให้เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรักษาการตามระเบียบนี้

“เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนภาครัฐ
ให้การปฏิบัติการมีความคล่องตัว
เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
สอดคล้องตามแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่”

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
“ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมเว้นแต่ราชการส่วนท้องถิ่น
“หัวหน้าส่วนราชการ”
หมายความว่า ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีฐานะเป็นส่วนราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างพนักงานราชการ
“พนักงานราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทน*ไม่ได้เรียกว่าเงินเดือน* จากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น
“สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาจ้างพนักงานราชการตามระเบียบนี้

ออกตามความ ม11 (8) พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

หมวด 1 พนักงานราชการ มี 2 ประเภทคือ
1. พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไปของส่วนราชการในด้านงานบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ หรืองานเชี่ยวชาญเฉพ
2. พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าวในการกำหนดตำแหน่งของพนักงานราชการ
กลุ่มงานตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มงานบริการ
(๒) กลุ่มงานเทคนิค
(๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป
(๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
(๕) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
(๖) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ให้ส่วนราชการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเป็นระยะเวลาสี่ปี
การจ้างพนักงานราชการให้กระทำเป็นสัญญาจ้างไม่เกินคราวละสี่ปีหรือตามโครงการที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ โดยอาจมีการต่อสัญญาจ้างได้

หมวด 2 ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ส่วนราชการอาจกำหนดให้พนักงานราชการประเภทใดหรือตำแหน่งใน กลุ่มงานใดได้รับสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิเกี่ยวกับการลา
(๒) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา
(๓) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน
(๔) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
(๕) ค่าเบี้ยประชุม
(๖) สิทธิในการขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(๗) การได้รับรถประจำตำแหน่ง
(๘) สิทธิอื่น ๆ ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

หมวด 3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ให้กระทำในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
(ข) การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ ให้กระทำในกรณี การประเมินผลสำเร็จของงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
พนักงานที่ไม่ผ่านการประเมินถือว่าสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

หมวด 4 วินัยและการรักษาวินัย
การกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๑) กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
(๒) จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดให้ปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๔) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๕) ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๖) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวัน สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดวันเวลาการมาทำงาน
(๗) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานจนทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดการทำงานตามเป้าหมาย
(๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดอาญาโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่าโทษจำคุก
(๙) การกระทำอื่นใดที่ส่วนราชการกำหนดว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ผลการสอบสวนปรากฏว่าพนักงานราชการผู้นั้นกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้หัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่ง ไล่ออก
ในกรณีที่ปรากฏว่าพนักงานราชการกระทำความผิดวินัยไม่ร้ายแรงตามที่ส่วนราชการกำหนด ให้หัวหน้าส่วนราชการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินค่าตอบแทน หรือลดขั้นเงินค่าตอบแทน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

หมวด 5 การสิ้นสุดสัญญาจ้าง
(๑) ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง
(๒) พนักงานราชการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนี้หรือตามที่ส่วนราชการกำหนด
(๓) พนักงานราชการตาย
(๔) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(๕) พนักงานราชการถูกให้ออก เพราะกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๖) เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามข้อกำหนดของส่วนราชการหรือตามสัญญาจ้าง

หมวด 6 คณะกรรมการบริหารพนักงานข้าราชการ “คพร.”
“คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ”
ประกอบด้วย
1. รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
2. เลขาธิการ ก.พ. เป็นรองประธานกรรมการ

กรรมการ 10 คน ประกอบด้วย
1. ผอ สำนักงบประมาณ
2. เลขาธิการคณะกรรมการ กฤษฎีกา
3. เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม
5. อัยการสูงสุด
6. อธิบดี กรมบัญชีกลาง
7. ผู้แทน กระทรวง กลาโหม
8. ผู้แทน กระทรวง การคลัง
9. ผู้แทน กระทรวง แรงงาน
10. ผู้แทน สนง.ก.ถ.

ผู้ทรงคุณวุฌิ 4 คน จากผู้เชี่ยวชาญด้าน
1. บริหารงานบุคคล 1 คน
2. กฎหมาย 1 คน
3. เศรษฐศาสตร์ 1 คน
4. แรงงานสำพันธ์ 1 คน
ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับอีกได้

ผู้แทนสำนักงาน ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่
1.
กำหนดแผนและแนวทางปฏิบัติ
2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาพนักงานราชการ
3. กำหนดกลุ่มงานและลักษณะงานในแต่ละกลุ่มงาน
4. ให้ความเห็นชอบอัตรากำลัง
5. กำหนดค่าตอบแทนสวัสดิการอื่นๆ
6. กำหนดมาตรฐานการประเมิน
7. ตีความและวินิจฉัยปัญหา
8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
9. อื่นๆ

ให้ ก.พ. รับผิดชอบงานธุรการ