เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

1.หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะทำการดูดน้ำยาแอร์ ที่มีสภาพเป็นก๊าซความดันต่ำ และอุณหภูมิ ต่ำเข้ามาอัดความดันและทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จากนั้นก๊าซที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงจะถูกส่งไป ตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์เข้าสู่แผงคอยล์ร้อน ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านออกไปตามครีบระบายความร้อนจนกระทั่งก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมและดูด ความชื้นไปด้วยในขณะนี้น้ำยาแอร์มีสภาพเป็นของเหลวและความดันสูงไหออกจากถังพักน้ำยาแอร์ ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดัน วาล์วปรับความดันจะลดความดันของน้ำยาแอร์ลงมาทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ลดต่ำลงอย่าง มากเพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น ของเหลวความดันต่ำอุณหภูมิต่ำจะไหลเข้าสู่คอยล์เย็นและจะทำการดูด ซับความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัว ซึ่งพัดลม( BLOWER ) ก็จะทำหน้าที่เป่าความเย็นออกมาในห้องโดยสารผ่านแผง คอยล์เย็นผ่านท่อทางจนไปออกที่ช่องแอร์บนแผงคอนโซลหน้า อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูด ซับออกไป แผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพกลายเป็นก๊าซ และไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ซึ่งก๊าซจะมีความดันต่ำอุณหภูมิต่ำเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้งเพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดน้ำยาแอรใหม่อีกรอบเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมเพรสเซอร์จะหยุดการทำงานโดยมีเทอร์โมมิเตอร์เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิและคอยตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์เมื่อความเย็นได้ตามที่กำหนด

2.โครงสร้างเเละส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศเเบบต่างๆ

1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียนในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมพ์แอร์    

2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง    

3. รีซีฟเวอร์-ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื้น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอร์กับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ บางรุ่นยังมีสวิตช์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที    

4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ 

4.1) อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น 

4.2) พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้องโดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม 

4.3) เอ็กซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูดความร้อนจากอากาศ   

5.ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออกมาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว

เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

3.อุปกรณ์คบคุมในเครื่องปรับอากาศ

เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ (Vapor Compression System) โดยที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะดูดสารทำความเย็นจากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือเปรียบเสมือนปั้มน้ำภายในบ้านต่างกันเพียงแต่ปั้มน้ำจะดูดน้ำที่เป็นของเหลว แต่คอมเพรสเซอร์แอร์จะดูดสารทำความเย็นซึ่งมีสถานะเป็นไอหรือก๊าซ โดยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมีแรงดันที่เพียงพอคอมเพรสเซอร์จะถูกตัดการทำงานโดยเทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) เป็นตัวชี้วัดว่าเวลาไหนคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานและเมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารต่ำจนได้อุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอดี เทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) จะสั่งให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันที่สูงจนเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นอันตราย อาจเกิดการระเบิดของท่อทางต่าง ๆ ของระบบน้ำยาได้ แต่ในระบบของรถรุ่นใหม่ จะมีเซนเซอร์ที่ตรวจจับแรงดันและมีตัวระบายน้ำยาออกหากเกิดแรงดันที่สูงเกินค่ากำหนด จากนั้นเมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านแผงคอนเดนเซอร์ (Condenser) ที่อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของรถ หรือที่ทางช่างเรียกว่า “แผงรังผึ้ง” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว และไหลต่อไปยังรีซีฟเวอร์ (Receiver) หรือไดร์เออร์ (Dryer) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็น หรือตัวกรองสารทำความเย็น ซึ่งตัวกรองนี้จะต้องมีการเปลี่ยนไส้กรองตามระยะทางที่กำหนด หรือเมื่อมีการเปิดระบบของท่อทางน้ำยาแอร์ เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อทางน้ำยาแอร์ที่จะต้องไหลไปที่เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) หรือวาล์วแอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ให้เป็นฝอยละอองเข้าไปในอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือตู้แอร์ เพื่อทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำและเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนภายในห้องโดยสารให้มีอุณหภูมิที่ต่ำลง จากนั้นเมื่อน้ำยาแอร์มีสถานะกลายเป็นก๊าซก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกค

เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

4.การใช้อินเวอร์เตอร์ในระบบปรับอากาศ

หน้าแรกบทความระบบ INVERTER คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ระบบ INVERTER คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ประเภทบทความ : บทความเกี่ยวกับแอร์     อินเวอร์เตอร์ คือ ระบบที่ควบคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบและคงที่ ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟที่จ่าย ให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่า ทำให้ระบบอินเวอร์เตอร์สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำมากขึ้นและที่สำคัญ คือ ประหยัดพลังงาน    กำลังงานที่ใช้ในการทำความร้อนหรือทำความเย็นจะถูกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ อุณหภูมิของห้องคงที่กว่าเมื่อเทียบกับระบบเก่า เนื่องจากระบบนี้จะไม่มีการหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิของห้องค่อนข้างคงที่ เนื่องจากระบบนี้จะปรับกำลังในการทำความร้อนหรือทำความเย็นโดยอัตโนมัติ อ้างอิงกับภาวะ ( Workload) ที่มีอยู่ในห้อง ให้กำลังที่สูงกว่าการทำงานในช่วงเริ่มต้น ทำให้ห้องเย็นหรืออุ่นได้เร็วดังใจ

5.การคำนวณหาขนาดเครื่องปรับอากาศ

BTU = ความกว้าง (เมตร) x ความยาว (เมตร) x ค่าตัวแปร

เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

6.วิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

การติดตั้ง TEV.ที่จะให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด จะต้องติดไว้ใกล้กับทางใกล้ของอีวาโปเรเตอร์มากที่สุดที่จะมากได้ การติดตั้ง TEV.ของแอร์รถยนต์โดยปกติจะติดมากับกล่องอีวาโปเรเตอร์ ซึ่งมีขนาดพอเหมาะกับความยาวคอยล์เย็น เราจะนำตัวควบคุมน้ำยาขนาดอื่นมาใส่ก็อาจทำได้ แต่ถ้าไม่ปรับตั้งลิ้นเสียใหม่ก็จะเกิดความยุ่งยากขึ้น เช่นไม่ให้ความเย็นหรือให้น้อย น้ำยาเหลวไหลเข้ามากบางครั้งเป็นผลต่อลิ้นของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยปกติถ้าไม่จำเป็นไม่ควรไปปรับหรือตั้งสกรูปรับสปริงโดยเด็ดขาด การติดตั้งกระเปาะ (Remote Bulb Location)จะต้องติดกระเปาะโดยใช้เข็มขัดชนิดโลหะรัดเน้นในแนวระดับกับท่อดูด ใกล้กับทางออกของอีวาโปเรเตอร์ ตามปกติจะอยู่ทางด้านในของชุดตัวให้ความเย็น และให้ตลอดความยาวของกระเปาะสัมผัสทางท่อทางออกของอีวาโปเรเตอร์ให้มากที่สุดที่จะมาได้ และข้อสำคัญตำแหน่งกระเปาะนี้จะต้องไม่มีอุณภูมิอื่นมาเกี่ยวข้องนอกเสียจากว่าอุณหภูมิของท่อออกของอีวาโปเรเตอร์เท่านั้น มิฉะนั้นจะทำให้ลิ้นของ TEV. เปิดกว้างทำให้น้ำยาท่วม และไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ในตอนเริ่มเดินเครื่องได้

เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

7.การทำสูญญากาศในเครื่องปรับรถยนต์การทำสุญญากาศ

อากาศและความชื้น ( ไอน้ำ ) ที่มีปนอยู่ภายในระบบปรับอากาศรถยนต์ เมื่อปนกันสารทำความเย็นจะเกิดผลเสียหายหลายประการ เช่น แปรสภาพเป็นกรดเกลือกัดกร่อนชิ้นส่วนภายในระบบเป็นเกล็ดน้ำแข็งขวางทางเดินของสารทำความเย็นเมื่อระบบทำงาน เกิดการอุดตันความดันขณะทำงานจะสูงผิดปกติจนอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออุปกรณ์ของระบบ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีวิธีการดึงความชื้นอกมาจากระบบ เราเรียกว่า การทำสุญญากาศหรือการทำแว็ก ( Vacuum ) ซึ่งเป็นการทำให้ภายในระบบมีความดันต่ำลงกว่าความดันบรรยากาศปกติให้มากที่สุด ซึ่ง ณ ความดันที่เป็นสุญญากาศความชื้นจะแปรสภาพเป็นแก๊สและถูกดึงออกมาจากระบบได้ง่าย

การดูดอากาศ

และความชื้นออกจากระบบ โดยปั๊มสุญญากาศเรียกว่า การทำสุญญากาศหรือการทำแวคคั่มระบบปั๊มสุญญากาศถูกให้สำหรับลดแรงดันในระบบและอัดทิ้งสู่อากาศ ภายนอกสายท่อกลางของแมนิโฟลด์เกจจะถูกต่อเข้ากับปั้มสุญญากาศทางด้านดูดวาล์วทั้งคู่ของ เกจจะอยู่ในตำแหน่งเปิดเต็มที่ เดินปั๊มสุญญากาศให้ความดันลดลงถึง - 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว และใช้เวลาในการดูดความชื้นอย่างน้อย 20 นาที แต่ถ้าสามารถทำสุญญากาศระบบได้นานกว่านี้ก็จะเป็นการดี การใช้เวลาในการทำสุญญากาศระบบได้นานกว่านี้ยิ่งนานเท่าไร จะยิ่งทำให้การดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบดีขึ้นเท่านั้นในขณะที่กำลังทำสุญญากาศในระบบค่าความดันของเกจทางด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้ ต่ำกว่า 0 ปอนด์/ ตารางนิ้ว แสดงว่า ความดันในระบบน้อยกว่าความดันบรรยากาศ ซึ่งจะทำให้จุดเดือกของสารทำความเย็นต่ำลง เป็นผลทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะและดูดรับความร้อนแฝงที่อยู่รอบ ๆท่ออีวาพอเรเตอร์ได้ในขณะที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงขึ้น 

ความชื้น

การปฏิบัติเกี่ยวกับการซ่อมและบริการเครื่องปรับอากาศ สิ่งหนึ่งที่ควรระวังเป็นอย่างดี คือ อย่าให้ระบบมีความชื้นหลงเหลืออยู่ภายในระบบเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ผลความเย็นของระบบปรับอากาศไม่ดีเท่าที่ควร ถ้ามีความชื้นในระบบมากจะทำให้เกิดการอุดตันความชื้นภายในระบบ (ความชื้นกลายเป็นน้ำแข็งอุดรูเล็ก ๆ ของเอกแพนชั่นวาล์วปิดกั้นการไหลของสารทำความเย็น) และยังทำให้เกิดอันตรายกับชิ้นส่วนต่าง ๆของระบบปรับอากาศอีก ด้วย เพราะน้ำยา (R-12) ในทางเคมีเมื่อผสมกับน้ำแล้วจะทำให้เกิด กรดไฮโดรคลอริกกรดที่เกิดขึ้นนี้จะกัดทำลายส่วนที่เป็นโลหะ ขอระบบปรับอากาศทั้งหมด เช่น เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม ทำให้เกิดเป็นออกไซด์ และจะไปอุดตันภายในระบบที่ตะแกรงกรองของรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ หรือ ทางเข้าของคอมเพรสเซอร์ได้

8.การบรรจุสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

1. เปิดลิ้นด้านเกจวัดความดันสูง

2. โปรดสังเกตเกจวัดความดันด้านต่ำว่า เข็มขึ้นจากสูญญากาศ หรือไม่ ถ้าเข็มยงคงชี้อยู่ที่สเกลสูญญากาศแสดงว่าในระบบเกิดการอุดตัน

3. ถ้าระบบเกิดการอุดตันให้จัดการแก้ไขและทำสูญญากาศใหม่

4. เมื่อแก้ไขข้อบกพร่องและทำสูญญากาศแล้ว ให้บรรจุสารทำความเย็นเข้าระบบโดยคว่ำกระป๋องลงเพื่อให้สารทำความเย็นไหลเข้าไปในระบบในลักษณะของเหลว

5. การบรรจุสารทำความเย็นให้บรรจุตามปริมาณที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องทำความเย็นกำหนดไว้

การปฏิบัติเมื่อบรรจุสารทำความเย็นเสร็จ

1. ปิดเกจวัดความดันด้านความดันสูง

2. ถอดสายยางท่อกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจออกจากกระป๋อง

3. หมุนคอมเพรสเซอร์ด้วยมือ 2-3 รอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารทำความเย็นในสภาพของเหลวเข้าไปอยู่ในคอมเพรสเซอร์

4. ติดเครื่องยนต์ตั้งความเร็วรอบเครื่องยนต์อยู่ในขั้นเดินเร็ว

5. ทดสอบการทำงานของระบบว่ามีความเย็นเพียงพอหรือไม่

6. ถ้าระบบทำงานเรียบร้อยให้ถอดชุดแมนิโฟลด์เกจออก และใส่ฝาครอบลิ้นเซอร์วิสให้เรียบร้อย

เครื่อง ทํา ความเย็นและ ปรับอากาศ ป ว ช

9.การตรวจสอบหาข้อบกพร่องเเละการเเก้ไขข้อบกพร่องเครื่องปรับอากาศขั้นตอนที่ 

1 การวิเคราะห์หาสาเหตุของความบกพร่อง

โดยส่วนใหญ่วิธีการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งทางผู้เขียนขอยกตัวอย่างแนวทางในการค้นหาสาเหตุของความบกพร่องวิธีง่ายๆ มานำเสนอ คือวิธีการระบบสมอง ( Brain storm) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า " สุ่มหัว" เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของ    ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำมาหาสาเหตุของความบกพร่อง และเพื่อเป็นการรวบรวมความคิดเห็นอย่างเป็นระบบก็สามารถนำกลวิธีทางสถิติ ง่ายๆ มาช่วยได้แก่ แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือ แผนภูมิอิชิคาวา (Ishikawa Diagram)   หรือแผนภูมิเหตุและผล ( Cause and Effect diagram) แผนถูมิเดียวกันแล้วแต่จะเรียก โดยมีหลักการว่าเป็นแผนภูมิที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทาง คุณภาพ ผล และเหตุ กล่าวคือ ผล หมายถึง ความบกพร่องที่เราจำเป็นต้องแก้ไข ส่วนเหตุนั้น หมายถึง องค์กรประกอบต่างๆที่มีอิทธิพลต่อผล และองค์ประกอบหรือสาเหตุหลักพื้นฐานโดยทั่วไป มักจะใช้ 4M ได้แก่

M1= Man ( คนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง),

M2 = Machine ( เครื่องจักร อุปกรณ์),

M3 = Material ( วัตถุดิบ) และ

M4 = Method ( วิธีการ) เพื่อนำมาระบุสาเหตุของความบกพร่องและใช้ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์หาสาเหตุ ของความบกพร่องแบบ "Why Why analysis" คือ การตั้งคำถาม" ทำไม?" ถึงความบกพร่องเกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเบื้องต้น และถามทำไมต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง แต่จะต้องระวังว่า การตั้งคำถามว่า " ทำไม?" ขึ้นมาเพื่อหาหาสาเหตุของความบกพร่อง ไม่ใช่ตั้งคำถามมาเล่นๆหรือสนุกๆเพราะจะทำให้เสียเวลาและไม่ได้คำตอบ (สาเหตุของความบกพร่อง) ที่แท้จริง และนอกจากนั้นผู้ที่จะถามและตอบ โดยใช้หลักการนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องกับความบกพร่องนั้น จริงๆ เพราะจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง

ตัวอย่าง สมมุติว่า องค์กรมีข้อบกพร่อง ( CAR) เกี่ยวกับการไม่ได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ เช่น ไม่ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าขั้นตอนสุดท้าย ตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น

วิธีการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง( CAR) ก็จะเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 คือ การหาสาเหตุของความบกพร่องตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการระดมความคิด กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความบกพร่อง ประมาณ 3-5 คนเพราะถ้ามากไปหรือถ้าน้อยไปกว่านี้ก็ไม่ดีเพราะจะเสียเวลาและรวบรวมความคิดยาก เช่น ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ( อาจจะเป็น QC, QA หรือ Inspector)  หัวหน้าผู้ตรวจสอบ, ผู้ที่การผลิต และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็มาประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อระบุสาเหตุของความบกพร่อง

แนวทางในการตั้งคำถามตามองค์ประกอบต่างๆ ตัวอย่าง องค์ประกอบ M1 = Man คือกำลังจะค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคน เช่นคำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้ตรวจสอบ" คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่รู้บ้าง, ลืมบ้าง, ตรวจไม่ทันบ้างหรืออื่นๆ

คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่รู้" คำตอบที่ได้ก็คือ " ไม่ได้รับการฝึกอบรม" หรือ " อบรมแล้วแต่ไมเข้าใจ"

คำถามว่า " ทำไม? เจ้าหน้าที่ถึงไม่ได้รับการฝึกอบรม" คำตอบที่ได้ก็คือ " เป็นพนักงานใหม่" หรือ

" ไม่รู้ว่าจะต้องอบรม" หรือ " ไม่มีการกำหนดจำเป็นในการฝึกอบรม" หรืออื่นๆ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าถ้าเราตั้งใจตั้งคำถามจากคำตอบที่ได้ว่าเรื่อยๆ เราก็จะได้คำตอบที่เป็นสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงได้   แต่จากตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นเพียงแค่ 1 ในองค์กรประกอบหลักเท่านั้นยังเหลืออีกหลายองค์ประกอบหลัก ที่เราจะต้องลองค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่อง ซึ่งใน 1 อาจจะมีหลายสาเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้นการกำหนดแนวทางการในการแก้ไขความบกพร่องจึงจำเป็นจะต้องแก้ไขให้ ครบทุกสาเหตุของความบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นเอง

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง

หลังจากที่เราทราบสาเหตุของความบกพร่องที่แท้จริงและครบถ้วนทุกสาเหตุของความบกพร่องแล้ว ก็เข้ามาสู่กระบวนการในการปฏิบัติการแก้ไขตามสาเหตุที่แท้จริง ที่ได้มาจากขั้นตอนที่ 1 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรูปแบบของสาเหตุของความบกพร่องก็มักจะคล้ายๆกันก็คือ

ไม่มีการกำหนดไว้บ้างมีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสมบ้างกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติบ้าง

ส่วนแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไข

ถ้าไม่มีการกำหนดไว้   ก็ให้กำหนดไว้ครบถ้วนทั้งผู้รับผิดชอบ วิธีการ ระยะเวลา หรือสถานที่สำหรับการปฏิบัติและการทวนสอบ เป็นต้น

ถ้ามีการกำหนดไว้แต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เหมาะสม   ก็ให้ทำการทบทวนให้เหมาะสมและเพียงพอตรงกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ ณ.ปัจจุบันถ้ามีการกำหนดไว้ครบถ้วนหรือเหมาะสมแต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ โดยใช้หลัก 3 E ducation    คือการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในความสำคัญและความจำเป็นในการนำไปปฏิบัติ E ngineering   คือการกำหนดกลไก หรือประยุกต์ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์   จิ๊ก ฟิกเจอร์   เครื่องมือป้องกันความผิดพลาด ( Pokayoke )   ระบบเซ็นเซอร์ หรือระบบอินเตอร์ล็อคต่างๆเข้ามาช่วยเตือนให้ปฏิบัติ E nforcement คือการออกกฎข้อบังคับ หรือกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติ (ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่ควรเลือกใช้)

ขั้นตอนที่ 3 การป้องกันความบกพร่องไม่ให้เกิดซ้ำ

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการแก้ไข

เพื่อความบกพร่องจะไม่ได้กลับมาเกิดซ้ำอีก โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือการขยายผล และการทวนสอบการขยายผล คือ การนำแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขขยายผลไปสู่พื้นที่ กระบวนการ กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ ที่ใกล้เคียงกับความบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อปัญหาจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกการทวนสอบ คือ การกำหนดมาตรฐาน วิธีการ หรือระยะเวลามาติดตามความคืบหน้า ของการนำไปปฏิบัติให้ต่อเนื่อง หรือกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานอย่างถาวร

จากขั้นตอนในการปฏิบัติการแก้ไขทั้ง 3 ขั้นตอน เป็นเพียงแค่ตัวอย่างแนวทางในการปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง (CAR) เท่านั้น ส่วนการนำไปประยุกต์ใช้ขึ้นอยู่สถานการณ์ และความบกพร่องที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะไม่เหมือนกัน

10.การบริการเครื่องปรับอากาศ

การบริการของเรา เพื่อบรรยากาศที่ดี

ระบบปรับอากาศกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตราฐานในรถรุ่นใหม่ๆ และต้องการการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อการใช้งานที่ยืนยาว ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อป้องกันการรั่วของน้ำยาแอร์, แบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ถ้าระบบปรับอากาศไม่สะอาด ช่างผู้เชี่ยวชาญที่ศูนย์บริการรถยนต์บ๊อช สามารถบำรุงรักษาและแก้ปัญหาต่างๆ ของระบบปรับอากาศให้กับรถยนต์ของคุณได้ ดังนั้น คุณจะรู้สึกสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร ไม่ว่าสภาพอากาศข้างนอกจะเป็นอย่างไร

การเข้ารับบริการอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น

ระบบปรับอากาศควรจะต้องมีการตรวจเช็คอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยศูนย์บริการผู้เชี่ยวชาญ เพราะว่าระบบมีการสูญเสียน้ำยาแอร์มากกว่า 8% ต่อปี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบสภาพของชิ้นส่วนต่างๆในระบบเช่นกัน

โปรดให้ความใส่ใจกับความสะอาด

กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ในระบบปรับอากาศ เกิดได้จากแบคทีเรียและเชื้อรา การปิดแอร์ 5 นาทีก่อนจะถึงที่หมายสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีอากาศผ่านเข้ามาในระบบอีกแล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความชื้นหลงเหลืออยู่ในระบบ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การล้างแอร์จากทางศูนย์บริการรถยนต์บ๊อช ซึ่งจะช่วยกำจัดแบคทีเรียและสิ่งสกปรกต่างๆ : ไม่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์และมลภาวะจากภายนอกหลุดรอดเข้ามา ซึ่งมีความสำคัญสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้