เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา หมายถึง

๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือ การกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางอารมณ์เป็นสำคัญในโครงบทที่ ๑๓๙ที่ว่า

                                   เอียงอกเทออกอ้าง              อวดองค์  อรเอย

                            เมรุชุบสมุทรดินลง                      เลขแต้ม

                            อากาศจักจารผดง                       จารึก พอฤา

                            โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                   อยู่ร้อนฤาเห็น

กวีใช้คำ เอียงอกเท แทนสิ่งที่อยู่ในใจ ใช้เขาพระสุเมรชุบน้ำและดินแทนปากกาเขียนข้อความในโอกาส ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่เกินความจริง

            ส่วนบทที่แสดงการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก ไม่มีบทใดหนักแน่นเท่ากับโครงบทที่ ๑๔๐ ที่ว่า

                                         ตราบขุคิริข้น              ขาดสลาย แลแม่

                       สุริยจันทรขจาย                             จากโลก ไปฤา

                     ไฟแล่นล้างสี่หล้า                             ห่อนล้างอาลัย

โครงบทนี้เป็นตัวอย่างของการใช้กวีโวหารเปรียบเทียบที่โลดโผนอีกบทหนึ่งกวีใช้ภาพพจน์ชนิดอธิพจน์ ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึก ในที่นี้เมื่ออ่านแล้ว นักเรียนจะเห็นโอกาสที่กวีจะสิ้นอาลัยนางมิอาจเป็นไปได้เลย เพราะกว่าที่ขุนเขา สวรรค์ทั้ง๖ชั้น ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จะสูญสลายไปจากโลกนั้น คงนานแสนนานจนกำหนดนับมิได้และกว่าจะมีไฟบรรลัยกัลป์มาล้างโลกทั้ง ๔ นั้น ก็ต้องกินระยะเวลาอันยาวนานที่มิอาจนับได้เช่นกัน ดังนั้น โครงบทนี้จริงเป็นโครงปิดฉากการคร่ำครวญได้อย่างงดงาม โดยการให้ปฏิญญาที่มีน้ำหนักมากที่สุดแก่นางคือ กวีจะมิมีวันสิ้นรักและอาลัยนางนั้นเอง

                        

๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้การสมมติสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์

               บางยี่เรือราพลาง                                              พี่พร้อง

               เรือแผงช่วยพานาง                                           เมียงม่าน มานา

                บางบ่รับคำคล้อง                                             คล่าวน้ำตาคลอ

                        จะเห็นได้ว่ากวีใช้บางยี่เรือและเรือแผงให้มีกิริยาเหมือนมนุษย์ คือ ให้บางยี่เรือช่วยเอาเรือแผงไปรับนางมาแต่นางยี่เรือก็ไม่รับคำ๑.การใช้คำ กวีเลือกใช้คำที่งดงามทั้งรูป ความหมาย และเสียงไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ เพราะเป็นบทสดุดีที่ไม่มีลักษณะขรึมขลังศักดิ์สิทธ์จนเกินไป แต่

สง่างามและไพเราะยิ่ง ไม่เรียบง่ายดาดๆ เหมือนร่ายสุภาพที่แต่งกันทั่วๆไป ทั้งนี้เกิดจากการเลือกใช้คำและโวหารของกวีที่งามเด่นทั้งรูป เสียง และความหมายได้อย่างกลมกลืนกัน อาทิ

๑.๑ การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง

·       ในร่ายวรรค เลอหล้าลบล่มสวรรค์ นั้น จะเห็นได้ว่านอกจากกวีตั้งใจเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะให้ไพเราะแล้ว ยังให้ความหมายที่ดีเยี่ยมกวีใช้คำ เลอ ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า เหนือ บน แต่คำนี้โดยปกติมักจะเห็นใช้คู่กับคำ เลิศ คือ เลอเลิศ หรือ เลิศเลอ อยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อเห็นคำนี้ เมื่อเห็นคำนี้ ผู้อ่านย่อมอดจะประหวัดไปถึงความหมายทำนองว่าเป็นเลิศเป็นยอดมิได้ จึงให้ความรู้สึกว่า เลอหล้านั้น มิได้หมายถึงที่ได้นี้จะส่งความต่อเนื่องไปยังวลีที่ตามมาคือ ลบล่มสวรรค์ซึ่งหมายถึง ความงามเด่นของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทำให้ความงามของสวรรค์ถูกทำลายให้สูญสิ้นจมหายไป (จากความรู้สึกของผู้อ่าน)

·       แย้มฟ้าเป็นตัวอย่างของการเลือกใช้คำง่ายที่มีรูปคำงาม เสียงไพเราะและมีความหมายดีให้ภาพที่ชัดเจนว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้นเผยโฉมเด่นอยู่บนท้องฟ้า (สอดคล้องกับที่กวีได้สดุดีแล้วว่า เลอหล้าลบล่มสวรรค์)

·       วลี เหลี้ยนล่งหล้า นั้น นอกจากกวีจะเน้นความโดยใช้คำทั้ง เหลี้ยน (เลี่ยน) และ ล่ง (โล่ง) ซึ้งให้ความรู้สึกเกลี้ยงว่างโดยตลอดแล้ว เสียงของคำทั้ง เหลี้ยน ล่ง และ หล้า ยังสื่อย้ำถึงความกว้างไกลอย่างที่สุดลูกหูลูกตาของแผ่นดิน มองดูปลอดโปร่งสบายตาไม่รู้สึกอึดอัดเพราะปราศจากสิ่งขัดขว้างใดๆ (ศัตรู) อนึ่ง กวีได้เน้นย้ำความเกลี้ยงว่างหรือความราบเรียบจริงๆ อีกชั้นหนึ่ง โดยการใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เปรียบให้เห็นภาพว่าง เหมือนกับพื้นผิวหน้ากลอง โดยรูปศัพท์แล้วกวีมิได้ใช้คำศัพท์ยาก คือ ไม่ใคร่มีคำบาลี สันสกฤต หรือสนธิสมาสมากนัก แต่ในทางความหมายนั้นจำต้องอ่านและตีความถ้อยคำโวหารที่กวีนำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันอย่างพิถีพิถัน ต้องทราบทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย เพราะกวีจะใช้คำในบริบทที่แปลกไปจากที่นักเรียนคุ้นเคย อีกทั้งในแต่ละวรรค กวียังใช้คำอย่างประหยัดอีกด้วย อนึ่ง การที่กวีมุ่งที่ความไพเราะอย่างยิ่งของเสียงของคำ เสียงสัมผัสในที่เป็นพยัญชนะในแต่ละวรรค อีกทั้งจังหวะของร่ายนั้นได้กลายเป็นข้อจำกัดอีกด้านหนึ่งที่ทำให้การอ่านร่ายบทนี้ต้องใช้ทั้งความรู้ด้านภาษาและจินตนาการเพื่อเข้าถึงอย่างลึกซึ้งส่วนโคลงแต่ละบทนั้นก็งดงามยิ่งทั้งเสียงและความหมาย โดยเฉพาะบทที่มีเนื้อหาคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก จะสังเกตได้ว่าแม้จะแต่งเป็นโคลง แต่กวียังคงใช้ศิลปะในการประพันธ์ดังเดิม เพียงแต่จะมีลีลาและท่วงทำนองแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหา เช่น โคลงบทที่ว่า

                          โอ้ศรีเสาวลักษณ์ล้ำ                           แลโลม  โลกเอย

                แขวนขวัญนุชชูโฉม                                      แมกเมฆ  ไว้แม่

              กีดบ่มีกิ่งฟ้า                                                   ฝากน้องนางเดียว

ดาวเด่นของโคลงบทนี้อยู่ที่เนื้อหาซึ่งแสดงจินตนาการอันแปลก โลดโผน และมีชีวิตชีวา ส่วนในด้านวิธีการประพันธ์นั้นอุดมด้วยศิลปะการประพันธ์ที่สูงมากทำให้โคลงบทนี้งดงามและไพเราะซาบซึ้ง

เมื่อกวีจะต้องจากนาง กวีเริ่มคิดว่า ตนควรจะฝากนางไว้ที่ใด กับใคร จึงจะปลอดภัย เนื่องจากกวีรักและยกย่องนางมาก สถานที่ที่เหมาะแก่การฝากนางจึงควรอยู่ในที่สูง คือบนฟ้าหรือบนสวรรค์นั้นเอง ดังนั้น กวีจึงคิดฝากนางนางแควนไว้บนกิ่งฟ้า โดยให้แอบอยู่หลังหมูเมฆเพื่อมิให้ผู้ใดพานพบ แต่กวีก็ต้องผิดหวังเพราะฟ้าหามีกิ่งไม่ กวีขึ้นต้นโคลงบทนี้ด้วยคำว่า โอ้ ซึ่งเป็นคำที่แสดงถึงการรำพึงรำพันคร่ำครวญของกวีด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล โดยมีคำ เอย รับในตอนจบบาทแรก

      ส่วนคำปละโวหารอื่นๆต่อจากนี้ จะเห็นว่ากวีได้พยายามเฟ้นคำมาใช้อย่างประณีตเพื่อเสียงอันไพเราะและการสื่อความได้อย่างมีน้ำหนัก เช่น กล่าวถึงนางว่า สีเสาวลักษณ์ล้ำคือนางผู้มีความงานเป็นเลิศ โดยผู้อ่านจะรู้สึกได้จากรูปคำ ศรี และ เสาวลักษณ์ ซึ่งเป็นคำในระดับสูง ว่านางมิได้งามอย่างธรรมดา แต่คงงามสง่าเป็นที่ประโลมใจแก่ผู้ได้พบเห็น การที่กวีใช้วลีว่า แลโลมโลก นั้นเป็นโวหารที่ไพเราะ สั้นแต่กินความมาก

    คำ กิ่งโพยม หรือ กิ่งฟ้า เป็นคำที่มีรูปงาม เสียงไพเราะ และกระตุ้นจินตนาการได้ดี คำ ขวัญนุช แม่ น้องนาง ล้วนแต่เป็นคำที่อ่อนหวาน บ่งบอกถึงความรักของกวี ที่มีต่อนาวอย่างลึกซึ้ง ส่วนคำว่า เดียว นั้น ย้ำให้คิดว่ากวีไม่เคยมีนางอื่นใดอยู่ในใจอีก นอกจากนางอันเป็นที่รักนี้เพียงผู้เดียว อละเพราะเหตูนี้กวีจึงหว้าวุ่นใจนักเมื่อต้องจากนาง

    แมกเมฆ เป็นโวหารที่ไพเราะยิ่ง คำที่เรียงกันอยู่มีน้ำหนักเสียงเท่ากัน ทั้งพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ ส่วนคำว่า กีด ซึ่งกวีเลือกมาใช้ได้อย่างเหมาะเจาะในที่นี้เป็นคำที่มีเสียงหนักและความหมายแรง สื่อถึงอุปสรรค ที่ทำให้จินตนาการของกวีพังทลายลง

     เมื่อพิจารณารวมกันทั้งบทแล้ว ผู้อ่านจะได้รับรสแห่งความอ่อนหวานของถ้อยคำและโวหารกวี ที่แสดงถึงความรัก ความห่วงหาอาทรที่มีต่อนางอย่างเต็มที่ ชวนให้ติดตามอ่านต่อไปว่าเมื่อฝากนางไว้กับกิ่งฟ้ามิได้ กวีจะฝากนางไว้กับใคร

  

๑.๒) การเลิกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ

·       สัมผัส กวีเล่นเรียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรภายในวรรคและระหว่างวรรค เพื่อเพิ่มความไพเราะ เช่น

          ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ                       สวสาร อรเอย

สารสั่งทุกหย่อมหญ้า                                    ย่านน้ำลานาน

สัมผัสสระ                                                    หน่ำ - ซ้ำ ดง - ทง

สัมผัสอักษร                                                  ตระหนาว - ตระหน่ำ สง - สาร อร - เอย ศึก - โศก

                                                                    เดิน - ดง ท่ง - ทาง สาร - สั่ง หย่อม - หญ้า

สัมผัสระหว่างวรรค                                        ซ้ำ - สง (สาร) นาน – เนิ่น หาน - หิม (เวศ) หญ้า - ย่าน

·       การเล่นคำ กวีใช้คำเดียวซ้ำกันหลายแห่งในบทประพันธ์หนึ่งบท แต่คำที่ซ้ำกันนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น

                  เห็นจากจากแจกก้าน            แกมระกำ

บาปใดที่โททำ                                        แทนเท่า ราแม่

จากแต่คาบนี้หน้า                                    พี่น้องคงถนอม

กวีเล่นคำที่ออกเสียงว่า จาก ซึ่งหมายถึง ต้นจาก และ การจากน้องมา กับคำที่ออกเสียงพ้องกันว่า กำ ซึ่งหมายถึง ต้นระกำ ความระกำช้ำใจ และ เวรกรรม