ข้อสอบ O-NET ชีววิทยา เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ข้อสอบโอเน็ตวิชาชีวะ 58 พร้อมเฉลย Onet exam subjects Biology 58

ข้อสอบโอเน็ตวิชาชีวะ ม.6 58 

ข้อ 1) ออร์แกแนลล์ใดที่พบเฉพาะภายในเซลล์ของสัตว์เท่านั้น (O-net 58)
       1. ไมโทคอนเดรีย
       2. แวคิวโอล
       3. ไลโซโซม
       4. เซนทริโอล
       5. ผนังเซลล์

คำตอบข้อ 1 ) ตอบ (4) เซนทริโอล
เหตุผล
เพราะ เซนทริโอลเป็นออร์กาแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม พบในเซลล์สัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวกโพรทิสต์ แต่ไม่พบในเซลล์พืชและพวกเห็ดรา ทำหน้าที่ เป็นที่ยึดเส้นใยสปินเดิลช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซม และแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจากกันขณะเซลล์แบ่งตัว
ข้อ 2) เราควรทำเช่นไรจึงจะยืดอายุของดอกกุหลาบที่ปักแจกันให้อยู่ได้นาน (O-net 58)
       1. ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน
       2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศเข้าไปในก้านดอก
       3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้น
       4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่มการดูดน้ำจากภายนอก
       5. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำ

คำตอบข้อ 2 ) ตอบ (1)  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน
เหตุผล

ตัวเลือกที่

ผลที่เกิดขึ้น

1.  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน การป้องกันไม่ให้ฟองอากาศขึ้นไปก้านดอกจะช่วยให้น้ำ
ในท่อลำเลียงอยู่กันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
สามารถลำเลียงไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ต่อเนื่อง
จึงช่วยยืดอายุของก้านดอกได้นานขึ้น
2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศ
เข้าไปในก้านดอก
วาสลินจะขัดขวางการลำเลียงน้ำจากภายนอก
เข้าสู่ก้านดอกทำให้เมื่อพืชสูญเสียน้ำไปแล้ว
ลำเลียงน้ำเข้าไปทดแทนไม่ได้
3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในน้ำสูงขึ้น
เกิดสภาวะที่เป็นสารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution) ส่งผลให้น้ำในเซลล์ของพืชสูญเสียออกมาทำให้พืชเหี่ยวเฉาเร็วขึ้น
4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่ม
การดูดน้ำจากภายนอก
ส่งผลคล้ายคลึงกับข้อ 3
5. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำ การคายน้ำส่วนใหญ่เกิดที่ใบดังนั้น การเด็ด กลีบดอกทิ้ง
บางส่วนจึงช่วยลดการคลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย
เนื่องจากยังมีการคลายน้ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 3) อวัยวะใดที่ปลาไม่ได้ใช้ ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย (O-net 58)
  
       1. เหงือก  
       2. รูจมูก  
       3. ผิวหนัง
       4. ไต
       5. ทวารหนัก

คำตอบข้อ 3 ) ตอบ (2) รูจมูก
เหตุผล
เหงือก ==> ช่วยขับแร่ธาตุกรณีปลาเค็ม ส่วน ปลาน้ำจืด เหงือกช่วยดูดแร่ธาตุ

ผิวหนังมีเกล็ด==> ช่วยป้องกันไม่ให้แร่ธาตุซึมเข้ากรณีปลาทะเล ส่วนปลาน้ำจืด เกล็ดป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน

ไต==> ไตปลาน้ำเค็ม มีโกลเมอรูลัสเล็กหรือไม่มีเลยทำให้กรองของเหลวได้น้อยและปัสสาวะออกมาน้อยด้วย ปัสสาวะจะมีเกลือแร่พวกที่เป็นประจุคู่เช่นแมกนีเซียมไอออนทูซัสเฟตเป็นส่วนใหญ่ และมีของเสียจากเมแทบอลิซึมของสารโปรตีนเจีอปน
ออกมาน้อยมาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นเท่าเลือด (isotonic urine)  ส่วนไตไตปลาน้ำจืดมีโกลเมอรูลัส (glomerulus) ขนาดใหญ่ทำให้กรองของเหลวได้จำนวนมากและกำจัดปัสสาวะที่เจือจาง(dilute urine)และเจือจางกว่าเลือด(hypoto
nic urine) ออกมา เป็นการรักษาเกลือแต่และกำจัดน้ำส่วนเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ
(อ้างอิงจาก  : http://www.vcharkarn.com/vcafe/53025)

ทวารหนัก===> เป็นทางผ่านของอุจาระช่วยขับเกลือกรณีปลาน้ำเค็ม และช่วยขับน้ำกรณีปลาน้ำจืด
ดังนั้นส่วนที่ไม่ได้ใช้ในการรักษาดุลยภาพ ของปลาคือข้อ (2) รูจมูก

ข้อ 4) นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวประเทศอินเดียในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ร่างกายของเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด (O-net 58)

      1. สมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นร่างกาย
      2. หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว
      3. กล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนคลายตัว
      4. ต่อมเหงื่อเพิ่มการหลั่งเหงื่อ
      5. อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น

คำตอบข้อ 4 ) ตอบ (5) อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น
เหตุผล
การเปลี่ยนแปลของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นเป็นผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้
  1. หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังคลายตัวเพื่อเพิ่มการแผ่รังสีความร้อน
  2. ขนเอนราบต่อมเหงื่อหลั่งเหงื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อ
  3. ลดอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารลดลงด้วย
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในข้อ (5) จึงเป็นข้อยกเว้น
ข้อ 5) ข้อใดจับคู่ระหว่างอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกันและหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง (O-net 58)
  
       1.  ต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
       2.  ตับทำหน้าที่สร้างและทำลายเกล็ดเลือด
       3.  ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
       4.   ม้าม ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
       5.   ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง

คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (3)   ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
เหตุผล
เพราะไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อสอบ O-NET ชีววิทยา เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ข้อสอบโอเน็ตวิชาชีวะ  60 ม.6        ข้อ 1) เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่งมีกลไกการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ 4 รูปแบบ ได้แก่ A B C และ D โดยสภาวะเริ่มต้นของการลำเลียงสาร แสดงดังภาพ (O-net 60) ข้อใดกล่าวถึงรูปแบบการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ได้ ถูกต้อง 1.รูปแบบ A เท่านั้น ที่มีความจำเพาะต่อสาร เนื่ิองจากสารลำเลียงจากความเข้มข้นน้อยไปมาก 2.รูปแบบ B มีอัตราเร็วของการลำเลียงสารมากกว่ารูปแบบ D เนื่องจากสารแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง 3. รูปแบบ C เป็นการลำเลียงที่สารจะต้องเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับเยื่อหุ้มเซลล์ 4. รูปแบบ D เป็นการลำเลียงของน้ำ เมื่อแช่เซลล์พืชทิ้งไว้ในสารละลายเจือจาง 5. รูแบบ A และ D ต้องใช้พลังงานจากเซลล์ในการลำเลียงสาร เนื่องจากใช้โปรตีนเป็นตัวพา คำตอบข้อ 1 ) ตอบ  (4 ) รูปแบบ D เป็นการลำเลียงของน้ำ เมื่อแช่เซลล์พืชทิ้งไว้ในสารละลายเจือจาง เหตุผล การลำเลียงสารแบบ A เป็นการลำเลียงสารที่ต้านความเข้มข้น ควรเป็นการลำเลียงสารแบบใช้พลังงาน (active transport) การลำเลียงสารแบบ B เป็นการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยไม่อาศัยตัวพา เป็นการแพร่แบบธรรมดา (simple diffusion) การลำเ

การศึกษาชีววิทยา ม.4 เล่ม 1

ข้อสอบ O-NET ชีววิทยา เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

"ชีววิทยา" เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ดังนั้นการศึกษาชีววิทยาจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific method) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ต่างๆ  ในธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) หรือนักชีววิทยา ( biologist) เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป 1. การตั้งสมมติฐาน ( Hypothesis) สมมติฐานได้มาจากไหน ? ได้มาจากการตั้งปัญหาปัญหาได้มาจากไหน ? ได้มาจากการสังเกตการสังเกตเป็นทักษะสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบปัญหา  ทักษะการสังเกตจึงเป็นทักษะที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ปัญหา ( Problem) เกิดจากการสงสัยที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้น  การคิดหาคำตอบที่อาจเป็นไปได้ของปัญหา เรียกว่า การตั้งสมมติฐาน  (Hypothesis) คือ คำตอบหรือคำอธิบายที่เป็นไปได้ของปัญหา การตั้งสมมติฐานอาจใช้คำว่า ถ้า ( อ้างอิงปัญหา)  ดังนั้น (แนะลู่ทางการตรวจสอบสมมติฐาน)สมมติฐานที่ดี ควรจะ- กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย- แนะช่องทางตรวจสอบสมมติฐาน มีความสัมพันธ์กับปัญหาและข้อเ