นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา




������¹��ó����� �����ҹ����Ҷ֧����ó��դ��������������ͧ���������ͧ����Ф������ҧ��ͧ���� �����ҹ��èе�ͧ���֧�������ó����·�����оѹ�����͡��㹡�ö��·ʹ����ͧ�������������ҧ��ҹ�ҷҧ����Фô���
㹷����Т�¡������ҧ�������ó��ըҡ˹ѧ���Ẻ���¹�Ԫ������ª���Ѹ���֡�ҵ͹���� ��Шҡ�ӹǹ������¡ѹ��
������������������� ���
�. ����è�� ���¶֧��ê�������� �Ҩ�繪���������ͧ����Ф÷�������˭ԧ ����������ͧ��ҹ���ͧ �ͧ�Ѿ ��Ҹ����ҵ� ����� �Ӹ�� ���
�� �״����ʧ��¹��зջ��ͧ ���ͧ�ʧ�ѹ����Ш�ҧ���ҧ��
�ػ��ҵ��Ҵ��â��ŧ ��ɺ��ԡ���кѴ�ҹ
�óٹ���ǹ���������Թ ��о�¾Ѵ��з�蹡�����ҹ
����©�ǻ�������������� ����ҹ�ʹ�ʹ��Ѻ�ЧѺ�
(�ع��ҧ�عἹ)

�����蹾�鹾�ó�ػ�� ���Ҵ�Ҫ�ͪٴ����
�عἹ�ѡ��Ҥ���� �Ѵ㨶֧�Ҹ�������
����ԧ������Ҿ�ó������ ���Ѵ��Ѵ�������ѹ��¹
á��Ңҹҧ�ҧ����¹ �ѹ��ҵ���ҵ����¹�Ūԧ�ѹ
(�ع��ҧ�عἹ)

�.���ջ������� ���¶֧ ���������ʴ��֧�����ѡ������蹪� ��蹪ͺ ����Ǿ����� �ѡ��� ��� (���������蹺͡��Ҩպ�ѹ)
�� �֧���´Թ��鹿������ط� �������ش�����ѡ��Ѥ���ҹ
����Դ��������ظҸ�� �;��ҹ�����ʷء�ҵ��
(����������)

�.���ø�ҷѧ ���¶֧ ����ʴ������� �ع���� ��Ъ���Ъѹ �ø��ͧ �ø�� �����з�����§ ���
�� �����Ҥ����������Ҩ �������ҵ��ط��� ��Ҿ�ʵ��ʵ�� ����Թ��������ҧ������ (���Ե���ŧ����)

�. ����һѧ������ ���¶֧ ����ʴ�����������ȡ����� ��ͧ�����Ӥ�ǭ
��
����ͧ�������������� �����Ѵ��ҧ������ҧ��ҹ
��١����þѴ�Сѹ��� ���͹��͹�����ҹ�������
�ѧ��ǹ�١�١���С�Ҵ�ú ��������١���¨���ͧ���
�С�ӽ���ᴴ��駵һ� ��ҹ��ʹ��ҡ��������
�ѧ�١��͹�����͹������� ����Ӥҭ�Դ�ҹ�ӵ����
��駼�������ʹ͹Ҷ��§�Ҵ� �ش��������ǡ�ʹ�ѹ�ȡ�
(�ع��ҧ�عἹ)

�����ҧ�ú�ҧ �������ó������������ͧ�ҡ�������� ����§���������ҹ�֡��������ԹԨ�Ԩ�ó����ҧ�����´�ͺ�ͺ��з��������ҹ��ó��բͧ��� "�͡��" ����������¹���ʴ����









นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เพื่อน ๆ ชอบทานอาหารรสอะไร !  บางคนอาจชอบทานหวาน บางคนชอบรสชาติเปรี้ยวจี๊ด แต่นอกจากอาหารจานอร่อย เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าวรรณคดีไทยก็มีรสกับเขาเหมือนกันนะ ! นอกจากเนื้อหาและเรื่องราวอันน่าติดตาม เพื่อน ๆ เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าภาษาในบทประพันธ์ (โดยเฉพาะบทร้อยกรอง) กวีได้ใช้ศิลปะอะไร ถึงเล่าเรื่องได้ชวนติดตามขนาดนี้ คำตอบก็คือ ‘กวีโวหาร’ หรือที่เมื่อก่อนเราคุ้นเคยกันในชื่อ ‘รสวรรณคดีไทย’ นั่นเอง จะออกรสออกลีลามากขนาดไหน เตรียมตัวอร่อยไปกับวรรณคดีไทยได้เลย!

นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา

กวีโวหาร

ศิลปะการใช้ถ้อยคำ ที่ทำให้วรรณคดีมีรสชาติยิ่งขึ้น

ถ้าเปรียบวรรณคดีไทยเป็นอาหาร การปรุงวรรณคดีไทยให้อร่อยน่าทาน พ่อครัว (หรือกวีของเราในที่นี้) ก็มีกรรมวิธีสุดพิเศษในการปรุงที่เรียกกันว่า “กวีโวหาร” ว่าแต่กวีโวหารนี่คืออะไรกันนะ ? 

ศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมายของกวีโวหารไว้ว่า  “เป็นศิลปะและสุนทรียภาพ ที่ทำให้บทร้อยกรองถึงพร้อมด้วยแง่งามของเสียงและความหมาย” กวีโวหารจึงเป็นศิลปะและลีลาทางภาษาในการแต่งคำประพันธ์ของกวี ซึ่งในการแต่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง นอกจากกวีจะต้องสื่อความหมายออกมาให้ตรงตามความต้องการแล้ว การเลือกสรรและเรียบเรียงถ้อยคำ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ให้ออกมาไพเราะงดงาม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน โดยกวีโวหารในวรรณคดีไทยจะมีอยู่ 4 ลีลาหลัก ๆ ได้แก่

  1. เสาวรจนี (บทชมโฉม ชมความงาม)
  2. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวโอ้โลม)
  3. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)
  4. สัลลาปังคพิไสย (บทโศก)

แค่ชื่อทั้ง 4 ลีลาก็ยังคล้องจองกันไปอีก ! ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่ารายละเอียดของกวีโวหาร 4 รส 4 ลีลานี้จะมีอะไรบ้าง ตามพวกเราไปดูกันได้เลย

เสาวรจนี (บทชมโฉม ชมความงาม)

กวีโวหารแรกมาในแบบหวาน ๆ ชวนประทับใจ “เสาวรจนี” หรือ "บทชม" คือการเล่าชมความงามของทุก ๆ สิ่ง ชมได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นชมตัวละครในเรื่อง (ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ก็ได้ทั้งนั้น) ชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ชมความงามของปราสาทราชวัง หรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองก็ได้ ตัวอย่างเช่น

        เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น

พันแสง

รินรสพระธรรมแสดง

ค่ำเช้า

เจดีย์ระดะแซง

เสียดยอด

ยลยิ่งแสงแก้วเก้า

แก่นหล้าหลากสวรรค์

บทประพันธ์จากนิราศนรินทร์คำโคลงบทนี้ เป็นบทชมความงามของวัดและบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกได้ว่าบรรยายออกมาได้สวยงามมาก ๆ บทชมนั้นเป็นกวีโวหารที่ปรากฏอยู่เยอะมากในวรรณคดีไทย สามารถพบได้บ่อย ๆ เลยล่ะ

นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา
ขอบคุณรูปภาพจาก giphy

 

นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวโอ้โลม)

มีหญิงสาวแนบมาในชื่อแบบนี้เพื่อน ๆ พอจะเดาออกไหมว่านี่คือบทอะไร "นารีปราโมทย์" หรือ "บทเกี้ยวโอ้โลม" คือบทกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรก ๆ หรือการพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลม ก่อนจะถึงบทสังวาสด้วย

        ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร

ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร

ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ

ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา

แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา

เชยผกาโกสุมปทุมทอง

เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่

เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง

จะติดตามทรามสงวนนวลละออง

เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป


ถึงจะดูออกแนวชม ๆ เหมือนกับเสาวรจนี แต่สังเกตดูว่านารีปราโมทย์จะเน้นการแสดงออกของฝ่ายชายที่มีต่อฝ่ายหญิงในด้านความรัก เน้น ๆ เลยว่าเกี่ยวข้องกับความรัก (เรียกง่าย ๆ ว่าบทจีบนั่นแหละ) ซึ่งจุดนี้ทำให้นารีปราโมทย์แตกต่างจากเสาวรจนี ที่ชมได้หมดทั้งชมโฉม (ผู้หญิง) หรือชมสถานที่ต่าง ๆ

นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา
ขอบคุณรูปภาพจาก giphy

พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)

"พิโรธวาทัง" หรือ "บทตัดพ้อ" หมายถึง การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมาก จึงเริ่มตั้งแต่ไม่พอใจ โกรธ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง ชื่อก็บอกอยู่ว่าพิโรธโกรธแล้วนะ แต่ไม่ได้โกรธแบบธรรมดา เพราะกวีเขาโกรธกันแบบนี้

        รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ

ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม

แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม

สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน

มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง

จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์

ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน

สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ

ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว

หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่

หนักแผ่นดินกูจะอยู่ใย

อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา

ขนาดอ่านแบบยังไม่ถอดความยังรู้เลยว่าแรงมาก ! บทประพันธ์บทนี้มาจากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา เรื่องมีอยู่ว่านางวันทองต้องเลือกระหว่างขุนช้างหรือขุนแผน แต่นางก็ตัดสินใจไม่ได้ กลัวว่าตอบไม่ถูกใจสมเด็จพระพันวษาเลยตอบแบบกลาง ๆ ไป แต่กลายเป็นว่าสมเด็จพระพันวษาโกรธมาก ด่านางวันทองกลับมายาวเหยียดว่าทั้ง

ถ่อยยิ่งกว่าถ่อย

หญิงชั่ว

หนักแผ่นดิน

เรียกได้ว่าแสดงอารมณ์โกรธจัดเต็มมาก ชนิดที่ว่าแค่ฟังยังเจ็บแทน ดังนั้นการสังเกตคำที่ใช้ในบทประพันธ์ ก็ช่วยให้เราพอตีความได้ว่า กวีใช้กวีโวหารใดผ่านการร้อยเรียงถ้อยคำเหล่านี้นั่นเอง (แอบกระซิบว่า เราจะพบบทพิโรธวาทังมากเป็นพิเศษในเรื่องอิเหนา)

นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา
ขอบคุณรูปภาพจาก giphy

สัลลาปังคพิไสย (บทโศก)

และแล้วก็มาถึงรสสุดท้ายของเรา ซึ่งก็คือ "สัลลาปังคพิสัย" นั่นเอง สัลลาปังคพิสัย หรือ "บทโศก" คือการโอดครวญ แสดงความเศร้าโศกเนื่องด้วยการพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก เช่น บทประพันธ์จากเรื่องขุนช้างขุนแผนบทนี้

        เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่

ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล

แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัย

ลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่คุณ

นารีปราโมทย์ ตอนขุนช้างถวายฎีกา
ขอบคุณรูปภาพจาก giphy

หลังจากดูตัวอย่างของกวีโวหารมาถึง 4 ประเภท เพื่อน ๆ ก็สามารถสรุปได้ว่า กวีโวหาร คือ ความรู้สึกที่ผู้อ่านได้รับรู้ได้จากการฟังหรือการอ่านคำประพันธ์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์ และจุดมุ่งหมายของกวีแล้ว ยังเป็นแนวทางในการวิเคราะห์โวหารในวรรณคดีไทยได้อีกด้วย หลังจากนี้เวลาอ่านบทประพันธ์ใด ๆ เพื่อน ๆ ก็น่าจะมองออกแล้วว่ากวีใช้กวีโวหารประเภทไหนในการเล่าเรื่องบ้าง อย่าลืมลองนำเทคนิคเหล่านี้ ไปใช้ตอนอ่านวรรณคดีครั้งต่อ ๆ ไป (จะลองเข้าไปศึกษาบทเรียนวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่) แล้วจะพบว่าวรรณคดีไทยน่ะแซ่บกว่าที่คิด !

ติดตามอ่านบทเรียนออนไลน์วิชาอื่น ๆ ของระดับชั้น ม.4 ดังนี้ วิชาฟิสิกส์ เรื่องโมเมนต์ของแรง วิชาสังคมศึกษา เรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (APEC, AFTA, WTO) วิชาเคมี เรื่องแบบจำลองอะตอมของดอลตัน และทอมสัน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตรรกศาสตร์และประพจน์ และวิชาภาษาไทย เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ มงคลสูตรคำฉันท์