วัฒนธรรม ใน เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

          เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ตอนนี้ไม่ปรากฏผู้แต่งแน่ชัด  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ  ใช้ในการเล่าเรื่องราวเพื่อขับเสภา   เรื่องนี้สะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น และยังให้ข้อคิดที่มีคุณค่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

          ในการศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมในวรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญตรงที่จะช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีมากยิ่งขึ้น  วรรณคดีไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ แต่ยังมีคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมในสมัยอดีตอีกด้วย  ซึ่งรายละเอียดบางอย่างอาจไม่มีบันทึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน     แต่ผู้ประพันธ์ก็ได้สะท้อนและบันทึกไว้ในวรรณคดีอีกทางหนึ่ง

          ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีเรื่องนี้นักเรียนสามารถศึกษาได้จากการพิจารณาพฤติกรรมและบทบาทของตัวละครว่าให้ข้อคิดหรือให้คติสอนใจในด้านใดหรือเรื่องไหนแก่นักเรียน (ซึ่งเป็นผู้อ่าน)  ตัวละครนั้นเป็นแบบอย่างหรือให้อุทาหรณ์เรื่องใดแก่นักเรียน  ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาได้จากการวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องว่า กวีต้องการสื่อความคิดหรือคติสำคัญข้อใดแก่ผู้อ่านไปด้วย

          ภาระงานนักเรียนระดับชั้น ม.๖  ที่เรียนภาษาไทยกับครูปิยะฤกษ์  :   ให้นักเรียนสรุปคุณค่าและข้อคิดจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา  โดยอภิปรายผลที่ตนเองได้รับจากการศึกษาเรียนรู้มาพอสังเขป  (แสดงความคิดเห็นที่เรื่องนี้ได้เลยครับ)

คุณค่าด้านสังคม

ขนบธรรมเนียม   ประเพณี   ศิลปะ   การปกครอง    การศึกษา   ศาสนา  การคมนาคม  จริยธรรมและภูมิศาสตร์ข       องไทยในอดีต ทำให้เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนถึงตายของคนในสังคมไทยสมัยอยุธยาตอนป           ลาย และสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ได้เป็นอย่างดี    สามารถพิจารณา คุณค่าด้านสังคมตามแนวทางได้  ดั้งนี้

       สะท้อนความเชื่อของคนในสังคม   ความเชื่อซึ่งมีอยู่คู่ กับวิถีชีวิต ของคนไทย โดยตลอด จะปรากฏในวรรณคดี ส่วนใหญ่ของไทย  โดยเฉพาะเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน  เป็นเรื่องเต็มไป ด้วยความเชื่อ ในด้านต่างๆ ของคนในสังคม นักเรียนจะเห็นได้จากขุนช้างถวายฎีกานี้  เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน ความเชื่อเรื่องกรรม

               ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์  ตอนที่พลายงามคิดที่จะขึ้นเรือนขุนช้าง

เพื่อพานางวันทองมาอยู่ด้วย พลายงามต้องเตรียมตัวหลายประการ เริ่มจากดูเวลาฤกษ์ยาม  เซ่นพลาย เสกขมิ้น  ลงยันต์  ใส่มงคล  เป่ามนตร์ และบริกรรมคาถาก่อนที่จะลงเรือนของตน

             ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน  ก่อนที่นางวันทองจะถูกตัดสินประหารชีวิต นางวันทองฝันว่าตนพลัดหลงเข้าป่าและหาทางกลับไม่ได้  จนกระทั่งมีเสือสองตัวตะครุบพานางเข้าไปในป่านางจึงตกใจตื่นผวากอดขุนแผน

            ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม  ตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเมื่อประสบชะตากรรมที่ทำให้ตนเองพบกับความทุกข์   มักลงความเห็นว่า เป็นเรื่องของเวรกรรม  ดังเช่น  พลายงามที่เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้นางวันทองต้องไปครองคู่กับขุนช้างเป็นเพราะเคราะห์กรรม

             สะท้อนค่านิยมของคนในสังคม  เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน  สะท้อน  ค่านิยมของสังคม ไทยหลายประการ  เช่น

             ค่านิยมเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ   พลายงามรู้จัก แสดงความเคารพ นบน้อมมีสัมมาคารวะ แม้จะอยู่ใน สถานการณ์ที่ทำให้ ขุ่นเคืองใจ  แต่เมื่อมา เห็นมารดาก็ยังระลึกถึง พระคุณเข้า ไปกราบไหว้

           ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงต้องมีสามีคนเดียว ไม่นิยมผู้หญิงที่มี พฤติกรรมเยี่ยง นางวันทองคือสามีสองคน ในเวลา เดียวกัน   แม้โดยจริง แท้แล้วการ ที่นางต้องมี สามีสองคน นั้นมิใช่เกิด จากความปรารถนาของนางเอง   แต่ในจุดนี้สังคม ก็มองข้ามเห็นได้ แต่เพียงผิวเผิน ว่านางเป็น คนที่ ไม่น่านิยม  น่ารังเกียจ  คำพิพากษาให้ได้รับพระราชอาญา ถึงประหารย่อมเป็นยืนยันถึงผลของค่านิยมด้านนี้ของสังคมไทย

   สะท้อนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

  บทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อประชาชนในสังคมไทย สมเด็จพระพันวษานั้นถ้าพิจารณาวิเคราะห์อย่าง ละเอียดก็จะเห็นว่า  แม้จะทรงเป็นเจ้าชีวิต  มีพระราชอำนาจอันล้นพ้น แต่ก็มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจ อย่างปราศจากเหตุผล หรือ ด้วยอารมณ์ หากได้ทรงปฏิบัติพระองค์ อย่างเหมาะสมและทรงเมตตาครอบครัวขุนแผน  เพราะเห็นแก่ความดีความชอบ ที่เคยสร้างไว้ให้แก่บ้านเมือง นอกจากนี้ทรงดำรงพระองค์อยู่ ในฐานะ ของกษัตริย์ ปกครองประเทศ ซึ่งจะต้องแก้ปัญหา ระดับประเทศแล้วยังต้อง แก้ ปัญหา ระดับ ครอบครัวของ ไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินอีกด้วย  ทรงเปรียบเสมือน พ่อ หรือ ผู้ใหญ่ในครอบครัว เวลาคนในครอบครัวมีเรื่องเดือดร้อนหรือเกิดการณ์วุ่นวายมาฟ้องร้องพระองค์ทรงมีหน้าที่ตัดสินคลี่คลายปัญหา เช่น  ในกรณีที่ขุนช้างมาถวายฎีกา  ครั้งนี้แม้ทรงกริ้ว ด้วยทรงรู้สึกว่า ขุนช้างก่อเรื่องวุ่นวายไม่จบสิ้น แต่ก็มิได้ทรงละเลย ทรงนำมาพิจารณา