อาจ ภาษาอังกฤษ เขียน ยัง ไง

การเขียนหรือสะกดคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจเป็นเรื่องที่หลายคนสับสน จำผิดหรือนำไปใช้ผิดกันบ่อยๆ โดยที่หลายครั้งก็ไม่ได้ทันคิดว่าคำที่เราเขียนหรือใช้ไปนั้นไม่ถูกต้องตามหลักภาษาเท่าไหร่ บทความนี้  AdmissionPremium ก็เลยจะขอมาแนะนำและย้ำเตือนเพื่อนๆ น้องๆ ทุกคนกันอีกครั้งว่ามีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษแบบไหนบ้างที่เรามักพบเห็นหรือมักเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ แล้วคำที่สะกดถูกต้องตามหลักภาษาควรเขียนอย่างไร มาดูและปรับใช้กันให้ถูกดีกว่าน้าาา

อาจ ภาษาอังกฤษ เขียน ยัง ไง

Application
/ แอปพลิเคชัน  x แอพพลิเคชั่น

Blog
/ บล็อก  x บล้อก

e-learning
/ อีเลิร์นนิง  x อีเลิร์นนิ่ง

Browser
/ เบราว์เซอร์  x บราวเซอร์

Click
/ คลิก  x คลิ๊ก

Digital
/ ดิจิทัล  x ดิจิตอล

e-mail
/ อีเมล  x อีเมล์

Facebook
/ เฟซบุ๊ก  x เฟสบุ๊ก xเฟซบุ๊ค

Function
/ ฟังก์ชัน  x ฟังก์ชั่น x ฟังค์ชั่น

Graphic
/ กราฟิก  x กราฟฟิค  x กราฟฟิก

Internet
/ อินเทอร์เน็ต  x อินเตอร์เน็ต

Lab
/ แล็บ  x แลป / แล็ป

Link
/ ลิงก์  x ลิงค์

Login
/ ล็อกอิน  x ล็อคอิน

Mark up
/ มาร์กอัป  x มาร์คอัพ

Package
/ แพ็กเกจ  x แพ็กเก็จ x แพคเก็จ

Platform
/ แพลตฟอร์ม  x แพลทฟอร์ม

Smart
/ สมาร์ต  x สมาร์ท

Tag
/ แท็ก  x แทก x แท็ค

Update
/ อัปเดต  x อัพเดท x อัพเดต

Version
/ เวอร์ชัน  x เวอร์ชั่น

Website
/ เว็บไซต์  x เว็ปไซด์

/ อิเล็กทรอนิกส์  x อิเล็กทรอนิค

/ คาร์บอนฟุตพรินต์  x คาร์บอนฟุตปรินท์

/ บุกกิง  x บุกกิ้ง x บุ๊กกิง


Size
/ ไซซ์  x ไซส์ xไซร์

 

อาจ ภาษาอังกฤษ เขียน ยัง ไง

ซึ่งนอกจากคำที่เรายกมาเป็นตัวอย่างแล้ว ยังคงมีคำทับศัพท์อีกหลายคำที่ยังมีการใช้แบบผิดๆ อยู่ แต่คำที่เราเลือกมาเป็นตัวอย่างนั้นก็เพราะเป็นคำศัพท์ที่น้องๆ และเพื่อนๆ ทุกคนน่าจะได้พบเจอและใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน เอาเป็นว่าใครสนใจศึกษาหลักการและคำทับศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลต่อได้ที่แหล่งที่มาด้านล่างนี้ได้เลยจ้าาา

ราชบัณฑิตสถาน เรื่อง ศัพท์บัญญัติวิชาการ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล DGA
สวทช NSTDA

หลายๆคนอาจจะติดการพิมพ์ krub (ครับ) / ka (ค่ะ)  หรือ na krub (นะครับ) / na ka (นะคะ) เมื่อส่งข้อความภาษาอังกฤษ แต่จริงๆแล้วพวกนี้ในภาษาอังกฤษนั้นไม่มี!! ซึ่งในหลายๆครั้งก็อาจจะทำให้ฝรั่ง งง ได้เหมือนกันนะ

งั้นเราสามารถใช้คำไหนแทนได้บ้างล่ะ? จริงๆแล้วก็มีอยู่หลายคำที่สามารถใช้ได้เวลาตอบรับ ซึ่งที่จะยกตัวอย่างจะค่อนข้างไม่เป็นทางการนิดนึง

เช่น        mmm (อืมมมม)

            Uh huh (อ่าฮะ)

            Ah (อ๋อ, อ่า มักใช้แสดงถึงความรู้สึกต่างๆ เช่น ประหลาดใจ, ยินดี, เห็นด้วย)

            Okay (โอเค ใช้ตอบรับสั้นๆหรือแสดงความรู้สึกในสิ่งที่เห็นด้วย)

แต่ถ้าต้องการที่จะตอบรับโดยที่ทำให้ไม่น่าเบื่อ หรือทำให้คู่สนทนารับรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไรกับบทสนทนา

เช่น        That’s interesting. (มันน่าตื่นเต้นนะ)

            That’s so cool! (มันเจ๋งไปเลย!)

            I see. (เหมือนกับ อืมๆ เข้าใจแล้ว)

            Really? (จริงเหรอเนี่ย?)

            Are you serious? (เธอพูดจริงๆเหรอ?)

            Is that so? (เหมือนกัน Really? และ Are you serious?)

            I know, right? (ใช้เมื่อเห็นด้วยในสิ่งที่คู่สนทนาพูด)

จริงๆคำว่า ครับ/ค่ะ หรือ นะครับ/นะคะ อาจจะใช้กับชาวต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยได้นะ แต่ถ้าใช้บ่อยๆโดยเฉพาะกับชาวต่างชาติที่ไม่ใช้ภาษาไทย อาจจะทำให้เกิดความสับสนด้วยได้นะ เพราะฉะนั้นหากสามารถจำประโยคที่ยกตัวอย่างมาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้บทสนทนาภาษาอังกฤษของคุณสนุกมากขึ้นก็ได้นะ!

สะกดชื่อภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเลย แค่เอาตัวอักษรที่เทียบกันแล้วจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็เอามาต่อๆกัน ก็จะได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ตารางด้านล่างนี้เป็นการเทียบอักษรตามแบบราชบัณฑิตยสถานครับ

อาจ ภาษาอังกฤษ เขียน ยัง ไง

การสะกดชื่อภาษาอังกฤษ

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่าง ๆ

ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542 ระบบการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันของราชบัณฑิตยสถานเป็นระบบที่นิยมใช้ในการเขียนคำทับศัพท์ระบบหนึ่งในภาษาไทย

การสะกดชื่อที่เราได้เมื่อไปถ่ายบัตรนั้น เจ้าหน้าที่จะเป็นคนเทียบให้เราเองครับ แต่ถ้าเราไม่อยากได้ตามที่เขาสะกดให้ ก็สามารถบอกเขาได้เลย ให้เขาเปลี่ยนให้ เวลาเขียนเป็นชื่อภาษาอังกฤษไม่ควรเอาตัวการันต์มาด้วยนะครับ จะงงเปล่าๆ