วรรณคดีและวรรณกรรม ม.1 เฉลย

หนังสือนิตยสารและหนังสือพิมพ์ : เฉลยคำตอบของหนังสือเรียน มีเนื้อหาหนังสือเรียน และ เสริมความรู้เพิ่มเติมของแต่ละบทเรียน มีแนวคำถามพร้อมเฉลย หนังสือทุกเล่มจะมีรอยพ่นสีแดงที่ด้านข้าง หากสนใจ วิชา ชั้น อื่น ๆ กรุณาสอบถามเพิ่มเติมทาง chat

ราคา : ฿249 ฿409

วรรณคดีและวรรณกรรม ม.1 เฉลย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม.1 เฉลย

ผู้คนมักอ้างว่าเรื่องราวที่โจษจันกันนั้นเกิดขึ้นแก่เพื่อนของเพื่อน เมื่อเล่าตำนานพื้นบ้านก็จึงมักอ้างถึง “เพื่อนของเพื่อน” ในยุคสมัครแรกที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตนั้น ตำนานพื้นบ้านจะถูกเล่ากันปากต่อปาก จากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นความถูกต้องที่แท้จริงของเนื้อหา และรายละเอียดต่างๆก็จะผิดเพี้ยนไปจากของจริงบ้างไม่มากก็น้อย โดยรายละเอียดบางประการอาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และยิ่งตำนานนั้นอยู่มานานขนาดไหน ผ่านยุคสมัยมามากขนาดไหน ก็ยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้นเรื่อยๆ

จนในยุคปัจจุบันที่มีอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็มักจะมีการเผยแพร่ตำนานพื้นบ้านกันผ่านทางช่องทางดิจิทัล ทั้งการ fwd email โพสต์ลงเว็บไซต์ หรือการส่งกันผ่านไลน์กลุ่มต่างๆ การผิดเพี้ยนจึงลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากการที่มีต้นฉบับเข้ามาให้เปรียบเทียบนั่นเอง

ความหมายของตำนาน

ตำนานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้คำนิยามของตำนานไว้ว่า “เรื่องเล่าแสดงกิจการอันมีมาแต่ปางหลัง เรื่องราวนมนานที่เล่าสืบ ๆ มา เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม” ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้

จาคอบ กริมม์ ให้ความหมายของตำนานว่าตำนานเป็นเรื่องราวที่เป็นจริง มีสถานที่อ้างอิงจริง เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์

ตำนานหรือเทวปกรณ์หรือเทวตำนาน มาจากภาษาอังกฤษว่า Myth คือ นิทานที่เล่าเรื่องอธิบายกำเนิดของจักรวาล กำเนิดเทพ กำเนิดมนุษย์และสัตว์ และอธิบายความสัมพันธ์และกฎเกณฑ์ ตลอดจนคุณและโทษของพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และพิธีกรรมโบราณ เช่น เทวปกรณ์ของฮินดู ขุนบรมของลาว และพญาคันคากของอีสาน เป็นต้น

ตำนานเป็นเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นเรื่องราวของบุคคลสำคัญของชนชาติต่าง ๆ เช่น กษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร ตลอดจน

การสร้างบ้านแปงเมืองในสมัยโบราณ เรื่องเกี่ยวกับปูชนียวัตถุ หรือโบราณสถาน เป็นต้น เรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดทางมุขปาฐะมาก่อน จนกระทั่งการพิมพ์เจริญขึ้นจึงได้มีผู้รู้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เรื่องราวที่บันทึกเนื่องจากมีระยะเวลาห่างไกลกับเหตุการณ์ จึงทำให้เนื้อหาสาระของตำนานมีทั้งข้อเท็จจริงปะปนกับเรื่องราวคล้ายนิทานปรัมปรา ในพื้นบ้านอีสาน มีตำนานที่น่าสนใจอยู่มากมาย เช่น ตำนานท้าวฮุ่งหรือเจือง ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพญาคันคาก ตำนานหนองหานหลวง และในจังหวัดยโสธร มีตำนานที่น่าสนใจ หลายเรื่อง เช่น ตำนานพระธาตุก่องข้าวน้อย ที่บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง ตำนานพระธาตุพระอานนท์ ที่ตำบลในเมืองยโสธร ตำนานพระธาตุองอาจกระบาลหลวงหรือพระธาตุกุ้น ที่บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ ตำนานพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ที่บ้านสะเดา ตำบลตาดทอง เป็นต้น

ลักษณะของตำนาน

หากจะพิจารณาเนื้อเรื่องของตำนานแล้ว จะพบว่ามีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้

1.ขนาดของเรื่องมีขนาดยาวหลายตอน2.ฉากมีสถานที่จริงปรากฏ
หลักฐานชัดเจน3.ตัวละครมีมนุษย์ อมนุษย์ และ
สัตว์ อาจเป็นวีรบุรุษ
ของท้องถิ่นหรือเทพเจ้า
ตัวอย่างเช่น ปู่สังกะสาย่าสังกะสี ขุนบรม พญาคันคาก พระมนูกับน้ำท่วมโลก4.โครงเรื่องประกอบด้วยอนุภาค หลายอนุภาค ว่าด้วย กำเนิดจักรวาล กำเนิดโลก กำเนิดมนุษย์และ สัตว์ และความเป็นมาของสถานที่สำคัญเก่าแก่ ที่มีมาแต่โบราณ

ความแตกต่างระหว่างตำนานพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้าน

ถึงแม้ว่าตำนานพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้าน จะมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก คนส่วนมากมักจะแยกไม่ค่อยออก และเหมารวมกันว่าตำนานพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้านเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วความสัมพันธ์ระหว่างตำนานเป็นดังนี้

  • ตำนานพื้นบ้าน
    • เป็นเรื่องราวดั้งเดิม ที่อธิบายถึงประวัติศาสตร์ หรือปรากฏการณ์ทางศาสนาต่อผู้ชม
    • ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ชั้นต้น ช่วยอธิบายเรื่องราว ของอดีตให้คลี่คลาย และนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนประวัติความเป็นมา ของสังคม แต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
    • เนื่องจากตำนานเป็นงานที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมทาง ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนทัศนคติของ คนหลายยุคสมัย
  • นิทานพื้นบ้าน
    • เน้นความบันเทิง
    • บางครั้งก็สอนบทเรียนชีวิตด้วย
    • เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา มุ่งให้เห็น ความบันเทิง แทรกแนวคิด คติสอนใจ จนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย อย่างหนึ่ง อาจเรียก นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง นิทานชาวบ้าน เป็นต้น

ตำนานพื้นบ้านของไทยที่ควรรู้จัก

1. ตำนานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่

ประวัติของการสร้างธาตุแห่งนี้แตกต่างไปจากธาตุอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเป็นนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีชายหนุ่มชาวนา (บ้างว่าชื่อ ทอง) ที่ได้ทำนาทั้งชีวิต วันหนึ่งเขาออกไปไถนา ในเวลาเที่ยงเขาเหนื่อยล้า รู้สึกเกิดอาการร้อนรนและหิวโซ มารดาของหนุ่มชาวนามาส่งข้าว แต่มาช้ากว่าเวลาปกติ ชายหนุ่มเห็นว่าก่องข้าวที่มารดาถือมาให้นั้นก่องเล็กมาก เขาโกรธมารดามาก จึงทำร้ายมารดาด้วยความโมโหหิว เอาคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มและเสียชีวิต หลังจากนั้นเขากินข้าวที่มารดานำมาให้ แต่ก็กินเท่าไรข้าวก่องน้อยนั้นก็ไม่หมดก่อง ลูกชายเริ่มได้สติ หันมาเห็นมารดานอนเสียชีวิตบนพื้น จึงรู้สึกเสียใจมากที่ได้ทำผิดไป จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นมาด้วยมือเพื่อชดใช้บาปกรรม

2. ตำนานชาละวัน

มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหารเมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายาย

3. ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้

เมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว ในฤดูแล้งมี “ชนเผ่ากุลา” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้บรรทุกของมาเร่ขายหลายคันเกวียนด้วยกัน และเป็นเส้นทางที่พ่อค้าเหล่านี้ยังไม่เคยเดินผ่านทุ่งแห่งนี้มาก่อน ทำให้ไม่ทราบระยะทางที่แท้จริง เพราะมองเห็นเมืองป่าหลาน อยู่หลัดๆ แต่หารู้ไม่ว่า ใกล้ตาแต่ไกลตีน ขณะเดินทางข้ามทุ่ง รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาก และในช่วงนั้นเป็นฤดูแล้งด้วย น้ำจะดื่มก็ไม่มี ต้นไม้จะอาศัยร่มเงาแม้แต่เพียงต้นเดียวก็ไม่มี แดดก็ร้อนจัด จึงพากันร้องไห้โฮอยู่ที่ทุ่งแห่งนี้ สินค้าก็ตากแดดเสียหายไปครึ่งหนึ่ง จึงตัดสินใจทิ้งสินค้าที่เสียไป เดินทางไปได้อีกหน่อยสินค้าที่มีทั้งหมก็เสียจึงต้องทิ้งทั้งหมด และเมื่อออกจากทุ่งนี้ไปได้ พอไปได้ถึงตัวเมืองก็พบว่ามีคนเยอะมากมามุงดูสินค้าที่หาบมาขาย แต่ไม่มีของแล้ว จึงร้องไห้โฮออกมาเป็นครั้งที่สอง โถ น่าสงสาร

4. ตำนานท้าวแสนปม

เรื่องท้าวแสนปม เป็นนิทานพื้นบ้านแบบเล่าปากต่อปาก หรือเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ของชาวชนพื้นบ้านเมืองกำแพงเพชร และแพร่กระจายออกไปจนทั่วภาคกลางตอนบน จนกระทั่ง เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนำไปแต่งเป็นบทละคร เรื่องนี้จึงได้แพร่หลายออกไปยังบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิต ผู้รู้ ผู้คงแก่เรียน และผู้ได้รับการศึกษาทั้งหลาย มีการเล่าขานสืบต่อกันไปในวงกว้างระดับประเทศ จนกลายเป็นเรื่องที่อยู่ในบรรดาเรื่องเล่าพื้นบ้านไทยที่กลายเป็นนิทานอมตะ เป็นฉากหลังของความเป็นไทยที่สั่งสมสืบทอดกันต่อมาช้านาน

5. ตำนานพระนางกาไว

ตำนานนางกาไว

6. ตำนานนางผมหอม

นางผมหอม เป็นนิทานพื้นบ้านอีสานที่เล่าสืบต่อกันมาช้านานว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้บริเวณเขาภูหอ (ภูหอเป็นภูเขาในตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย) วันหนึ่งได้ไปเที่ยวป่ากับเพื่อนเกิดพลัดหลง แล้วได้ไปดื่มน้ำที่รอยเท้าช้าง เมื่อกลับมาถึงบ้าน นางได้ตั้งท้องคลอดลูกเป็นผู้หญิง ผมมีกลิ่นหอมนางจึงตั้งชื่อลูกว่า “นางผมหอม” ต่อมานางได้ไปเที่ยวป่าอีกครั้งและเกิดพลัดหลง ครั้งนี้นางได้ไปดื่มน้ำที่รอยเท้าวัวป่าเกิดตั้งท้องอีกคลอดออกมาเป็นหญิงตั้งชื่อว่า “นางลุน” ตอนเด็กๆทั้งสองถูกเพื่อนล้อเสมอว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ แม่จึงเล่าเรื่องราวทุกอย่างให้ฟัง พอโตขึ้นนางผมหอมอธิฐานขอให้ฝันถึงพญาช้าง วันรุ่งขึ้นได้ขอแม่ไปเที่ยวป่ากับน้อง ทั้งสองไปเจอพญาช้าง พญาช้างจึงพิสูจน์ความจริงว่าใช่ลูกตัวเองหรือไม่ จึงอธิฐานว่าใครเป็นลูกให้ปีนขึ้นมาบนหลังตนได้ ถ้าไม่ใช่ก็ปีนไม่ได้ นางผมหอมปีนขึ้นได้ แต่นางลุนปีนไม่ได้จึงถูกพญาช้างเหยียบตาย

ต่อมานางผมหอมได้ไปอยู่ที่ปราสาทกับพญาช้าง วันหนึ่งนางได้ลงเล่นน้ำที่ลำธาร เมื่ออาบน้ำเสร็จจึง เอาเส้นผมใส่ในผอบทองลอยน้ำไป ท้าววรจิตรลูกชายเจ้าเมืองฮ่มขาว ได้ไปอาบน้ำเจอผอบเปิดออกเห็นเส้น ผมมีกลิ่นหอม ก็หลงรักเจ้าของเส้นผมขึ้นมาทันที จึงนำผอบตามหาเจ้าของเส้นผม ในที่สุดได้เจอกับนางผมหอม ทั้งสองจึงตกลงไปอยู่ด้วยกันที่ปราสาทจนกระทั่งมีลูกชายด้วยกัน โดยไม่บอกให้พญาช้างรู้ ทำให้พญา ช้างทราบทีหลังและตรอมใจตาย นางผมหอมได้เอากระดูกของพญาช้างมาทำเป็นเรือทองคำกลับเมือง ระหว่างทางได้กับเจอนางโพง นางโพงได้ดึงนางผมหอมตกน้ำ แล้วแปลงเป็นนางผมหอมเข้าเมือง แต่นางผมหอมไม่ตายได้มาอาศัยอยู่กับยาย และให้ยายพาลูกชายของตนมาพบได้เล่าความจริงให้ลูกฟังทั้งหมดว่านางผมหอมที่อยู่กับพ่อนั้นไม่ใช่ตัวจริง ฝ่ายลูกชายจึงเล่าเรื่องราวให้ผู้เป็นพ่อทราบและท้าววรจิตรจึงฆ่านางโพงตาย แล้วรับเอานางผมหอมเข้ามาอยู่ด้วยกันที่เมืองอย่างมีความสุขตลอดมา

7. ตำนานพระนางเลือดขาว

นางเลือดขาวมีผิวพรรณ เลือด ที่ออกจากร่าง “ขาว” จึงเรียก “นางเลือดขาว” หลักฐานว่านางเลือดขาวเป็นบุตรลับๆ พ่อแม่ไม่กล้าเลี้ยงเพราะเลือดไม่เหมือนคนทั่วไป จึงมอบให้เป็นบุตรลับบุญธรรมแก่ตายายเลี้ยง ตาสามโม ยายเพชร เป็นตายายที่ใจบุญ รับเด็กหญิงมาเลี้ยงขณะที่ขณะนั้นได้มีบุตรบุญธรรมเลี้ยงอยู่แล้วหนึ่งคนชื่อกุมาร เมื่อทั้งสองเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่มสาว ตายายก็ให้หนุ่มสาวแต่งงานกัน กุมารกับนางเลือดขาวย้ายจากบ้านเกิดไปที่ใหม่ ณ บางแก้ว (ระยะทางปัจจุบันประมาณ 15 กม.) เมื่อตายายถึงแก่กรรม กุมารกับนางทำฌาปนกิจศพแล้วนำอัฐิไปฝังไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ กุมารกับนางได้รับมรดกเป็นนายกองช้าง ต่อมามีกำลังมากขึ้นทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ทั้งสองมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อไปอยู่ที่บางแก้วไดสร้างวัดบางแก้ว วัดสทัง วัดสทิงพระ พร้อมๆ กันสามวัด เพื่อสร้างอุทิศส่วนให้สองตายาย

8. ตำนานพญากง-พญาพาน

ตำนานพญากงพญาพาน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่บอกเล่าและเชื่อมโยงที่มาของโบราณสถานและชื่อบ้านนามเมืองในภูมิภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เช่น พระปฐมเจดีย์ พระประโทณเจดีย์ เนินพระ บ้านสามพราน เนื้อหาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของเมืองต่างๆ ในภูมิภาค ตลอดจนวิถีชีวิตในท้องถิ่น นอกจากนี้ตำนานพญากงพญาพาน ยังแพร่หลายและได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ตราบจนปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่สืบเนื่องมา ตำนานพญากงพญาพาน ด้วยเหตุนี้จึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

9. ตำนานพระนางสามผิว

ตำนานได้กล่าวถึงพระนางสามผิวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2155-2175 พระเจ้าอุดมสิน เจ้าเมืองฝางจังหวัด เชียงใหม่ปัจจุบัน มีพระมเหสีองค์หนึ่งทรงพระสิริโฉมงดงามมาก ในวันหนึ่ง ๆ สีผิวของพระนางจะเปลี่ยนไป ถึง ๓ สี คือ เวลาเช้าผิวพรรณของพระนางจะขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง เวลาเที่ยงสีผิวของพระนางจะเปลี่ยนเป็นสี ชมพูอ่อน เวลาเย็นสีผิวของพระนางจะเปลี่ยนเป็นสีแดงระเรื่อเป็นที่น่าชวนพิสมัยอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้พระนามพิเศษว่า พระนางสามผิว

10. ตำนานเมืองลับแล

เรื่องลี้ลับเล่าขานของตำนานพื้นบ้าน มีมาแต่อดีตเรื่องราวเก่าแก่ที่เล่ากันสืบทอดต่อกันมา “อำเภอลับแล หรือ เมืองลับแล” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2444 ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

11. ตำนานหลวงปู่ทวด

ตำนานหลวงปู่ทวด

12. ตำนานรักพระลอ

ตำนานรักพระลอ เป็นนิยายรักอมตะ ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่เขียนไว้ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ เชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพราะมีหลักฐานหลายอย่างสอดคล้องกันเช่น เมืองสรอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงผู้เลอโฉม สันนิษฐานว่าคือ เมืองสอง (อ.สอง) ของจังหวัดแพร่