ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของอาชีพ หมาย ถึง

การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003 from Thidarat Termphon

เราทุกคนต่างต้องการทำงานที่มั่นคง มีความยั่งยืน เช่นเดียวกันเกษตรกรก็ต้องการเช่นนั้น ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเกษตรกรไร่อ้อย โดยสำหรับอ้อยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เพราะไทยนั้นเป็นผู้ผลิตน้ำตาลและส่งออกจำหน่ายน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งอ้อยถือเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะมีรายได้จากการจำหน่ายอ้อยไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของรายได้ภาคเกษตรทั้งหมด

 

จากความสำคัญของอ้อยที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าการผลิตอ้อยถือได้ว่าเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลดำเนินต่อไปได้ และอีกนัยหนึ่งก็เป็นการสะท้อนว่าเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นกำลังสำคัญอย่างมากต่อความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้หรือไม่

อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายต่างๆ ส่วนใหญ่ได้มุ่งเน้นเพียงในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์อ้อย และพัฒนาเครื่องมือที่จะใช้ช่วยในการผลิตและเพิ่มผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของอ้อย โดยที่ไม่ได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาแรงงานภาคการเกษตรเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็จะดำเนินการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น เมื่อปี พ.ศ.2548-2554 เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ทางรัฐบาลจึงได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยด้วยการอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับชาวไร่อ้อย เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย


จากการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ผ่านมานี้ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นเหตุ แต่กลายเป็นการก่อให้เกิดหนี้สินกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นจากการสำรวจพบว่าโดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจำนวนมากยังประสบปัญหาภาวะขาดทุนและหนี้สิน อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ทำให้มักได้ค่าอ้อยไม่คุ้มทุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงมีรายได้น้อย และก่อให้เกิดหนี้สินตามมาซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยที่พบว่าเกษตรกรต้องมีภาระหนี้สินจากการทำไร่อ้อย เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีส่วนช่วยในการทุ่นแรงและการใช้แรงงานคนลดน้อยลงมากเช่น รถไถ รถปลูกอ้อย รถบรรทุกอ้อย ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

ในขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโรงงานน้ำตาลโดยเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่เป็นผู้จ่ายเงินเกี๊ยว (เงินเกี๊ยวหรือเงินบำรุงอ้อย คือ เงินมัดจำในการขายอ้อยล่วงหน้า) ให้แก่ชาวไร่อ้อย โดยคิดค่าธรรมเนียมนายหน้าในอัตราที่สูงสิ่งเหล่านี้ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่สามารถบริหารจัดการได้ ย่อมส่งผลให้รายรับจากการขายอ้อยเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในที่สุดก็คือ การหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย จะถือว่าเป็นสินค้ายุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาประเทศในการสร้างงาน และเสถียรภาพรายได้ของอาชีพเกษตรกรไทยให้เกิดการกินดีอยู่ดีแต่ในความเป็นจริงแล้วในฐานะเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นกลับมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยลง

ซึ่งการที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในปัจจุบันประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้นำไปสู่การทำให้ภาพลักษณ์ของอาชีพเกษตรกรรมในทัศนคติของแรงงานรุ่นใหม่กลายเป็นงานที่หนัก ราคาไม่แน่นอน ผลผลิตต้องพึ่งพาธรรมชาติ ส่งผลให้แรงงานเคลื่อนย้ายไปสู่แรงงานนอกภาคเกษตรมากขึ้น

และในที่สุดอาชีพการเกษตรก็จะกลายเป็นเพียงทางเลือกเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม โดยพบว่าแรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรน้อยลง ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตรสูงขึ้น นั่นคือ กลุ่มแรงงานอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 15-39 ปี กลับมีแนวโน้มลดลง

ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของอาชีพ หมาย ถึง

จากปรากฏการณ์ที่คนรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรกรรมลดน้อยลงนี้ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมอาจกำลังเริ่มเผชิญปัญหาการขาดกำลังคนที่เป็นผู้ผลิตป้อนวัตถุดิบในอนาคตได้ แม้จะมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยแต่หากเกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่เหล่านั้น ก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดขึ้นมา

ซึ่งหากในอนาคตเกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่สามารถคงอยู่ในอาชีพต่อไปได้ก็ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่การหาแนวทางเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อนำไปสู่การทำให้แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรสามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาและสามารถคงอยู่ในอาชีพได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลก็จะมีเสถียรภาพและยั่งยืนเช่นกัน

 


 

แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย

และจากความสำคัญข้างต้น จึงนำมาซึ่งโครงการวิจัยเรื่องทีได้ทำการการศึกษาวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในมิติต่างๆ เพื่อจะสะท้อนให้เห็นว่า ในวิถีชีวิตของชาวไร่อ้อยมีมิติเรื่องใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพปลูกอ้อยของเกษตรกร พร้อมกันนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้คงอยู่ในอาชีพได้อย่างยั่งยืน

ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของอาชีพ หมาย ถึง

โดยจากการศึกษาพบว่า หลักสำคัญเลยที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถคงอยู่ในอาชีพได้อย่างมั่นคงและประสบความสำเร็จจากการทำไร่อ้อย นั่นก็คือตัวของเกษตรกรเอง โดยเกษตรกรควรมีลักษณะของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ดี ซึ่งพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงลักษณะของการเป็นเกษตรกรที่ดีอันนำไปสู่ความเข้มแข็งในอาชีพนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะสำคัญ ได้แก่ เป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้ หรือประสบการณ์, เป็นผู้ที่มีความขยันและตั้งใจในการทำงาน, เป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพทำไร่อ้อย และ เป็นผู้ที่มีวินัยการใช้จ่ายและรู้จักการต่อยอดเงิน นั่นเอง

ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของอาชีพ หมาย ถึง

นอกจากนี้ภาครัฐเองก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกรไร่อ้อยได้ โดยในงานวิจัยก็ได้นำเสนอข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลเช่นเดียวกันว่ามีจะมีบทบาทอย่างไรในเรื่องนี้

ประการแรก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหรือสนับสนุนอาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อย ควรมีการวางแผนหรือกำหนดนโยบายโดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับจากเกษตรกรชาวไร่อ้อย ไม่ว่าจะเป็นการมองถึงสิ่งจำเป็นที่เกษตรกรควรมีในการประกอบอาชีพ ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกษตรกรเผชิญอยู่จริง แล้วนำมาคิดทบทวนถึงวิธีการที่จะเป็นแนวทางส่งเสริมหรือแนวทางแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อเป็นการสนับสนุนหรือแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นอย่างแท้จริง เช่น ความรู้ในเรื่องการบำรุงดินให้มีสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย การเรียนรู้การเลือกใช้เทคนิคและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ประการต่อมา ควรพิจารณาเรื่องสิทธิหรือผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยพึงจะได้รับให้มีความเหมาะสมกับความเป็นจริงและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น เรื่องของต้นทุนการผลิต เรื่องของการประสบภัยธรรมชาติ เป็นต้นเพื่อนำไปสู่การกำหนดราคาอ้อย หรือการสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกษตรกรเผชิญปัญหาอยู่ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยังคงอยู่ในอาชีพได้

ประการที่สาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหรือสนับสนุนอาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อยควรสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยให้รู้จักการใช้ช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่เข้ามาช่วยเกษตรกรในการพัฒนาอาชีพของตนเชิงรุกด้วยตนเองโดยอาจทำการพัฒนาระบบที่เป็นลักษณะของสื่อออนไลน์ที่ประกอบด้วยความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นมา และคอยปรับปรุงระบบให้มีข้อมูลต่างๆ ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเสมอ

การจะพัฒนาให้สิ่งใดยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวสิ่งนั้นด้วย เช่นเดียวกับการที่หากรัฐบาลจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเกิดความมีเสถียรภาพและยั่งยืนก็ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้สามารถคงอยู่ในอาชีพได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน