หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่

เมื่อคนให้เช่าอยากบอกเลิกสัญญา แบบด่วน ๆ ออกทันที มีกรณีไหนบ้าง

5 ข้อต่อไปนี้ ที่ผู้ให้เช่า สามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและมีผลใน 7 วัน บอกเลิกสัญญาได้ทันที โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิโต้แย้ง
เพียงมีหลักฐานและบอกกล่าวเป็นอักษร หรือ มีหลักฐานส่งข้อความทางอีเล็กโทรนิกส์ ที่มีผู้รับได้ หรือหลักฐานวีดีโอ
ในกรณีต่อไปนี้

  1. ผู้เช่า ไม่ชำระค่าเช่า ค่าใช้จ่ายตาม ที่ตกลงกันไว้ หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ล่าช้าหรือค้างค่าชำระเกินในสัญญาที่ตกลงกัน
    กรณีนี้สามารถคิดดอกเบี้ยล่าช้าได้อีกด้วยนะครับ (ไม่เกิน 1% ต่อวัน)
  2. ผู้เช่าฝ่าฝืนกระทำการผิดกฎหมายในที่ห้องของเรา เช่นเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การพนัน ใช้ความรุณแรง ทำร้ายร่างกาย คนในที่พัก ค้าประเวณี หรือกรณีอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย
  3. ผู้เช่าฝ่าฝืน ข้อตกลงในสัญญาร้ายแรง เช่น นำไปปล่อยเช่าช่วง ปล่อยเช่ารายวัน ให้ผู้อื่นพักแทน
  4. ผู้เช่าฝ่าฝืน ข้อตกลงในสัญญาไม่รุณแรงแต่ส่งผลร้ายแก่ทรัพย์สินและเจ้าของร่วมอื่น ๆ เช่น ทะเลาะหรือทำร้ายผู้อื่นในบริเวณที่พักก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นบ่อยครั้ง หรือฝ่าฝืนกฎของโครงการบ่อยครั้ง เช่น การสูบบุรี่บนระเบียง มีเจตนาทำลายทรัพย์สิน แอบรับของผู้อื่น ซึ่งได้รับการแจ้งเตือนจากทั้งนิติบุคคลและเจ้าของห้องบ่อยครั้ง
  5. ผู้เช่าถูกศาลสั่งให้กลายเป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมาย

ทั้ง 5 ข้อข้างบนนี้ ผู้ให้เช่าก็มีสิทธิที่จะริบเงินประกัน รวมทั้งค่าเช่าที่ชำระไว้แล้ว และยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ส่วนถ้าหากการยกเลิกสัญญาเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เช่น เกิดไฟไหม้ อาคารทรุด หรืออื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้เช่า ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ และต้องคืนเงินประกันให้กับผู้ให้เช่าตามสัญญาอีกด้วย

ในตัวสัญญา ควรระบุ ระยะเวลาการย้ายออกจากคอนโด ไว้ด้วย เช่น “ผู้ให้เช่ามีสิทธิขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกไปจากห้องเช่าได้ทันที โดยผู้เช่าต้องเป็นฝ่ายชำระค่าขนย้ายให้ (หักจากค่าประกันความเสียหาย) ซึ่งผู้ให้เช่าจะดูแลทรัพย์สินของผู้เช่าไว้เป็นเวลา 15 วัน หากไม่มาเอาคืนก็จะถือว่าตกเป็นของผู้ให้เช่า” เป็นตัวอย่างนะครับ

ในกรณีบอกเลิกสัญญาในสถานการณ์ปกติ ที่ผู้เช่ามิได้ละเมิดสัญญาใด ๆ ตามกฎหมายแล้วผู้ให้เช่าจะยกเลิกสัญญาก่อนหมดเวลาตามสัญญาไม่ได้ ต้องรอหมดสัญญาก่อนนะครับ และต้องแจ้งแก่ผู้เช่าว่าจะไม่เช่าต่อ อย่างน้อย 30 วัน

ส่วนด้านผู้เช่าเอง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดนะครับ โดยต้องบอกเจ้าของห้องล่วงหน้า 30 วัน แต่ก็จะต้องพักอาศัยมาแล้วอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสัญญา เช่น สัญญาการเช่ามีระยะเวลา 1 ปี ผู้เช่าต้องพักอาศัยมาแล้ว 6 เดือน

จึงจะแจ้งเจ้าของห้องล่วงหน้า 30 วัน ได้เพื่อเป็นการรักษาทั้งสิทธิ์ในการย้ายของผู้เช่า และไม่ให้เจ้าของห้องเสียโอกาสหาผู้เช่าใหม่กะทันหันอีกด้วยนะครับ

ดังนั้นหากการเช่ายังไม่แน่ใจระยะเวลาที่จะเช่า ควรระบุสัญญาเช่า 3-6 เดือนกันก่อนได้นะครับ และหากมีความแน่นอนแล้วอยากแก้สัญญาเป็นรายปีเมื่อไร ก็สามารถแจ้งเจ้าของห้องเพื่อเปลี่ยนสัญญาได้ครับ

ส่วนการจะ ต่อสัญญาเช่าคอนโดส่วนใหญ่ก็ควรแจ้งก่อน 30 วัน โดยทำสัญญากันใหม่ หรือตามแต่ตกลงกันนะครับผม
สรุปให้จำง่าย ๆ ว่า ผู้ให้เช่าต้องหมดสัญญาแล้วปกติคือ 30 วัน ส่วนร้ายแรง 7 วันนะครับผม

—————————————————–

#OkasAgency #โอกาสเอเจนซี่ #ให้โอกาสเราสร้างโอกาสคุณ #ลงทุนแบบยืดหยุ่น #รับผลตอบแทน100% #ลงทุนคอนโด #ลงทุนปล่อยเช่า

หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่
 Website : www.okasagency.com
หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่
 Line ID : @okasagency
หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่
 Email : [email protected]
หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่
 Tel : 098 261 9797

หนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่

ตัวอย่างจดหมายบอกเลิกสัญญาต่างๆ

1.ฟอร์ม ขอเงินจองรถยนต์คืน

2.ฟอร์ม โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์

3.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์ประกันภัย

4.ฟอร์ม จดหมายเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต

5.ฟอร์ม ยกเลิกประกันภัยทางโทรศัพท์

7.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและปฏิเสธการชำระหนี้ อินเทอร์เน็ต

8.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและให้เยียวยาความเสียหาย กรณีบริษัทผิดสัญญา

9.ฟอร์ม ขอให้ระงับการเรียกเก็บเงินจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทรูสปาทรูฟิตเนส

10.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา ฟิตเนส

11.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา สินค้าชำรุดบกพร่อง

12.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงินมัดจำ กรณีเช่าที่อยู่อาศัย บ.ผิดสัญญา

13.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงินดาวน์ กรณีซื้อห้องชุด กู้ไม่ผ่าน

14.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา เสริมความงาม

15.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงิน บริษัท ELC.

16.ฟอร์ม ขอให้ดำเนินการตามสัญญา (จ้างทำของ ก่อสร้างบ้าน ทิ้งงาน)

17.ฟอร์ม ขอให้เยียวยาความเสียหาย อาหารปนเปื้อน

18.ฟอร์ม แจ้งบริษัทบัตรเครดิต

19.01 ฟอร์ม ปฏิเสธการยกเลิกประกัน COVID-19 (แก้ไขได้)

19.02 ฟอร์ม ปฏิเสธการยกเลิกประกัน COVID-19 (PDF)

การเลิกสัญญาเช่าล้วนมักเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของคู่สัญญา (เช่น ผู้ให้เช่าและผู้เช่า) ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บอกเลิกสัญญา หรือฝ่ายผู้ถูกบอกเลิกสัญญาก็ตาม และไม่ว่าสิ่งปลูกสร้างที่เช่านั้นจะเป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น

  • สิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้าน ห้องชุด ห้องอยู่อาศัย อพาร์ตเม้นท์ แฟลต
  • สิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ เช่น ที่ดิน อาคารพาณิชย์ สำนักงาน คลังสินค้า พื้นที่ร้านค้า หรือ
  • สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตามสัญญาเช่าช่วง

ทั้งนี้ เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าอาจก่อให้เกิดภาระหรือความเสียหายต่อคู่สัญญาไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย เช่น

  • ผู้ให้เช่าต้องหาผู้เช่ารายใหม่
  • ผู้ให้เช่าขาดรายได้จากค่าเช่าในขณะที่ยังไม่สามารถหาผู้เช่ารายใหม่ได้
  • ผู้เช่าต้องหาสถานที่เช่าใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ (เช่น อยู่อาศัย ประกอบกิจการ)
  • ผู้เช่าอาจมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เช่า
  • ผู้เช่าอาจมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่เช่าเดิมและสถานที่เช่าใหม่

ปัญหาและสาเหตุ

การเลิกสัญญาเช่าอาจมีปัญหาและสาเหตุที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี โดยอาจแบ่งพิจารณาในกรณีต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีเกิดจากความผิดของผู้เช่า

ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าเกิดจากความผิดของผู้เช่า อาจเป็นกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น

    • ผู้เช่าไม่ยอมชำระค่าเช่า
    • ผู้เช่าชำระค่าเช่าไม่ครบตามจำนวนที่ตกลง หรือชำระค่าเช่าล่าช้าเกินกำหนดระยะเวลา
    • ผู้เช่าไม่ดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า
    • ผู้เช่าทำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าเสียหาย และไม่ยอมซอมแซมแก้ไข
    • ผู้เช่านำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า
    • ผู้เช่าดัดแปลงหรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า

ในกรณีที่ผู้เช่าต้องการนำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า หรือผู้เช่าต้องการดัดแปลงหรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าอาจเจรจาตกลง และขออนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า โดยให้ผู้ให้เช่าอนุญาต/ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่

    • ผู้เช่านำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า

ในกรณีที่ผู้เช่าต้องการนำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงต่อ ผู้เช่าอาจเจรจาตกลง และขออนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า โดยให้ผู้ให้เช่าอนุญาต/ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือยินยอมให้เช่าช่วง

(ข) กรณีเกิดจากความผิดของผู้ให้เช่า

ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าเกิดจากความผิดของผู้ให้เช่า อาจเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้ให้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น

    • ผู้ให้เช่าก่อกวน หรือขัดขวางการใช้ประโยชน์และ/หรือการครอบครองสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าของผู้เช่าเกินสมควร
    • ผู้ให้เช่าส่งมอบสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าซึ่งมีสภาพไม่เหมาะแก่การที่ผู้เช่าจะใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่เช่า
    • ผู้ให้เช่าไม่ยอมจัดการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นตามปกติซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า

(ค) กรณีที่ไม่ใช่ความผิดของคู่สัญญา

ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าไม่ได้เกิดจากความผิดของคู่สัญญา ไม่ว่าผู้ให้เช่า หรือผู้เช่า อาจเป็นกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น

    • ข้อสัญญาที่กำหนดให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย สามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ต้องมีการปฏิบัติผิดสัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
    • เกิดอุบัติเหตุซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้เช่า หรือเหตุสุดวิสัยแก่สิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าทำให้ผู้เช่าไม่สามารถใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่านั้นได้ตามวัตถุประสงค์การเช่า (เช่น ถูกเวนคืนโดยรัฐบาล หรือถูกน้ำท่วม/ไฟไหม้) ในกรณีเช่นนี้ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้
    • คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นและความตกลงร่วมกันที่จะเลิกสัญญาเช่า เช่น ผู้ให้เช่าต้องการจะนำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าออกขายให้แก่บุคคลอื่น และผู้เช่าเองก็ตกลงจะย้ายสถานที่เช่าใหม่พอดี

สิทธิการเลิกสัญญา

เมื่อคู่สัญญาทราบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุที่ต้องการจะบอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะบอกเลิกสัญญาควรตรวจสอบข้อเท็จจริง และสิทธิในการบอกเลิกสัญญาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าดังกล่าว ว่าในการบอกเลิกสัญญาในกรณีปัญหาและสาเหตุนั้น มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ระยะเวลา และเงื่อนไขในการใช้สิทธิเลิกสัญญา อย่างไร เช่น

  • ในกรณีการปฏิบัติผิดสัญญาทั่วไป ในสัญญาเช่าอาจกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาต้องมีการบอกกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาให้แก้ไขก่อนระยะเวลาหนึ่ง หากยังไม่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าว คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าวได้
  • ในกรณีการปฏิบัติผิดสัญญาร้ายแรงหรือในสาระสำคัญ ในสัญญาเช่าอาจกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้เลยในทันทีโดยการบอกกล่าวเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา
  • ในกรณีเกิดเหตุการณ์หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในสัญญา ในสัญญาเช่าอาจกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้โดยการบอกกล่าวเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

ในกรณีที่ในสัญญาเช่ากำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาต้องมีการบอกกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาให้แก้ไขก่อนระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้โอกาสคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาอาจจัดทำหนังสือเตือนชำระค่าเช่าล่าช้า หรือหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า แล้วแต่กรณีเพื่อเป็นการบอกกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา

การดำเนินการเลิกสัญญา

เมื่อคู่สัญญาได้ตรวจสอบถึงสิทธิในการเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าแล้ว รวมถึงดำเนินการต่างๆ ตามเงื่อนไขที่สัญญาเช่ากำหนดอันก่อให้เกิดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาแล้ว (ถ้ามี) เช่น การส่งหนังสือเตือนชำระค่าเช่าล่าช้า หรือหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า คู่สัญญาอาจดำเนินการเลิกสัญญาได้ โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีการบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว

ในกรณีที่คู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพียงฝ่ายเดียว เช่น

    • ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย
    • ผู้ให้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้ให้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย
    • ข้อสัญญาที่กำหนดให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย สามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ต้องมีการปฏิบัติผิดสัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ข้อตกลงที่ให้ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อใดก็ได้ หรือข้อตกลงที่ให้สิทธิผู้เช่าบอกเลิกสัญญาในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้เช่า หรือเหตุสุดวิสัยแก่สิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าทำให้ผู้เช่าไม่สามารถใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่านั้นได้ตามวัตถุประสงค์การเช่า (เช่น ถูกเวนคืน หรือถูกน้ำท่วม/ไฟไหม้)

ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ควรส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเจตนาที่จะบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งรับทราบถึงการแสดงเจตนาดังกล่าวและเพื่อให้การบอกเลิกสัญญาเช่านั้นมีผลบังคับใช้

คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอาจจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาซึ่งเป็นคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเจตนาที่จะบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวิธีการและที่อยู่ของคู่สัญญาในการส่งคำบอกกล่าวที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า

(ข) กรณีเลิกสัญญาร่วมกัน

ในกรณีที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นและความตกลงร่วมกันที่จะเลิกสัญญาเช่า โดยที่ไม่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา หรือมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพียงฝ่ายเดียว เช่น

    • ผู้เช่าต้องการเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเนื่องจากต้องย้ายสถานที่ทำงาน ผู้เช่าจึงได้ขอเจรจาลดระยะเวลาเช่ากับผู้ให้เช่า โดยที่ผู้ให้เช่าก็เห็นใจและเข้าใจจึงยอมตกลงเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดให้โดยไม่คิดค่าปรับ

ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจัดทำบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกข้อตกลงต่างๆ ที่คู่สัญญาได้เจรจาตกลงกันเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่า เช่น วันที่ให้การเลิกสัญญาเช่ามีผล ค่าเสียหาย (ถ้ามี)

คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายอาจจัดทำบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาซึ่งเป็นบันทึกข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และแนบเก็บไว้กับสัญญาเช่าที่คู่สัญญาตกลงกันที่จะเลิกเพื่อใช้ในการอ้างอิงในอนาคต

หลังจากการเลิกสัญญา

เมื่อคู่สัญญาได้บอกเลิกสัญญาหรือได้ตกลงร่วมกันเลิกสัญญาเช่าแล้ว คู่สัญญา โดยเฉพาะผู้ให้เช่า อาจมีข้อพิจารณาภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่ามีผลบังคับใช้แล้ว ดังต่อไปนี้

เงินประกันการเช่า และความเสียหาย (ถ้ามี)

ในกรณีที่ผู้เช่าได้วางหลักประกันการเช่าเอาไว้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาเช่า หรือเพื่อเป็นประกันความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า (เช่น เงินประกันความเสียหาย) ในกรณีที่มีความเสียหาย ผู้ให้เช่าอาจริบหรือหักหลักประกันดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ อัตรา และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า

อย่างไรก็ดี ในกรณีสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย หากผู้ให้เช่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา การเรียกวางเงินประกันการเช่า รวมถึงการบังคับเอาหลักประกันดังกล่าวจะต้องเป็นไปตาม หรือไม่ต่ำกว่าที่ประกาศได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองผู้เช่าที่มักถูกผู้ให้เช่าที่เป็นผู้ประกอบการเอาเปรียบ

ในกรณีที่ผู้ให้เช่าจะบังคับหลักประกันการเช่า คู่สัญญาอาจอ้างอิงสภาพสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าตามบันทึกการตรวจรับสภาพสิ่งปลูกสร้างที่เช่าที่คู่สัญญาได้จัดทำร่วมกันในวันที่ผู้เช่ารับมอบสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าจากผู้ให้เช่ากับสภาพสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า ณ วันที่ผู้เช่าส่งมอบสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าคืนแก่ผู้ให้เช่า ว่ามีความเสียหาย ชำรุดบกพร่องเพิ่มเติม หรือไม่ อย่างไร

ดอกเบี้ยผิดนัด และค่าปรับ

ในกรณีที่ผู้เช่าผิดนัดชำระหนี้ต่างๆ เช่น ค้างชำระค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ผู้ให้เช่าอาจการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดนัด ค่าปรับ ค่าเสียหายได้ตามอัตราและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาเช่า หรือตามกฎหมายในกรณีที่ไม่ได้มีการตกลงเอาไว้ในสัญญาเช่า

ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ในกรณีที่ผู้เช่าผิดนัดชำระหนี้ ได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ผู้ให้เช่าทำอะไรได้บ้าง เมื่อผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า? บนเว็บไซต์ของเรา

การย้ายออกจากสถานที่เช่า

เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ผู้เช่าย่อมต้องมีหน้าที่ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้เช่ายังไม่ยอมย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าภายหลังจากพ้นระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้ให้เช่าอาจพิจารณาดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้เช่าย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า เช่น ผู้ให้เช่าอาจจัดทำหนังสือแจ้งให้ย้ายออกจากสถานที่เช่าเพื่อบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้เช่าให้ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า

ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้เช่าย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: จะย้ายผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าต้องดำเนินการ อย่างไร บนเว็บไซต์ของเรา

สรุป

การเลิกสัญญาเช่าล้วนมีสาเหตุ ปัญหา และความจำเป็นไม่ว่าจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการเลิกสัญญาอาจเป็นหนทางสุดท้ายที่คู่สัญญาประสงค์จะให้เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อเลิกสัญญาแล้วย่อมจะต้องเกิดปัญหาอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ก่อนที่จะเลิกสัญญา คู่สัญญาจึงควรพยายามเจรจา พูดคุย ประนีประนอม ร่วมกันแก้ไขสาเหตุ ปัญหา และความจำเป็นดังกล่าวก่อน

อย่างไรก็ดี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย พิจารณาและตัดสินใจดีแล้วว่าการเลิกสัญญาเช่าอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ของคู่สัญญา ผู้ให้เช่า และ/หรือผู้เช่าก็อาจเลิกสัญญาโดยอาจดำเนินการและพิจารณาตามข้อพิจารณาในคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้

แบบฟอร์มและตัวอย่างต่าง ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบ Word และ PDF

  • หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา
  • หนังสือเตือนชำระค่าเช่าล่าช้า
  • หนังสือแจ้งให้ย้ายออกจากสถานที่เช่า
  • บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญา
  • หนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า