กาพย์สุรางคนางค์ 28 ความหมาย

กาพย์สุรางคนางค์  เป็นกาพย์ที่คุณงายชอบจังหวะของบทประพันธ์มากที่สุด (ในขณะนี้)

ขอยกตัวอย่างคำประพันธ์ซึ่งรู้จักกันดี  คือ




สุรางคนางคนางค์                   เจ็ดวรรคจักวาง                  ให้ถูกวิธี

วรรคหนึ่งสี่คำ           จงจำให้ดี                           บทหนึ่งจึงมี                ยี่สิบแปดคำ


หากแต่งต่อไป                          สัมผัสตรงไหน                  จงให้แม่นยำ

คำท้ายวรรคสาม         ติดตามประจำ                     สัมผัสกับคำ                 ท้าย
บทต้นแล


อ.ฐปนีย์ นาครทรรพ ประพันธ์



อีกหนึ่งตัวอย่าง


ขอเชิญเด็กไทย
นึกถึงต้นไม้                    ในด้านคุณค่า
ปลูกเพื่อประดับ              ตกแต่งเคหา
กันแสงสุริยา                  ด้วยเงาร่มเย็น

ปลูกเพื่อใช้ไม้
ใช้ฟืนก็ได้                      หุงต้มจำเป็น
เพื่อได้ไม้ขาย                  กั้นเขตให้เห็น
ป้องกันลำเค็ญ                ขโมยลักของ

บ้างปลูกกันลม
กันดินล่มจม                  ก็สมใจปอง
รากยึดเหนี่ยวดิน            ถิ่นน้ำลำคลอง
มิให้ลอยล่อง                 ตามน้ำเซาะพัง

ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท  แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้

คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง

คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)

คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า (วรรครับ)

และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก (วรรครอง)

สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ 

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)

                                                                                                            สุรางคนางค์    เจ็ดวรรคจัดวาง    วรรคหนึ่งสี่คำ

สัมผัสชัดเจน     เป็นบทลำนำ      กำหนดจดจำ     รู้ร่ำรู้เรียน

รู้คิดรู้อ่านรู้ประสบการณ์    รู้งานอ่านเขียน

รู้ทุกข์รู้ยาก     รู้พากรู้เพียร     ประดุจดวงเทียน      ประดับปัญญาฯ

คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง

สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้

หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ

ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง

                                                                                                                        สุรางคนางค์

                                                                                                                        เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ

                                                                                                                        สัมผัส – ชัดเจน เป็นบท – ลำนำ

                                                                                                                        กำหนด – จดจำ รู้ร่ำ – รู้เรียนฯ

กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น

ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด 

กาพย์สุรางคนางค์ 28 คืออะไร

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นี้ ในหนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔ วรรค วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ รวมเป็น ๗ วรรค ในหนึ่งบท ถ้านับคำได้เป็น ๒๘ คำ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

กาพย์สุรางคนางค์ 28 นิยมอ่านว่าอย่างไร

กาพย์สุรางคนางค์นิยมอ่านแยกวรรคละ ๒ ช่วง ช่วงละ ๒ คา ตัวอย่าง สุราง / คนางค์ เจ็ดวรรค / จักวาง ให้เห็น / วิธี สัมผัส / มีหลัก คาวรรค / ละสี่ ยี่สิบแปด / มี ครบบท / จดจา สุราง / คนางค์ แต่งเป็น / ตัวอย่าง เหมาะสม / คมขา คิดนึก / ตรึกตรา เลือกหา / ถ้อยคา สอดเสียง / สูงต่า ฟังเพราะ / เสนาะแล

กาพย์สุรางคนางค์ 28 มีกี่คำ

กาพย์สุรางคนางค์ 28. บทหนึ่งมี 28 คำ แบ่งเป็น 7 วรรค วรรคละ 4 คำ ลักษณะการส่งสัมผัสมี 3 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างท้ายวรรคที่ 1 -2, ท้ายวรรคที่ 3 กับท้ายวรรคที่ 5 - 6 และสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังท้ายวรรค 3 ในบทต่อไป พบในวรรณกรรมยุคแรก ๆ ดังตัวอย่าง ๏ ข้าแต่พระชี

กาพย์สุรางคนางค์ 28 มีลักษณะอย่างไร

บทหนึ่งมี ๗ วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ สัมผัส