Width and decimal ในโปรแกรมspss คืออะไร

    ไฟล์ข้อมูลที่ใช้โปรแกรม SPSS สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ โดยอาจสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เอง หรือสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอื่นๆ และสามารถนำมาใช้ในการวิเคาระห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ได้ ซึ่งโปรแกรม SPSS สามารถอ่านไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยโปรแกรมอื่น ได้โดยใช้คำสั่ง File--Open Database-- New Query

10.1 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วย SPSS

การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วย SPSS

    การสร้างไฟล์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
ไฟล์ข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ โดยสามารถสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เองหรือสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอื่นๆ และสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ได้ ซึ่งโปรแกรม SPSS สามารถอ่างไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยโปรแกรมอื่นๆ ได้โดยใช้คำสั่ง File -->Open database--> New Query
การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมาครังแรก จะได้หน้าจอ Untitled – SPSS Data Editor ประกอบด้วย 2 Tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านล่าง คือ Data View และ Variabl e View

10.2 ขั้นตอนการสร้างไฟล์ข้อมูล

ขั้นตอนการสร้างไฟล์ข้อมูล
 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
 ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
 ขั้นตอนที่ 2 การป้อนข้อมูล
   ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
 ผู้ใช้ต้องแปลงคำตอบจากแบบสอบถามเป็นตัวแปร โดยที่คำถาม 1 คำถามในแบบสอบถามสร้างเป็นตัวแปรได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร โดยใช้หน้าจอ Data Editor แล้วคลิกเลือก Variable View Tab ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. บรรทัด หมายถึงตัวแปร 1 ตัวแปร ดังนั้นถ้าแบบสอบถามสามารถสร้างตัวแปรได้ทั้งหมด 15 ตัวแปร หน้าจอ Variable View จะต้องมี 15 บรรทัด
2. สำหรับตัวแปรแต่ละตัว หรือใน 1 บรรทัด ผู้ใช้ต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้
§ Name หมายถึง  ชื่อตัวแปร
§ Type หมายถึง  ชนิดตัวแปร
§ Width and Decimal     หมายถึง  ความกว้างและจำนวนจุทศนิยมของตัวแปร
§ Label หมายถึง  ความหมายของตัวแปร
§ Values หมายถึง  ค่าของตัวแปรกรณีที่แปลงจากข้อมูลเชิงกลุ่มเป็นตัวเลข
§ Missing หมายถึง  รหัสสำหรับค่าสูญหาย หรือกรณีที่ผู้ตอบไม่ตอบคำถามนั้น
§ Column  หมายถึง   การกำหนดความกว้างของ Column หน้าจอ โดยจัดให้ชิดซ้าย ขวา หรืออยู่กลาง Column
§ Ailing หมายถึง   การกำหนดตำแหน่งของชนิดของสเกลของ
ข้อมูล  ซึ่งในโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 3 สเกล คือ      Nominal, Ordinal และ Scale (Interval และ Ratio)

3. การตั้งชื่อตัวแปร (Name) ใน Column name ผู้ใช้ต้องกำหนดชื่อตัวแปรและควรตั้งชื่อตัวแปรให้สอดคล้องกับความหมายของค่าตัวแปรนั้น เช่น อายุ ควรตั้งชื่อตัวแปรเป็นAge
4. กฎการตั้งชื่อตัวแปรของโปรแกรม SPSS
§ ความยาวของชื่อตัวแปรต้องไม่เกิน 64 ตัว
§ ชื่อตัวแปรต้องเริ่มต้นด้วยอักษรเท่านั้น ส่วนตัวอื่น ๆ อาจเป็นตัวอักษา ตัวเลข จุด หรือสัญลักณ์พิเศษ เช่น @ ,#,_ (ขีดล่าง) หรือ 5 ก็ได้
§ ชื่อตัวแปรต้องไม่จบด้วยจุด
§ ห้ามใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ คือ !?’*
§ ชื่อตัวแปรในไฟลืเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน
§ ตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก ถือว่าเป็นตัวเดียวกัน
§ ห้ามตั้งชื่อ ต่อไปนี้ All  NE  TO  LE  LT  BY  OR  GT  AND  NOT  GE  WITH
§ ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก
5. ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก

§ Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข รวมทั้งเครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลข และรวมถึงจุดทศนิยม ถ้าเลือก Numeric จะต้องกำหนดความกว้าง (Width) และจำนวนหลักของตัวเลขหลักทศนิยม (Decimal Place)
§ Comma ตัวแปรชนิด Comma รวมถึงตัวเลข เครื่องหมาย Comma คั่นหลักพัน
§ Dot ตัวแปรชนิด Dot รวมถึงตัวเลข เครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลขและมีเครื่องหมาย Comma จำนวน 1 ตัว สำหรับแสดงจุดทศนิยม และใช้เครื่องหมายจุดสำหรับคั่นเลขหลักพัน กรณีที่ป้อนข้อมูลโดยไม่ใส่จุด เครื่องจะใส่ให้โดยอัตโนมัติ
§ Scientific Notation เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลขและสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น E,D รวมถึงเครื่องหมายบวก และเครืองหมายลบเช่น 123ม 123E5 123E-6 123E+2
§ Dallarเป็นตัวแปรชนิดตัวเลขและหมายถึงจำนวนเงินที่วมถึงเครื่องหมาย $ ให้อัตโนมัติ
§ Custom ส่วนของ Custom Currency แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบคือ CCA CCB CCC CCD CCE
§ Strong เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวตัวอักษร หรือเครื่องหมายต่างๆ กรณีที่เลือกประเภทString จะต้องกำหนดความกว้างด้วย
6. Width (การกำหนดขนาดของตัวแปร) เป็นการก-หนดความกว้างหรือจำนวนหลักค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ Cell ใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามาถำกำหนดความกว้างของตัวแปร
7. Decimals เป็นการกำหนดจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมของค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ CellในColumn ของDecimals จะสามารถเปลี่ยนจำนวนหลักหลักงจุดทศนิยมแต่กำหนดประเภทของตัวแปรใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามารถกำหนดค่า Decimals ได้
8. การกำหนด Label (ความหมายของตัวแปร) Label เป็น Column ที่ใช้ระบุความหมายของตัวแปรเนื่องจากชื่อตัวแปรบางครั้งอาจใช้ชื่อย่อ จึงควรระบุความหมายที่แท้จริงของตัวแปรไว้ และนำไปใช้แสดงในผลลัพธ์
9. การกำหนด Value เป็นส่วนที่ใช้ระบุค่าและความหมายของตัวแปรในกรณีที่ ตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Nominal หรือ Ordinal

 10. การกำหนดค่าสูญหาย (Missing Value) เนื่องจากในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีข้อมูลบางส่วนสูญหายไปหรือผู้ที่ป้อนข้อมูลทำการป้อนข้อมูลไม่ครบ เมื่อคลิกที่ Cell ใน Column ของ Missing จะได้หน้าจอดังนี้
 No missing  กรณีที่ไม่มีการพิมพ์ข้อมูล ในโปรแกรม SPSS จะให้
 Values เป็นจุด (.) ซึ่งหมายถึง System – missing value
 Discrete missing values ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดรหัสของ missing gv’
 Range plus one กรณีที่มีการกำหนดให้ผู้ตอบคำถามไม่ต้องตอบ
 Optimal discrete คำถามบางข้อ ให้กำหนดรหัสของคำถามที่ไม่
 Missing value ตอบนั้นไว้อีกรหัสหนึ่ง

1.1 การกำหนดความกว้างของ Column โปรแกรม SPSS จะกำหนดความกว้างของ Column เป็น 8 ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงความกว้างของ Column น้อยกว่าของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงบนหน้าจอเท่านั้น กรณีที่กำหนดความกว้างของ Clung น้อยกว่าความกว้างของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงค่าของข้อมูลไม่ครบ แต่ไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่อง
1.2 การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Align) เป็นการกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูลใน Cell ซึ่งจะมีผลเฉพาะบนหน้าจอเท่านั้น โดยคลิกที่ Align จะปรากฏทางบเลือก 3 ทาง คือ
Left ให้ข้อมูลชิดซ้ายของ Cell
Right ให้ข้อมูลชิดขวาของ Cell
Center ให้ข้อมูลอยู่ตรงกลางของ Cell

 13. การกำหนดสเกลของข้อมูล (Measure) ทำได้โดยคลิกที่ Measure จะปรกฏทางเลือก 3 ทางคือ
 Scale หมายถึงข้อมูล Interval หรือ Ratio
 Ordinal หมายถึงข้อมูล Ordinal
 Nominal  หมายถึงข้อมูล Nominal

ขั้นตอนที่ 2 การป้อนข้อมูลให้กับตัวแปร
 เมือสร้างตัวแปรทุกตัวใน Variable View แล้วทำการป้อนข้อมูลจากแบบสอบถามได้โดยการคลิกที่ Data View Tab จะพบว่าชื่อตัวแปรอยู่ในแต่ละ Column ซึ่งหน้าจอของ Data View ประกอบด้วย
1. Row หรือบรรทัด โดยที่ 1 บรรทัด หมายถึงแบบสอบถาม 1 ชุด ที่ได้จากการสอบถาม ตัวอย่าง1 ตัวอย่าง ถ้ามีแบบสอบถาม 100 ชุด หน้าจอนี้จะต้องมี 100 บรรทัด
2. คอลัมน์ (Column) หมายถึงตัวแปร โดยที่ 1 คอลัมน์ คือ 1 ตัวแปร ซึ่งจะมีชื่อตัวแปรอยู่เพียงค่าเดียวเท่านั้น
3. เซล (Cell) เป็นส่วนที่ตัดกันของ Row และ Column แต่ละ Cell จะมีค่าของตัวแปรเพียงค่าเดียวเท่านั้น
4. ไฟล์ข้อมูล หมายถึงขนาดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ทั้งหมด เช่นถ้ามีจำนวนแบบสอบถาม 100 ชุดและมีตัวแปร 10 ตัวแปรดังนั้นขนาดของไฟล์ข้อมูลคือ 100x10
การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร
1. จากหน้าจอ Data Editor ให้คลิกเลือก Variable View เพื่อทำการกำหนดชื่อตัวแปรและลักษณะของตัวแปร
ตัวแปรที่ 1
§ พิมพ์ชื่อตัวแปร เพศ ใน Cell  ของ Column name
§ ที่ Type,Width,Decimalsกำหนดเป็น Numeric,Width = 8, Decimal = 2
§ ที่ Lableพิมพ์คำว่า เพศ
§ ที่ Value ให้ใส่ข้อความ “1” = ชาย “2” = หญิง
§ ที่ Missing ให้ใส่ Descrete missing Values = None
§ ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
§ ที่ Align เลือก Center
§ ที่ Measure เลือก Nominal
ตัวแปรที่ 2
§ พิมพ์ชื่อตัวแปร อายุใน Cell ของ Column name
§ ที่ Type, Width, Decimalsกำหนดเป็น Numeric, Width= 8, Decimal = 2
§ ที่ Label พิมพ์คำว่า อายุ
§ ที่ Value ไม่ต้องใส่คำใดๆ
§ ที่ Missing ให้ใส่ Discrete missing Values = None
§ ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
§ ที่ Align เลือก Center
§ ที่ Measure เลือก Scale

2. ตัวแปรอื่นๆ ให้ทำในลักษณะคล้ายกับตัวแปร เพศ
การป้อนข้อมูลตามตัวแปรที่กำหนดไว้
เมื่อสร้างตัวแปรใน Variable View ให้คลิกที่ Data View Tab เพื่อทำการป้อนข้อมูล


• การบันทึกไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง  File -->Save as

• การเปิดไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง   File -->Open-->Data

 10.3 ตัวอย่างการสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS

ตัวอย่างการสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS

ตัวอย่าง จงสร้างไฟล์ข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย 10 ข้อ ดังนี้

 

Width and decimal ในโปรแกรมspss คืออะไร

จากแบบสอบถาม สามารถสร้างตัวแปรได้ ดังนี้

ตัวแปรที่ 1 SEX 1 หมายถึง ชาย2 หมายถึง หญิง 9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

ตัวแปรที่ 2 AGE ควรก าหนดเป็นชนิด Numericความกว้าง = 2 กรณีผู้ตอบไม่ตอบคำถาม ให้มีค่า = 0

ตัวแปรที่3 EDUCATION

1 หมายถึง ไม่เกินมัธยมต้น 

2 หมายถึง มัธยมปลาย/ปวช./ปวส.

3 หมายถึง ปริญญาตรี

4 หมายถึง สูงกว่าปริญญาตรี 

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

ตัวแปรที่4 OCCU

1 หมายถึง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

2 หมายถึง พนักงานเอกชน

3 หมายถึง รับจ้างทั่วไป

4 หมายถึง ค้าขาย/เจ้าของกิจการ 

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

ตัวแปรที่ 5 INCOME ควรกำหนดเป็นชนิด Numericความกว้าง = 5

กรณีผู้ตอบไม่ตอบคำถาม ให้มีค่า = 0

ตัวแปรที่ 6 EXPENSE ควรกำหนดเป็นชนิด Numericความกว้าง = 5

กรณีผู้ตอบไม่ตอบคำถาม ให้มีค่า = 0

ตัวแปรที่ 7 - 10 จากคำถามข้อที่ 7

0 หมายถึง ไม่เลือกราคา

0 หมายถึง ไม่เลือกกลิ่นหอม

0 หมายถึง ไม่เลือกบำรุงผิว

0 หมายถึง ไม่เลือกหาซื้อง่าย

ตัวแปรที่11 BEST

1 หมายถึง เห็นด้วย

2 หมายถึง ไม่เห็นด้วย

PRICE1 1 หมายถึง เลือกราคา

V1 1 หมายถึง เลือกกลิ่นหอม

V2 1 หมายถึง เลือกบำรุงผิว

V3 1 หมายถึง เลือกหาซื้อง่าย

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

ตัวแปรที่ 12- 14จากคำถามข้อที่ 9

2 หมายถึง ผู้ตอบเลือก AAA เป็นลำดับที่ 2

3 หมายถึง ผู้ตอบเลือก AAA เป็นลำดับที่ 3

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

2 หมายถึง ผู้ตอบเลือก BBB เป็นลำดับที่ 2

3 หมายถึง ผู้ตอบเลือก BBB เป็นลำดับที่ 3

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

2 หมายถึง ผู้ตอบเลือก CCC เป็นลำดับที่ 2

3 หมายถึง ผู้ตอบเลือก CCC เป็นลำดับที่ 3

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบค าถาม

ตัวแปรที่ 15 - 16จากคำถามข้อที่ 10

2 หมายถึง ไม่พอใจ

3 หมายถึง เฉยๆ

4 หมายถึง พอใจ

5หมายถึง พอใจอย่างยิ่ง

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบค าถาม

2 หมายถึง ไม่พอใจ

3 หมายถึง เฉยๆ

4 หมายถึง พอใจ

5 หมายถึง พอใจอย่างยิ่ง

9 หมายถึง ผู้ตอบไม่ตอบคำถาม

AAA 1 หมายถึง ผู้ตอบเลือก AAA เป็นลำดับที่ 1

BBB 1 หมายถึง ผู้ตอบเลือก BBB เป็นลำดับที่ 1

CCC 1 หมายถึง ผู้ตอบเลือก CCC เป็นลำดับที่ 1

QUALITY 1 หมายถึง ไม่พอใจอย่างยิ่ง

PRICE2 1 หมายถึง ไม่พอใจอย่างยิ่ง

การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร

1) จากหน้าจอ Data Editor ให้คลิกเลือก Variable View เพื่อทำการกำหนดชื่อตัวแปรและ

ลักษณะของตัวแปร

§ พิมพ์ชื่อตัวแปร เพศ ใน Cellของ Column name

§ ที่ Type, Width, Decimals กำหนดเป็น Numeric, Width = 2, Decimal = 0

§ ที่ Label พิมพ์คำว่า เพศ

§ ที่Value ให้ใส่ข้อความ “1” = ชาย “2” = หญิง

§ ที่ Missingให้ใส่ Discrete Missing Values = 9

§ ที่ Column กำหนดความกว้าง = 5

§ ที่ Align เลือก Center

§ ที่ Measure เลือก Nominal

§ พิมพ์ชื่อตัวแปร อายุ ใน Cellของ Column name

§ ที่ Type, Width, Decimals กำหนดเป็น Numeric, Width = 2, Decimal = 0

§ ที่ Label พิมพ์คำว่า อายุ

§ ที่ Value ไม่ต้องใส่ค่าใดๆ

§ ที่ Missingให้ใส่ Discrete Missing Values = 0

§ ที่ Column กำหนดความกว้าง = 5

§ ที่ Align เลือก Center

§ ที่ Measure เลือก Scale

Label ในโปรแกรมSPSS คืออะไร

5. 'Labels'คือ คําอธิบายตัวแปรหรือชื่อเต็มของตัวแปรนั้น ๆ จะใชในกรณีที่ผูวิจัยกําหนดชื่อตัวแปรใน column 'Name' เปนอักษรยอ แลวตองการอธิบายหรือขยายความไวเชน Name ระบุเปน 'ID' ใน Labels จะ ระบุเปน 'ลําดับที่' หรือ Name ระบุเปน 'Salary' ใน Labels จะระบุ'รายไดตอเดือน' เปนตน

Width SPSS คืออะไร

11. Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก Label เป็นส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์ ...

มาตรวัด (Measure) ในโปรแกรม SPSS มีกี่ระดับ อะไรบ้าง

11) กาหนดระดับของตัวแปร (Measure) หมายถึง การกาหนดระดับมาตรวัดของตัวแปร โปรแกรม SPSS จะมีให้เลือก 3 ระดับ คือ - Scale หมายถึง มาตรวัดระดับอัตราส่วนและระดับอันตรภาคชั้น - Ordinal หมายถึง มาตรวัดระดับเรียงลาดับ - Nominal หมายถึง มาตรวัดระดับนามบัญญัติ

Missing เป็นการกําหนดค่าแบบใด

Missing = การกำหนดค่าสูญหาย เช่น ผู้ตอบไม่ตอบคำถามบางข้อ โดยมากให้แทนด้วยเลข 9 หรือ99 ดังนี้ คลิกที่ ที่คอลัมน์ Missing. กรณีไม่กำหนดค่าสูญหาย กรณีกำหนดค่าสูญหายเป็นค่าไม่ต่อเนื่อง (กำหนดตัวเลขเอง)