ริยสัจ4 ข้อใดที่เราควรบรรลุ

ความจริงข้อนี้คือสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ที่เราประสบ ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องการเกิดใหม่มาอธิบายว่าความแต่อย่างใด แต่เราพยายามที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนอธิบายอย่างง่ายๆ เป็นเหตุผล เราพูดถึงความทุกข์และความสุขในทางโลก และสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุ แต่พระพุทธองค์สนใจถึง “สาเหตุที่แท้จริง” เราอาจจะคิดว่าความสุขและความเจ็บปวดเป็นผลมาจากรางวัลหรือการลงโทษ หรืออะไรทำนองนั้น แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นทั้งคุณและโทษ  

การกระทำที่เป็นโทษมีความหมายอย่างไร คือการทำร้ายเบียดเบียนอย่างนั้นหรือ การทำร้ายเบียดเบียนมีความหมายทั้งสองแบบคือ ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นและทำร้ายเบียดเบียนตนเอง ผลลัพธ์ที่เราไปทำกับคนอื่น ยากที่จะรู้ได้ว่ามันไปทำร้ายหรือไปช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจให้เงินใครบางคนก้อนใหญ่ แต่ผลออกมาว่ามีคนคิดอยากจะขโมยเงินได้ฆ่าเขาตาย เราต้องการจะช่วยเหลือเขา แต่ผลลัพธ์มันไม่เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่เป็นจริงแน่ๆ คือ การกระทำนั้นเป็นโทษต่อตัวเราเอง ไม่เป็นคุณ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความหมายของการกระทำที่เป็นโทษ คือ การทำลายตนเอง 

แล้วมาดูกันว่า ในทางกลับกัน กรรมทั้ง 3 คือ มโนกรรม กายกรรมและวจีกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์ขุ่นมัวมาทำใจให้ขุ่น! ใจก็ไม่สงบ ขาดการควบคุมตน นำมาซึ่งความโกรธ ความโลภ การยึดมั่นถือมั่น ความอิจฉาริษยา ความเย่อหยิ่งถือดี ความไร้เดียงสา ความเขลา เมื่อใจเราถูกรบกวนจากอารมณ์เหล่านี้แล้ว เราจะพูดและกระทำภายใต้อิทธิพลสิ่งเหล่านี้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น แม้อาจจะไม่เกิดโดยทันที แต่ในระยะยาว ความทุกข์จะเกิดขึ้น เพราะว่ามีแน้วโน้มไปในทางนั้น 

แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรากระทำดี เป็นการกระทำที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ขุ่นมัวเหล่านี้นั้น แต่เกิดจากอารมณ์ทางบวก เช่นความรัก ความกรุณาหรือความอดทนอดกลั้น 

การกระทำในทางที่ดีจะนำความสุขมาให้ ใจของเราจะสบายและสงบมากขึ้น เราสามารถควบคุมตนเองได้ดียิ่งขึ้น จึงไม่ทำหรือพูดอะไรที่ดูโง่เขลาเบาปัญญา อันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา  เเละเช่นเดียวกัน อาจจะยังไม่เห็นผลทันตา แต่ระยะยาว ความสุขจะพึงมี นั่นเป็นคำอธิบายอย่างง่ายๆถึงการมีอยู่ของเราและของผู้อื่นว่าเป็นอยู่แบบใด รวมถึงความจริงโดยทั่วไป

ความสุขและความทุกข์ทางโลกไม่ได้เกิดจากมีใครมาทำหน้าที่คล้ายผู้พิพากษา มาให้รางวัลหรือลงโทษ ผลดีหรือผลเลวร้ายนั้นนั้นเกิดขึ้นเหมือนกลไกหรือกฏทางฟิสิกส์ เหตุและผลจากการกระทำตั้งอยู่บนฐานอะไร ก็อยู่บนฐานของความสับสน ความไม่รู้ โดยเฉพาะความสับสนในตนเอง เราคิดทำนองว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด ฉันควรมีหนทางของตนเอง ฉันควรยืนอยู่หัวแถวที่ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉันควรเป็นคนแรก” เรากระหายอยากเป็นคนแรก เราจึงโกรธคนที่อยู่หน้าเรา เราอดทนรอคนที่อยู่หน้าเราไม่ได้ เพราะเขาช่างเชื่องช้ามาก ใช้เวลาก็นาน ในหัวเราคิดแต่สิ่งไม่ดีเกี่ยวกับเขา ถึงแม้ว่าเราจะทำดีแล้วก็ตาม แต่ยังมีความสับสนในตัวฉันที่อยู่ลึกลงไป เช่นเราให้ความช่วยเหลือคนอื่น เพราะเราต้องการให้เขามาชื่นชอบเรา หรือทำอะไรตอบแทนเรา หรือทำไปเพราะอยากให้ตนเองรู้สึกมีค่ามีราคาขึ้นมา หรืออย่างน้อยสุดก็เพื่อหวังจะได้รับคำขอบคุณตอบกลับมา! 

แม้ว่าการช่วยเหลือคนอื่นในลักษณะนี้จะช่วยให้ตนมีความสุข แต่ลึกไปแล้ว มันเป็นเรื่องไม่สบายใจเท่าไหร่ ความสุขทำนองนี้เรายังรู้สึกไม่ยั่งยืน มันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นที่ไม่น่ายินดีนัก สิ่งนี้ก็ดำเนินไปตลอดชั่วชีวิตเรา และสืบต่อไปในชีวิตหน้าในทัศนะพุทธศาสนา 

เมื่อพินิจให้ลึกซึ้งกว่าเดิม จะเห็นว่าเราสับสนในทุกเรื่อง เช่น เรารักคนหนึ่งมากเหลือเกิน รักมากจนมองไม่เห็นข้อเสียของคนที่เรารัก มองเห็นข้อดีของเขาเกินความเป็นจริง แต่เมื่อเราไม่ชอบใครบางคนเป็นอย่างมาก เราก็มองเห็นข้อเสียของคนที่เราไม่ชอบเกินความเป็นจริง และมองไม่เห็นข้อดีของเขาเอาเลย ยิ่งเราสืบค้นมากเท่าไหร่ เรายิ่งพบว่าตนเองยิ่งสับสนมากขึ้นทุกที 

เมื่อสืบค้นให้ลึกลงไป เราจะเห็นได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากข้อจำกัดของเราเอง ในร่างกายเราที่ประกอบด้วยรูปและนาม มีข้อจำกัด เมื่อเราหลับตา มันเหมือนกับว่าโลกทั้งหมดไม่มีอยู่ มีสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ ตัวเราเอง ในหัวเราจะได้ยินเสียงแต่ว่า “ฉัน” เหมือนกับว่าฉันอยู่ภายในตัวฉัน เป็นเรื่องแปลก อย่างไรก็ตามเราได้สร้างอัตลักษณ์ให้กับมันเพราะว่ามีมันเพียงเสียงเดียว คนเดียวเท่านั้นที่บ่นกรนตลอด “ฉันต้องนำหน้า ฉันต้องทำสิ่งนี้” เจ้าสิ่งนี้มีเรื่องกังวลตลอด ดูราวกับว่าเสียงนี้อยู่ในหัวเรา อยู่เป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นอยู่กับใครเพราะว่าเราหลับตา และไม่มีสิ่งใดเลยเว้นไว้แต่ “ตัวเรา” เพียงคนเดียว 

การคิดแบบนี้มันช่างสับสน เพราะความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของเราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น เราไม่อาจดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้ เราแต่ละคนก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เราทั้งหมดเป็นคนเหมือนๆกัน ลองนึกคิดเปรียบเทียบดูว่านกเพนกิวเป็นหมื่นๆตัวกำลังเบียดเสียดกันอย่างหนาวสั่นบริเวณทวีปแอนตาร์กติก อะไรทำให้ตัวนี้พิเศษกว่าตัวอื่นๆ จริงๆแล้ว ทุกตัวเหมือนกันหมด และมนุษย์เราก็เป็นเช่นนั้น มีความเหมือนคล้ายๆกัน จากวิธีคิดแบบนี้ที่คิดว่า “ฉันเป็นคนพิเศษและเป็นอิสระกว่าคนอื่นๆ” ฉันต้องมีทางของตนเอง และเราคงจะโกรธไม่พอใจเป็นแน่หากว่าไม่เป็นไปตามนั้น 

โดยพื้นฐานแล้ว กายและจิตนำไปสู่ความสับสน มันอาจดูแปลกๆ แต่พวกเราได้มีประสบการณ์รับรู้จากตาทั้งสองข้างที่อยู่ข้างหน้า ฉันไม่อาจเห็นว่าอะไรอยู่ข้างหลัง แต่เห็นได้ในสิ่งที่อยู่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ฉันไม่อาจแลเห็นอะไรที่มาก่อน อะไรที่มาทีหลัง เพราะมีข้อจำกัด และเราก็แก่ลงไปเรื่อยๆ หูไม่ดี ฟังอะไรก็ไม่ค่อยได้ยิน ใครบางคนอาจจะพูดบางสิ่งบางอย่าง และเราก็ได้ยินไม่ชัด เข้าใจไปเองว่าเขาพูดเรื่องอื่น และเราก็ถือโทษโกรธขึ้นมา เหมือนกับว่าเราเจ็บป่วยทางใจ เมื่อคิดทำนองแบบนั้น 

ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าเรามีการเกิดอยู่ทุกขณะทั้งกายและใจ ยิ่งเพิ่มความสับสน และไอ้เจ้าตัวสับสนนี้ทำให้เราประพฤติตนในทางเป็นโทษ หรือไม่ก็ประพฤติปฏิบัติเป็นไปในทางคุณแบบโลกๆ ส่งผลให้ชีวิตไม่มีความสุข หรือไม่ก็เป็นความสุขแบบโลกๆ

หากเราถลำตัวไปมากยิ่งขึ้น ก็จะยุ่งยาก ทำให้เราเกิดภพแล้วภพเล่าเพราะความสับสนนี้ นี้คือเหตุแห่งทุกขสัจจะ ความสับสน การขาดสติ มักถูกเรียกว่า “อวิชชา” ข้าพเจ้าไม่อยากใช้คำอวิชชานี้ เพราะสื่อว่าเราโง่เขลาเบาปัญญา แม้จะเป็นปัญหา แต่ปัญหานี้ก็แก้ไขได้ และเราก็ไม่ต้องการแบกปัญหานี้เอาไว้ คำว่า ขาดสติ เป็นคำที่เหมาะสมกว่าเพราะสื่อว่าเราไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆมันดำเนินอย่างไร มักคิดเอาว่าตนเองสำคัญที่สุด เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งความจริงมันผิด ความจริงก็คือว่าเราทั้งผองอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่เพราะเราโง่ แต่ที่ทำอย่างนั้นเพราะเกิดจากกายและใจที่ทำให้เราคิดและทำแบบนั้น 

นั่นคือเหตุผลที่เราเรียกว่า “ความจริงอันประเสริฐ” ใครที่เห็นความจริงนี้ ก็จะเห็นไม่เหมือนคนอื่น ความสับสนและการปรุงแต่งของจิตเกี่ยวเนื่องจากการเห็นความจริง เราเชื่อว่ามันเป็นความจริง ขาดการไตร่ตรอง เชื่อตามสัญชาตญาณที่บอกเราว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด มีแนวทางของตนเอง คนทุกคนรักฉัน” หรือมีบางคนคิดแบบเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม “ฉันไม่ใช่คนดีพอ สมควรแล้วที่คนทุกคนเกลียดฉัน” อันนี้เรียกว่าเหตุแห่งทุกข์

อริยสัจ 4 ข้อใดจัดเป็นธรรมที่ควรบรรลุ

นิโรธ หมายถึงธรรมที่ว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละ ตัณหา เมื่อความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเราดับสาเหตุเสีย ความทุกข์นั้นย่อมดับไป ด้วย สภาพที่ความทุกข์หมดสิ้นไปหรือปราศจากทุกข์เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติ ธรรมของชาวพุทธ นิโรธจึงเป็นธรรมที่ควรบรรลุ ที่เราจะได้ศึกษา คือ หลักธรรม สุข 2.

อริยสัจ 4 ข้อใดเป็นผล

องค์ประกอบต่างๆ ในอริยสัจ 4 ดำรงอยู่ในรูปแบบของความสัมพันธ์แบบเหตุและผล ในความสัมพันธ์คู่แรกก็คือ สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์ กล่าวคือ ความทุกข์ หรือสภาวะแห่งความไม่สบายกายและใจ ย่อมเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจในความเป็นไปของโลกว่า มีได้ย่อมมีเสีย มีพบย่อมมีพรากตามหลัก “โลกธรรม 8” และไม่เข้าใจในลักษณะร่วมกัน 3 ประการของสรรพ ...

อริยสัจ 4 ในข้อใดเปรียบได้กับพระนิพพาน

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . .

อริยสัจ 4 มีความหมายว่าอย่างไร

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...