ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

การสื่อสารหรือ Communication นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งชีวิตการทำงาน การทำธุรกิจ รวมไปถึงชีวิตส่วนตัวที่มีความสำคัญไม่แพ้กับความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ และแน่นอนครับว่าหากยิ่งเป็นการสื่อสารหรือพูดคุยในชีวิตการทำงานหรือการทำธุรกิจต่างๆมันก็ย่อมมีความสลับซับซ้อน และจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือเตรียมคำพูดเพื่อสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งหลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับรูปแบบการสื่อสารเหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่หลายๆคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่าระดับของการสื่อสาร (Levels of Communication) กันสักเท่าไหร่ โดยในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับระดับของการสื่อสารกันให้มากขึ้นครับ

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

ระดับของการสื่อสาร

หากมองเชิงวิชาการตามแนวคิดเกี่ยวกับระดับการสื่อสารนั้นก็ได้มีการแบ่งออกเป็น 6 ระดับด้วยกัน คือ

1. การสื่อสารระดับตัวเอง (Intrapersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือการพูดคุยกับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง โดยทั้งหมดจะเป็นการตัดสินใจและตีความหมายด้วยตัวเองทั้งสิ้น

2. การสื่อสารระดับบุคคล (Interpersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนขึ้นไปหรืออาจเรียกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การตั้งคำถาม การแบ่งปันแนวคิด ปรึกษาหารือประเด็นต่างๆ ซึ่งในการสื่อสารระดับนี้จะทำให้เกิดการไว้เนื้อเชื่อใจกัน สามารถนำประเด็นการสื่อสารไปสนับสนุนแนวคิดของตนเอง และอาจลดความกังวลในเรื่องบางอย่างได้เช่นกัน

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

3. การสื่อสารระดับกลุ่มย่อย

การสื่อสารในระดับนี้จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างมากที่เน้นความสัมพันธ์ในการทำงาน เน้นการปรึกษาเสนอความคิดเห็นเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลต่อทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวต่อกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยากาศในการทำงานเน้นการทำงานในรูปแบบเสมอภาคเท่าเทียมกัน

4. การสื่อสารระดับเทคโนโลยี

การสื่อสารที่นำเอาเครื่องมือต่างๆเข้ามาใช้เพื่อให้การสื่อสารง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือต่างๆเป็นอย่างดี และรู้ว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะกับอะไรและควรสื่อสารในรูปแบบใดกับคนกลุ่มใด เช่น การใช้โทรศัพท์ อีเมล์ แชท เป็นต้น

5. การสื่อสารระดับชุมชน (Public Communication)

การสื่อสารที่มีผู้รับข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่ามีจำนวนคนที่มากกว่าการสื่อสารกลุ่มย่อยโดยอาจเป็นได้ในรูปแบบกลุ่มคนในหมู่บ้าน ชุมชนในพื้นที่ กลุ่มคนในตำบล หรือท้องถิ่นต่างๆ และมักจะเกิดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งนัก อาจเป็นการแจ้งประกาศต่างๆหรือเหตุการณ์พิเศษเฉพาะกิจบางอย่าง เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมให้คล้อยตามกัน

6. การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารที่อาศัยสื่อกลางเป็นจำนวนมากในการเป็นตัวกลางเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเป้าหมายของการสื่อสารนั้นถึงขั้นระดับประเทศแบบไม่จำกัดเลยก็ว่าได้ โดยส่วนใหญ่จะสื่อสารผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือในปัจจุบันก็เป็นช่องทางออนไลน์รูปแบบต่างๆ

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ



การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

          1.  ผู้ส่ง  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งอาจเป็น

บุคคลหรืออุปกรณ์  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  เป็นต้น

          2.  ข้อมูลข่าวสาร  เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง  ข้อความหรือภาพ  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

          3.  สื่อกลาง  หรือช่องทางการสื่อสาร  เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  ดังนี้

                   *  สายสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  เส้นใยแก้วนำแสง  เป็นต้น

                   *  คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  คลื่นวิทยุ  คลื่นไมโครเวฟ  คลื่นแสง  คลื่นอินฟราเรด

                   *  อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ  เช่น  เสาอากาศวิทยุ  เสาอากาศโทรศัพท์  ดาวเทียม  โมเด็ม

          4.  ผู้รับ  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง  ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  เป็นต้น

การ ที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้  และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

          5.  โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

 

ชนิดของการสื่อสาร

                การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)

สามารถ ส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปให้แก่ผู้รับ ส่วนผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับได้ แต่ไม่สามารถส่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน  เช่นการส่งวิทยุของตำรวจ

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

 3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)

สามารถ ส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ได้ทั้ง2ทิศทาง ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งและผู้รับ สามารถโต้ตอบสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การส่งสัญญาณโทรศัพท์  สนทนา msn , feaebook

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

ประเภทของสัญญาณ

ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ

1.       สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล

2.       สัญญาณอนาลอก(Analog Signal)

ข้อมูลในการ สื่อสาร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท อะไร บ้าง

เป็น สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลการสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท 1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว

การสื่อสารข้อมูลมีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนด้านต่าง ๆ เนื่องจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางระบบเครือข่ายได้

การสื่อสารมีกี่ทาง

โดมินิก (Doninick 1993 : 11) จำแนกสถานการณ์การสื่อสารออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารแบบกึ่งกลาง (Machine – Assisted Interpersonal Communication) การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

รูปแบบของข่าวสารมีอะไรบ้าง

ข่าวต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันนี้ มีหลากหลายประเภท ได้แก่.
ข่าวการเมือง (Political News).
ข่าวการศึกษา (Educational News).
ข่าวเศรษฐกิจ (Economy News).
ข่าวสังคม (Social News).
ข่าวสิ่งแวดล้อม (Environmental News).
ข่าวศิลปวัฒนธรรม (Cultural News).
ข่าวกีฬา (Sport News).