อิทธิพลของอารยธรรม ตะวันออก ต่อ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก

 �������¹�ŧ�ҧ�ѧ������Ѳ������ͧ�ҵԵ��ѹ�� : ˹���á

อิทธิพลของอารยธรรม ตะวันออก ต่อ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก

�������䫵� : �������¹�ŧ�ҧ�ѧ������Ѳ������ͧ�ҵԵ��ѹ��

����Ԫ� : � 32102�

�����Ԫ�� : ����ѵ���ʵ���ҡ�

�дѺ��� : �Ѹ���֡�һշ�� 5

��Ǫ���Ѵ��ǧ���
    ���������Է�ԾŢͧ���¸�����ҳ��С�õԴ��������ҧ�š���ѹ�͡�Ѻ�š���ѹ������ռŵ�;Ѳ�ҡ����С������¹�ŧ�ͧ�š (�4.2 �.4-6/1)

���觷����

    ��Ѻ��֧ ����� (2547), ˹ѧ������¹����ѵ���ʵ�� ����������ѧ���֡�� ��ʹ� ����Ѳ����� ����Ѹ���֡�һշ�� 5. ��ا෾� : ����ѷ�Ѳ�Ҥس�Ҿ�Ԫҡ��

    �Է�� �ҹкص� (2544), �������ѧ���֡�� �.6 ��ا෾� : �Ѳ���֡��

���ʹ���

    �������� ���ʡ��

    ���˹� ��٪ӹҭ���

     �ç���¹�����ͧ�Է�Ҥ� �.�͡���� �.�����

     �ѧ�Ѵ�ӹѡ�ҹࢵ��鹷�����֡���Ѹ���֡�� ࢵ 36  

อิทธิพลของอารยธรรม ตะวันออก ต่อ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก

อิทธิพลของอารยธรรม ตะวันออก ต่อ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก

พัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีผลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์

1.              อารยธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์

อารยธรรมตะวันออก ได้แก่ อารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีนได้มีอิทธิพลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์อย่างมาก โดยสามารถแยกอธิบายได้ ดังนี้

1)            อารยธรรมอินเดีย  มีอิทธิพลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลายด้าน ที่สำคัญ  มีดังนี้

1.1)      ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียและมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยก็ยังส่งผลมายังไทยสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆ เช่น การบวงสรวง หรือการสร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เพื่อทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) ก็กลายเป็นพิธีสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา การสร้างรูปเคารพ เช่น พระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ ก็มีผู้ที่นับถือไปกราบไหว้และบนบานกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ พระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ให้การรับรองพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ หรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ก็ได้มีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ส่วนอิทธิพลทางพระพุทธศาสนา ก็สามารถเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธสาสนาของชาวพุทธทั่วไป เป็นต้น

1.2)      ด้านการปกครอง  สำหรับคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาในเรื่องสมมติเทพ ทศพิธราชธรรม ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองของไทยเหมือนกับสมัยก่อน

1.3)      ด้านกฎหมาย  กฎหมายธรรมศาสตร์ของอินเดียที่ไทยรับผ่านมอญก็ยังคงเป็นเค้าของกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

1.4)      ด้านศิลปวัฒนธรรม  ดังจะเห็นได้จากวัดวาอาราม พระปรางค์ เจดีย์ต่างๆ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม ซึ่งสร้างขึ้นอย่างสวยงาม  เป็นต้น

1.5)      ด้านวรรณกรรม  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมอินเดียเป็นภาษาไทย  เช่น  รามเกียรติ์ เวตาล  หรือศกุนตลา  ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ขึ้นก็มีเค้าโครงมาจากวรรณกรรมอินเดีย  เป็นต้น

1.6)      ด้านภาษา  ได้แก่  ภาษาบาลี  สันสกฤต  ก็มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก

1.7)      ด้านอาหาร  อาหารอินเดียซึ่งมีส่วนผสมของเครื่องเทศก็ได้รับความนิยมจากคนไทยด้วยเช่นกัน  เช่น แกงกะหรี่ มัสมั่น โรตี ข้าวหมกไก่   เป็นต้น

2)            อารยธรรมจีน  ได้มีอิทธิพลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับอารยธรรมอินเดียที่สำคัญ มีดังนี้

2.1)  ด้านศิลปวัฒนธรรม  โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนก็เป้นที่นิยมนำมาสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระที่นั่งเวหาศน์จำรูป ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น

2.2)  ด้านวรรณกรรม  มีการแปลวรรณกรรมอิงพงศาวดารจีนราชวงศ์ต่างๆ เป็นภาษาไทย ที่แพร่หลายที่สุด คือ เรื่องสามก๊ก  แปลในสมัยรัชกาลที่ 1 ไซอิ๋ว  แปลในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ สอนในเรื่องความรักชาติ ความเสียสละต่อส่วนรวม การทำความดี ความกตัญญูกตเวที เพื่อให้ผู้อ่านนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

2.3)  ด้านภาษา  ภาษาจีนได้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก เช่น แต้จิ๋ว  ตะเกียบ  ห้าง  ฮ่องเต้  อั้งยี่  โสหุ้ย  ไต้ก๋ง  เรือสามปั้น  เป็นต้น

2.4)  ด้านอาหาร  เช่น  ก๋วยเตี๋ยว  เต้าหู้  เต้าเจี้ยว  เต้าฮวย  ก็ถือเป็นอาหารคาวที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย

2.    อารยธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ชาติตะวันตกได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการกับไทยสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา  ซึ่งทำให้อารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อไทยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยสรุปได้  ดังนี้

1)        ด้านศาสนา  โดยมิชชันนารีหรือหมอสอนศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในไทยทั้งนิกายโปรเตสแตนต์และนิกายคาทอลิก  ทำให้มีผู้เข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น

2)        ด้านการปกครอง  รูปแบบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น การตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน สภาที่ปรึกษาในพระองค์ การปกครองแบบกระทรวง  หรือแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยที่แพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก

3)        ด้านการแพทย์  มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในระยะแรก บางคนเป็นนายแพทย์หรือหมอรักษาคนไข้ โดยบุคคลสำคัญ เช่น หมอบรัดเลย์  หมอสมิท  ได้ใช้วิธีการรักษาตามการแพทย์แผนใหม่

4)        ด้านศิลปวัฒนธรรม  ได้แพร่หลายมากขึ้นในไทยภายหลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา  เช่น การแต่งกายแบบสากลนิยม  การรับประทานอาหารด้วยช้อนส้อม การนับเวลาแบบสากล  การนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่  ตลอดจนรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เช่น พระราชวังสราญรมย์ และในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น พระที่นั่งวโรภาสพิมานในพระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งอนันตสมาคม  สาลาว่าการกระทรวงกลาโหม  ศาลาว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น

5)        ด้านวรรณกรรม   เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แปลวรรณกรรมตะวันตก เรื่อง Uncle’s Tom Cabin เป็นภาษาไทย ชื่อว่า “กระท่อมน้อยของลุงทอม” และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงแปลวรรณกรรมเรื่อง The Merchant of Venice เป็นภาษาไทยในชื่อ “เวนิสวานิช” เป็นต้น

6)        ด้านภาษา  ได้รับการเผยแพร่จากบรรดามิชชันนารีที่เข้ามาในไทย  เช่นภาษาอังกฤษ  ภาษาละติ  ภาษาฝรั่งเศส  ซึ่งรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาภาษาของชาติตะวันตกจนถึงกับทรงจ้างชาวต่างชาติมาสอนพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษายังประเทศในทวีปยุโรปหลายพระองค์

7)        ด้านอาหาร  ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มรับประทานอาหารตะวันตก โดยเริ่มจากราชสำนักก่อน โดยเฉพาะในงานพระราชทานเลี้ยงคณะทูตตะวันตก ต่อมาจึงแพร่หลายไปยังบ้านพระราชวงศ์ และขุนนางต่างๆ ปัจจุบันอาหารตะวันตก เช่น กาแฟ ขนมปัง ขนมเค้ก ได้เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะสะดวก รวดเร็ว และมีขายอยู่ทั่วไปตามร้านค้าต่างๆ

กล่าวโดยสรุป  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการฟื้นฟูประเทศให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองดี คือ ทำให้บ้านเมืองเหมือนในสมัยอยุธยาทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม ศิลปวัฒนธรรม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง  และในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกคุกคามจึงได้ทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในทุกด้าน เพื่อให้ชาติไทยรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ราษฎรไทยก็มีสิทธิเสรีภาพตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเช่นเดิม