รายได้เกิน 1.8 ล้าน แต่ไม่ได้จด vat

รายได้เกิน 1.8 ล้าน แต่ไม่ได้จด vat

มีรายได้เท่าไหร่ต้องจด VAT

  • ผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • หากมีรายได้ไม่เกินไม่มีหน้าที่ต้องจด แต่หากต้องการจดก็สามารถจดได้เหมือนกัน
  • ยกเว้นกรณีขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างเคส

นาย ก. ประกอบอาชีพค้าขายของเบ็ดเตล็ดและอะไหล่รถยนต์ให้กับกรม ข. ยังมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี โดยในปี 2548 ได้ขายสินค้าให้กับทางกรมขนส่งฯ มียอดการขายทั้งปีเป็นเงินจำนวน 1,600,000 บาท และได้รับชำระราคาค่าสินค้าดังกล่าวบางส่วนในปี 2549 โดยได้นำยอดเงินที่ได้รับจากการขายสินค้าจำนวน 1,600,000 บาท ในปี 2548 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้แล้ว ต่อมาในปี 2549 มีรายได้จากการขายสินค้ารวมเป็นเงินจำนวน 1,700,000 บาท และได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้แล้ว แต่เมื่อนำรายรับที่เป็นค่าสินค้าค้างจ่ายในปี 2548 ซึ่งได้รับจริงในปี 2549 รวมกับรายรับในปี 2549 ทำให้มีรายได้เกินจำนวน 1,800,000 บาท จึงขอทราบว่า การประกอบกิจการขายสินค้าดังกล่าว ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่อย่างไร

แนววินิจฉัย

กรณีบุคคลธรรมดาประกอบอาชีพค้าขายของเบ็ดเตล็ดและอะไหล่รถยนต์ เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการตาม มาตรา 77/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลธรรมดามีมูลค่าของฐานภาษีจากการประกอบกิจการขายสินค้าดังกล่าวเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร โดยการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีให้ถือมูลค่าของฐานภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร

แล้วหากมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ?
คำถามคือเพิ่งเปิดบริษัทรายได้ยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาท จึงยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนนี้มีลูกค้ารายหนึ่งต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทแต่ลูกค้าอยากได้ใบกำกับภาษี บริษัทควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ?
ให้เราพิจารณาว่าบริษัทมีความสามารถในการผลักภาระ VAT ไปให้ลูกค้าได้มากน้อยขนาดไหน
คำว่าผลักภาระ VAT ให้ลูกค้า หมายความว่าเดิมสินค้าราคา 100 บาท หลังจากจด VAT จึงเรียกเก็บ VAT เพิ่ม 7% เป็น 107 บาท และลูกค้าก็ยอมที่จะขายที่จะจ่ายเงิน 107 บาทในการซื้อสินค้าจากบริษัท
ส่วนใหญ่แล้วถ้าลูกค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เราเก็บเงินค่าสินค้า 107 (100 + 7) ลูกค้าก็จะไม่ได้รู้สึกว่าสินค้าเราแพงขึ้น เพราะเค้าสามารถขอคืน 7 บาท ที่เป็นภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลักภาระ VAT ให้ลูกค้าได้ เราก็ควรจด VAT เพราะไม่ได้กระทบกับการขายสินค้า และในทางกลับกันเราสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้อีกทำให้ต้นทุนเราลดลง
แต่ถ้าเราไม่สามารถผลักภาระ VAT ให้กับลูกค้าได้ เราจะต้องยอมลดราคาสินค้าลง เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าจากเราการจด VAT ก็จะทำให้กำไรของกิจการลดลงดังนั้นไม่ควรจด VAT จนกว่ารายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี
กรณีที่ลูกค้าต้องการใบกำกับภาษี ให้เราลองอธิบายกับลูกค้าว่าเราสามารถออกใบเสร็จรับเงินในนามบริษัทให้กับลูกค้าได้ ซึ่งใบเสร็จรับเงินนี้สามารถนำมาเป็นหลักฐานใช้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เหมือนใบกำกับภาษีทุกอย่าง (ผู้ประกอบการหลายท่านมักเข้าใจผิดว่าเฉพาะใบกำกับภาษีเท่านั้นถึงจะนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้)

ที่มา เพจ กรมสรรพากร / เว็บ กรมสรรพากร และ เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

การยื่นขอจด VAT

28 January 2021 View 10,030

บทความที่น่าสนใจ

สินค้าอื่นๆ

ตามหลักการแล้วไม่ว่าใครก็ตามที่มีรายได้จากการค้าขายและบริการ ทั้งที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

โดยในธุรกิจบางประเภทอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ยกเว้น VAT หากอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด หรือบางธุรกิจที่กฎหมายบังคับให้ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากเป็นไปตามเงื่อนไขก็จะได้รับยกเว้นเช่นกัน และอีกหลายๆ ธุรกิจที่ถึงแม้จะได้รับยกเว้นแต่ถ้ามีความประสงค์จะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถทำได้

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจที่ดำเนินกิจการจนมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีไปแล้ว และกำลังจะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรเช็กให้แน่ใจก่อนว่าตนเองอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับยกเว้นหรือไม่ รวมถึงใครที่กำลังมองหาธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็ควรทราบก่อนว่าธุรกิจที่ตนเองสนใจนั้น เป็นธุรกิจที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

หากเป็นธุรกิจที่ไม่ต้อจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจคล่องตัวยิ่งขึ้น หมดกังวลเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีธุรกิจใดบ้างต้องไปติดตาม

  • ทำความรู้จักกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% โดยกฎหมายมีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ ยกเว้นรายได้จากงานประจำไม่ต้องนำมาคำนวณ

และให้ยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมกับนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ยังถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการยกเว้นยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ประเภทธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจด VAT

ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม และกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้

1.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือธุรกิจที่กฎหมายกำหนดว่า หากประกอบธุรกิจตามประเภทที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย

1.1 ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

1.2 ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

1.3 ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

1.4 ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43)

1.5 ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

2.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิ์แจ้งขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งธุรกิจบางประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่นำมานับรวมเป็นรายได้ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิแจ้งขอจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

2.1 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2.3 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

2.4 การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2.5 การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ที่มีความประสงค์จะจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01

  • อาชีพใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจด VAT

ประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นทั้ง 5 ประเภทดังที่กล่าวไปแล้ว สามารถแยกย่อยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจด VAT แม้ว่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ดังนี้

1.สินค้าหรือบริการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี

2.การขายปลาป่น อาหารสัตว์

3.การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

4.การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

5.การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

6.การให้บริการนักแสดงสาธารณะ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

7.การให้บริการงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

8.การนำเข้าสินค้า

9.การให้บริการผู้ประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

10.การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

11.การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ไม่รวมบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม

12.การค้าขายสัตว์มีชีวิตและไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์

13.ขายยาหรือเคมีภัณฑ์พืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์

14.การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล

15.การให้บริการสถานศึกษาราชการและเอกชน

16.การให้บริการทางวิจัยและวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด

17.การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

18.การขายสินค้าและบริการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนาและการกุศล

19.การให้บริการขนส่งในประเทศ

20.การขายสินค้าและบริการให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

21.การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร

22.การให้บริการรักษาพยาบาล

23.การให้บริการสีข้าว

24.การค้าขายปุ๋ย

25.การค้าขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร

26.การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้ (อาชีพที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81)

สรุป

หากใครกำลังจะลงหลักปักฐานทำธุรกิจของตัวเองสักอย่าง นอกจากเลือกธุรกิจที่ถนัด เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว อาจต้องศึกษาเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย และช่วยประหยัดภาษีได้ด้วย

-----------------------------------
Source : Inflow Accounting
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

บุคคลธรรมดารายได้เกิน 1.8 ล้านต้องจด VAT ไหม

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ประกอบการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือ ให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นค าขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ รายรับเกิน สานักงานสรรพากรพื้นที่หรือพื้นที่สาขา

ไม่จด Vat ได้ไหม

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณีที่บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักร มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เกิน 1.8 ล้านบาท โดยสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ดังนี้ เข้าเว็บไซต์ www.rd.go.th เลือก “บริการอิเล็กทรอนิกส์” การค้านวณภาษี

มูลค่าฐานภาษีจำนวนเท่าใดของรายได้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้ไม่เกินไม่มีหน้าที่ต้องจด แต่หากต้องการจดก็สามารถจดได้เหมือนกัน