การบริหาร การเงิน ในธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ควร ปฏิบัติ อย่างไร

       ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและการเงินมีความผันผวนอย่างมาก อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ การขึ้นลงประจำวันของราคาน้ำมัน การขึ้นลงของอัตราเงินเฟ้อ การปฏิรูปทางกการเงินและการเกิดนวัตกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารการเงินต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต่าง ๆ  ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและวิทยาการทางการเงินสมันใหม่เข้ามาใช้  บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารการเงินจึงต้องมีขอบข่ายงานกว้างขวางจากเดิม เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลได้เพิ่มบทบาทเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการแก่สังคมมากขึ้น  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินงานและประสานงานกับหลาย ๆ   ฝ่าย     ทำให้การบริหารงานของผู้บริหารการเงินต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ  ดังนี้

1.       ความรับผิดชอบต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คือ ต้องการให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราสูงสุด2.       ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง (พนักงาน) คือ  ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนจัดให้มีสวัสดิการแก่ลูกจ้างด้วย

3.       ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ คือ  การบริหารงานให้มีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าธุรกิจสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา

4.       ความรับผิดชอบต่อรัฐบาล  คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่ขัดต่อรัฐบาล    และกฎหมายของประเทศที่ตนดำเนินงานอยู่               

5.    ความรับผิดชอบต่อชุมชนในสังคม คือ  ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือศีลธรรมอันดีต่อประชาชน   

  หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน (The Financial Staff’s Responsibilities)    ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์กรเป็นอย่างไรก็ตาม จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่  ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่กิจการ  นั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไรและขยายกิจการให้เกิดความเจริญ เติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ  (Maximizing Value of the Firm)  ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินจะมี 5 ประการคือ 

  •   หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning)
  •   หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financing Decision)
  •   หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)
  •   หน้าที่ในการเป็นตัวแทนขององค์กรทำการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)
  •   หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)  

        หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน  (Forecasting and Planning) ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสดของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนมีเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด  ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนว่าถ้าในเดือนที่กิจการมีเงินสดส่วนเกินควรนำเงินไปลงทุนอย่างไร หรือเดือนใดที่เงินสดขาดมือ  ควรจัดหาเงินสดมาจากแหล่งใด การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้นนี้ช่วยให้กิจการได้ใช้เงินทุนระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสภาพคล่องของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพิจารณาการตัดสินใจลงทุน ซึ่งกิจการต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง  โดยให้ผลตอบแทนในระยะยาว จึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุนข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจต้องเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำเพื่อให้การวิเคราะห์นั้นตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

     หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financial Decision) ปัญหาการตัดสินใจของผู้บริหารการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ  ปัญหาการตัดสินใจระยะสั้น      เช่น ปัญหาในกรณีที่กิจการจะทำการผลิตชิ้นส่วนเอง หรือซื้อ  ปัญหาว่าควรขายสินค้า หรือผลิตต่อแล้วขาย หรือปัญหาว่าควรยกเลิกสินค้าที่มีผลขาดทุนหรือไม่   ปัญหาการตัดสินใจระยะยาว ซึ่งหมายถึงโครงการลงทุนต่าง ๆ  เช่น การสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม  การผลิตสินค้าใหม่เพิ่มเติม เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นหรือระยะยาว  การตัดสินใจจะมีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ การตัดสินใจจัดหาเงินทุน และการตัดสินใจใช้เงินลงทุน  โดยมีหลักการว่า ในการจัดหาเงินทุนควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและความเสี่ยงต่ำที่สุด  โดยเงินทุนจะได้มาจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ซึ่งเงินทุนจากส่วนนี้จะมีต้นทุนในรูปของดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะต่ำกว่า เงินทุนจากส่วนของเจ้าของที่จะมีต้นทุนในรูปของเงินปันผลหรือกำไร(ขาดทุน) นอกจากนี้ความเสี่ยงก็ต่ำกว่าด้วยการตัดสินใจนำเงินทุนไปใช้ แบ่งออกเป็น 2 ทางคือ ใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง  แต่ความสามารถในการทำกำไรจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  

  หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม  (Coordination and Control)      ในการปฏิบัติงานผู้บริหารการเงินจะต้องประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการเพื่อมั่นใจว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ  การตัดสินใจทุก ๆ ด้านของกิจการจะต้องมีส่วนสัมพันธ์หรือมีผลกับเรื่องของการเงินเสมอ เช่น การตัดสินใจด้านการตลาดเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน  การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม  ผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน  การจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม  ผลกระทบต่อนโยบายสินค้าคงคลังและความสามารถในการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพได้จะต้องอาศัยการประสานงานกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจในการวางแผนอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการดำเนินงานโดยการตรวจสอบและประเมินผลตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่   

หน้าที่ในการเป็นตัวแทนองค์กรทาการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)      ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องติดต่อตลาดการเงินเพื่อการระดมทุน  โดยสามารถแบ่งตลาดการเงินออกได้เป็น 3 ตลาดดังนี้     ตลาดการเงิน (The Financial Market)     ตลาดเงิน (Money Market)     ตลาดทุน (Capital Market)        ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี แหล่งเงินทุนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตลาดเงินได้แก่  เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชี (overdraft account) ตลาดรับซื้อคืน (Reperchase Market ) แต่ละตลาดมีหน้าที่ในการระดมเงินทุนหรือจัดหาเงินทุนให้แก่ธุรกิจโดย ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระหนี้เกิน 1 ปี  โดยมีแหล่งเงินทุน ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดOTC       ดังนั้นการที่ธุรกิจจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไร ถ้าลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนจากตลาดเงิน  แต่ถ้าต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรควรจัดหาเงินทุนจากตลาดทุน  โดยพิจารณาเงินทุนแต่ละแหล่งว่ามีต้นทุนของเงินทุนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร  ซึ่งผู้บริหารควรเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำสุด   

 หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)      กิจการทุก ๆ แห่งต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ลักษณะ คือ 

  • ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk)  เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากภายในองค์กร และองค์การสามารถควบคุมได้ขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารขององค์กรว่ามีความสามารถบริหารงานเพื่อขจัดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ 
  • ความเสี่ยงภายในระบบ (Systematic Risk)  ความเสี่ยงอันเกิดจากภายนอกกิจการ เป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้  ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการพยากรณ์ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เช่น กาเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) หรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Foreign Exchange Rate)  

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ ความเสี่ยงในระบบ (Systematic Risk) หน้าที่ต่าง ๆ ภายในองค์กรธุรกิจ 

ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk)

          รูปแบบองค์กรธุรกิจ 
(Alternative Forms of Business Organization) 

ในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ  สามารถจัดตั้งได้หลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะและขนาดของเงินทุน  หรือขอบข่ายความต้องการในการบริหารงานของเจ้าของกิจการ  โดยแต่ละรูปแบบจะมีขั้นตอนการจัดตั้ง ลักษณะองค์กรตลอดจนข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สำคัญ 3 รูปคือ

  •   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)
  •   ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
  •   บริษัท  (Company)

   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)      แหล่งเงินทุนในส่วนของเจ้าของกิจการจะได้มาจากเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวเท่านั้น  ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กโครงสร้างองค์กรไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกิจการจะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา      

             ข้อดี 

  • รูปแบบองค์กรไม่สลับซับซ้อน
  • ง่ายต่อการจัดตั้งเพราะไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลและใช้เงินทุนต่ำ
  • เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งจะทำ ให้กิจการเสียภาษีต่ำลง
  • การตัดสินใจในการบริหารงานสะดวกและรวดเร็ว เพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
  • กรณีที่กิจการมีผลกำไร  ก็จะเป็นของเจ้าของเพียง คนเดียว  

ข้อเสีย

  • กิจการเจ้าของคนเดียวมีเงินทุนจำกัด
  • เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด การขยายกิจการจึงทำได้ยาก
  • โอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจมีน้อย
  • กรณีที่กิจการมีผลขาดทุน เจ้าของกิจการต้อง รับผิดชอบผลขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
  • ความรู้ความสามารถในการบริหารงานจำกัดเพียง บุคคลคนเดียว คือเจ้าของกิจการเท่านั้น
  • ลูกจ้างของกิจการขาดความก้าวหน้า เนื่องจาก กิจการขนาดเล็ก

     ดังนั้นกิจการเจ้าของคนเดียวจึงถือเป็นรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกและส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก  อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยส่วนมากจะเริ่มจากกิจการเจ้าของคนเดียวและแปรสภาพมาเป็นรูปของบริษัทในเวลาต่อมาเพื่อต้องการที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่กิจการ  เพราะกิจการเจ้าของคนเดียวจะมีความเสียเปรียบในการแข่งขัน  เมื่อเทียบกับธุรกิจในรูปแบบอื่น ๆ    

 ห้างหุ้นส่วน  (Partnership)      กิจการที่เกิดจากการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญาของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ว่าด้วยเรื่องของการลงทุนร่วมกัน  เพื่อประสงค์ที่จะร่วมแบ่งปันผลกำไรและผลขาดทุนอันเกิดจากการดำเนินกิจการ  ซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอาจจะมีขึ้นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การร่วมลงทุนนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถนำเอาเงินสดทรัพย์สินอื่น ๆ หรือแรงงานมารลงทุนก็ได้  แล้วแต่ข้อตกลงหรือสัญญาที่ระบุไว้  กิจการห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ - ห้างหุ้นส่วนสามัญ  - ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  - ห้างหุ้นส่วนจำกัด      ข้อดี -ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน ข้อดี 

  •   ง่ายต่อการจัดตั้ง เพราะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประเภทใด
  •   สามารถจัดหาเงินทุนได้มากกว่ากิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะเงินทุนได้มาจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  •   ประสิทธิภาพในการบริหารสูงขึ้น  เพราะความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่นำมาใช้ในการบริหารมิได้มาจากบุคคลเพียงคนเดียว
  •   ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการห้างหุ้นส่วนต่ำ

ข้อเสีย 

  • การที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบจะมีอำนาจในการบริหารงาน  ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ
  •   กรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนจะมีความเสี่ยงสูงในการรับผิดชอบชดใช้หนี้สินของห้างด้วยสินทรัพย์ส่วนของตน
  •   อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน  ถ้าหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ถอนตัวหรือประกาศยกเลิกกิจการตามกฎหมาย 

    บริษัท   (Company)      เป็นกิจการที่มีวิธีการระดมเงินทุนโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละเท่า ๆ กัน  จำนวนหุ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ  การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัทได้รับความนิยมสูงสุ  เนื่องจากสามารถจัดหาหรือระดมเงินทุนได้ง่าย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ   - บริษัทจำกัด (Limited Company)    - บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company)

  •   ผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คนรวมทั้งนิติบุคคลด้วย
  •   มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินของบริษัทจำกัดจำนวนเท่าที่ลงทุนไป
  • ผู้เริ่มก่อการ 7 คนขึ้นไป

บริษัทมหาชนจำกัด 

  •   มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รวมทั้งนิติบุคคล
  •   ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดไม่เกินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
  •   มีผู้ร่วมก่อการ 15 คนขึ้นไป

ข้อดี -ข้อเสียของบริษัท 

  • สามารถระดมเงินได้ง่าย จึงมีความได้เปรียบในเรื่องขนาดของเงินทุน
  • ได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะธุรกิจในรูปแบบของบริษัท  จะมีขนาดกิจการค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย
  • ผู้ลงทุนจะรับผิดชอบจำกัดจำนวนเท่ากับเงินที่ลงทุนในหุ้น
  • ง่ายต่อการเลิกลงทุน  โดยวิธีการขายหุ้นต่อให้แก่นักลงทุนรายอื่น ๆ
  • อายุของกิจการค่อนข้างต่อเนื่อง  เพราะกิจการในรูปของบริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลหากผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถอนหุ้น  ตาย หรือผู้บริหารไร้ความสามารถจะไม่มีผลทำให้บริษัทต้องเลิกกิจการ
  • การก่อตั้งทำได้ยาก เพราะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • เสียค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งสูง เพราะจะต้องเสียเงินค่าจดทะเบียนและเสียเวลา
  • ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง
  • จะต้องปฏิบัติภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย เพราะธุรกิจที่เกิดจากเงินลงทุนคนจำนวนมาก ดังนั้นทางการจึงต้องเข้ามากำกับดูแล  รักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนรายย่อยเพื่อไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างผู้ลงทุน
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน คือ จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัท อีกทั้งกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น  ก็จะต้องเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง
  • จะต้องเปิดเผยข้อมูลประจำปีให้สาธารณชนรับทราบ

      เป้าหมายของธุรกิจที่สำคัญได้

เดิมเป้าหมายในการประกอบธุรกิจ คือการแสวงหากำไรสูงสุด(Maximized Profit) ในการพิจารณากำไรนั้นสามารถแยกพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ กำไรรวมที่ได้รับและกำไรต่อหุ้น แต่ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อบุคคลหลายกลุ่มในสังคม  จึงทำให้เป้าหมายในการประกอบธุรกิจเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดเป็นแนวความคิดใหม่ คือ เพื่อให้มีความมั่งคั่งสูงสุด (Maximized Wealth)  หรืการพยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด (Maximized Value of the Firm) สิ่งที่จะสะท้อนถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ถือหุ้นได้รับ ธุรกิจที่เป็นบริษัท สามารถพิจารณาได้จาก ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด  อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหารการเงินไม่ใช้กำไรสูงสุดมาเป็นเป้าหมายในการบริหารทางการเงิน เพราะมีข้อบังคับอยู่หลายประการ คือ      

    1.       ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินตามกาลเวลา (Time Value of  Money) คือ  ไ ม่ได้ให้ความสำคัญของมูลค่าเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา

   2.       ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง เนื่องจากธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด ดังนั้น ผู้บริหารจะยอมรับโครงการลงทุนที่ให้กำไรสูงสุดโดยไม่ได้สนใจในเรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โครงการที่มีผลกำไรสูง โดยทั่วไปมักจะมีความเสี่ยงสูง ถ้าผู้บริหารมุ้งจะพิจารณาแต่กำไรต่อหุ้นย่อมทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ เพราะไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของธุรกิจหรือธุรกิจที่มีกำไรต่อหุ้นเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงของธุรกิจจะเท่ากัน

    3.       วิธีการบันทึกทางบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป  มีหลายวิธี เช่น การตีราคาสินค้าคงเหลือและการคิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้ามีการเปรียบเทียบบริษัทสองบริษัทที่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งมีวิธีการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน ก็จะไม่สามารถวัดได้ว่าบริษัทไหนดีกว่ากันถ้าบริษัททั้งสองมียอดขายที่ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายสินทรัพย์ถาวรสุทธิเท่ากันแต่ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแตกต่างกัน

    4.       นโยบายการจัดหาเงินทุน กรณีธุรกิจจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืม ดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นรายจ่ายก่อนคำนวณภาษี มีผลทำให้กำไรสุทธิของธุรกิจลดลง

    5.       ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของนโยบายเงินปันผล ถ้าธุรกิจต้องการกำไรสูงสุดธุรกิจจะไม่ยอมจ่ายเงินปันผล แต่จะนำกำไรที่ได้รับไปลงทุนต่อเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ผู้ถือหุ้นจะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินในปัจจุบันจึงมีผลกระทบ ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญของธุรกิจลดลง ดังนั้นเป้าหมายกำไรสูงสุดจึงมีข้อบกพร่อง

               จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป้าหมายทางธุรกิจจึงมีแนวคิดใหม่ โดยการดำเนินธุรกิจจะมุ้งเน้นให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด (Maximized Value of  the Firm) เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงสุด ( Maximized Wealth )  การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดพิจารณาได้จากราคาของตลาดหุ้นสามัญที่สูงสุด แต่ราคาของตลาดหุ้นสามัญมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นสามัญประกอบด้วย

             ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่กระทบต่อธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่สามารถความคุมได้ เช่น  ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การเมือง ราคาน้ำมัน อัตราภาษี เป็นต้น

             ปัจจัยภายใน เป็นสิ่งที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ ได้แก่ ฐานะทางการเงินของธุรกิจ ความเสียงและความมั่นคงของธุรกิจ เป็นต้น

      มูลค่าของธุรกิจที่เป็นบริษัท สามารถวัดได้จากกมูลค่ารวมของราคาตลาดหุ้นสามัญที่ธรกิจนำออกมาจำหน่าย ผู้บริหารทางการเงินต้องพยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจมีค่าสูงสุด ปัจจัยที่กำหนดมูลค่าของธุรกิจ

        1.       ความสามารถในการทำกำไร

        2.       ความเสี่ยง

           ปัจจัยที่กระทบต่อมูลค่าของธุรกิจ ได้แก่    

   1.  ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความสามารถในการทำกำไร และความเสสี่ยงแตกต่างกัน ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรสูงสุดจะมีความเสี่ยงสูง ส่วนธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไรต่ำจะมีความเสียงต่ำตาม

   2.   ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจที่มีเงินทุนมากความเสี่ยงจะสูงและมีโอกาสที่จะทำกำไรสูง แต่ธุรกิจที่ใช้เงินทุนน้อยจะมีความเสี่ยงต่ำ และมีโอกาสที่จะทำกำไรน้อย

   3.  ชนิดของเครื่องจักร ธุรกิจที่ลงทุนใช้เครื่องจักรที่มีคุณภาพสูง มักจะใช้เงินลงทุนสูงประสิทธิภาพในการผลิตจะสูงด้วย ทำให้ความสามารถในการทำกำไรสูง และความเสี่ยงก็จะสูงด้วย

   4.   การใช้ประโยชน์จากหนี้ ธุรกิจที่กู้ยืมเงินมาลงทุนมาก ต้นทุนของเงินทุนต่ำทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงจะสูง ตรงกันข้ามถ้ายืมเงินมาลงงทุนน้อย กำไรก็จะน้อย และความเสี่ยงต่ำ

สภาพคล่อง  ธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่องสูงเงินทุนหมุนเวียนจะมาก และลงทุนในสินทรัพย์ไมหมุนเวียนน้อย กำไรก็จะน้อย ถ้าธุรกิจต้องการกำไรมาก  ก็จะลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนน้อย และจะลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง กำไรสูง   

                      ความหมายของภาษีอากร

           ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎรและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร             

           - ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล  และไม่สามารถเรียกคืนได้               

           - ค่าธรรมเนียม คือ เงินที่ราชการเรียกเก็บจากประชาชนซึ่งได้ประโยชน์จากรัฐเฉพาะอย่าง เช่น  ใบทะเบียนสมรส ค่าธรรมเนียมค่าปรับศาล           

           - ค่าธรรมเนียมต่างจากภาษี

   ลักษณะของภาษีอากรที่ดี               

   1.  มีความเป็นธรรม               

   2.  มีความแน่นอน ชัดเจน               

   3.  มีความสะดวก               

    4.  มีประสิทธิภาพและประหยัด               

    5.  มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ               

    6.  อำนวยรายได้               

    7.  มีความยืดหยุ่น

   นโยบายภาษีอากร               

    1.  ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ               

   2.  กระจายรายได้ให้เป็นธรรม               

   3.  รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ               

   4.  จัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ               

   5.  จัดให้มีการใช้งานเต็มกำลัง               

   6.  นโยบายอื่น ๆ

การแบ่งลักษณะภาษี               

   1. ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล     

   2. ภาษีทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต 

    ภาษีศุลกากรภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax )

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรงจัดเก็บจากฐานเงินได้

จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และผู้ที่กฎหมายกำหนด

ฐานภาษี จัดเก็บจากเงินได้สุทธิ (ฐานในการคำนวณภาษี)                               

เงินได้พึงประเมิน (แต่ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น)                               

หัก ค่าใช้จ่ายหัก ค่าลดหย่อนและบริจาค                               

เงินได้สุทธิ แล้วจึงคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

ระยะเวลาของเงินได้ที่คำนวณ คือ ปีภาษี (ปีปฏิทิน 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)ชำระภาษีโดยประเมินตนเองภายในวันที่ 31มีนาคมของปีถัดไปภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้

- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล   

- นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้  

 - ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล   

- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ            

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ

- รอบระยะเวลาบัญชี             

- กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล             

 - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ            

  - เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)            

- อัตราภาษีและการคำนวณภาษี            

- การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี                

ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

- ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

 - ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ 

 - สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี

- บัญชีอัตราภาษี  

ภาษีมูลค่าเพิ่ม       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม               

  - ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม             

    - ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้  

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

- กำหนดเวลาการจดทะเบียน                

- สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               

  - ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                

 - หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม               

  - การเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                

 - กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย               

  - การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม                

  - กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษี                

    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

   ภาษีสรรพสามิต    คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมกรมสรรพสามิต    มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท     เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

    ภาษีศุลกากรบทบาทของภาษีศุลกากรเพื่อใช้เป็นวัตถุประสงค์ในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ  การเก็บภาษีของรัฐจุดมุ่งหมายของรัฐโดยทั่วไปก็คือการหารายได้เข้ารัฐ  แต่จุดมุ่งหมายรองๆลงมาก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีการเก็บภาษีศุลกากร  นอกจากจะเป็นเหตุผลในการหารายได้แล้ว  ความมุ่งหมายหลักก็คือ เพื่อการคุ้มกันการค้าของประเทศเพราะสินค้านำเข้าเมื่อต้องเสียภาษีศุลกากรก็จะมีราคาแพงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในประเทศอย่างไรก็ตามนโยบายในการกีดกันทางการค้าด้วยภาษีนี้เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างละเอียดว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร             

   การจัดเก็บภาษี

1. รัฐบาลกลางจัดเก็บ  เช่นภาษีสรรพากร  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต

2. ราชการส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ  เช่นภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน  ภาษีบำรุงท้องที่ 

    การชำระภาษี               

1.  การหักภาษี ณ ที่จ่าย               

2.  การประเมินภาษีด้วยตนเอง               

3.  การประเมินภาษีด้วยพนักงาน               

 4.  ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ    

    ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

         ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
                (1)   กำไรสุทธิ
                (2)   ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
                (3)   เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
                (4)   การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย