สมเด็จพระนเรศวรสวรรคต พ.ศ.เท่าไร

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ประชาชนชาวไทยควรตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระองค์ทรงเสียสละ ต่อสู้กับข้าศึกศัตรูแม้ในยามที่ทรงประชวรหนัก ก็ยังไม่ห่วงพระวรกายยังคงทำหน้าที่ของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมให้ศัตรูมารุกรานบ้านเมือง จนกระทั่งสวรรคตในสนามรบ จึงได้ทำให้เหล่าทวยราษฎร์ต่างเทิดทูนถึงพระมหากรุณาธิคุณ เราชาวไทยควรรำลึกถึงพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราให้ได้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ความหมายของวันสมเด็จพระนเรศวร

วันสมเด็จพระนเรศวรคือ วันคล้ายวันสวรรคตของพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148สาเหตุเพราะ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ พระอาการหนัก สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษา

วันสมเด็จพระนเรศวร

สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษาเศษ สิริดำรงราชสมบัติ 14 ปีเศษสมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุขว่างจากการศึกสงคราม เป็นเวลาถึง 100 ปีเศษ ซึ่งที่ผ่านมาสมเด็จพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองด้วยการทรงอุทิศพระวรกายทำราชการสงครามเกือบตลอดรัชสมัย ซึ่งพระบรมเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้นแผ่ไพศาล ทำให้อริราชศัตรูเกิดความยำเกรงในอำนาจ

ซึ่งก่อนหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรจะสวรรคต สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ.2148 เสด็จโดยกระบวนเรือ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหางทรงตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต

สมเด็จพระนเรศวรสวรรคต พ.ศ.เท่าไร

ประวัติพระนเรศวรมหาราช

พระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งพระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ )

สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2133 ขณะพระชนมพรรษา 35 พรรษา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 18 แห่งกรุงศรีอยุธยา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี ทรงราชการสงคราม เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ซึ่งพระองค์ได้กอบกู้อิสรภาพไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด พระองค์ผู้ทรงมีพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองด้วยการทรงอุทิศพระวรกายทำราชการสงครามเกือบตลอดรัชสมัย อริราชศัตรูเกิดความยำเกรงในอำนาจ ส่งผลให้แผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุขว่างจากการศึกสงคราม เป็นเวลาถึง 100 ปีเศษ

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้ทำราชการสงครามเพื่อป้องกันพระราชอาณาเขต และทรงออกรบมาโดยตลอด จนกระทั่งก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ พ.ศ.2147 สงครามอังวะ เมืองอังวะบุกรุกเข้ามายังเมืองนายและเมืองแสนหวี ได้เสด็จกรีธาทัพพร้อมสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ โดยให้ สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพไปทางเมืองฝาง ส่วนพระองค์ยกทัพไปทางเมืองหาง ขณะประทับแรมที่ทุ่งแก้ว เกิดประชวรเป็นหัวละลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์จนเป็นพิษ และทำให้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 ขณะพระชนมพรรษา 50 พรรษา

แผ่นดินไทยได้รอดพ้นจากอริราชศัตรู ดำรงความเป็นชาติเอกราชก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชรักษาชาติบ้านเมืองมาตราบจนทุกวันนี้

ปฏิทินวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2556 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ.2556 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเส็ง

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2557 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2557 / วันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเมีย

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2558 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2558 / วันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะแม

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2559 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2559 / วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2560 ตรงกับ วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ.2560 / วันอังคาร แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2561 ตรงกับ วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2561 / วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีจอ

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2562 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ.2562 / วันพฤหัสบดี แรม ๖ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีกุน

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2563 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2563 / วันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีชวด

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2564 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2564 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2565 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2565 / วันจันทร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีขาล

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2566 ตรงกับ วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ.2566 / วันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีเถาะ

กิจกรรมวันสมเด็จพระนเรศวร

วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงทำคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ทรงออกรบเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ทำให้ชาวไทยต่างน้อมใจกันร่วมถายสักการะและความจงรักภักดีด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ


พิธีวางพวงมาลา

เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงจัดให้มีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยให้ประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระบรมราชานุสรณ์ หากจังหวัดใดไม่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ หรือพระบรมราชานุสรณ์ ให้อัญเชิญพระบรมรูปปั้นหรือพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ สถานที่อันสมควรเพื่อให้ผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัด สามารถถวายสักการะได้อย่างสมพระเกียรติ และไม่ถือเป็นวันหยุด ราชการ


ทำบุญตักบาตร

ในวัน แม้จะไม่ตรงกับวันพระ ทำให้ชาวไทยทุกคนได้มีโอกาสทำบุญ ตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล และเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตามหน่วยงานราชการต่างๆ อาจจะจัดให้มีพิธีสงฆ์หรือการทำบุญ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนี้


จัดนิทรรศการ

นอกจากนี้ ตามสถานศึกษา หรือหน่วยงานราชการ จะมีการจัดบอร์ด หรือจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่เกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป

เพราะพระองค์ได้ทรงทำประโยชน์และพระราชกรณียกิจมากมายให้กับประเทศสยามและปวงชนชาวไทย ทรงสละพระองค์เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์เทิดไว้เหนือเกล้าฯ ตราบชั่วกาลนาน

แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แผ่นดินไทยได้รอดพ้นจากอริราชศัตรูมีความเจริญวัฒนาสถาพร ดำรงความเป็นชาติเอกราชก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชรักษาชาติบ้านเมืองมาตราบจนทุกวันนี้ ทำให้ปวงชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และหาแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรม วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


จัดกิจกรรมวางพวงมาลา

การจัดงานวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการจัดกิจกรรมวางพวงมาลาเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อชาติ บ้านเมืองและปวงชนชาวไทย ทำให้ได้มีผืนแผ่นดินอยู่ทุกวันนี้ และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงจัดให้มีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันสมเด็จพระนเรศวร

จัดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ รวมถึงประวัติในด้นชานยุทธหัตถี แต่ละครั้ง ซึ่งจะทำให้ประชาชนชาวไทย ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์


เฉลิมเกียรติและน้อมรำลึก

เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทำนุบำรุงบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนปกปักรักษาเอกราชของชาติ ซึ่งใต้ผืนดินไทยทุกตารางนิ้ว ที่ชาวไทยได้อยู่อาศัยมาจนถึงทุกวันนี้ ล้วนทาทาบด้วยเลือดของบรรพบุรุษไทย ที่ต่อสู้กับศัตรู

การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จากกองทัพไทย

เพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของ มหากษัตริย์ไทย กษัตริย์นักรบไทย และกษัตริย์ทุกพระองค์ รวมถึงเหล่าบรรพชนของไทย และทหารกล้าที่ได้สร้างวีรกรรมอันกล้าหาญ ยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไว้เป็นมรดกจนถึงวันนี้ ซึ่งทางกองทัพไทย มีการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุด เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งแก่เหล่าทหาร กองทัพไทยจึงมีส่วนสำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์