หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ใช้อะไรบ้าง

พาเด็กเที่ยว เที่ยวกันเองไม่ต้องรวมกับใคร


อยากพาเด็กๆ ไปเที่ยวต่างประเทศต้องทำยังไงบ้างนะ

จะพาเด็กๆ ไปต่างประเทศทั้งที ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ต้องเป็นกังวลกันบ้างล่ะ จะต้องทำยังไงบ้างนะ มีหลักการง่ายๆ มี 2 ข้อก็คือ
ทำหนังสือยินยอม และทำพาสปอร์ต

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ใช้อะไรบ้าง

ทำหนังสือยินยอมกันก่อน

สำหรับเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี พ่อแม่ไปทำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่อำเภอหรือสำนักงานเขตฯ ที่เราอาศัยอยู่ โดยนำบัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็กไปด้วย หากสูติบัตรเป็นสำเนา ก็ต้องให้ทางอำเภอหรือสำนักงานเขตฯ รับรองสำเนาถูกต้อง โดยพ่อแม่จะต้องเซ็นยินยอมพร้อมกันทั้งคู่ ได้รับหนังสือยินยอมแล้ว ก็ไปทำพาสปอร์ตกัน

เด็กน้อยจะทำพาสปอร์ต

พาสปอร์ต หรือหนังสือเดินทาง ก็เหมือนใบเบิกทางเพื่อผ่านไปยังประเทศนั้นๆ สำหรับเด็กๆ ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนที่มากกว่าผู้ใหญ่นิดนึง แต่ก็ไม่ได้ยากลำบากอะไรมากนัก มาดูกันว่าเอกสารสำหรับทำพาสปอร์ตของเด็กเล็กอายุไม่เกิน 15 ปี มีอะไรบ้าง

- บัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็ก ถ้าเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต
- พ่อแม่หรือผู้ปกครอง นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
- หากพ่อแม่มีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นำเอกสารการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามี ให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- หากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาได้ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา โดยต้องผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต
- เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
- กรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต หรือว่าเป็นชาวต่างชาติแล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง

หลากหลายข้อสงสัย เมื่อต้องการพาเด็กเล็กไปต่างประเทศ

ถาม: ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ไปด้วย มีแต่ผู้ปกครองคนอื่นไป ต้องทำยังไง

ตอบ: ทำหนังสือยินยอม โดยมอบอำนาจให้ผู้ปกครองคนนั้นๆ ดูแล

ถาม:หนังสือยินยอม จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งมั้ย

ตอบ: กรณีประเทศที่ต้องขอวีซ่า มักจะมีการถามหาหนังสือยินยอม ส่วนประเทศที่ไม่มีการขอวีซ่า ส่วนใหญ่จะตรวจเช็คแค่พาสปอร์ตเท่านั้น แต่ทางที่ดีควรมีติดตัวไว้อุ่นใจกว่า

ถาม: ถ้าพ่อแม่เซ็นยินยอมเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ไปส่งเด็กที่สนามบิน จะเป็นอะไรมั้ย

ตอบ: ไม่ได้ไปส่งก็ไม่เป็นไร เด็กสามารถเดินทางไปได้ แต่ทางที่ดีควรระบุชื่อไว้ในหนังสือยินยอมด้วย ว่าอยู่ภายใต้การดูแลของคนนั้นๆ ตลอดการเดินทาง

เที่ยวแบบครอบครัว เที่ยวเป็นกลุ่มส่วนตัว


สนใจโปรแกรมทัวร์ต่างประเทศกับ WonderfulPackage คลิกที่นี่

จองตั๋วเครื่องบินง่ายๆ กับ WonderfulPackage คลิก!

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางหรือหนังสือยินยอมผู้ปกครองให้ผู้เยาว์เดินทาง เป็นหนังสือซึ่งออกโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น เพื่อแสดงความยินยอมและรับทราบให้ผู้เยาว์นั้นเดินทางไปกับผู้ปกครองอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียวในกรณีที่มีผู้ปกครองหลายคน ไปกับบุคคลอื่น หรือเดินทางเพียงลำพังได้

สำหรับประเทศไทย ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์อาจไม่ใช่ผู้เยาว์ก็ได้ ในกรณีที่ได้สมรสตามเงื่อนไขของกฎหมายบุคคลและกฎหมายครอบครัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยทั่วไปบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น ได้แก่ บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์นั้นร่วมกันปกครอง อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์อาจไม่ใช่บุคคลสองคนนี้ก็ได้ เช่น

  • บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียวในกรณีที่บิดาหรือมารดาอีกคนหนึ่งนั้นไม่สามารถหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถดูแล ปกครองบุตรของตนได้ เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองบิดาหรือมารดา
  • มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาตามกฎหมาย ดำเนินการรับรองบุตร หรือมีคำสั่งศาลรับรอง
  • บุคคลอื่นๆ นอกจากบิดาและมารดาโดยสายเลือด เช่น บุคคลซึ่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองตามเงื่อนไขของกฎหมาย ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่รับผู้เยาว์นั้นเป็นบุตรบุญธรรม พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงในกรณีที่บิดาหรือมารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสใหม่

โดยการเดินทางอาจเป็นการเดินทางภายในประเทศ เช่น การไปทัศนศึกษากับโรงเรียน หรือการเดินทางระหว่างประเทศ เช่น การไปศึกษาต่างประเทศช่วงปิดเทอม

ทั้งนี้ การจัดทำหนังสือยินยอมดังกล่าวก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้เยาว์และเพื่อเป็นหลักฐานแสดงแก่ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินในกรณีที่มีข้อสงสัยในการเดินทางของผู้เยาว์นั้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1980 ว่าด้วยการลักพาเด็กข้ามชาติ (Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction) เนื่องจากด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศนั้นๆ อาจมีมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดและเข้มงวดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเดินทางของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้เดินทางไปกับผู้ปกครองของตน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการลักพาตัวเด็กหรือการค้ามนุษย์


การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง ผู้จัดทำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ระบุ รายละเอียดอ้างอิงตัวตนของผู้เยาว์ที่จะเดินทางและของผู้ปกครองของผู้เยาว์ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีเดินทางระหว่างประเทศ
  • ระบุ รายละเอียดการเดินทางของผู้เยาว์นั้น เช่น จุดประสงค์ของการเดินทาง สถานที่หรือประเทศปลายทาง ระยะเวลาการเดินทาง ผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์นั้น (ถ้ามี)
  • ระบุ ข้อมูลหรือสถานะทางการแพทย์ของผู้เยาว์ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา โรคประจำตัว
  • ระบุ ข้อมูลการติดต่อของผู้ปกครองเพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
  • แนบเอกสารประกอบ เช่น สำเนาสูติบัตรของผู้เยาว์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ปกครอง และในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ใช่บิดาและมารดาควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นด้วย เช่น ใบมรณะบัตรของบิดาหรือมารดา คำสั่งศาลถอนอำนาจปกครอง ใบสำคัญการหย่าและข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ปกครองและพยาน (ถ้ามี) โดยจำนวนที่จัดทำอาจสอดคล้องกับจำนวนผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้น
  • ให้ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้นยึดถือหนังสือที่จัดทำนั้นไว้อ้างอิงกับหน่วยงานหรือเจ้าที่หน้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างการเดินทาง
  • นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้จัดทำควรตรวจสอบวิธี หลักเกณฑ์ และเอกสารที่จำเป็นกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทางนั้นว่าต้องดำเนินการอื่นกับหนังสือยินยอมดังกล่าวเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละสายการบิน เช่น การรับรองลายมือชื่อในหนังสือยินยอมโดยสำนักงานเขตหรือโดยทนายความ (โนตารีพับลิค) การแปลเป็นภาษาต่างประเทศและรับรองโดยสถานทูตหรือกงสุลไทยและ/หรือโดยสถานทูตหรือกงสุลของประเทศปลายทาง อนึ่ง อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำแนะนำการให้ความยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศของกรมการกงสุล


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
  • กฎหมายบุคคลและกฎหมายครอบครัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

ทําพาสปอร์ตใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20

1.2 ผู้เยาว์ (มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) หนังสือเดินทางฉบับเดิม (เคยมีหนังสือเดินทางอยู่แล้ว) บัตรประจำตัวประชาชนไทย สูติบัตร พร้อมสำเนา 1 ชุด หากผู้เยาว์เกิดในต่างประเทศและยังมิได้ทำสูติบัตร บิดามารดาจะต้องติดต่อขอทำสูติบัตรไทย ณ สถานทูตไทยในประเทศที่เด็กเกิด ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง

อายุ19 ทำพาสปอร์ตได้ไหม

สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์) 2. บิดาและมารดาทั้งสองต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคำร้องพร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ (หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี)