ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

26 พ.ย. 2564 เวลา 20:39 น. 67.7k

เช็คสิทธิ"เงินบำเหน็จ- เงินบำนาญชราภาพ"ผู้ประกันตนมาตรา 33 หลังเกษียณจะได้รับเงินคืนจากกองทุนประกันสังคมเท่าไร เปิดสูตรคำนวณที่นี่

ประกันสังคม เปิดสูตรคำนวณเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญชราภาพ สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่เกษียณและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์ยื่นขอรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญจากประกันสังคมได้ โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับ “เงินบำนาญ” ที่ประกันสังคมจ่ายให้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต  ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับ "เงินบำเหน็จ" รายละเอียดดังนี้ 

เงื่อนไข

กรณีบำเหน็จชราภาพ

  • จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย


กรณีบำนาญชราภาพ

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

รูปแบบการรับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคม

กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม 

กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด 

กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน ( 15 ปี )   มีสิทธิได้รับเงินบำนาญ

ชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ) 


กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน 

ตัวอย่างเช่น  :  ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ตามการคำนวณดังนี้

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ               

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%               

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) 

= 7.5%               

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี 

= 20% + 7.5% = 27.5%       

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน 

= 27.5% ของ 15,000 บาท                 

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต             

ส่วนกรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน               

= 4,125 บาท  × 10 เท่า  เท่ากับ 41,250 บาท            

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

รู้หรือไม่ว่า? นอกจากเราจะได้รับ ประกันสังคมว่างงาน ประกันสังคมค่ารักษากรณีบาดเจ็บ และประกันสังคมคนท้องแล้ว เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้น เรายังสามารถรับเงินเมื่อยามแก่ชราได้ด้วย หรือเรียกกันว่า “เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ” นั่นเอง ถือเป็นผลประโยชน์ส่วนหนึ่งเพื่อให้เก็บเงินเอาไว้ใช้หลังเกษียณ ถึงแม้ในอนาคตคุณจะไม่มีรายได้ก็ตาม แต่ทั้งนี้สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ เราจะได้รับเงินคืนตอนอายุเท่าไหร่ แล้วคำนวณอย่างไรบ้าง ลองมาเช็คสิทธิประกันสังคมเลย....

ประกันสังคมกรณีชราภาพ คืออะไร?

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

คำว่า เงินชราภาพประกันสังคม” หมายถึง กองทุนที่ผู้ประกันตนเลือกจ่ายสมทบให้ทางประกันสังคมตามที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำบาญยามชราภาพ  ทั้งนี้สามารถใช้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 (มนุษย์เงินเดือน) หรือผู้ประกันตนมาตรา 39  (คนที่ลาออกจากงานประจำแล้ว) ได้เหมือนกัน แต่การเบิกประกันสังคมชราภาพก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบ อายุ และสถานะความเป็นผู้ประกันตนด้วย

การเบิกเงินสมทบชราภาพ ประกันสังคม

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า “เงินสมทบชราภาพ” จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินบำเหน็จที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว กับเงินบำนาญชราภาพที่จ่ายให้รายเดือนตลอดชีวิต  ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายและเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมแตกต่างกัน

1. เงินบำเหน็จชราภาพ ประกันสังคม

หากใครที่ต้องการรับเงินก้อนโตทีเดียวเป็นเงินบำเหน็จ ผู้ประกันตนสามารถเบิกประกันสังคมชราภาพ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการทำงานเมื่อยามเกษียนได้ แต่ผู้ประกันตนต้องมีคุณสมบัติตามที่ประกันสังคมกำหนดไว้
1.1 เงื่อนไขการรับเงินบำเหน็จตามสิทธิประกันสังคม

  • จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

1.2 ผลประโยชน์ในการได้รับเงินบำเหน็จ 
ถึงแม้จะอยู่ในเงื่อนไขประกันสังคมชราภาพตามที่กำหนดข้างต้น ผลประโยชน์ในการได้รับเงินบำเหน็จ  แต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันด้วย ดังต่อไปนี้

  • กรณีจ่ายเงินสบทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น 
  • กรณีจ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้เงินบำเหน็จมาจากเงินสบทบที่เราจ่าย เงินสมทบของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

1.3 การคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ
เอาเป็นว่า!! เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เราลองมาเช็คเงินชราภาพประกันสังคม (เงินบำเหน็จ) กันเถอะ สมมติว่านายกวิ้นเป็นผู้ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสุดเป็นลูกจ้าง ซึ่งนายกวิ้นจ่ายเงินสบทบ 450 บาทต่อเดือน เป็นเวลารวม 10 เดือน (น้อยกว่า 12 เดือน) ดังนั้น นายกวิ้นจะได้รับเงินเงินบำเหน็จ 450x10 = 4,500 บาท
แต่ถ้าจ่ายเงินสบทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และอายุครบ 55 ปี จะได้รับได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน) 
อย่างเช่น นายกวิ้นจ่ายเงินสมทบเดือนละ 450 บาท ส่วนนายจ้างสบทบให้อีกเดือนละ 450 บาท แล้วนายกวิ้นจ่ายเงินสมทบชราภาพมา 10 ปี ดังนั้น นายกวิ้นจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวน (450 + 450) x 12 เดือน x 10 ปี = 108,000 บาท และบวกกับผลดอกจากการลงทุนประกันสังคม

2. เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

แต่ถ้าใครที่อยากได้เงินบำนาญชราภาพ เพื่อแบ่งใช้เป็นรายเดือนยาวๆ ตลอดชีวิต ก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ่ายเงินสบทบและฐานเงินเดือนเป็นหลัก รวมถึงข้อตกลงที่ทางประกันสังคมกำหนดไว้เช่นกัน
2.1 เงื่อนไขการรับเงินบำนาญตามสิทธิประกันสังคม

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

2.2 ผลประโยชน์ในการรับเงินบำนาญชราภาพ
หลังจากอ่านสิทธิการรับเงินบำนาญ มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็ต้องศึกษา ผลประโยชน์ในการรับเงินบำนาญชราภาพ  เพื่อเอาไว้ใช้เมื่อยามเกษียณด้วยนะ ผลประโยชน์การรับสิทธิ์จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีต่อไปนี้

  • กรณีจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนพอดี มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
  • กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
  • กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

2.3 การคำนวณเงินบำนาญชราภาพ
ทั้งนี้เราสามารถเช็คเงินชราภาพประกันสังคม (เงินบำนาญ) ได้เหมือนกัน หากคุณเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มนุษย์เงินเดือน จะกำหนดฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท แต่ถ้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 คนที่ลาออกจากงานประจำ คิดเป็นเงินเดือน 4,800 บาท

  • กรณีที่คุณจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนเป๊ะ ตามสูตรก็คือ 20% x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 

ตัวอย่างเช่น : นายแฟรงค์ เป็นผู้ประกันตนมีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป จ่ายเงินสบทบ 180 เดือนพอดี ครบอายุ 55 ปี และสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตน นายแฟรงค์จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น 20% x 15,000 = 3,000 บาทต่อเดือน

  • แต่ถ้าจ่ายเงินสบทบเกิน 180 เดือน ใช้สูตร 20% + [1.5% x (จำนวนปีจ่ายเงินสมทบ - 15 ปี)]

ตัวอย่างเช่น : กรณีจ่ายเงินสบทบมาแล้ว 20 ปี จะคิดเป็น 20% + [1.5x(20-15)] = 20% + [1.5x5] เท่ากับ 27.5% แล้วนำมาคูณกับฐานเงินเดือนอีกครั้ง เช่น นางจริงใจมีรายได้ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป = 15,000 x 27.5% = 4,125 บาท/เดือนตลอดชีวิต
หรือกรณีที่นางจริงใจได้รับเงินบำนาญชราภาพ แล้วเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน คิดเป็น 4,125 x 10 เท่า เป็นเงินทั้งหมด 41,250 บาท

การรับเงินเกษียณต้องทำเมื่อไหร่?

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ

หากคุณจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตามที่กำหนด พออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ คุณก็ต้องลาออกจากประกันสังคมก่อน  แล้วยื่นเรื่องเบิกเงินค่าบำเหน็จหรือบำนาญภายใน 1 ปีหลังจากลาออกจากกองทุนประกันสังคม นั่นหมายความว่าคุณจะหมดสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลบาดเจ็บ ค่าทำฟัน และค่าคลอดบุตร เป็นต้น ดังนั้น กรณีประสบอุบัติเหตุขึ้นมาก็ต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายเอง หรือเลือกทำประกันอุบัติเหตุเพื่อช่วยให้ดูแลค่ารักษาพยาบาลของคุณได้ 
เพราะฉะนั้น การจ่ายเงินประกันสังคมชราภาพทุกๆ เดือนนั้น ถือเป็นประโยชน์ให้กับคุณในอนาคตได้ดีเลยล่ะ ยามวัยเกษียณก็มีเงินบำเหน็จก้อนโตไว้ใช้ หรือเงินบำนาญเลี้ยงชีพรายเดือนตลอดชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ไม่อุ่นใจเท่าคุณมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับ Frank.co.th ให้ช่วยดูแลอีกทาง หากเกิดประสบอุบัติเหตุ ก็สามารถเบิกค่ารักษาได้ทันทีกว่า 400 แห่งในโรงพยาบาล (ไม่ต้องสำรองจ่าย) แถมยังคุ้มครองกรณีกระดูกหัก ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยงมากๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีคนช่วยคุ้มครองคุณนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th

ประกันสังคม อายุ 55 บําเหน็จ