หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

               2.5 หลักฐานประเภทบอกเล่า แบ่งออกเป็นประเพณีจากการบอกเล่า และประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า ข้อจำกัดคือ อาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย ตามอคติของผู้เล่าจึงต้องมีการตรวจสอบกับเอกสารอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ

      6. เอกสารทางราชการ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการปกครองที่รัฐบาล มีต่อข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น รายงานการตรวจสอบราชการ รายงานความคิดเห็นเพื่อกราบบังคมทูล รายงานการประชุม เป็นต้น ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เอกสารทางราชการส่วนใหญ่ได้ชำรุดเสียหายไปมาก ประตอบรับในสมัยโบราณยังไม่มีระบบการจัด เก็บเอกสารราชการ จนกระทั่งได้มีการตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นในสมัยราชการที่ 5 จึงได้เริ่มการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ โดยเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นแหล่งสำคัญ

 นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความรักและความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆกันและที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลหลักฐานที่หลากหลายได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่องและการนำเสนออย่างมีเหตุผลอันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง

      2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
        หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
ตัวอย่าง : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr
1. ศิลาจารึก
        ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น หรือเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีการจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกต ารับต าราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr

2. พงศาวดาร
        พงศาวดาร เป็นคำรวมระหว่าง พงศ กับ อวตาร มีหมายความว่า การอวตารของเผ่าพันธุ์ บางแห่งเขียนว่า พระราชพงศาวดาร ซึ่งมีหมายความถึง การอวตารของเทพเจ้า (พระนารายณ์) ในศาสนาฮินดู ดังนั้น พงศาวดารจึงเป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณ์พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น หรือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับประเทศหรือศาสนาเป็นส่วนใหญ่

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr

3. สมุดข่อย
        สมุดข่อย หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมุดไทย คือสมุดที่บันทึกข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในสมุดข่อยมีทั้ง ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ต ารายา โหราศาสตร์ และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เช่น พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ย่อ เป็นต้น ศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้นับเป็นข้อมูลทางวิชาการขั้นปฐมภูมิที่สามารถอ้างอิง และสอบสวนเรื่องราวของบรรพชนได้อย่างชัดเจน

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr

4. คัมภีร์ใบลาน
        คัมภีร์ใบลานที่ได้รับการอนุรักษ์มักมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี เป็นเอกสารโบราณที่มีอายุน้อยกว่าศิลาจารึกแต่มากกว่าหนังสือสมุดไทยหรือสมุดข่อย อักษรภาษาที่พบในคัมภีร์ใบลานจึงเป็นอักษรภาษาโบราณอ่านค่อนข้างยาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณมาช่วยแปล  อักษรภาษาที่พบได้แก่ อักษรไทย ภาษาไทย อักษรขอม ภาษาบาลี/ไทย อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี/ไทย เป็นต้น

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr

5. จดหมายเหตุ
        ตั้งแต่ครั้งอดีต พระมหากษัตริย์ไทย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์ส าคัญของบ้านเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น จดหมายเหตุนี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุหรือหอหลวง เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อคนรุ่นหลัง จดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความส าคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะไดอารี่ ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น จดหมายเหตุบางกอก จดหมายเหตุลาลูแบร

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/hna/2-1-hlak-than-thi-pen-lay-laksn-xaksr