ในทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ มีความหมายแบบกว้างๆ หมายถึง เหตุการณ์ในเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งบางเหตุการณ์อาจไม่มีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์ ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "วิธีการทางประวัติศาสตร์" โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร วัตถุ สถานที่ ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อประกอบการศึกษาวิเคราะห์ 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และตีความจากร่องรอยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักเหตุผลอธิบายเหตุการณ์ และความเป็นมาต่างๆ ในอดีต ให้มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด 

การศึกษาประวัติศาสตร์ ช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันมากยิ่งขึ้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยภูมิหลังในอดีต เพื่อให้ผู้ศึกษาพิจารณาหลักฐานอย่างรอบด้านก่อนสรุปผล อีกทั้งยังเป็นกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับชุดข้อมูลด้วย สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มีดังนี้

1. การกำหนดหัวข้อ
ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร เพราะเหตุใด อยู่ในความสนใจหรือไม่ แล้วจึงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ต้องการศึกษา รวมถึงการประเมินเรื่องเวลา และทุนสำหรับวิจัย 

ในทางประวัติศาสตร์

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ตั้งสมมติฐานไว้สำหรับหัวข้อที่ต้องการศึกษา แล้วเริ่มค้นคว้าข้อมูล ความแตกต่างของการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ไม่สามารถใช้ชุดแบบสอบถามได้ แต่ต้องลงมือศึกษาหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และชั้นรอง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. ประเมินคุณค่าหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์จะใช้วิธีการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่เรียกว่า การวิพากษ์ โดยพิจารณาว่าหลักฐานแต่ละชิ้นน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ตรวจสอบความแท้-เทียม อายุความเก่าแก่ ซึ่งบางครั้งอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี หรือใช้การพิสูจน์หลักฐานด้วยวิทยาศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

4. การตีความวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคัดเลือกหลักฐานได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการตีความเจตนาที่แท้จริงของหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้ ขนาด รูปร่าง ลักษณะทางศิลปะ สภาพสังคม ฯลฯ วิเคราะห์ว่าหลักฐานและข้อมูลที่ได้รับแฝงคติความเชื่ออย่างไรบ้าง

5. การเรียบเรียงนำเสนอ
ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีทางประวัติศาสตร์ เมื่อสรุปผลการศึกษาวิจัยได้แล้ว แบ่งออกเป็นการนำเสนอระดับพื้นฐาน เชิงบรรยาย งานเขียน และการนำเสนอระดับวิเคราะห์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

ในทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ทั้งกระแสหลักและกระแสรอง สามารถถูกปรับเปลี่ยนหรือถูกหักล้างลงได้ หากมีหลักฐานหรือชุดข้อมูลที่ใหม่กว่า น่าเชื่อถือกว่าปรากฏขึ้นมาสนับสนุน 

ทุกเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่อมมีความเป็นมา และนัยที่ซ่อนไว้ในแต่ละยุคสมัย ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์แต่ละฉบับ ย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่ช่วยให้เราเข้าสู่กระบวนการที่ "เข้าใกล้" ความจริงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมากที่สุดนั่นเอง

ในทางประวัติศาสตร์

            การศึกษาประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์
 
ในทางประวัติศาสตร์
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง จะต้องมีระเบียบในการศึกษา ที่เรียกว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน
            1. การกำหนดหัวข้อหรือจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเรื่องราวในอดีตที่สนใจใคร่รู้ หรือศึกษา เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่นศึกษาเรื่องอะไร ในช่วง เวลาใด ทำไมหรือเพราะเหตุใด
            2. การค้นหาข้อมูลหรือหลักฐาน และรวบรวมหลักฐานประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวช้องกับเรื่องที่จะต้องศึกษาค้นคว้าทั้งหลักฐาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นจารึก จดหมายเหตุ
ในทางประวัติศาสตร์
 
ในทางประวัติศาสตร์
และหลักฐานที่ไม่ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นโบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์
            3. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐานเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่ได้ รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ   ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ต้องเข้าใจว่าเนื้อหาสาระในหลักฐานที่รวบรวมได้อาจไม่ถูกต้องหรือเป็นความจริงเสมอไป เนื้อหาสาระเหล่านี้ อาจเป็นเพียงข้อสันนิษฐานดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องนำหลักฐานเหล่านั้นมาประเมินหาความน่าเชื่อถือก่อน โดยการตรวจสอบพิจารณา
หลักฐานนั้นๆ อย่างละเอียด เช่นผู้สร้างหลักฐานนั้นเป็นใคร จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด สภาพแวดล้อมของหลักฐานที่สร้างขึ้น เป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลหลักฐานอื่นๆ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานนั้นๆ โดยยึดความอย่างมีเหตุผล เป็นกลางและไม่มีอคติ
            4. การสรุปข้อเท็จจริง เพื่อตอบคำถาม การพิจารณาข้อเท็จจริงจากเนื้อหาสาระที่ปรากฏใน หลักฐาน โดยเริ่มจากการศึกษา สาเหตุที่แท้จริง และสาเหตุที่เป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดความเข้าใจใน ความหมายที่แท้จริงที่ปรากฏในหลักฐาน โดยการวิพากษ์ หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลสำหรับการตีความหรือการแสดงความคิดเห็นจะต้องกระทำตามที่มีข้อมูลปรากฏ ในหลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็น
ผลขณะเดียวกันจะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ใช้ความรู้สึก หรือค่านิยมของคนในปัจจุบันไปตัดสินความประพฤติของคนในอดีต
            5. การนำเสนอเรื่องที่ได้ศึกษา คือการนำเรื่องราวที่ได้ศึกษาด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
ในทางประวัติศาสตร์
มา เรียบเรียงแล้วอธิบายอย่างสมเหตุสมผล มีหลักฐานอ้างอิง และจัดเรื่องราวตามลำดับเวลาของ เหตุการณ์ที่เกิดก่อนหลัง

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

ในทางประวัติศาสตร์
คือร่องรอยของอดีต เป็นสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ ใช้ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์หรือการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมา

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
        1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ คือหลักฐานที่เกิดขึ้นหรือเขียนขึ้นในช่วงเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆเป็นหลักฐานร่วมสมัย เช่น
           1.1 หลักฐานชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นจารึก พงศาวดาร จดหมาย บันทึกของบุคคล ข่าวจากหนังสือพิมพ์ รายงานการประชุม เอกสารราชการต่างๆ ฯลฯ จึงได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด
           1.2 หลักฐานชั้นต้นที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษ เช่นโบราณสถาน โบราณวัตถุ เครื่องประดับ ฟอสซิลโครงกระดูกมนุษย์ ภาพถ่าย ฯลฯ

ในทางประวัติศาสตร์

 สโตนเฮนจ์

ในทางประวัติศาสตร์
กลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ บริเวณที่ราบซัลลิสเบอร์รี ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ
สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว
ภาพจาก : The Complete Illustrated world Encyclopedia of Archeology, P. 179.

ในทางประวัติศาสตร์

ขวานหินยุคหินเก่า อายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว
 พบที่โอลดูเว่ (Olduvai) ประเทศแทนซาเนีย
  ภาพจาก : History of the World : The Human

    2. หลักฐานชั้นรอง หรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นภายหลักที่เหตุการณ์นั้นๆ ได้แก่
            2.1 หลักฐานชั้นรองที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นหนังสือเรียน วิทยานิพนธ์  นวนิยาย บทความ ฯลฯ
            2.2 หลักฐานชั้นรองที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น  ภาพยนตร์ คำบอกเล่าหรือความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์สำคัญต่างๆ

ในทางประวัติศาสตร์

ที่มาของรูปภาพ : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/
presentstu/course/others/wilaiporn/__22.php

ในทางประวัติศาสตร์

สมัยโบราณ
ในทางประวัติศาสตร์
สมัยกลาง สมัยใหม่
ในทางประวัติศาสตร์
สมัยปัจจุบัน
ในทางประวัติศาสตร์

1. หลักฐานประเภท
ลายลักษณ์อักษรเช่น
อักษรเฮียโรกลีฟิกของ
อียิปต์โบราณ อักษรคูนิฟอร์ม
ของชาวสุเมเรียน อักษรฟินิเชียน
อักษรกรีก อักษรโรมัน
2. งานเขียนประวัติศาสตร์
สมัยกรีก เช่น มหากาพย์อีเลียด และโอดีสซี และ
สงครามเปอร์เซียหรือ
ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย
(The Persian Warsin History of Persian War)
หรือตำนานของเฮโรโดตัส
ของโรมัน เช่น ผลงานของลิวี

1. งานเขียนสะท้อนถึง
ความศรัทธาที่มีต่อ
ศาสนาคริสต์ เช่น เทวนคร
ประวัติศาสตร์ของพวกแฟรงก์
(History of Franks)
2. งานเขียนประเภท
บันทึกเหตุการณ์ปัจจุบัน
คือ แอนนัล และแมกนา คาร์ตา
(Magna Carta)





1. คำประกาศอิสรภาพ
ของสหรัฐอเมริกา
(Declaration of independence)
2. รัฐธรรมนูญ

ในทางประวัติศาสตร์
แห่ง
สหรัฐอเมริกา

3. ประวัติศาสตร์ความเสื่อม
และการสิ้นสุดของ
จักรวรรดิโรมัน
(The Dec and Fall of the    Roman Empire)

1. อารยธรรมและทุนนิยม คริสต์ศตวรรษที่ 15-17
2. ศึกษาประวัติศาสตร์
(A Study of History) โดยอาร์โนลด์ ทอยน์บี
(Arnold Toynbee)

3.หลักฐานเกี่ยวกับยุค
จักรวรรดินิยม


ตัวอย่างการศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
   งานค้นคว้าที่ดีจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบเหล่านี้
      1.หัวข้อที่จะค้นคว้าเป็นหัวข้อใหม่ ไม่มีผู้ใดทำการค้นคว้ามาก่อน การเลือกหัวข้อที่จะศึกษาจึงเท่ากันเป็นการนำเรื่องราวใหม่มาให้พิจารณาและรับรู้กัน
      2. ข้อมูลที่จะใช้เพื่อการค้นคว้าเป็นข้อมูลที่ได้มาใหม่ ยังไม่มีผู้ใดเคยใช้ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่เพิ่งเปิดเผยต่อสาธารณชน 
      3. การตีความจากข้อมูล เป็นการตีความใหม่ หรือการมองในแง่มุมที่แตกต่างไปจากเดิม ทำให้ได้ข้อสรุปที่ต่างกัน
        การสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค้นคว้า
หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งในประวัติศาสตร์สากล ที่สนใจเป็นพิเศษ หรือต้องการศึกษาเพิ่มเติมจากที่ได้เรียนในชั้นเรียนให้ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอนดังนี้
      1. กำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา เช่น สนใจเรื่อง แมกนา คาร์ตา ซึ่งเข้าใจว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก ทำให้อังกฤษเป็นประเทศประชาธิปไตย

ในทางประวัติศาสตร์
มานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1215 ความเข้าใจเช่นนี้เกิดจากเอกสารฉบับนี้เป็นการแสดงออกของประมุขอังกฤษในการยอมรับสิทธิเสรีภาพของพลเมือง นักเรียนอาจตั้งหัวข้อในการศึกษาค้นคว้าว่า บทบาทของแมกนา คาร์ตาแมกนากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
     2. การรวบรวมหลักฐาน  ควรรวบรวมทั้งที่เป็นเอกสารชั้นต้นที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศอันได้แก่  แมกนา คาร์ตา หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเมือง การปกครองของอังกฤษสมัยพระเจ้าจอห์น ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อารัมบทและข้อความต่างๆ รวม 63 ข้อ  และภาพวาดของพระเจ้าจอหน์ทรงลงนามในกฎบัตรแมกนา คาร์ตา เพื่อยอมรับข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการจำกัดอำนาจของพระองค์ที่สำคัญ คือ การเรียกร้องภาษีอากรต้องได้รับความเห็นชอบจากขุนนาง และต้องไม่ละเมิดต่อสิทธิของประชาชน ซึ่งหลักฐานเหล่านี้อาจสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ต นอกเหนือจากห้องสมุดของสถานศึกษาต่างๆ
        3. การประเมินคุณค่าหลักฐาน  เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้รวบรวมมาว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เช่นถ้าเป็นเอกสารที่กล่าวอ้างถึงบุคคล ควรตรวจสอบชื่อของบุคคลนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีตัวตนอยู่จริง การตรวจสอบข้อมูลจากข้อความต่างๆในกฎบัตรแมกนา คาร์ตา ควรตรวจสอบกับสภาพสังคม และการเมืองในสมัยนั้นจากเอกสารต่างๆเช่น สังคมและการเมืองของอังกฤษในสมัยฟิวดัล ที่สะท้อนจาก แมกนา คาร์ตา ในข้อกำหนดที่ 8 และข้อกำหนดที่ 15 เรื่องการดำรงอยู่ของสตรีม่าย  และข้อกำหนดที่ 39 และ 40 เป็นการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
        4. การวิเคราะห์  สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล ต้องสำรวจข้อมูลที่คัดเลือกไว้ แล้วจัดข้อมูลเป็นกลุ่มตามหัวข้อหรือตามประเด็น ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีใจเป็นกลาง แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้แยกแยะเป็นหมวดหมู่เพื่อเรียบเรียงต่อไป
        5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ เป็นขั้นตอนสุดท้าย ขั้นนี้เป็นการตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ว่าแมกนา คาร์ตากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จริงหรือไม่ และอย่างไร

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์

ในทางประวัติศาสตร์