ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโปรแกรมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

จะทำให้เขียนโปรแกรมได้ผลลัพธ์ออกมาผิดไปจากสิ่งที่ต้องการด้วย และวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเข้ามาใช้ในโปรแกรมมีอะไรบ้าง  จากโจทย์ข้างต้น สามารถแตกปัญหาได้เป็น 2 ส่วน คือ

          -  ต้องรับข้อมูลเลขจำนวนเต็ม  2  ตัวเข้ามาในโปรแกรม

             วิเคราะห์      กำหนดให้  X  เก็บเลขจำนวนเต็มที่ 1 

                             กำหนดให้  y  เก็บเลขจำนวนเต็มที่ 2

          -  เลขจำนวนเต็มที่ 1 + เลขจำนวนเต็มที่ 2  มีค่าเท่ากับเท่าไร

             วิเคราะห์      กำหนดให้  sum  เก็บค่าผลบวกของเลขจำนวนเต็มทั้ง 2 จำนวน  นั่นคือ  sum = x + y

2. วางแผนและออกแบบ  (Planning & Design) 

          การวางแผน  คือ  การนำปัญหาที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนว่าจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างไร  การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนี้ เรียกว่า  อัลกอริทึม (Algorithm) ซึ่งอัลกอริทึมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

             ซูโดโค้ด (Pseudo code) คือ การเขียนอัลกอริทึมโดย

ใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที  จากโจทย์สามารถเขียนซูโดโค้ดได้ดังนี้

ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโปรแกรมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

จะเห็นว่า  เมื่ออ่านซูโดโค้ดแล้วสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าขั้นตอนการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างไร

            โฟลวชาร์ต (Flowchart)  คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพเป็นตัวสื่อความหมายจากโจทย์ สามารถเขียนโฟลวชาร์ตได้ดังนี้

ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโปรแกรมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

3.  เขียนโปรแกรม (Coding)

          เป็นการนำอัลกอริทึมจากขั้นตอนที่ 2 มาเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ (syntax)  ของภาษาซี  จากโจทย์สามาเขียนโปรแกรมได้ดังนี้

ตัวอย่างแสดง  ซอร์สโค้ด

ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโปรแกรมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

Show

หากนำโปรแกรม มาพิจารณา จะพบว่าการเขียนโปรแกรมมีขั้นตอนเป็นไปตามขั้นตอนของอัลกอริทึมที่ได้วิเคราะห์ขึ้นทุกประการ

ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโปรแกรมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

                   การเขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษาโปรแกรมและระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไร หลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผน การเขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม จัดทำคู่มือและบำรุงรักษาโปรแกรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. วิเคราะห์ปัญหา ( problem analysis)

    เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้เขียนโปรแกรมต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของงาน วิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูลที่นำเข้า รายละเอียดของผลลัพธ์ และวิธีการที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์หรือการประมวลผล สิ่งเหล่านี้ผู้ที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าผู้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ตรงกับความต้องการ

  1. การวางแผนและการออกแบบ (Planning and Design)

      การวางแผน คือ การนำปัญหาที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่ 1  มาวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนว่าต้องเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา
 การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนี้เรียกว่าอัลกอริทึม (Algorithm) ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

          2.1  เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นจากกฎเกณฑ์เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์

          2.2  กฎเกณฑ์ที่สร้างอัลกอริทึมต้องไม่คลุมเครือ อ่านแล้วไม่สับสน อ่านแล้วสามารถเข้าใจตรงกัน

          2.3  การประมวลผลต้องเป็นลำดับขั้นตอนที่แน่นอน

          2.4  กระบวนการต้องให้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดในปัญหา

          2.5  อัลกอริทึมต้องมีจุดสิ้นสุดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ เพราะการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดสิ้นสุด

        3. การเขียนโปรแกรม ( Coding) เป็นการนำอัลกอริทึมจากขั้นตอนที่ 2 เขียนโปรแกรม
ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ (Syntax) ของภาษา ที่ผู้เขียนโปรแกรมเลือกมาใช้ในการแก้ปัญหา

        4. ทดสอบโปรแกรม ( testing) เป็นการนำโปรแกรมที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มาทำการคอมไพล์(complie) เพื่อทดสอบว่า มีข้อผิดพลาดที่จุดใดบ้าง จุดผิดพลาดของโปรแกรมนี้ เรียกว่า บัก (Bug) ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้องเรียกว่า ดีบัก (Debug)ข้อมูลที่นำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้ออกมาถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่โดยทดสอบป้อนข้อมูลที่เป็นไปได้หลาย ๆ ครั้ง ถ้าหากผลลัพธ์ที่ได้มีถูกบ้างผิดบ้าง ทุกครั้งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรมใหม่อีกครั้ง

 โดยทั่วไปแล้วข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมจะมีสองประเภท คือ

4.1 การเขียนคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมภาษานั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า Syntax Error หรือ Coding Error ข้อผิดพลาดประเภทนี้เรามักพบตอนแปลภาษาโปรแกรมเป็นรหัสภาษาเครื่อง