กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

วิทยา ศาสตร์ทาง "การแพทย์" มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โรคภัยไข้เจ็บเป็นอุบัติภัยต่อมนุษย์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งการพัฒนาและหาหนทางป้องกันและต่อต้านโรคร้ายจึงมีต่อเนื่องมาตลอดยุค สมัย

13 ข้อค้นพบเด่นที่ขับเคลื่อนให้วงการแพทย์และเภสัชศาสตร์ได้ตอบสนองความต้อง การในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ได้ ณ ปัจจุบัน มีดังนี้

1. รู้จักร่างกายมนุษย์ (Human Anatomy) ปี 1538

แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius) นักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม ผู้ศึกษากายวิภาคจากศพคนจริงๆ โดยได้ผ่าศพมนุษย์ ทำให้ได้เห็นรายละเอียดทางกายวิภาคของมนุษย์ และล้มล้างคำสอนเกี่ยวกับสรีระที่เชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี โดยเวซาลิอัสเชื่อว่าความเข้าใจทางกายวิภาคของมนุษย์มีความสำคัญเป็นอย่าง มาก และได้ตีพิมพ์หนังสือ "เดอ ฮิวแมนี คอร์พอริส ฟาบริกา" (De Humani Corporis Fabrica) ในปี 1543

นอกจากการค้นพบครั้งนี้ของวีเซเลียสจะทำให้เขากลายเป็น "บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์" แล้วการศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนบังทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคใหม่มากขึ้น

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

2. พบระบบไหลเวียนโลหิต (Blood Circulation) ปี 1628

วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ค้นพบว่าเลือดของคนเรามีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน และมีการไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา (ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าโลหิตไหลกลับไปกลับมาทั่วตลอดทั้งร่างกายเหมือนกับ คลื่นในทะเล) และฮาร์วีย์ก็เรียก "หัวใจ" ว่าเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปั๊มหรือสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย โดยฮาร์วีย์ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ "อนาโตมี เอสเส ออน เดอะ โมชัน ออฟ ฮาร์ต แอนด์ บลัด อิน แอนนิมอลส์" (Anatomical Essay on the Motion of the Heart and Blood in Animals) ในปี 1628 จนกลายเป็นตำราพื้นฐานของสรีรศาสตร์ยุคใหม่

3. พบหมู่โลหิต (Blood Groups) ในปี 1902

คาร์ล แลนด์สไตนเนอร์ (Karl Landsteiner) นักชีววิทยาชาวออสเตรีย และทีมของเขาพบว่า เลือดในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 4 หมู่ ประกอบ ด้วยหมู่โลหิต เอ (A) บี (B) โอ (O) และเอบี (AB) การค้นพบและจำแนกหมู่โลหิตครั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายเลือดระหว่าง บุคคลได้อย่างปลอดภัย และกลายเป็นหลักปฏิบัติอันสำคัญกระทั่งถึงปัจจุบัน

4. สร้างยาสลบ (Anesthesia) ระหว่างปี 1842–1846

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบสารเคมีบางตัวสามารถนำมาใช้เป็นยาสลบได้ โดยช่วยไม่ให้คนไข้เกิดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด ซึ่งยาสลบตัวแรกที่นำมาทดลองใช้ก็คือ "ไนตรัสออกไซด์" (nitrous oxide) หรือก๊าซหัวเราะ และก๊าซอีเทอร์ (ether)

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
5. บังเอิญพบรังสีเอกซเรย์ (X-rays) ในปี 1895

วิลเฮลม์ เรินต์เก็น (Wilhelm Roentgen) พบกับ "เอ็กซเรย์" (X-rays) โดยบังเอิญ ขณะกำลังทดลองการฉายรังสีคาโทด (cathode ray) หรือลำแสงอิเล็กตรอน (electrons) ซึ่งเขาได้สังเกตเห็นว่าลำแสงดังกล่าวสามารถทะลุทะลวงกระดาษดำที่หลอดรังสี คาโทดไว้ เรินต์เก็นจึงคิดว่า เขาได้ค้นพบรังสีชนิดใหม่ขึ้นแล้ว โดยให้ชื่อว่า "X-rays" และเขาได้ใช้ เวลาอีกหลายสัปดาห์ต่อมา สังเกตถึงการทะลุทะลวง (Penetration) ของเอ็กซเรย์ผ่านกระดาษผ่านโลหะและแม้กระทั่งผ่านเนื้อหนังของคน และเขาได้ถ่ายภาพรังสีของมือของภรรยาเขาไว้ด้วย ในที่สุดเขาจึงประกาศให้โลกได้รู้ว่า เขาได้ค้นพบเอ็กซเรย์

การค้นพบของเรินต์เก็นช่วยปฏิวัติวงการฟิสิกส์และแพทย์ แถมยังทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901 อีกด้วย

6. สร้างทฤษฎีเชื้อโรค (Germ Theory) ช่วงปี 1800

หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ผู้พบว่า "จุลชีพ" เป็นเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค แอนแทรกซ์ และพิษสุนัขบ้า ซึ่งในขณะนั้นต่างเป็นโรคลึกลับ

เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจุลินทรีย์ และค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาได้พบว่า จุลินทรีย์มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยพวกที่ให้ประโยชน์คือ พวกยีสต์ เขาได้ศึกษาเรื่องอาหารบูด การทำน้ำส้ม พร้อมทั้งค้นพบ การแก้โรคระบาดของปศุสัตว์และจัดทำเซรุ่มที่ฉีดเข้าไปต่อต้านเชื้อพิษสุนัข บ้าได้สำเร็จ หลังจากพบยาแก้โรคพิษสุนัขบ้าแล้ว หลุยส์ ปาสเตอร์ ยังค้นคว้าหายาแก้โรคอื่นๆอีก เช่น อหิวาตกโรค ไข้คอตีบ วัณโรค

เพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะแรกสุดของมนุษย์

การค้นพบของ หลุยส์ ปาสเตอร์ จึงทำให้เขาได้รับการขนานนามว่า เป็น "บิดาแห่งวิชาแบคทีเรีย" เพราะงานของเขานำไปสู่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แขนงใหม่

7. รู้จักวิตามิน (Vitamins) ก่อนช่วงปี 1900

เฟรเดริก โกวแลนด์ ฮอปกินส์ (Frederick Gowland Hopkins) และอีกหลายๆ คนได้ค้นพบว่า โรคบางอย่างเกิดขึ้นเพราะการขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่าง ต่อมาเรียกสารอาหารที่จำเป็นเหล่านั้นว่า "วิตามิน" ด้วย การทดลองกับสัตว์ในห้องทดลอง ทำให้ฮอปกินส์สรุปว่าวิตามินเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย อันเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างสุขภาพให้สมบูรณ์

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

เพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะแรกสุดของมนุษย

8. เพาะเชื้อสร้าง "เพนิซิลลิน" (Penicillin) ในปีช่วงปี 1920–1930

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Fleming) ค้นพบ "เพนนิซิลลิน" ขณะที่ทำงานอยู่ในห้องทดลอง ซึ่งยาปฏิชีวนะเป็นสารที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ใช้เพื่อต่อสู้กับโรคหลายๆ ชนิด รวมทั้งนิวโมเนียและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เฟลมิงได้เพาะแบคทีเรียในจาน เขาสังเกตเห็นว่ามีเชื้อราสีเขียวอยู่ในจานหนึ่ง และแบคทีเรียตาย เฟลมิงศึกษาเชื้อราแล้วพบว่ามันเป็นเชื้อราที่อยู่ในกลุ่มเชื้อราที่มีรูป ร่างคลายแปรงเรียกว่า เพนิซิลลิน เขาจึงเรียกการค้นพบของเขาว่า "เพนิซิลลิน"

ต่อมาโฮวาร์ด ฟลอรีย์ (Howard Florey) และเอิรน์ บอริส เชน (Ernst Boris Chain) ได้นำเพนิซิลลินมาพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อ และทั้ง 3 คนก็ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกันในปี 1945

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

9. ยาจำพวกซัลฟา (Sulfa Drugs) ช่วงปี 1930

เกอร์ฮาร์ด โดมากค์ ได้นำ"พรอนโทซิล" (Prontosil) ยาที่ย้อมสีแดงส้มมาใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียตระกูลสเตรปโตค็อกคัส ซึ่งนับเป็นยากลุ่มซัลฟาชนิดแรกของโรคที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค และการค้นพบดังกล่าวเปิดประตูสู่การสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อใช้ในทางอายุรเวช โดยมุ่งสร้างยา และยากลุ่มซัลฟาก็ถูกผลิตขึ้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค

10. การปลูกฝี (Vaccination) ในปี 1796

เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) แพทย์ชาวอังกฤษได้ปลูกฝีต้านไข้ทรพิษขึ้นเป็นครั้งแรก เขาเริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไข้ทรพิษครั้งแรกในปี ค.ศ.1792 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดใน ยุโรป เพราะบังเอิญวันหนึ่งเขาได้เห็น หญิงรีดนมวัวและคนอื่นๆ ไมได้ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษเลยนอกจากมีแผลพุพองเล็กน้อย หลังจากนั้นเขาก็ทดลองสกัดหนองจากหญิงเหล่านั้นมาทำให้เชื้ออ่อนลงแล้วนำไป ทดลองกับสัตว์ต่างๆ และทดลองกับเด็กชายคนหนึ่งปรากฏว่าหายจากโรคร้าย

11. พบฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ช่วงปี 1920

การปลูกฝีหรือฉีดวัคซีนช่วยป้องกันโรคให้กับมนุษย์ เฟรเดอริก บานติง (Frederick Banting) และเพื่อนร่วมงาน ค้นพบ ฮอร์โมนอินซูลิน ที่ช่วยสร้างความสมดุลระดับของน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานและทำให้พวกเขาได้มีชีวิตอย่างปกติ ก่อนที่จะค้นพบอินซูลินนั้น ทุกคนรับรู้ว่า "โรคเบาหวาน" หมายถึงความตายที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ

12. ยีนที่ทำให้เกิดมะเร็ง (Oncogenes) ปี 1975

แฮร์โรลด์ วาร์มุส (Harold Varmus) และ ไมเคิล บิชอป (Michael Bishop) พบ "ยีนก่อมะเร็ง" โดย ปกติแล้วยีนจะทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตทุกๆ อย่างในเซลล์ แต่ก็สามารถเปลี่ยนเซลล์ธรรมดาให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ถ้ามีปัจจัยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์หรือแสดงออกในลักษณะผิดปกติ เซลล์มะเร็งนี้เป็นเซลล์ที่เพิ่มจำนวนทวีคูณโดยไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยในการกลายพันธุ์ที่สำคัญนั้นมาจากการได้รับพิษจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการรับรังสีหรือสูบบุหรี่

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

ภาพจำลองเชื้อ เอชไอวี อันเป็นเหตุให้เกิดโรคเอดส

13. "เอชไอวี" กลุ่มไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (The Human Retrovirus HIV) ในช่วงปี 1980

โรเบิร์ต กาลโล (Robert Gallo) จากสหรัฐอเมริกา และ ลุค มอนทาเนียร์ (Luc Montagnier) จากฝรั่งเศส สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้ เรียกชื่อไวรัสนี้ว่า เอช-ไอ-วี HIV = Human Immunodeficiency Virus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในคน) ส่วนโรคเอดส์ เรียกว่า "โรคภูมิต้านทานบกพร่อง" (AIDS ย่อมากจากคำว่า Acquired= เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ใช่เป็นแต่กำเนิด, Immune= ภูมิคุ้มกัน, Deficiency= บกพร่องหรือเสียไป, Syndrome = กลุ่ม อาการหรือมีอาการได้หลายๆ อย่าง) มีการรายงานเป็นครั้งแรก 2 ปีก่อนหน้าที่ทั้ง 2 จะค้นพบเชื้อเอชไอวี

การค้นพบทางการแพทย์เชื่อว่ายังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะนอกจากความพยายามศึกษาและหาทางเอาชนะโรคร้ายที่อยู่คู่กับมวลมนุษย์มา แต่ไหนแต่ไรแล้ว เรายังจะต้องป้องกันโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายอย่างไม่หยุดหย่อนทั้งเกิดจากความผิดพลาดจากร่างกายของเรา และการก่อกำเนิดจากสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน