สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยืดเยื้อยาวนานกว่า 4 ปี ในที่สุดเยอรมนี ในฐานะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขอเจรจาสงบศึกในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1918 จากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ดังนั้นชาวโลกจึงนับให้วันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปีเป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ

สงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งแรกที่ขยายขอบเขตกว้างขวาง เนื่องจากเป็นความขัดแย้งที่ประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง ก่อนที่อิตาลีและสหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมในภายหลัง 

สำหรับประเทศสยาม ช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อุบัติขึ้นและดำเนินไปนั้น ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ได้ทรงประกาศร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยได้ส่งกองทหารอาสาจำนวน 1,284 นาย จากกองทัพบกรถยนต์และกองบินทหารบกไปยังฝรั่งเศส นับเป็น 1 ใน 3 ประเทศในเอเชียที่ประกาศร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร

ภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าทหารอาสาสมัครได้เดินทางกลับถึงประเทศ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2462 (ค.ศ. 1919) โดยได้เชิญอัฐิของทหารที่เสียชีวิตในราชการสงคราม จำนวน 19 นาย กลับสู่ภูมิลำเนาด้วย โดยในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์เป็นที่บรรจุอัฐิ และเป็นอนุสรณ์สถานถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และได้พระราชทานนามว่า ‘อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ 1’ เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมแห่งการเสียสละของเหล่าทหารอาสา และได้มีการจัดพิธีวางพวงมาลาในวันที่ 11 พฤศิกายนของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็น ‘วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1’

TAGS:  


สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

คือ สงครามแห่งความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1914 ถึงค.ศ.1918 ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1

1.ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

2.การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยม  ชาติมหาอำนาจในยุโรปได้ขยายอำนาจและอิทธิพลออกไปสู่ดินแดนนอกทวีป

3. การเกิดลัทธิชาตินิยม   เป็นความรู้สึกรักและภูมิใจในชาติของตนอย่างรุ่นแรง

 4.ปรารถนาจะเห็นชาติของตนมีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือชนชาติอื่น  โดยการสร้างกองทัพให้เข้มแข็งรุกรานชนชาติอื่น

ภาพบุคคลสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

บิสมารค์ ชาวเยอรมัน

การรวมกลุ่มของยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

ฝ่ายไตรภาคี  Triple Alliance

ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรเลีย-ฮังการี และอิตาลี

หมายเหตุ ก่อนการจัดตั้งเป็น Triple Alliance ได้มีการรวมกลุ่ม ชื่อว่า Triple Emperor (สัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ) ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย

ฝ่ายไตรพันธมิตร Triple Entente

ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

ลำดับเหตุการณ์การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1

-ออสเตรีย-ฮังการีประกาศสงครามกับ เซอร์เบีย (เข้ากับพวกสลาฟ)

-รุสเซียและฝรั่งเศสเข้าช่วยเหลือเซอร์เบีย

-เยอรมันเข้าช่วยเหลือออสเตรีย-ฮังการี

-เยอรมันบุกผ่านเบลเยี่ยมเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส

-แต่เบลเยี่ยมได้รับความเป็นกลางจากอังกฤษ

-ดังนั้นอังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมัน

-อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี

การแบ่งฝ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 1  (อาศัยผลประโยชน์เป็นสำคัญ)

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

•ออสเตรีย-ฮังการี  

• เยอรมัน

• ตุรกี             

• บัลกาเรีย

ฝ่ายสัมพันธมิตร

เซียร์เบีย  รุสเซีย (รัสเซีย)   ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น อิตาลี โปรตุเกต โรมาเนีย  ไทย    จีน     สหรัฐอเมริกา

สนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงได้อย่างไร

สนามเพลาะ คือแนวตั้งรับในการทำสงคราม ด้วยการขุดหลุมเพลาะเป็นแนวยาวเหยียดหลายแนวสลับซับซ้อนกัน ไป ด้านหน้าทำการสร้างลวดหนามไว้ต้านทานทหารของฝ่ายข้าศึก ทหารจะอาศัยอยู่ในรูที่ ขุดเข้าไปใต้ดินเพื่อหลบลูกกระสุนปืนใหญ่ของข้าศึกและใช้หลับนอนอยู่อาศัย พอข้าศึกบุก ก็จะเข้าไปประจำในสนามเพลาะทำการยิงปืนยาวสกัดข้าศึกที่ดาหน้าฝ่าแนวลวดหนาม เข้ามารวมทั้งใช้ปืนกลและปืนใหญ่ของฝ่ายเดียวกันช่วยยิงสกัดข้าศึกด้วย พอจะทำการรุกทหารก็จะขึ้นจากสนามเพลาะของตนวิ่งข้ามเขตปลอดคน(No man land)

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1

1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่าย

2. ประเทศผู้แพ้สงครามถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญา ได้แก่

  สนธิสัญญาแวร์ซายส์  ทำกับประเทศเยอรมัน

  สนธิสัญญาตรีอานอง  ทำกับประเทศฮังการี

  สนธิสัญญาเนยยี  ทำกับประเทศบัลแกเรีย

  สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมง  ทำกับประเทศออสเตรีย

  สนธิสัญญาแซฟส์  ทำกับประเทศตุรกี

3.มีคำแถลงการณ์ 14 ประการของประธานาธิบดีวูดโรล์ วิลสัน นำไปสู่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (อเมริกาไม่เข้าร่วม/และไม่มีกำลังทหาร)    

4 ตุลาคม ค.ศ. 1918 เยอรมนีได้ส่งคำร้องขอยุติสงครามไปยัง วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีของสหรัฐในขณะนั้น วูดโรว์ วิลสัน ได้ยื่นเงื่อนไขในการยุติสงคราม
14 ข้อ โดยไม่ได้ปรึกษากับฝ่ายพันธมิตร
    1. ห้ามทำสนธิสัญญาลับระหว่างประเทศ
    2. เสรีภาพทางท้องทะเลแม้ในยามสงคราม
    3. การค้าเสรีระหว่างประเทศ
    4. การลดอาวุธ
    5. แก้ไขการอ้างสิทธิอาณานิคม
    6. เยอรมนีต้องถอนตัวออกจากดินแดนของรัสเซีย
    7. อิสรภาพของเบลเยี่ยม
    8. ต้องคืนแคว้นอัลซัค – ลอร์เรนให้ฝรั่งเศส
    9. ต้องปรับพรมแดนของอิตาลี
   10. ให้โอกาสปกครองตนเอง แก่จักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี
   11. ต้องฟื้นฟูรัฐบอลข่าน และเซอร์เบียต้องมีทางออกทะเล
   12. ประชากรที่ไม่ใช่ชาวเติร์กในจักรวรรดิตุรกีต้องเป็นอิสระ
   13. สร้างโปแลนด์ขึ้นใหม่
   14. ต้องจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ

4.เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เนื่องจากทุกประเทศทั่วโลกได้รับความเสียหายจากสงคราม

5. ทำให้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของยุโรป ได้ล้มสลายลง เช่น จักรวรรดิรัสเซีย  จักรวรรดิเยอรมัน  จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมันต้องล่มสลายลง

6.เกิดประเทศใหม่ในยุโรป เช่น เชคโกสโลวาเกียและยูโกสลาเวียแยกออกจากรัสเซีย ออสเตรีย  ฮังการี  ถูกแยกออกจากกัน   โปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย แยกเป็นประเทศใหม่

ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1

เหตุผลที่ไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่1 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ โดยไทยต้องเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะต้องการแก้ไขความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาเบาร์ริ่งสมัยรัชกาลที่ ๔

ผลของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1ของประเทศไทย

ไทยเข้าร่วมสงคราม อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร  
-ได้รับการยกเลิกสนธิสัญญาบาวริ่ง จากการช่วยเหลือขอ ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (พระยากัลยาณไมตรี)
-ไทยได้รับเงินค่าปฏิกรรมสงครามมาจำนวน 2,000,000 บาท
-ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาต