Google my business เข้า สู่ ระบบ

ในสถานการณ์วิกฤตที่ทุกคนจำเป็นต้องเก็บตัวอยูที่บ้าน การค้นหาข้อมูลร้านค้าโดยเฉพาะร้านอาหารให้บริการ Delivery อาหารมาส่งที่บ้าน จึงใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลักด้วยการค้นหาใน Google Search หรือ Google Maps ทำให้การโฆษณาในโลกออนไลน์ประกาศให้โลกรู้ว่ามีร้านของเราเปิดขายอยู่ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้สินค้าบริการดีมีคุณภาพ เพราะถ้าของดีแต่คนไม่รู้ว่ามีก็ขายไม่ได้ แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ครั้นจะซื้อโฆษณาออนไลน์แบบจัดเต็มเป็นหมื่นเป็นแสนบาทก็อาจจะไม่คุ้ม  Google My Business จึงเป็นบริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายที่ตอบโจทย์ธุรกิจ SME ได้ตรงจุด และเหล่านี้คือ 4 ประโยชน์ที่ธุรกิจ SME จะได้จากการปักหมุดร้านค้า

Google my business เข้า สู่ ระบบ

1. เปิดโอกาสทางธุรกิจ ด้วยสร้างตัวตนธุรกิจของคุณบนโลกออนไลน์

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันที่นิยมการค้นหา (search) ข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ โดยคนไทยร้อยละ 99.33% เสิร์จข้อมูลผ่าน Google การสร้างตัวตนธุรกิจบนโลกออนไลน์ด้วยเครื่องมือ Google My Business อย่าง Google Search และ Google Maps  จึงเป็นการเปิดตัวให้คนไทยหลายสิบล้านคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้รู้จักธุรกิจของเรา และจากเทรนด์การใช้คำค้นหา “ใกล้ฉัน” เช่น “ร้านอาหารใกล้ฉัน” “ร้านกาแฟใกล้ฉัน” ฯลฯ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นโอกาสให้ร้านค้าของเราได้ปรากฏบนหน้าจอมือถือของว่าที่ลูกค้า นับเป็นการโฆษณาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจขนาดเล็กอย่ามองข้ามด้วยประการทั้งปวง

Google my business เข้า สู่ ระบบ

2 ใกล้ไกลแค่ไหน ก็ขายของได้

ในยุคที่บริการ Delivery เฟื่องฟูและการโอนจ่ายเงินผ่านแอปมือถือได้สะดวกสบายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ระยะทางจึงไม่ใช่อุปสรรคในการขาย ยิ่งในสถานการณ์ที่คนไม่ออกจากบ้าน ธุรกิจร้านอาหารต้องขายด้วยบริการ Delivery เป็นหลัก การปักหมุด Google My Business สร้างตัวตนร้านค้าบนโลกออนไลน์ให้ลูกค้าเสิร์จหาร้านของเราเจอ ไม่ว่าจะไกลใกล้แค่ไหน ลูกค้าก็พร้อมจะโทรสั่งให้อาหารของเราไปส่งถึงที่บ้านและที่สำคัญด้วยสถิติตัวเลขที่ทาง Google My Business เก็บรวบรวมไว้ เจ้าของธุรกิจสามรถดูได้ว่าลูกค้าค้นหาธุรกิจของคุณอย่างไร และศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการทำตลาดเปิดโอกาสเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้อีกด้วย

Google my business เข้า สู่ ระบบ

3.  รีวิวด้านบวกมา ยอดขายก็ยิ่งดี

ในโลกออฟไลน์ พลัง Word of Mouth มีผลต่อธุรกิจอย่างไร ในโลกออนไลน์ การ Review ของลูกค้าก็เป็นเช่นนั้น บน Google My Business เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้มารีวิวร้าน และเจ้าของธุรกิจได้ทำความรู้จักกับลูกค้ามากขึ้นไม่ว่าจะเป็นตอบรีวิว ตอบข้อความและคำถาม และติดต่อกับลูกค้าที่สนใจ ประกอบกับที่ Google มีโปรแกรมแปลภาษา การโพสต์รีวิวภาษาอื่นก็ได้รับการแปลอัตโนมัติ จึงไม่มีอุปสรรคด้านภาษาในการดูแลลูกค้าอีกต่อไป


การที่เจ้าของธุรกิจได้รู้ความคิดเห็นรีวิวจากลูกค้า ย่อมเป็นข้อมูล insight ให้สามารถพัฒนาปรับปรุงสินค้าบริการ และทำโปรโมชั่นตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้า นำไปสู่รีวิวเชิงบวกและสร้างโอกาสการขายที่มากกว่าเดิม โดยจากสถิติ  66% ของลูกค้าบอกว่ารีวิวเชิงบวกช่วยพวกเขาตัดสินใจเลือกร้านค้าร้านนั้น1

Google my business เข้า สู่ ระบบ

4. ทำโฆษณาฟรีแบบเรียลไทม์ ด้วยการอัพโหลดรายละเอียด โปรไฟล์ รูปร้านค้า

ข้อดีที่สำคัญของ Google My Business คือเจ้าของธุรกิจสามารถแชร์ข้อมูลทั่วไป เช่น ที่อยู่สถานที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ เว็บไซต์ เวลาทำการ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เช่นถ้าเป็นร้านอาหาร ก็เป็นบรรยากาศร้าน เมนูอาหาร หน้าตาอาหาร ฯลฯ พื้นที่ตรงนี้เปรียบเสมือนเป็นเว็บไซต์ย่อมๆ ให้คนที่เสิร์จเจอรู้ข้อมูลร้านค้าของคุณได้ทันทีซึ่งมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจว่าจะมาที่ร้านของคุณหรือไม่


ทั้งนี้ การใส่ข้อมูล เบอร์โทร เวลาปิดเปิด และหมั่นอัพเดทรูปภาพสำคัญมาก เพราะจากสถิติแล้ว 96% ของลูกค้ามีแนวโน้มที่จะเข้าไปเยี่ยมชมธุรกิจแสดงเวลาทำการ2 ขณะที่ 90% ของลูกค้ามีแนวโน้มที่จะไปเยี่ยมชมธุรกิจที่แสดงเบอร์โทรศัพท์3 ขณะเดียวกัน ลูกค้าจะกดขอเส้นทางธุรกิจที่มีรูปภาพสูงขึ้นถึง 42% เมื่อเทียบกับที่ไม่ได้ใส่รูปภาพ4 และขอเส้นทางธุรกิจที่กรอกข้อมูลครบถ้วนสูงกว่าถึง 7 เท่า5


แม้ในช่วงวิกฤต ก็อย่าปล่อยให้โอกาสของธุรกิจคุณหลุดลอยไป วันนี้คุณสามารถสมัคร Google My Business และยืนยันตัวตนได้แล้วง่ายๆ ใช้เวลาเพียง 30 นาที ผ่านแอป SCB EASY หรือ สาขา SCB ทั่วประเทศ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อไปที่สาขาคือ บัตรประชาชน เอกสารยืนยันที่อยู่ของร้าน และบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ หากไม่มีบัญชี สามารถเปิดบัญชีได้ในเวลาเพียง 10 นาที แค่นี้ก็เริ่มทำการปักหมุดร้านค้าของคุณบน Google ได้ง่ายๆ สะดวกรวดเร็ว

ข้อมูล

Google my business เข้า สู่ ระบบ

02 Aug Google My Business คืออะไร

Posted at 14:42h in Technology News

Google my business เข้า สู่ ระบบ

Google My Business คือบริการฟรีจาก Google ที่ช่วยสนับสนุนร้านค้าและธุรกิจท้องถิ่นให้สามารถเพิ่มข้อมูลธุรกิจลงในฐานข้อมูลของ Google และจะแสดงผลเมื่อมีการค้นหา “ชื่อธุรกิจของคุณ” ที่เพิ่มลงไปแล้ว ซึ่งข้อมูลของธุรกิจคุณจะปรากฏบนผลิตภัณฑ์ในเครือต่างๆ ของ Google เช่น บน Google Maps และ Google Search ทั้งแผนที่ ชื่อธุรกิจ เวลาทำการ นอกจากนี้ Google ได้เพิ่ม Feature ใหม่ที่เรียกว่า “Post” ซึ่งทำให้ธุรกิจของคุณสามารถใส่ โปรโมชั่น หรือ ข้อมูลเพิ่มเดิม ได้มากขึ้น

ทำไมคุณจึงควรสมัครใช้ Google My Business?

เพราะประโยชน์ต่างๆที่คุณจะได้รับยังไงล่ะ ประโยชน์ทั้งหลายนั้นได้แก่

  • ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจคุณง่ายขึ้น
  • ช่วยให้ลูกค้าค้นพบผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ รวมทั้งรูปภาพต่างๆ
  • ช่วยแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับร้าน เช่น เวลาเปิด-ปิด เบอร์โทร เพื่อให้มีการติดต่อง่ายขึ้น
  • ช่วยแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ Promotion หรือ Event ณ ขณะนั้นได้ (มาใหม่)
  • ช่วยบอกตำแหน่งที่ตั้งร้านค้าของคุณ ใส่ได้ทุกสาขาที่คุณมี
  • ข้อมูลธุรกิจของคุณจะปรากฏใน Google Search, Google Maps และ Google+
  • ข้อมูลธุรกิจของคุณจะมีความน่าเชื่อถือขึ้นถึง 2 เท่า หากได้รับการยืนยันบน Google
  • ช่วยรวบรวมรีวิวลูกค้าและโต้ตอบกับลูกค้าได้
  • ช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่
  • สามารถโฆษณาผ่าน AdWords Express เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าชมได้ฟรี

 
Google my business เข้า สู่ ระบบ

ขั้นตอนการสมัครใช้ Google My Business ยากหรือไม่?

ทำได้ไม่ยากแค่เริ่มขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  1. ลงชื่อสมัครใช้ Google My Business
  2. ตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจ
  3. การยืนยันธุรกิจของคุณ

ขั้นตอนที่ 1 ลงชื่อสมัครใช้ Google My Business

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อลงชื่อสมัครใช้

  1. ไปที่ google.com/business และคลิกเริ่มเลยที่มุมขวาบนของเพจ
  2. ลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google หรือสร้างบัญชีหากคุณยังไม่เคยใช้บริการต่างๆ ของ Google
  3. ป้อนชื่อธุรกิจของคุณแล้วคลิกถัดไป
  • หมายเหตุ: คุณเลือกธุรกิจจากคำแนะนำที่ปรากฏขณะพิมพ์ได้ด้วย
  1. ป้อนที่อยู่ของธุรกิจแล้วคลิกถัดไป คุณอาจได้รับแจ้งให้วางเครื่องหมาย Pin ไว้ที่ตำแหน่งของธุรกิจในแผนที่ด้วย
  • หากคุณจัดการธุรกิจที่ให้บริการตามสถานที่ ให้ทำตามขั้นตอนเพิ่มเติมต่อไปนี้
  • ทำเครื่องหมายในช่องฉันจัดส่งสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า หรือทำเครื่องหมายในช่องซ่อนที่อยู่ของฉัน (ที่อยู่นี้ไม่ใช่หน้าร้าน) แสดงเฉพาะเขตพื้นที่ –
  • คลิกถัดไป
  • เลือกตัวเลือกพื้นที่จัดส่งแล้วคลิกถัดไป
  1. ค้นหาและเลือกหมวดหมู่ธุรกิจแล้วคลิกถัดไป
  2. ป้อนหมายเลขโทรศัพท์หรือ URL เว็บไซต์ของธุรกิจ
  3. ในการลงชื่อสมัครใช้ให้เสร็จสมบูรณ์ ให้ยืนยันการเชื่อมต่อกับธุรกิจนี้โดยคลิกดำเนินการต่อ
  4. เลือกตัวเลือกการยืนยัน
  • หากยังไม่ต้องการยืนยัน ให้เลือกลองใช้วิธีอื่น แล้วคลิกภายหลัง หากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้จัดการธุรกิจ ให้หาบุคคลในองค์กรที่ได้รับอนุญาตและดำเนินการต่อ

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจ

ไม่ว่าคุณจะเห็นอะไร ให้ยืนยันว่าข้อมูลทางธุรกิจถูกต้อง สิ่งสำคัญเมื่อยืนยันข้อมูลทางธุรกิจคือข้อมูลทั้งหมดต้องพร้อมปรากฏจริงต่อลูกค้าใน Google

หากต้องการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. คลิกภายหลัง
  2. หากคุณจัดการสถานที่มากกว่า 1 แห่ง ให้เปิดเมนู และคลิกจัดการสถานที่จากนั้นเลือกสถานที่ที่ต้องการแก้ไข
  3. คลิกข้อมูลจากเมนูทางด้านซ้ายของหน้าจอ
  4. คลิกแก้ไข ข้างส่วนที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงแต่ละส่วน แล้วป้อนข้อมูลธุรกิจ

เมื่ออ้างสิทธิ์หรือสร้างรายชื่อเสร็จก็ถึงเวลายืนยันธุรกิจ ข้อมูลทางธุรกิจจะมีสิทธิ์ปรากฏใน Google หลังจากที่ยืนยันแล้ว

ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันธุรกิจของคุณ

การยืนยันช่วยรับประกันความถูกต้องของข้อมูลทางธุรกิจของคุณใน Google ธุรกิจที่ได้รับการยืนยันแล้วมีแนวโน้มที่ผู้ใช้จะ มองว่าน่าเชื่อถือขึ้นถึง 2 เท่า นอกจากนี้การยืนยันยังช่วยปกป้องคุณจากผู้ที่อาจแสร้งทำเป็นตัวแทนของธุรกิจของคุณ คุณจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลทางธุรกิจที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ของ Google ได้จนกว่าจะเสร็จสิ้นการยืนยัน หากคุณดำเนินการต่อไปยังการยืนยันโดยตรงหลังจากที่ลงชื่อสมัครใช้ คุณจะเห็นข้อความส่งไปรษณีย์ที่มุมซ้ายบนของเพจเหนือแผนที่ที่ปักหมุดธุรกิจของคุณไว้

  1. หากข้อมูลทางธุรกิจของคุณถูกต้อง คลิกส่งไปรษณีย์อย่าคลิกยืนยันภายหลังด้านล่าง
  2. ป้อนชื่อของผู้รับไปรษณียบัตรยืนยัน (คุณจะป้อนหรือไม่ป้อนก็ได้ตามต้องการ) Google จะส่งไปรษณียบัตรไปตามที่อยู่ที่คุณระบุไว้ให้กับธุรกิจของคุณ
  3. คลิกส่งไปรษณียบัตรอาจมีกรณีที่คุณลงชื่อสมัครใช้ Google My Business แล้วหยุดดำเนินการก่อนที่จะถึงช่วงเริ่มต้นกระบวนการยืนยัน ในกรณี ดังกล่าว ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

3.1 ลงชื่อเข้าใช้ที่ google.com/business แผงควบคุม Google My Business ของคุณจะปรากฏขึ้น
3.2 ค้นหาแบนเนอร์สีแดงที่ด้านบนของเพจ แล้วคลิกปุ่มยืนยันเดี๋ยวนี้ทางด้านขวา
3.3 คุณจะเห็นข้อความส่งไปรษณีย์ที่มุมซ้ายบนของเพจ เหนือแผนที่ที่ปักหมุดธุรกิจของคุณไว้ ยืนยันว่าข้อมูลทางธุรกิจของ คุณถูกต้อง แล้วคลิกส่งไปรษณีย์อย่าคลิกยืนยันภายหลังด้านล่าง
3.4 ป้อนชื่อของผู้รับไปรษณียบัตรยืนยัน (คุณจะป้อนหรือไม่ป้อนก็ได้ตามต้องการ) เราจะส่งไปรษณียบ��ตรไปตามที่อยู่ที่คุณระบุไว้ให้กับธุรกิจของคุณ
3.5 คลิกส่งไปรษณียบัตร
3.6 เมื่อคุณได้รับไปรษณีย์จาก Google ตามที่อยู่ธุรกิจของคุณ ไปรษณียบัตรจะมีรหัสยืนยันที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งคุณจะใช้ป้อนลง ใน google.com/business แล้วเลือกตามหมุด หรือสถานที่ในธุรกิจของคุณ เมื่อป้อนรหัสเป็นที่เรียบร้อย ธุรกิจจะได้รับการยืนยัน และคุณจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลธุรกิจ แชร์รูปภาพ และเขียนโพสต์ที่อาจปรากฏใน Google Search, แผนที่ และ Google+ ได้
3.7 อาจใช้เวลาราว 2-3 สัปดาห์ก่อนที่ข้อมูลทางธุรกิจของคุณจะปรากฏใน Google เมื่อข้อมูลแสดงขึ้นแล้ว ให้ตรวจสอบรายชื่อ เพียงค้นหาชื่อธุรกิจและเมืองใน Google Search หรือ Maps และดูผลลัพธ์ที่ปรากฏ

สรุปวิธีการสมัครและยืนยันธุรกิจกับ Google My Business

  • ใช้บัญชี Gmail ของคุณ เพื่อสมัครและชื่อสมัครใช้ Google My Business ด้วยข้อมูลธุรกิจของคุณ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และประเภทของธุรกิจ
  • Google จะสร้างหน้า Google+ ของธุรกิจคุณให้และคุณต้องเป็นคนขอให้ Google จัดส่งไปรษณียบัตรที่มีรหัสยืนยันมาให้ ตามที่อยู่ธุรกิจของคุณ
  • ระหว่างที่รอ Google ส่งไปรษณียบัตรมาให้ ประมาณ 3-4 วัน ให้คุณเข้าไปจัดการหน้า Google+ โดยใส่ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รูปภาพ ข้อความแนะนำธุรกิจและที่สำคัญอย่าลืมใส่ URL เว็บไซต์ของคุณเข้าไปด้วย
  • เมื่อได้รับไปรษณียบัตรจาก Google แล้วให้คุณนำรหัสยืนยันมากรอกก็เป็นอันจบขั้นตอนทั้งหมด

ขอบคุณเนื้อหาจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • About the Author
  • Latest Posts

  • Google Workspace เครื่องมือทำงานที่ทุกองค์กรควรใช้  - July 14, 2022
  • สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจใช้ ERP - May 20, 2022
  • ความแตกต่างของ ERP และระบบบัญชี  - March 30, 2022
  • Man & Metaverse – เราจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับ Metaverse อย่างไรนับจากนี้  - December 24, 2021
  • SAP Business One – ERP Software สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง - December 14, 2021
  • Aware-AWS Cloud Journey Webinar Series | EP1: Start Your Cloud Journey with AWS - October 8, 2021
  • จนถึงตอนนี้แล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation อยู่อีกไหม?  - September 30, 2021
  • 5 สัญญาณที่บอกว่าองค์กรของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะไซโล - September 20, 2021
  • ความต่างระหว่าง Data lakes และ Data warehouses  - September 14, 2021
  • ATS สมัครงาน 092021 | Job Description & Requirement - September 13, 2021