คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

google-sketchup.png (120.06 KiB) Viewed 4798 times

วันนี้ผมจะแนะส่วนประกอบของโปรแกรม Google Sketup 8 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ Model 3 มิติ สามารถสร้างงานเขียนแบบหรือภาพจำลองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานโปรแกรม 3 มิติมาก่อน ก็สามารถที่จะเรียนรู้ และลองหัดสร้าง Model 3 มิติด้วยเครื่องมือที่มีให้ในโปรแกรมได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

google66.jpg (114.67 KiB) Viewed 4798 times

หมายเลข 1 Title Bar (แถบไตเติล) แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

หมายเลข 2 Menu Bar (แถบเมนู) แถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆในการทำงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้

  • 1. File: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น
    2. Edit: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้าง Group/Component
    3. View: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำงานเช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงา หมอก การ แสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component เป็นต้น
    4. Camera: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทำงานเช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น
    5. Draw: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง โค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม
    6. Tools: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงานเช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น
    7. Window: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทำงานและปรับแต่งค่าต่างๆของโปรแกรม
    8. Help: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต

หมายเลข 3 Toolbars (แถบเครื่องมือ) แถบสำหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆในการทำงาน โดยในขั้นต้นโปรแกรมจะกำหนดแถบเครื่องมือมาให้กลุ่มเดียว คือ Getting Start ซึ่งในการทำงานจริงเครื่องมือเพียงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อการทำงาน เราสามารถที่จะเรียกแสดงแถบเครื่องมือกลุ่มต่างๆได้จากเมนู View > Toolbars แล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ โดยแถบเครื่องมือที่แสดงอยู่จะมีเครื่องหมายDrawing Area(พื้นที่ทำงาน) เป็นพื้นที่สำหรับทำงานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทำงานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

หมายเลข 4 Drawing Area(พื้นที่ทำงาน) เป็นพื้นที่สำหรับทำงานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทำงานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

หมายเลข 5 Drawing Axes(แกนอ้างอิง) คือเส้นแกนสำหรับอ้างอิงการทำงานเพื่อให้การวาดรูปทรงและการสร้างแบบจำลองในทิศทางต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำโดยแกนอ้างอิงจะแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกันคือ x จะอยู่ในลักษณะของแนวขวาง (แกนสีแดง), y จะอยู่ในลักษณะของแนวลึก (แกนสีเขียว) และ z จะอยู่ในลักษณะของแนวตั้ง (แกนสีน้ำเงิน)

หมายเลข 6 Status Bar (แถบสถานะ) คือแถบแสดงสถานะต่างๆในการทำงาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆที่จะเปลี่ยนไปตามการทำงานและการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด ใน Google SketchUp

หมายเลข 7 Dialog Boxes (กล่องเครื่องมือ) จะมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกันเช่น Window หรือ Panel ขอเรียกรวมๆว่าหน้าต่างเพื่อความกระชับ โดยจะมีลักษณะเป็นหน้าต่างเครื่องมือสำหรับปรับแต่งแก้ไขรายละเอียดในการทำงาน และกำหนดค่าต่างๆของโปรแกรม การเรียกแสดงหน้าต่างแต่ละชนิดสามารถเรียกได้จากเมนู Window แล้วเลือกเปิดหน้าต่างที่ต้องการ โดยหน้าต่างที่เปิดอยู่ จะมีเครื่องหมายถูกกำกับไว้อยู่ที่หน้าคำสั่ง (เฉพาะหน้าต่างที่เกี่ยวกับการปรับแต่งโมเดล) และถ้ามีเครื่องหมายขีดอยู่ด้านหน้าจะหมายถึงหน้าต่างนั้นเปิดอยู่แต่ถูกย่อเอาไว้เหลือเพียงแถบไตเติล

อ้างอิงแหล่งที่มารูปภาพ : https://www.google.com

1.3 การติดตั้งโปรแกรม Google Sketchup 8

การดาวน์โหลดและติดตั้ง Google SketchUp

การดาวน์โหลดโปรแกรม

เปิด Google chrome เข้าไปที่ http://www.sketchup.com/intl/en/download/index.html สามารถเลือกดาวน์โหลดเวอร์ชันที่เราต้องการ ถ้าเป็นเวอร์ชัน 8 สามารถดาวน์โหลดได้เลย แต่ถ้าเป็น SketchUp Pro 8 ต้องกรอกรายละเอียด จึงจะสามารถดาวน์โหลดได้ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จจะได้ไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้ง ดังรูปภาพต่อไปนี้

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

การติดตั้งโปรแกรม

การติดตั้งโปรแกรม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) ดับเบิลคลิกไฟล์ติดตั้ง (Instalador Google SketchUp) เพื่อ Extract ไฟล์ ดังภาพ

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

3) คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement แล้วกด Next

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

4) เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการติดตั้ง แล้วกดปุ่ม Next

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

5) กดปุ่ม Install เพื่่อทำการติดตั้งโปรแกรม Google SketchUp

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

6) กดปุ่ม Finish เพื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม

คุณสมบัติของโปรแกรม google sketchup8

สำหรับ Google SketchUp 8 เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนตัวโดยมีชุดคำสั่งพื้นฐานสำหรับสร้างโมเดลด้วยตนเองแบบง่ายๆ แต่ความสามารถในการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนยังไม่ดีพอ

ส่วน Google SketchUp Pro 8 เหมาะสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังมี LayOut และ Style Builder ติดตั้งมาด้วย ทั้งสองส่วนจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และมีความน่าสนใจมากขึ้นในการผลิตชิ้นงานและการนำเสนอชิ้นงาน

ที่มา : http://edkrucom.blogspot.com/2012/09/google-sketchup.html