อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

1. เครือข่ายระดับบุคล  ( Personal Area Network หรือ PAN )

เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. เครือข่ายระดับท้องถิ่น ( Local Area Network หรือ LAN )

เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

 

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)

เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN

 

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)

เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

 

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวชี้วัด

ง 3.1    ม.2/1   อธิบายหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1) อธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดได้ (K)

2) มีทักษะในการจำแนกแยกและยกตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดได้  (P)

3) มีความระมัดระวัง รอบคอบ และมีระเบียบในการปฏิบัติ กิจกรรม  (A)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันตั้งแต่  2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 4 ชนิดดังนี้

  1. เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน (Personal Area Network: PAN)
  2. เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน (Local Area Network: LAN)
  3. เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN)
  4. เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน (Wide Area Network: WAN)
  1. Personal Area Network : PAN

เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้งาน แพนที่ใช้ในปัจจุบันคือแพนไร้สาย (Wireless PAN: WPAN) มีการใช้งานอย่างแพร่หลายซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ในระยะไม่เกิน 10 เมตรเช่น ใช้เทคโนโลยีบลูทูท (Bluetooth technology) เชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับหูฟังและไมโครโฟนไร้สาย ใช้คลื่นวิทยุเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับเมาส์หรือคีย์บอร์ดแบบไร้สาย ใช้อินฟราเรดหรือบลูทูทเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องพิมพ์เข้าด้วยกัน

  

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแพน

  1. Local Area Network : LAN

เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันหรือพื้นที่เดียวกัน เช่นภายในบ้าน ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก แลนเป็นเครือข่ายที่แต่ละองค์กรดูแลและบริหารจัดการด้วยตนเอง ขอบเขตของแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ภายในห้องเดียวกันไปจนถึงเครือข่ายขนาดปานกลางที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างห้องหรือระหว่างอาคาร เช่น ระบบเครือข่ายภายในโรงเรียนหรือบริษัท

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแลน

  1. Metropolitan Area Network : MAN

เครือข่ายนครหลวงหรือแมน เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือแลนหลายเครือข่าย ที่ตั้งอยู่ในบริเวณไม่ไกลกันนักหรือภายในอาณาเขตของเมืองเดียวกันเข้าด้วยกันเช่น แลนของหน่วยงานเดียวกันที่ตั้งอยู่ในบริเวณต่างๆ ของเมือง แมนอาจสร้างขึ้นจากเครือข่ายเฉพาะขององค์กรเอง หรือใช้บริการสายวงจรสื่อสารที่เช่าจากผู้ให้บริการสัญญาณสื่อสารก็ได้ โดยที่เทคโนโลยีที่ใช้ในแมนอาจใช้สายนำสัญญาณ เช่น ไฟเบอร์ออปติก หรือแบบไร้สาย เช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟ ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีไวแมกซ์ (WiMax)ในแมน ตัวอย่างของแมน เช่น การเชื่อมโยงแลนระหว่างหลายๆ วิทยาเขตของสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแมน

  1. Wide Area Network: WAN

เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกลเช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ หรือระหว่างทวีปการสร้างแวนจึงต้องพึ่งพาระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น วงจรเช่าจากผู้ให้บริการสัญญาณสื่อสารข้ามทวีป วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม แวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์กรที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศใช้งานแวนเชื่อมโยงบริการต่างๆ ระหว่างสาขา

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแวน

นอกจากนี้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังสามารถแบ่งตามลักษณะการให้บริการ เป็น 2 ชนิด  คือ

  1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (client-server network)
  2. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer to Peer network: P2P)

1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (client-server network)

เป็นเครือข่ายที่มีเครื่องบริการที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงรองรับการขอใช้บริการจากเครื่องรับบริการ สามารถให้บริการเครื่องรับบริการหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ทำให้สะดวกในการบริหารจัดการ บำรุงรักษาทรัพยากรของระบบตัวอย่างเครื่องบริการ เช่น เครื่องบริการไฟล์ (file server) เครื่องบริการงานพิมพ์ (print server) เครื่องบริการเมล (mail server)

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ client-server network

ข้อดี (Advantages)

ข้อเสีย (Disadvantages)

  • ไฟล์ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในสถานที่กลางอุปกรณ์เครือข่ายที่มีการควบคุมจากส่วนกลาง
  • การสำรองข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายถูกควบคุมจากส่วนกลาง
  • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ร่วมกันซึ่งมีการควบคุมจากส่วนกลาง
  • ต้องการผู้เชี่ยวชาญ
  • เครื่องแม่ข่าย (Server) มีราคาแพง
  • ต้องการผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบเครือข่าย
  • หากในหลายส่วนเกิดการล้มเหลวระบบสามารถล่มได้
  1. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer to Peernetwork: P2P)

เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นเครื่องรับและให้บริการในขณะเดียวกัน และสามารถใช้งานทรัพยากรของเครื่องอื่นได้เท่าเทียมกัน โดยไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการโดยเฉพาะ

อธิบายประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ Peer to Peernetwork: P2P

ข้อดี (Advantages)

ข้อเสีย (Disadvantages)

  • ไม่ต้องการระบบปฏิบัติการ (OS) สำหรับเครือข่าย
  • คอมพิวเตอร์อาจมีการเข้าถึงโดยบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง
  • ไม่จำเป็นต้องใช้ Server เพราะแต่ละเครื่องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
  • ไฟล์และโฟลเดอร์ไม่ได้มีการสำรองข้อมูลจากส่วนกลาง
  • ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพราะผู้ใช้แต่ละคนสามารถไฟล์ที่ต้องการแบ่งปันได้ด้วยตนเอง
  • ไฟล์และทรัพยากรที่ไม่ได้อยู่ใน “พื้นที่แบ่งปัน”อาจจะยากต่อการเข้าถึงหากผู้ใช้มีการจัดเก็บที่ไม่เป็นระบบ
  • การตั้งค่าได้ง่ายกว่า ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Networks)และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทาง
  • เป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้แต่ละคนที่จะไม่ให้ไวรัสติดเข้ามาในระบบเครือข่าย
  •  หากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งล้มเหลวจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของเครือข่ายแต่นั่นก็หมายความว่าผู้อื่นจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้

Peer-to-Peer Networks VS Client/Server Networks

Peer-to-Peer Networks Client/Server Networks
  • ติดตั้งง่าย
  • ติดตั้งยาก
  • ราคาในการติดตั้งไม่แพง
  • ราคาในการติดตั้งแพงกว่า
  • สามารถดำเนินการได้หลายระบบปฏิบัติการ(OS)
  • เครื่องลูกข่าย (Client) ใช้ระบบปฏิบัติการ(OS)อะไรก็ได้ แต่เครื่องแม่ข่าย (Server) ต้องใช้ระบบปฏิบัติการ(OS) เฉพาะ
  • ลงโปรแกรมที่จะใช้นาน เพราะต้องลงที่ละเครื่อง
  • ใช้เวลากับการจัดการหรือลงโปรแกรมน้อยเพราะส่วนใหญ่จะลงและจัดการที่เครื่องแม่ข่าย (Server)
  • ระบบรักษาความปลอดภัยต่ำมากหรือไม่มีเลย ซึ่งติดตั้งยากแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการ(OS) ที่ใช้
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ด้วยการควบคุมดูแลจากเครื่องแม่ข่าย (Server)ที่จะลบหรือเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่างๆ
  • เหมาะกับระบบเครือข่ายที่มีไม่เกิน 10 เครื่อง
  • ไม่มีการจำกัดจำนวนคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
  • ไม่ต้องการเครื่องแม่ข่าย (Server)
  • ต้องการเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่รันบนระบบปฏิบัติการ(OS) ของสำหรับเครื่องแม่ข่าย (Server)
  • ต้องการทักษะระดับกลางในการบริหารจัดการเครือข่าย
  • ความต้องการผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่มีทักษะด้าน IT ในระดับสูงที่จะดูแลระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์

 ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

  1. การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

  1. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server)หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

  1. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication)

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine)

  1. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability)

องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

  1. ความประหยัด

นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 – 10เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

  1. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน

นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที