ตัวอย่าง ใบ กํา กับ ภาษี ที่ ถูก ต้อง

ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่เป็นหัวใจของทุกกิจการที่อยู่ในระบบ VAT ผู้ประกอบการหลายคนสับสน เวลาลูกค้าขอใบกำกับภาษีเมื่อกิจการมีการขายสินค้าหรือให้บริการ ว่าควรออกเมื่อไหร่ รายละเอียดที่ ต้องใส่ในใบกำกับภาษีนั้นมีอะไรบ้าง  ใบกำกับภาษีมีผลต่อเรื่องภาษีหรือไม่ จากคำถามต่างๆ ดังกล่าว บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

ใบกำกับภาษีคืออะไร

ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดย ใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value added tax)  เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในแต่ละขั้นตอนการผลิต และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจาก ต่างประเทศ โดยปกติผู้ประกอบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรโดยการยื่นแบบภ.พ.30

ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

เมื่อกิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่กิจการมีรายได้เกิน  1.8 ล้านบาท

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

ประเภทของใบกำกับภาษี

กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของใบกำกับภาษีออกเป็น 7 ประเภทดังนี้

1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (มาตรา 86/4)

2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (มาตรา 86/6)

3. ใบเพิ่มหนี้ (มาตรา 86/9)

4. ใบลดหนี้ (มาตรา 86/10)

5. ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่น ตามมาตรา 83/5

6. ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่ออกให้สำหรับการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6                    หรือมาตรา 83/7 (มาตรา 86/14)

7. ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิตออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อกรมสรรพากร (มาตรา 86/14)

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเท่านั้น เนื่องจากเป็นประเภทใบกำกับภาษี ที่กิจการส่วนใหญ่ใช้และใบกำกับภาษีต้องมีรายการครบถ้วน

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ (เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษี แบบเต็มรูปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นเด่นชัด

   คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็น ใบกำกับภาษี นอกจากนี้ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับ  เอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุด เดียวกัน และใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้

  • ใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว ต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
  • ในสำเนาของใบกำกับภาษี ต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” และจะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่จัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี

2.1 ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออก ใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ แต่กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ได้รับใบกำกับภาษีที่เป็น นิติบุคคล สามารถใช้คำย่อสำหรับบอกสถานะได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำว่า บ. ……จก. หรือ บจ. , ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำว่า หจก. เป็นต้น

2.2 ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)

กรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “HO” หรือ “HQ” หรือ ระบุเป็น ตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษี ดังกล่าวด้วย

กรณีที่เป็นสาขา ให้ระบุคำว่า “สาขาที่…..”, “Branch No. …..”, ”br.no. …..” หรือ ระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่…..” ไว้ในใบกำกับภาษีดั งกล่าวด้วย

ข้อสังเกต 1. การระบุว่าเป็นสำนักงานใหญ่หรือสาขา จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ประทับตรา เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ก็ได้

    2. ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และ สถานประกอบการที่มิใช่สํานักงานใหญ่ได้นําใบกํากับภาษีของสถานประกอบการที่เป็น สํานักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการ ให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกํากับภาษี คือ….”  ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์  จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ประทับด้วยตรายาง  เขียนด้วยหมึก  พิมพ์ดีด  หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้

2.3 เลขประจำตัวผู้เสียอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี      

          กรณีกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวบัตรประชาชน 13 หลัก

          กรณีกิจการนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก

          สำหรับผู้เสียภาษีที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าว ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

          13 หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้

ข้อสังเกต ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเมื่อออกใบกำกับภาษี

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

3.1 ชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.2 ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อสังเกต การระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ ประทับตราด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม  (ถ้ามี)”

   ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับกรมสรรพากรไม่ให้คำนวณภาษีซื้อ

5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ”

ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ  ชนิด  ประเภทของ สินค้า หรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี  เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็น ต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี ด้วย  ให้กระทําได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้า หรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. รายการ “จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”

          7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี”

วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสําคัญที่ประมวลรัษฎากร กําหนดให้ต้องมีในใบกํากับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเอง หรือบุคคลอื่น ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกํากับภาษี  โดยวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการ ระบุชื่อเดือนก็ได้  และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้

วิธีการจัดทํารายการของใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป

1. รายการในใบกํากับภาษีให้ทําเป็นภาษาไทย หรือจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในฉบับเดียวกันก็ได้ ถ้าจะทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร

2. หน่วยเงินตราในใบกํากับภาษีต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าจะจัดทําเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร

3. ใบกํากับภาษีอาจออกรวมกันสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้

4. ใบกํากับแบบเต็มรูป ต้องมีรายการครบถ้วน

5. รายการในใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการขีด ฆ่า ขูด ลบ โดยยางลบ หรือใช้หมึก ตก แต่ง ต่อ เติม หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาษีซื้อตาม ใบกํากับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษี

ตัวอย่าง ใบ กํา กับ ภาษี ที่ ถูก ต้อง

ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไหร่

หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่ หรือที่เรียกว่าจุดรับรู้ภาษี ซึ่งแบ่งออกตามกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจได้แก่

1. การขายสินค้า

ในการขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่

  • การส่งมอบสินค้าสำหรับการขายสินค้าทั่วไป
  • การรับชำระค่าสินค้าในรูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า

หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการขายสินค้า แบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี

  1. 1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้า

ในการขายสินค้าทั่วไป กิจการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ ภาษี ถึงแม้ว่าผู้ขายยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้า กรณีนี้พบมากที่สุดในการขายสินค้า

  1. 2  การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า

เมื่อมีการรับชำระเงินสำหรับค่าสินค้า ซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ยังไม่ได้มีการส่งมอบ สินค้าก็ตาม กิจการก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า กรณีนี้เกิดจากการรับชำระค่า สินค้าในรูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า

  1. 3 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า

เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ก็ต้องออกใบกำกับภาษีทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการส่งมอบสินค้า หรือยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม

ตัวอย่าง ใบ กํา กับ ภาษี ที่ ถูก ต้อง

2. การให้บริการ

ในการให้บริการของกิจการ มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่

  • การรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ
  • การใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ

 หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี

          2.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ

               เป็นการออกใบกำกับภาษี เมื่อมีการรับชำระค่าบริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี

               ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้บริการ

2.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ

               เป็นการออกใบกำกับภาษี เมื่อมีการใช้บริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรับชำระเงินก็ตาม

              ในทางปฏิบัติ การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการมักจะออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระค่า บริการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการให้บริการก็ตาม ซึ่งไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการควรออกใบกำกับภาษีถึงแม้ว่ากิจการ จะยังไม่ได้รับชำระเงิน แต่มีการให้บริการก่อนรับชำระเงิน อย่างไรก็ตาม ปกติการให้บริการโดยทั่วไป การให้บริการและการรับชำระเงินมักจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยมากจะเป็นการรับชำระเงิน ก่อนการให้บริการ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าในการให้บริการ การออกใบกำกับภาษี กิจการจะออกเมื่อมีการรับชำระเงิน

ตัวอย่าง ใบ กํา กับ ภาษี ที่ ถูก ต้อง

สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีและเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และเก็บไว้ที่สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีหรือไม่

ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีอย่างแน่นอน เนื่องจากใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้ลูกค้า และลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจะนำเอกสารต้นฉบับ ใบกำกับภาษีไปเป็นหลักฐานสำหรับภาษีซื้อและสำเนาใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานสำหรับภาษีขายของผู้ออกใบกำกับภาษี โดยใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีดังนี้

1. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบ ให้ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี

2. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ โดยมี รายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง               7 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามใบกำกับภาษี

4. ถ้าผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิออกเอกสารดังกล่าวตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาทและต้องเสีย เบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้และเสีย เงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย นอกจากนั้นจะต้องรับผิด เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่แสดงในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

5. ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไปใช้ในการเครดิตภาษี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี และเสีย เบี้ยปรับ 1 เท่า ฐานยื่นภาษีซื้อไว้เกินและเสียภาษีคลาดเคลื่อน และเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าต้องออกใบกำกับภาษีกิจการก็จะมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับ ภาษี จุดที่ต้องออกใบกำกับภาษี มีความเข้าใจว่าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไร ซึ่งมีผลต่อการนำส่งภาษี มูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตรงตามงวดเวลาในการขายสินค้าหรือให้บริการ

PEAK โปรแกรมบัญชีช่วยกิจการเตรียมเอกสารทางบัญชีและสร้างเอกสารทางออนไลน์ซึ่งสามารถปรับ   แต่งได้ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ทั้งยังรองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับชำระเงินผ่าน QR CODE เมื่อสร้างเอกสารแล้ว ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้กิจการออกใบกำกับภาษี ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและยื่นแบบได้ภายในกำหนดเวลา รวมทั้งบันทึกบัญชีได้อย่าง ครบถ้วนถูกต้อง

อ้างอิง:

ประเภทของใบกำกับภาษี | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)

หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? (peakaccount.com),7 ตุลาคม 2564

taxinvoice.pdf (rd.go.th), คู่มือใบกำกับภาษี, กรมสรรพากร