ใบ กำกับ ภาษี แบบ เต็ม

ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (เว้นแต่ ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

Show

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
(2) ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วยข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายางเขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

2. รายการคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี”

(ก) ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้

กรณีชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้รับใบกำกับภาษีที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล คำที่บอกสถานะสามารถใช้คำย่อแทนได้ ดังนี้
(1) บริษัท จำกัด ใช้คำย่อว่า บ. … จก. หรือ บจ.
(2) บริษัท (มหาชน) จำกัด ใช้คำย่อว่า บมจ. …
(3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำย่อว่า หจก. …
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้คำย่อว่า หสน. …

(ข) ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ไว้
กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดใหผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นสถานที่ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้

(1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ …” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เช่น “สาขาที่ …” “Branch No. …” “br.no …”เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ …” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

ข้อสังเกต
ข้อความตาม (1) (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

(ค) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีสรรพากรทุกประเภท ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ที่ใช้อยู่เดิมในการยื่นแบบแสดงรายการ การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดท าใบเสร็จรับเงิน เป็นต้นโดยการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักนั้น ได้แบ่งการใช้ออกตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้

(1) ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(2) ผู้เสียภาษีประเภทนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ต้องจดทะเบียนหรือขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(3) ผู้เสียภาษีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้

3. รายการ “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”

(ก) “ชื่อ” ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบุคคลธรรมดาหมายความรวมถึง นามสกุลด้วย
(ข) “ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนไว้ในใบกำกับภาษี รวมทั้งจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้

(1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความค าว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ …”โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ …” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

ข้อสังเกต
โดยข้อความตามข้อ (1) ข้อ (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม ถ้ามี”

ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับไม่ให้นำไปคำนวณเป็นภาษีซื้อ และในกรณีนี้ผู้ออกใบกำกับภาษีมีความผิด โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ”

ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อ ชนิดประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกำกับภาษีด้วย ให้กระทำได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. รายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการโดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”

7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี”

วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสำคัญที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องมีในใบกำกับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี
วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้

ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดท าใบก ากับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียว และใบกำกับ

ภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้

      1. ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
      2. ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วย

ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำ ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ได้นำใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษี คือ…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมันได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุเลขทะเบียนรถยนต์ไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

วิธีการจัดทำรายการของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1. รายการในใบกำกับภาษีให้ทำเป็นภาษาไทย หรือจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในฉบับเดียวกันก็ได้ ถ้าจะทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
2. หน่วยเงินตราในใบกำกับภาษีต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าจะจัดทำเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
3. ใบกำกับภาษีอาจออกรวมกันสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้
4. ใบกำกับแบบเต็มรูป ต้องมีรายการครบถ้วน
5. รายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการขีด ฆ่า ขูด ลบ โดยยางลบ หรือใช้ยาหมึก ตก แต่ง ต่อ เติม หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ใบ กำกับ ภาษี แบบ เต็ม

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบต้องมีอะไรบ้าง

ใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงิน

ใบกำกับภาษีแบบเต็มกับแบบย่อต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างของใบกำกับภาษีเต็มรูป กับอย่างย่อ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่ต้องแสดงชื่อผู้ซื้อ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า/บริการ ออกเป็นรหัสก็ได้ ไม่ต้องแสดงชื่อจริง จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มจะรวมอยู่ในราคาสินค้า โดยแจ้งเพิ่มในหมายเหตุว่าเป็นราคารวมภาษีแล้ว

ใบกํากับภาษีเต็มรูปแบบ เขียนได้ไหม

การใช้งาน ส่วนอื่นๆ เช่น รายการ, วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี, ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะลงรายการด้วยการเขียนด้วยมือ พิมพ์ดีด ใช้ตราประทับ หรือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้ และยังสามารถลงรายการรวมกันในใบกำกับภาษีใบเดียวกันได้

ใบเสร็จรับเงิน/ใบกํากับภาษี คืออะไร

ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ทำการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือให้บริการ จะต้องจัดทำ หรือออกให้กับลูกค้าเมื่อได้ทำการซื้อขายสินค้าและบริการออกไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่รูปแบบของใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินนั้นถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทคือ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็ม ...