อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าวใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์ บทความนี้มีคำตอบ

2020-02-21 2020-02-21

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

รู้ก่อนประหยัดก่อน หม้อหุงข้าวใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์กันนะ!?

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

  สำหรับคนที่ทำอาหารทานเองที่บ้าน...การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างเช่น “หม้อหุงข้าว” บ่อยๆ อาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าหม้อหุงข้าวใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์!? แล้วในแต่ละเดือนจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในส่วนของหม้อหุงเท่าไหร่กัน!?

อัตราการใช้ไฟฟ้าของหม้อหุงข้าวใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์!?

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

ในส่วนของหม้อหุงข้าวนั้น จำนวนของวัตต์ไฟฟ้าโดยประมาณมีรายละเอียดตามตาราง ดังต่อไปนี้

ขนาดของหม้อหุงข้าว จำนวนของกระแสไฟฟ้าที่ใช้
ขนาด 0.5 ลิตร 300 วัตต์
ขนาด 1 ลิตร 450 วัตต์
ขนาด 1.5 ลิตร 530 วัตต์
ขนาด 2.5 ลิตร 1,100 วัตต์
ขนาด 4 ลิตร 1,400 วัตต์

คู่มือการซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน : หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้า   หุงข้าวให้สุกอย่างอัตโนมัติ และรักษาอุณหภูมิของข้าวได้ หม้อหุงข้าวได้พัฒนารูปแบบออกไปมากมาย เช่น มีระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ มีระบบไอน้ำ และมีระบบที่สามารถประกอบอาหารได้หลายๆ อย่างเช่น นึ่ง ตุ๋น ต้ม เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า คือ ปลั๊ก สายไฟฟ้าสวิตช์ แผ่นความร้อนและฉนวน ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นเหล่านี้มีความสำคัญต่อคุณภาพของหม้อหุงข้าว มีผลต่ออายุการใช้งานและมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าตามมาตรฐาน
  1. มีความปลอดภัยต่อกระแสไฟฟ้าช็อก โดยมีที่จับสำหรับเปิดปิดได้สะดวก ทำด้วยวัสดุที่มีคุณภาพดี มั่นคงแข็งแรง
  2. มีความสามารถในการรักษาอุณหภูมิได้เหมาะสม
  3. ฝาหม้อไม่ได้ทำด้วย Celluloid หรือ Nitrocellueose ซึ่งเป็นสารที่ติดไฟง่ายและมีไอระเหยที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
ข้อแนะนำในการซื้อและการใช้

  1. อย่ากดสวิตช์เปิด-ปิด ขณะที่ไม่มีหม้อชั้นใน
  2. อย่าใช้วัตถุมีคม ถูหรือขัดหม้อชั้นใน เพราะจะทำให้สารที่เคลือบหม้อหลุดไปได้
  3. อย่าเสียบปลั๊กหรือสวิตช์ หรือจับหม้อชั้นนอกขณะที่มือเปียก เพราะอาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
  4. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังจากการใช้งาน
  5. ก่อนการใช้งานเช็ดหม้อชั้นในและแผ่นความร้อนให้แห้งสะอาดเสียก่อน
  6. เมื่อกดสวิตช์หุง ถ้ากดไม่ติดห้ามใช้วัสดุใดค้ำหรือกดคาไว้
  7. การใช้หม้อหุงข้าวครั้งต่อไป ควรรอประมาณ 10 นาที เพื่อให้หม้อหุงข้าวมีอุณหภูมิกลับสู่ปกติก่อน

บทความจาก TISI

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หลังการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 

 หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ประกอบด้วยโครงหม้อด้านนอก ซึ่งยึดแผ่นความร้อนติดไว้ด้านล่างของโครงหม้อ จุดกึ่งกลางของแผ่นความร้อนจะมีอุปกรณ์ทรงกลมสวนอยู่ตรงกลาง อุปกรณ์ชุดนี้เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับตัดวงจรไฟฟ้า และจะถูกกดทับด้วยหม้นในที่ใช้หุงข้าว หม้อหุงข้าวใช้หลักการง่ายๆ  และอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนี้
 เมื่อนำข้าวสารมาเตรียมเพื่อหุง ล้างข้าวสาร และเติมน้ำในหม้อหุง แล้วนำ ไปตั้งในโครงหม้อ หม้อในจะถูกวางบนแผ่นความร้อน โดยส่วนโค้งของก้มหม้อจะวางแนบสนิทบนแผ่นความร้อน และวางทับลงบนอุปกรณ์ตัดวงจรไฟ ภายในอุปกรณ์ตัดไฟฟ้า จะใช้หลักการยึดเกราะหน้าสัมผัสสวิทช์ไฟฟ้า ด้วยแท่งแม่เหล็ก แผ่นเล็กๆ เมื่อกดสวิทช์ของหม้อหุงข้าว คันสวิทช์จะถูกโยงไปแกนกลางของชุดตัดไฟฟ้า โดยมีแผ่นแม่เหล็กยึดอยู่ตรงกลาง และมีแผ่นเหล็กบางยึดอยู่ด้านบน เมื่อสวิทช์ถูกกด ทำให้แผ่นเหล็กถูกดูดขึ้นไปติดกับแผ่นเหล็กบาง เมื่อแผ่นแม่เหล็กคิดกับแผ่นเหล็กแล้ว ทำให้สวิทช์แตะกัน ไฟฟ้าไหลผ่านเข้าขดแผ่นความร้อน ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น ข้าวเริ่มสุก น้ำก็ค่อยๆ แห้งไปจนหมด ในขณะที่น้ำแห้งจะเกิดความร้อนเพิ่มขึ้ม ข้าวเริ่มสุก น้ำก็ค่อยๆ แห้งไปจนหมด ในขณะที่น้ำแห้ง จะเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากไม่มีน้ำใจการระบายความร้อนแล้วความร้อนที่เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ไม่มีที่แผ่ไป ก็จะแผ่ไปในชุดตัดวงรจไฟฟ้า ซึ้งมีแผ่นแม่เหล็กเล็กๆ ติดอยู่ แผ่นแม่เหล็ก เมื่อได้รับความร้อนก็จะหมดอำนาจชั่วคราว ทำให้สวิทช์ถูกดีดหล่นลง โดยมีสปริงอ่อนช่วยผลักให้หล่น ทำให้หน้าสัมผัสสวิทช์จากกัน ไฟไม่สามารถไหลเข้าแผ่นความร้อน จึงสิ้นสุดการหุงข้าว พร้อมกันนี้ข้าวก็สุกพอดี

  อาการเสียหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
1. อาการหุงข้าวไม่ได้ หลอดไฟไม่ติด หม้อไม่ร้อน
   1.1 เช็คสายไฟขาด
   1.2 สวิทช์หน้าสัมผัสไม่แดะ หม้อไม่ร้อน
   1.3 แผ่นความร้อนขาด


คลังบทความของบล็อก