โครง งาน วิทยาศาสตร์ ปฐมวัย การ ละลาย ของ น้ำ ต

การทดลอง: การละลายของน้ำตาล

  การทดลองนี้เด็กๆจะได้เห็นการละลายของน้ำตาลได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการย้อมน้ำตาลด้วยสีผสมอาหาร
หลังจากนั้นนำไปวางบนจานที่มีน้ำ การนำน้ำตาลมาย้อมสีต่างๆทำให้มีโอกาสได้สังเกตการผสมสีอีกด้วย

อุปกรณ์

1.แก้ว

2.น้ำ

3.น้ำตาล

4.ลูกกวาด

5.จาน

6.ผ้าหรือกระดาษ
สีขาว

7.หลอดน้ำ

8.แว่นขยาย

9.สีน้ำหรือสีโปสเตอร์

วิธีการทดลอง

1. ให้เด็กๆใส่น้ำตาลก้อนลงในแก้วที่มีน้ำเปล่าอยู่ แล้วให้สังเกตการละลายของน้ำตาลในน้ำ

2. ให้เด็กๆวางก้อนน้ำตาลบนผ้าหรือกระดาษแล้วหยดสีลงไป จากนั้นวางก้อนน้ำตาลไว้ในจานที่ใส่น้ำ

3.ทำการทดลองเพิ่มเติม โดยเปลี่ยนจากน้ำตาลก้อนเป็นลูกกวาด แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง

4. ให้เด็กๆใช้แว่นขยายส่องสังเกตดูการละลายของผลึกน้ำตาลก้อน และสีที่ปรากฏขึ้น

5.ให้เด็กๆวาดรูปสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลอง

สิ่งที่เด็กได้จากการทดลอง

 ในน้ำตาลก้อนมีฟองอากาศ จึงเกิดการละลายได้เร็วกว่าลูกกวาด

 น้ำตาลเป็นสารละลายเหมือนเกลือ

 น้ำตาลมีความหนืดทำให้เกิดการแยกสีชัดเจน

 การผสมสีจากแม่สี ทำให้เกิดสีใหม่ได้

 น้ำทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวได้


การทดลองการละลายของน้ำตาลนี้สามารถให้เด็กได้สามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์คือทักษะการสังเกตโดยเข้าไปสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆด้วยตัวเองและทักษะการสื่อความหมายคือ ความสารถในการนำข้อมูลที่สังเกต ทดลองมาจัดให้สัมพันธ์กันมากขึ้นและนำเสนอให้คนอื่นได้รู้และเข้าใจได้

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การจัดการเรียนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย”วันที่ 7 และ 13 กรกฎาคม 2560 ระดับอนุบาลจัดอบรมเรื่อง “การจัดการเรียนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย” ให้แก่ครูอนุบาลจำนวน 24 คน โดยมีครูวรรณวิภา สุขกนิษฐ ครูดวงใจ วรรณสังข์ และครูธีรพล สาตราภัย ครูระดับอนุบาลเป็นวิทยากร โดยอบรมภาคปฏิบัติเรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์แบบทดลอง
ได้แบ่งครูผู้เข้าอบรมออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งมีหัวข้อโครงงานดังนี้
กลุ่มที่ 1 น้ำตาลทราย เกลือป่น เกลือเม็ด เมื่อใส่ลงในน้ำผสมน้ำแข็ง อะไรทำให้น้ำหวานแข็ง ตัวเร็วที่สุด
กลุ่มที่ 2 ลูกแก้ว ก้อนหิน ลูกปัด เมื่อใส่ลงไปในขวดที่มีน้ำ อะไรทำให้ระดับน้ำสูงที่สุด
กลุ่มที่ 3 การละลายของน้ำตาล โดยใช้น้ำแร่ โซดา น้ำมะพร้าว
กลุ่มที่ 4 ความสูงของฟองที่เกิดจาก ปฏิกิริยาของเมนทอสกับน้ำอัดลม ชนิดใดสูงที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ครูทุกระดับได้นำไปจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ในภาคปลายปีการศึกษา 2560 ต่อไป

งานนำเสนอเรื่อง: "ตัวอย่างกิจกรรมการทดลอง โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตัวอย่างกิจกรรมการทดลอง โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2 การทดลอง: การละลายของน้ำตาล
การทดลองนี้เด็กๆ จะได้เห็น การละลายของน้ำตาล อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการย้อมน้ำตาล ด้วยสีผสมอาหาร หลังจากนั้นนำไปวาง บนจานที่มีน้ำ การนำน้ำตาลมา ย้อมสีต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้สังเกตการผสมสีด้วย

3 1. เด็กๆ ใส่น้ำตาลก้อนลงในแก้วที่มีน้ำเปล่าอยู่
แล้วสังเกตการละลายของน้ำตาลในน้ำ 2. วางก้อนน้ำตาลบนผ้าหรือกระดาษ แล้ว หยดสีลงไป จากนั้นวางก้อนน้ำตาลไว้ในจานที่ ใส่น้ำ 3. จากนั้นทำการทดลองเพิ่มเติม โดยเปลี่ยนจาก น้ำตาลก้อนเป็นลูกกวาด แล้วสังเกต ความเปลี่ยนแปลง

4 4. เด็กๆ ใช้แว่นขยายส่องสังเกตดูการละลาย
ของผลึกน้ำตาลก้อน และสีที่ปรากฏ 5. เด็กๆ วาดรูปสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลอง

5 สิ่งที่เด็กได้จากการทดลอง
ในน้ำตาลก้อนมีฟองอากาศ จึงเกิดการละลายได้เร็วกว่าลูกกวาด น้ำตาลเป็นสารละลายเหมือนเกลือ น้ำตาลมีความหนืดทำให้เกิดการแยกสีชัดเจน การผสมสีจากแม่สี ทำให้เกิดสีใหม่ได้ น้ำทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวได้

6 การทดลอง: ความลับของสีดำ
สีดำของเมจิกเกิดจากการผสมของสีหลายสี ในการทดลองนี้เด็กๆ สวมบทบาทเป็นนักสืบที่ค้นหาว่า ปากกาเมจิกสีดำยี่ห้อต่างๆ เกิดจากการผสมของสีใดบ้าง จะพบว่ามีสีชมพู สีฟ้า สีเหลือง และสีเขียวซ่อนอยู่ในสีดำ การทดลองนี้จะใช้วิธีการทางเคมีในการค้นหาสีที่ซ่อนอยู่ เรียกว่า “โครมาโทกราฟี”

7 1. เด็กๆ เตรียมกระดาษกรองคนละ 1 แผ่น
พับเป็นรูปกรวยแบนๆ แล้วตัดตามมุมแหลมของ กรวยเล็กน้อยให้เป็นรูเล็กๆ ตรงกลาง 2. ใช้ปากกาสีเมจิกสีดำวาดลวดลายรอบๆ รู ตรงกลาง 3. ม้วนกระดาษกรองแผ่นที่ 2 เป็นแท่งคล้ายเทียน แล้วสอดเข้าไปในรูตรงกลางของกระดาษกรอง แผ่นที่ 1

8 4. เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ
กรอง เมื่อนำแผ่นที่วาดลวดลายวางไว้ด้านบน ส่วนแผ่นที่ม้วนเป็นแท่งจุ่มลงในน้ำ 5. ทิ้งไว้สักครู ให้เด็กๆ สังเกตว่าเกิด การเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น

9 สิ่งที่เด็กได้จากการทดลอง
เด็กรู้จักสังเกต (เกิดสีต่างๆ แยกออกมาจากสีดำ) เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กได้รู้จักการตั้งสมมุติฐาน คาดเดาเหตุการณ์ในลำดับต่อไป เด็กได้พัฒนาการใช้ภาษาจากการใช้คำถามและตอบคำถาม อธิบายถึงสิ่งที่พบเห็นจากการทดลอง เด็กได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งเป็น พัฒนาการทางสังคม