พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียใต้ ม.2 สรุป

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบัน ได้แก่ประเทศตุรกี เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน อิรัก อิหร่านซาอุดีอาระเบียคูเวตไซปรัส โอมาน กาตารสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บาห์เรนและเยเมนดินแดนบริเวณนี้มีเรื่องราวทางประวัติสาสตร์์ตั้งแต่อารยธรรมเริ่มแรก ที่มีกลุ่มชนกลุ่มต่างๆข้ามามีอำนาจผลัดเปลี่ยนกัน ปกครองโดยเริ่มประมาณ 500 ปีก่อนพุทธศักราช

ชาวบาบิโลนและชาวอัสซีเรีย ซึ่งมีอำนาจอยู่ได้ถูกโค่นล้มไปในที่สุดและมหาอำนาจที่ขึ้นมาครอบครองดินแดนนี้คือชาวเปอร์เซีย

ภายหลังจากนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อนศาสนาอิสลาม เป็นจักรวรรดิอิสลาม ดังนี้

การสถาปนาอาณาจักรเปอร์เซีย ( ประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช –.. 230 )

ชาวเปอร์เชียเป็นชนในกลุ่มชาติพันธุ์อินโดยูโรเปียนมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ริเวรทางใต้ของรัสเซียและเอเชียกลางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดน

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้   ยุคแรกๆ คือเมื่อประมาณ 257 ปีก่อนพุทธศักราชดังปรากฏในเอกสารอัสซีเรียซึ่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์อัสซีเรีย

ได้รบชนะพวกบัคสและเปอร์เซีย จึงผนวกเอาดินแดนทั้งสองพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของอัสซีเรียแต่ชาวเปอร์เซียไม่ยอมจำนน จึงได้ก่อ

กบฏต่อต้านพวกอัสซีเรียเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช ชาวเปอร์เซียจึงสามารถรบชนะพวกอัสซีเรียและยึดเมืองหลวง

ได้สำเร็จโดยกษัตริย์ไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย( ประมาณ 17 ปีก่อนพุทธศักราชถึง พ.ศ. 13 )ทรงรวบรวมประชาชนเชื้อชาติเดียวกัน

ให้เป็นปึกแผ่นในรัชสมันของพระองค์ได้ทำสงครามพิชิต ดินแดนต่างๆและกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียองค์ต่อมามีอำนาจมากขึ้น

สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างว้างขวางโดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าดา ริอุสมหาราชครองราชยประมาณ พ.ศ. 22-85ดินแดน

อาณาจักรของเปอร์เซีย มีอาณาเขตทางตะวันตกเริ่มจากแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ไปจนจรดแม่น้ำสินธุทางตะวันออกล้วนเป็นดินแดนที่มีี

ความอุดมสมบูรณ์ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากความครอบครองทรัพยากรในดินแดนดังกล่าว รวมทั้งติดต่อ

ค้าขายกับดินแดนเหล่านั้น เช่น การติดต่อกับอินเดียโดยส้นทางมหาสมุทรอินเดียและแล่นเรือเลียบฝั่งทะเลอาหรับไปยังทะเลแดงเดินทาง

ไปถึงอียิปส์เปอร์เซียมีอำนาจเหนือดินแดนที่ปกครองต่อเนื่องมาจนถึงปลายรัชกาลพระเจ้าดาริอุสมหาราชทั้งนี้เนื่องจากเปอร์เซียทำ

สงครามกับนครรัฐกรีก การทำสงครามกับกรีกติดพันต่อมาจนกระทั่งพระเจ้าดาริอุสมหาราชสวรรคตพระโอรสของพระองค์ยังคงทำ

สงครามกับกรีกต่อมารวมทั้ง ทำสงครามปราบปรามผู้นำในดินแดนต่างๆ ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระองค์ในที่สุดพระโอรสของ

พระเจ้าดาริอุสมหาราชทำสงครามพ่ายแพ้นครรัฐกรีกจึงเป็นเหตุให้พระองค์ยุตินโยบายการขยายดินแดน แต่ก็ยังคงรักษาอำนาจ

ในดินแดนเอเชียและแอฟริกาที่เปอร์เซียยึดครองไว้ได้ โดยมีศูนยกลางการปกครองอยู่ที่กรุงเปอร์ซีโปลิสในประเทศอิหร่านปัจจุบัน

การเมืองการปกครอง

อาณาจักรเปอร์เซีย ปกครองโดยแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 20 มณฑล แต่ละมณฑล มีข้าหลวงปกครองและกษัตริย์ทรง

แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายจัดเก็บภาษีเป็นผู้แทนพระองค์ไปประจำแต่ละมณฑลนอกจากนี้ยังมีผู้ตรวจราชการ

พิเศษคอยเป็นหูเป็นตาให้กับกษัตริย์โดยผู้ตรวจราชการจะเดินทางไปตรวจราชการตามมณฑลต่างๆโดยไม่แจ้งให้ทราบ

ล่วงหน้าในเขตแดนอาณาจักรเปอร์เซียประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ประชากริเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้ดำเนินชีวิต

ตามวัฒนธรรมของตนรวมทั้งความเชื่อทางศาสนา แต่ต้อปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาจักรอาณาจักรเปอร์เซียพัฒนาระบบ

กาคมนาคมโดยสร้างถนนเชื่อมระหว่าง ดินแดนต่างๆในจักรวรรดิ และมีการสร้างสถานที่พักระหว่างทางซึ่งมีอาหารม้า

และน้ำสำหรับผู้เดินทางทุกๆ 14 ไมล์ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการเดินทาง นอกจากนี้ยังส่งผลดีด้านการปกครองต่อ

จักรวรรดิเพราะเมืองหลวงสามารถที่จะควบคุมอำนาจและแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมณฑลต่างๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว

เศรษฐกิจ

ดินแดนอาณาจักรเปอร์เซียในสมัยนั้นมีอาณาเขตกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากทรัพยากร

ในดินแดนดังกล่าว อาณาจักรนี้มีความสำคัญในการเชื่อมต่อ การค้าจากอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีทรัพยากรที่สำคัญ

ได้แก่ ไหมทองคำ เพชรและมีสัตว์ แปลกๆ โดยเส้นทางทะเลจากบริเวณอ่าวเปอร์เซียสามารถแล่นเรือข้ามทะเลอาหรับไปยัง

ทะเลแดง เดินทางไปจนถึงอียิปส์

สังคมและวัฒนธรรม

ความเชื่อทางศาสนา ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งแต่ละเผ่าต่างนับถือเทพเจ้าประจำเผ่า ซึ่งมีหลายองค์เทพเจ้าต่างๆมัก เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์พายุหรือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์

และเทพเจ้าแห่งสงครามแต่มีเผ่าฮิบรูหรือ ชาวยิว ที่นับเทพเจ้าองค์เดียวเป็นเทพเจ้าประจำเผ่าในเวลาต่อมาคติในความเชื่อในพระเจ้าองค์

เดียวทำให้มีการพัฒนาเป็นศาสนาสำคัญของโลกคือศาสนายูดาย คริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม ศาสนาที่เป็นศาสนาดั้งเดิมของ

ชาวเปอร์เซียได้แก่ศาสนาโซโรแอสเตอร์ มีหลักคำสอนให้รู้จักว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีมีพระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งความด

ี และความยุติธรรม ฝ่ายชั่วคืออาหริมันเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วและความเดือดร้อนศาสนาโซโรแอสเตอร์ ยังมีผู้นับถือและประกอบพิธีกรรม

ในปัจจุบันภาษา การปกครองอาณาจักรอันกว้างไกลของเปอร์เซียมีการใช้ภาษาอรามาอิคเป็นภาษากลางซึ่งพัฒนามาจากภาษาของชาวอัสซีเรีย

แต่ไม่ใช้ตัวอักษร “ลิ่ม”ของชาวสุเมเรียนเป็นตัวเขียน แตนำตัวอักษรของชาวฟินีเซียเขียนเป็นภาษา่อรามาอิคแทนความเชื่อของอาณาจักร

เปอร์เซียเมื่อประมาณพ.ศ. 200พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกได้ยกทัพมาพิชิต เปอร์เซียแล้วผนวกเอาเปอร์เซียเป็นดินแดนส่วน

หนึ่งของอาณาจักรกรีกสาเหตุที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกกองทัพมาโจมตีเปอร์เซียเนื่องจากเปอร์เซียยังคงมีอำนาจอยู่ในดินแดน

ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับนครรัฐกรีกทำให้นครรัฐกรีกหวาดกลัวว่าเปอร์เซียอาจยกทัพมาโจมตีอีกในที่สุด

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จึงได้รวบรวมกองทัพกรีก เริ่มโจมตีชายแดนของอาณาจักรเปอร์เซียที่ตุรกี อียิปส์ ดินแดนบนฝั่งทะเล

เมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชีย และเมืองในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส จนกระทั่งเข้าโจมตีกรุงเปอร์ซีโปลิสและยึดได้ประมาณ พ.ศ. 230

ผลจากการขยายอำนาจของกรีกเข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคนพื้นเมืองกับชาวกรีกจึงทำให้

อารยธรรมกรีกในด้านปรัชญาและศาสนาตลอดจนความรด้านวิทยาศาสตรและูการแพทย์ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมแพร่หลายใน

ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ขณะเดียวกันแคว้นต่างๆ ที่อยู่ในภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียแยกแตก ออกไปเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย บรรดา

ผู้นำและเผ่าพันธุ์อันหลากหลายต่างสู้รบกันเพื่อตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่และได้ครอบครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์สภาพความแตกแยกระหว่าง

เผ่าพันธุ์ต่างๆดำเนินมาจนกระทั่งในที่สุดจึงได้รวมกันภายใต้จักรวรรดิอิสลาม

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียใต้

เอเชียใต้มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดนสำคัญ ได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อัพกานิสถาน ภูฎานมัลดีฟส์ และศรีรังกาในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือได้รับอิทธิพลจากอายธรรมอินเดียละ อารยธรรมอิสลามดังนั้น

การอธิบายเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอเชียใต้ จึงนำเสนอประวัติศาสตร์อินเดีย และศรีลังกา เนื่องจากเป็นชาติที่มีประวัติิต่อเนื่องยาวนานโดยแบ่งหัวข้อออกเป็นดังนี้

1. ประวัติศาสตร์อินเดีย ( ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-23 )

1. ยุคราชวงศ์ ( พุทธศตวรรษที่ 3-17 ) อินเดียในยุโบราณแบ่งแยกเป็นแว่นแคว้นอิสระมีพระราชาหรือกษัตริย์ปกครองแต่ละแคว้น

ซึ่งบางครั้งกษัตริย์เหล่า นี้ต่างทำสงครามสู้รบกัน เนื่องจากอินเดียมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่นผ้า อัญมณี เครื่องเทศ

และ สัตว์ป่านานาชนิด จึงทำให้อินเดียถูกรุกรานจากศัตรูภายนอกเช่นเปอร์เซียนและกรีก ในพุทธศตวรรษที่ 3 อินเดียเผชิญกับการรุกราน

จากกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แม้ว่ากองทัพหลวงได้ถอยทัพกลับไป แต่ยังมีีแม่ทัพนายกองตั้งทัพอยู่ ในที่สุดพระเจ้าจันทรคุปต์

จึงรวบรวมกำลังขับไล่กองทัพกรีกออกไป และรวบรวมอินเดียเป็นหนึ่งอันเดียวกันได้เป็นครั้งแรกพระเจ้าจันทรคุปต์ทรงสถาปนาราชวงศ์

เมารยะ( ระหว่าง พ.ศ. 221 -358 ) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตรแห่งแคว้นมคธ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำคงคาทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ของอินเดีย พระองค์ ทรงรวบรวมแคว้นในลุ่มน้ำสินธุและคงคา ทำให้ดินแดนภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะขยายออกไป กษัตริย์

ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าจันทรคุปต์ คือ พระเจ้าพินทุสารพระองค์ทรงขยายอาณาจักรลงไปทางตอนใต้บริเวณที่ราบสูงเดคคานเมื่อสิ้น

ราชกาลของพระองค์พระราชโอรส คือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงขยายอาณาจักรครอบคลุมที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำสินธุทั้งหมดและ

ขยายอำนาจลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ถึงแม่น้ำกฤษณา

การขยายอำนาจในครั้งนั้นมีการสู้รบครั้งสำคัญเมื่อปี พ.ศ. 281 กล่าวคือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโจมตีแคว้นลิงคะที่มีความมั่งคั่งและมีความเข้มแข็งทางทหารจนได้รับชัยชนะ แต่ผลของสงครามทำให้มีผู้ส้นชีวิตจำนวนมากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งจึงยุติการทำสงคราม แล้วเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 311ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ บรรดาพระราชโอรสทรงขัดแย้งกันเอง และขณะเดียวกันเจ้าเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจ ราชวงศ์เมารยะต่างตั้งตัวเป็นอิสระ โดยอำนาจจากส่วนกลาง

ไม่สามารถปราบปรามได้ ราชวงศ์เมารยะจึงค่อยๆเสื่อมอำนาจลง จักรวรรดิของราชวงศ์เมารยะยังถูกศัตรภายนอกรุกรานจากทางด้านตะวันตก

เฉียงเหนือได้แก่ พวกพื้นเมืองเชื้อสายกรีก กษัตริย์องค์สำคัญของพวกนี้ พระเจ้ามิลินทร์นอกจากนี้ยังมีชนเผ่ากุษาณะที่ได้ตั้งอาณาจักรกุษาณะ

ขึ้นทางตอนเหนือของอินเดีย ราชวงศ์กุษาณะ แต่เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้เข้าครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียและสถาปนา

กุษาณะ ประมาณ พ.ศ. 432 -800 โดยมีเมืองหลวงคือเมืองเปษวาร์และมีเมืองตกศิลาเป็นศูนย์กลางความเจริญ กษัตริย์ที่มีอำนาจแห่งราชวงศ์นี้

คือพระเจ้ากนิษกะ แต่ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ ราชวงศ์กุษาณะสลายลงเนื่องจากถูกุกรานจากชนเผ่าที่มาจากเอเชียกลาง จึงทำให้บ้าน

เมืองแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย หลังจากอาณาจักรกุษาณะเสื่อมอำนาจ อินสามารถรวบรวมเป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายใต้การปกครองของ

ราชวงศ์คุปตะ( พ.ศ. 863 -1078 ) ผู้สถาปนาราชวงศ์คือพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 สมัยราชวงศ์คุปตะถือกันว่าเป็นยุคแห่งอารยธรรมฮินดูใน

ภาคเหนือของอินเดียการฟื้นฟูศาสนาและศิลปะฮินดูในสมัยนี้เกิดจากการต่อต้านการปกครองของราชวงศ ต่างชาติในศตวรรษที่ผ่านมา ราชวงศ์คุปตะเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 918 – 958ทรงทำสงคราขยายอาณาเขตอย่าง

กว้างขวางต่อมาราชวงศ์คุปตะค่อยๆหมดอำนาจลงเนื่องจากกษัตริย์อ่อนแอ ทั้งยัง์ถูกชาวฮั่นทางตอนเหนือยกทัพเข้ามารุกรานจนปกครอง

อินเดียตอนเหนือได้ทั้งหมด ทำให้ราชวงศ์คุปตะหมด อำนาจลงอินเดียในยุคราชวงศ์ได้พัฒนาในด้านต่างๆดังนี้

การเมืองการปกครอง

ในยุคราชวงศ์เมารยะซึ่งปกครองอาณาจักรอินเดียอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้ใช้วิธีการปกครองที่กษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด

ในการปกครองซึ่งเป็นผลจากการรับแนวคิดจากคัมภีร์อรรถศาสตร์ที่ว่าด้วยการสร้างและรักษาอำนาจการใช้วิเทโศบายทางการ

เมืองต่างๆ เพื่อเอาชนะศัตรูในด้านการบริหารงานราชการแผ่นดินแบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ

-ฝ่ายตุลาการ มีกษัตริย์เป็นประมุข

-ฝ่ายทหาร มีกษัตริย์เป็นจอมทัพ ควบคุมกองทหารต่างๆ

-ฝ่ายพลเรือน ประกอบด้วยข้าราชการส่วนกลาง และหัวเมืองโดยราชการส่วนกลางแบ่งเป็น 6 หน่วยตามประเภทงาน

คือ หน่วยดูแลชาวต่างชาติ หน่วยจัดทำทะเบียนประชากรหน่วยดูแลการค้าขาย และหน่วยทำหน้าที่เก็บเป็นต้นส่วนหัวเมืองแบ่งแคว้นเรียกว่า

เทศาแต่ละ เทศาแบ่งย่อยออกไปจนถึงหมู่บ้านตามลำดับ ผู้ปกครองเทศเรียกว่าราชาหรืออุปราชที่อาจเป็นพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ขึ้น

ตรงต่อกษัตริย์นอกจากนี้ส่วนกลางยังแต่งตั้งข้าราชการจากเมือง หลวงและหน่วยสืบราชการลับคอยสอดส่องการปฏิบัติงานของขุนนางหัว

เมืองนอกจากดูแลความสงบเรียบร้อยแล้วยังมีการ พัฒนาด้านต่างๆ การชลประทาน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ เป็นต้นรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในระยะต้นราชการ พระองค์ยังคงใช้วิธีการปกครองตามแนวของคัมภีร์อรรถศาสตร์ของฮินดู แต่เมื่อทรงเปลี่ยนมานับถือ

พระพุทธศาสนาพระองค์ทรงเปลี่ยนวิธีการปกครองโดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทาง โดยกษัตริย์มีฐานะเป็น “ ธรรมราชา’’และไม่ยึดมั่นในระบบวรรณะอย่างเคร่งครัด ดังนั้นในสมัยราชวงศ์มารยะ ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีความสามารถจึงขึ้นสู่ตำแหน่งสูง

ไดราชวงศ์กุษาณะบริหารราชการแผ่นดินคล้ายกับสมัยราชวงศ์ คุปตะ คือ กษัตริย์ทรงมีอำนาจมาก ทรงบริหารงานการปกครองโดยมี

คณะที่ปรึกษาและข้าราชการซึ่งได้รับหมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆกันการแต่ง ตั้งข้าราชการโดยมิได้มีการแบ่งแยกวรรณะหรือความ

แตกต่างทางเชื้อชาติ เนื่องกษัตริย์พระราชวงศ์นี้นับถือพระพุทธศาสนาแต่การปกครองสมัยราชวงศ ์คุปตะ ฐานะของกษัตริย์เปลี่ยน

ไปโดยได้รับการยกย่องให้เป็นสมมุติเทพ มีพระราชอาจเด็ดขาด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปกครองราษฎรให้มีความสงบสุขและกษัตริย์

ต้องประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี งาม สำหรับการบริหารราชการทั้งส่วนกลางและหัวเมืองมีรูปแบบคล้ายการปกครองสมัยราชวงศ์เมารยะ

เศรษฐกิจ

ยุคราชวงศ์เมารยะ มีความก้าวหน้าทางด้านต่างๆ คือ ด้านการเกษตรมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก รัฐจัดทำแปลงนาสาธิตเพื่อเป็นการพัฒนาผลผลิต มีการปรับปรุงชลประทานอุตสาหกรรม และการค้ามีทั้งการค้าภายในกับการค้ากับต่างชาติ ด้านการค้าภายในีการจัดขบวนการคาเป็นรูปแบบ ของกองเกวียนคาราวาน โดยรัฐจัดการให้มีการสร้างถนนเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆตามเส้นทางการค้ามีที่พัก และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ด้านอาณาจักร เปอร์เซียและอียิปตเศรษฐกิจในสมัยราชวงศ์กุษาณะขึ้นอยู่กับการกสิกรรม์เป็นส่วนใหญ่รายได้ของประเทศขึ้นอยกับผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมการค้าในสมัยคุปตะขยายตัวอย่างมากทั้งการค้าภาย

ในประเทศและการค้าต่างประเทศ มีการค้ากับเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน มีการใช้เหรียญเงินเหรียญทองเป็นเงินตรา

แลกเปลี่ยนสินค้า วัดในพระพุทธศาสนาเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง เนื่องจากกษัตริย์และเศรษฐีชอบบริจาคทรัพย์ และ

ที่ดินให้วัด วัดส่วนมากจึงร่ำรวย มีที่ดินให้เช่า มีเงินให้กู้หรือลงทุนการค้าแข่งกับสมาคมพ่อค้า

สังคมและวัฒนธรรม

– ศาสนา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นวัดและพระสงฆ์จึงได้รับกาอุปถัมภ์ ราชวงศ์กุษาณะซึ่งนับถือ พระพุทธศาสนาได้ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง (บนเส้นทางสายไหม ) ตลอดจนถึงชายแดนจีนจึงทำให้พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองขึ้น

ศิลปกรรม ยุคสมัยราชวงศ์เมารยะรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่ในสมัยคุตศิลปกรรม มีลักษณะเป็นฮินดูอย่างแท้จริง ทั้งภาพแกะสลักและภาพวาดมีลักษณะการแสดงออกของความรู้สึกที่สำรวมงามสง่า

วิทยาการ 

ความเจริญทางด้านวิทยาการแขนงอื่นๆเจริญอย่างมาก วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมีและการแพทย์ศูนย์กลางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย นาลันทาและตักศิลาและพาราณสี นักดาศาสตร์ อินเดียสามารถคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ได้ในด้านเคมีสามารถ ทำสบู่และซีเมนต์ด้านการแพทย์ได้รับการยกย่องว่ามีวิธีการและเทคนิคสูง ในการรักษาโรคโดยเฉพาะการผ่าตัด

              ความเสื่อมของยุคราชวงศ์

แม้ว่าอินเดียปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ความเสื่อมเกิดขึ้นจากการที่พระราชวงศ์มักสู้รบกันเอง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปราบปรามพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองบัลลังก์นอกจากนี้ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียยังถูรุกรานจากคนต่างชาติิต่างศาสนาดังเช่นอาหรับ เปอร์เซีย แอฟริก ปาทาน ตุรกีและมองโกล ซึ่งมีความเข้มแข็งในด้านการรบทำให้ตอนปลายของแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์อาณาจักรแตกแยกเป็นแว่นแคว้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1735 มุสลิมเชื้อสายตุรกียึดกรุงเดลลีได้มีผลให้ชาวอารยันที่เป็นชนชั้น

ผู้ปกครองอินเดียหมดอำนาจลง

พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก

ตะวันออกมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้

๑.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)
              ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่ กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์  ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม

อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมอง โกล ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีนต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักร เสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐ ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตกแยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรด ิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การฃปกครองและการศึกษา แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอด อยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง โดยถูกพวกมองโกลยึดครองกุลไลข่านชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอน ปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระราชวงศ์ ผ๔ที่ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ ขาดความสามารถประกอบกับอาณาจักรยังคงถูกรุกรานจากมองโกลและแมนจูที่อยู่ทางตอนเหนือจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง จนในที่สุ เนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน รวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้

การเมืองการปกครอง
                 สมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ.๑๑๒๔-๑๑๖๑) จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น ๖กระทรวง ได้แก่ กระทรวงข้าราชการ การคลัง ทหาร ยุติธรรม โยธา และพิธีกรรม ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออก

เป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำใหอำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมอง โกลเป็นนักรบที่เข้มแข็งสามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักรที่กว้างขวาง ดังคำกล่าวของเย หลู ชู ไฉ (พ.ศ. ๑๗๓๓-๑๗๘๗)ฉซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเจงกิสข่านจักรพรรดิแห่งมองโกล ได้กล่าวว่า”จักรวรรดิได้ถูกพิชิตบนหลังม้าจริงแต่เราไม่อาจปกครองเขา จากหลังม้าได้” ดังนั้น เมื่อกุบไลข่านซึ่งเป็นพระนัดดาของจักรพรรดิเจงกิสข่าน ตั้งราชวงศ์หยวนและขึ้นปกครองจีนได้เลียนแบบวิธีการปกครองของจีนที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถึงทำให้ยังคงมีขุนนางจีนบริหารราชการแผ่นดิน แต่ขณะเดียวกันมองโกลได้ตั้งวิทยาลัยเพื่อฝึกหัดพวกมองโกลเข้ารับราชการ ทำให้มีขุนนางสมัยราชวงศ์หยวนประกอบด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ ศาสนาราชวงศ์หมิง ซึ่งมีชาวจีนแท้ เมื่อล้มล้างอำนาจของพวกมองโกลได้แล้วจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงได้ออก กฎหมายใหม่ให้มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจีน เช่นการสอบเข้ารับราชการพลเรือนสำหรับด้านการปกครองให้มีการ แบ่งหน่วยงานออกเป็นส่วนกลาง ซึ่งได้แบ่งเป็น ๓ หน่วย คือ พลเรือน ทหาร และตุลาการ สำหรับการปกครองหัวเมืองได้แบ่งเป็นมณฑลจังหวัดและ อำเภอลดหลั่นตามลำดับ โดยจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดนสมัยนี้ยันทีซึ่งรับใช้พระราชวงศ์ฝ่ายในเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารราชการ แผ่นดินทำให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างยันทีกับขุนนาง ซึ่งเป็นสาเหตุ สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์หมิงเสื่อมลงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็น พวกแมนจูจึงได้เข้ามาปกครองจีนพวกแมนจูไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางจึงเลียนแบบการปกครองสมัย ราชวงศ์หมิงแต่ได้นำวิธีการปกครองหน่วยทหารและ หน่วยเขตการปกครองแบบแมนจู แบ่งออกเป็น๒๔ยังมีหน้าที่เก็บภาษีเกณฑ์แรงงาน ควบคุมและระดมพลเมื่อเกิดสงครามการทำสงครามนั้นแต่ละหน่วย ต่างออกสู้รบโดย มิได้ทำการบร่วมกันแม่ทัพสูงสุดที่บังคับบัญชา ในแต่ละหน่วยเป็นพวกแมนจูการปกครองแบบแมนจูทำให้การควบคุมกำลังคนเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพแต่การแบ่งกำลังออกสู้รบ ในแต่ละหน่วยโดยไม่ช่วยกันอาจได้ผลในการสู้รบแบบประชิดตัวซึ่งให้ระยะเวลาสั้นๆแต่เมื่อกองทัพจีนต้องรบกับกองทัพอังกฤษที่มีอาวุธทันสมัย ทำให้การจัดทัพด้วยวิธีนี้ไม่อาจต้านทานกองทัพอังกฤษที่เดินทางมาถึงจีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๔

ด้านเศรษฐกิจ
ในสมัยราชวงศ์สุย เมื่อจีนมีการปกครองที่มั่นคง จักรพรรดิราชวงศ์สุยจึงโปรดให้ทำการค้าติดต่อกับต่างชาติ เช่น มีการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและได้ ้ส่งทูตไปเรียกร้องบรรณ การและค้าขายกับหมู่เกาะทาง ตอนใต้ ทำให้จีนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากบรรณาการต่างๆที่นำมาถวายโดยนำมาให้หรือ แปรรูปสมัยราชวงศ์ถัง จีนเริ่มปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ชาวนามีที่ดินทำกินเพราะที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ในเมืองจีนมีจำนวนน้อยนอกจากนี้จีนยังทำการค้ากับนา นาชาติ โดยใช้เส้นทางบกไปจนถึง อินเดียเปอร์เซียและยุโรปส่วนเส้นทางทะเลจีนได้ติดต่อกับญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา ศรีวิชัยและเมืองในเกาะลูซอนทั้ง นี้เนื่องจากสินค้าประเภทผ้าไหมและภาชนะเครื่องเคลือบจีนเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ส่วนพ่อค้าต่างชาติได้นำสินค้าและพืชผลมาเผยแพร่เช่นของป่า ประเภทเขาสัตว์งาช้าง เครื่องเทศและพริกไทย นอกจากนี้ ยังมีข้าว มะกอง และหัวผักกาด เป็นต้นความเจริญทางด้านการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของ             จีนเนื่องมาถึง สมัยราชวงศ์ซ่ง โดยเฉพาะการค้าโดยพ่อค้าเอกชน ในสมัยนี้การติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ผ้าไหม เครื่องลายคราม ถ้วยชามเครื่อง เงิน ใบชา และเหรียญทองแดง สินค้าเหล่านี้เป็นที่ต้องการโดยทั่วไปขณะเดียวกันจีนได้พัฒนาเทคโนโลยการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อบรรทุกสินค้าได้มาขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนพัฒนาการค้ากับนานาชาติ ทำให้เกิดเมืองสำคัญทางตอนใต้ เช่นเมืองเซียงไฮและกวางตุ้งที่มีพ่อค้าชาวต่างชาติมาตั้งหลังแหล่ง ตามชายฝั่งเป็นต้นการค้านานาชาติเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ดังนั้นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน ทรงสนับสนุนด้านการค้าในยุคนี้การขยายไปอย่างกว้าง ขวาง มีทั้งพ่อค้ามุสลิม และพ่อค้ายุโรปมีชื่อเสียงได้แก่ มาร์โค โปโล เดินทางมาติดต่อค้าขายกับจีน นอกจากนี้ราชวงศ์หยวนยังพัฒนาระบบการคมนาคม เช่น ถนนที่เป็นเส้นทางการค้าไปยังเอเชียกลาง โดยจัดให้มีสถานีตั้งอยู่เป็นระยะสนันสนุนสมาคมพ่อค้ามุสลิมให้การค้าระหว่างจีนกับเอเชียกลางส่วน การค้าทางทะเลนั้นราชวงศ์หยวน สนับสนุนพ่อค้าจีนในเรื่องทุนและเรือสินค้า       
                สมัยราชวงศ์หมิง  มีการปรับปรุงด้านการค้าภายใน กล่าวคือ มีการประมวลพระราชบัญญัติการเก็บภาษีได้แก่ การเก็บภาษีข้าว แท่งโลหะผ้าไหม และการเกณฑ์แรงงานในด้านเงินตรา เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หยวนราชวงศ์หมิงจึงใช้อีแปะทองเหลืองแทน แต่ไม่สะดวกสิ้น เปลืองและปลอมแปลงง่าย ในที่สุดจึงคิดค้นการใช้ธนบัตร แต่เกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นกันจักรพรรดแห่งราชวงศ์หมิงได้นำอุดมการณ์ทางการเมืองมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับต่างชาติ โดยถือว่าจีนเป็นศูนย์กลางโลก และจักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ดังนั้นชาติต่างๆต้องทำการค้า กับจีนนามของรัฐ เมื่อถวายบรรณาการแบะยอมรับกฎเกณฑ์นี้แล้ว จังได้รับอนุญาตให้ค้าขายการที่ชาติต่างๆยอมรับระบบรัฐบรรณาการได้เพราะจีนเป็นตลาดค้าใหญ่ที่ทำกำไรให้กับพ่อค้าได้เป็นอย่างดี ในยุคนี้มีพ่อค้าต่างชาติมาติดต่อค้ายายกับจีนเป็นจำนวนมากราชวงศ์หมิงจึงจัดระบบการค้าใหรัดกุมยิ่งขึ้นโดยใน พ.ศ.๑๙๒๗ รัฐบาลจีนได้จัดให้มี “หนังสือสำคัญเข้าเมือง”ประเทศที่ต้องการติดต่อค้าขายกับจีนต้องนำหนังสือสำคัญเข้าเมืองมาแสดงจึงจะได้รับอนุญาตให้ทำการค้าได้สินค้าส่งออกที่สำคัญของจีนได้แก่ เครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม เครื่องสำริด เครื่องลงรัก ผ้าฝ้าย ไหมส่วนสินค้านำเข้าที่ ได้รับความนิยมเป็นสินค้าจากตะวันตกได้แก่ นาฬิกา แว่นตา แก้วผลึก ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ยาสูบต้นกระบองเพชร ส่วนสินค้าในเอเชียได้แกเครื่องเทศ สมุนไพร ไม้เนื้อแข็งที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัดชนิดพับได้จากเกาหลี เป็นต้น ในเวลาต่อมาจีนได้ออกกฎหมายห้ามชาวจีนออกนอกประเทศ เนื่องจากมีการปล้นสดมภ์ในน่านน้ำจีน และห้ามติดต่อกับชาวต่างชาติ เนื่องจากความระแวงเกี่ยวกับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจึงทำให้การค้ากับต่างชาติ   ของจีนซบเซาลง

                ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔เมื่อราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีน มีการค้ากับต่างชาติขยายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวตะวันตกบังคับให้จีน

เปิดเมืองท่าสิน ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องลงรัก หมึกจีน พลอยเทียม และชา สำหรับสินค้านำเข้า ได้แก่ ผ้าขนสัตว์ยารักษา

โรค ฝิ่น และเครื่องจักรกล ในปลายราชวงศ์ชิงมีการตั้งธนาคารแห่งชาติ เพื่อจ่ายเงินตามแบบตะวันตก

สังคมและวัฒนธรรม

– ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ  ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์
การศึกษาพระพุทธศาสนามีความก้าวหน้าดังจะเห็นได้จากการที่มีภิกษุจีนที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ดินเดียพระภิกษุที่มี

ชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษ

ุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย

ในสังคมพระสงฆ์จึงเป็นผู้มีบทบาทในด้านการศึกษาและด้านสัง คมสงเคราะห์นอกจากพระพุทธศาสนาแล้วลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟ

ูในด้านพิธีการรมเกี่ยวกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมารยาททางสังคมและสัมพันธ์ของ คนในสังคม ส่วนลัทธิเต๋ารับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเน้นในด้านความสันโดษ ความสงบของจิตใจและความกลมกลืนกับธรรมชาตความเชื่อและศาสนาในสมัยสามก๊ก

สามารถเป็นที่พึ่งพาทางใจให้กับคนจีนในยุคนั้นและในเวลาต่อมทา แต่ละสมัยซ่งได้มีการนำปรัชญาทางพระพุทธศาสนาลัทธิขงจื๊อ

และ เต๋ามารวมเป็น  “ปรัชญาขงจื๊อใหม่”ที่เชื่อว่าตัวของมนุษย์นี้มีความดีอยู่แล้ว การศึกษาหาความรเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ปรับปรุง

ตนเองไดและเข้าใจสัจธรรมคือ อริยสัจสี่เมื่อจีนถกปกครองโดยราชวงศ์หยวน ปรัชญาขงจื๊อใหม่ไม่ได้รับความนิยมจากราชสำนักเนื่อง

จากชาวมองโกลมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และพระพุทธศาสนามหายานลัทธิลามะของธิเบตซึ่งได้รับอุปถัมภ์จากราชสำนักในยุคน

ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เช่นที่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง

เพิ่มขึ้นเมืองท่าทางตอนใต้ของจีมบาทหลวงคริสต์สาสนาเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ซึ่งในระยะแรกจักรพรรดิจีนทรงต้อนรับบาทหลวงเหล่านี้

เนื่องจากมีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน

พัฒนาการทางประวัตศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา  ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม

พม่าและติมอร์ตะวันออก ในปัจจุบัน บางประเทศมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่บางประเทศเป็นประเทศที่ตั้งใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้ง

ที่สองการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางประ วัติศาสตร์ในดินแอนแห่งนี้จึงศึกษาในภาพกว้าง โดยจะอธิบายยุคอาณาจักร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เห็นพัฒนาสืบเนื่องจากยุคการสร้างสรรค์อารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงก่อนการเข้ามาของชาติตะวันตก

อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ถึง ๒๓)

               หลักฐานการศึกษาเรื่องอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดี คือ โบราณวัตถุโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จดหมายเหตุจีนราชวงศ

ต่าง ๆบันทึกชาวต่างชาติที่มาเยือนดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณตลอดจนจารึกต่างๆ

               พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากการรวมตัวของแว่นแคว้นต่างๆในภูมิภาคดังนี้              -อาณาจักรฟูนันหรือพนม  ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๒มีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณที่ราบลุ่มเหนือปากแม่น้ำ

– อาณาจักรจามปา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๒๑มีศูนย์กลางการปกครองสมัยแรกบริเวณเมืองสิงหปุระต่อมาย้าย

มาศูนย์กลางลงมาทางตอนใต้ที่เมืองวิชัยนคร

– อาณาจักรสุธรรมวดี ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีลงไปถึงทวายสันนิษฐานว่า

ศูนย์กลางการปกครองเดิมอยู่ ที่สะเทิม ต่อมาย้ายไปที่หงสาวดี ทางตอนใต้ขอ่งพม่า

– อาณาจักรเจินละ  ตั้งขึ้นเมื่อประมารณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบลุ่มน้ำโขง ทางภาคไต้ของประเทศลาว
– อาณาจักรทวารวดี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ สันนิษฐานว่ามีอาณาเขตบริวตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ตอนบ่างบริเวณเมืองนครชัยศร

– อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางปกครองเคลื่อนย้ายในบางยุคสมัย เช่นที่บริเวณเมือง

ปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา
– อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองแปรในประเทศพม่า

– อาณาจักรกัมพูชา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนครประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

การปกครอง
อาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมเป็นเพียงแว่นแคว้นแต่สามารถพัฒนาเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจ

เหนือดินแดนอื่นได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ การรับคติความเชื่อจากศาสนาฮินดูเรื่อผู้นำคือเทพเจ้าที่อวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์

นอกจากมีความเชื่อจากพระพุทธศาสนาเรื่องผู้นำที่ทำ ความดีโดยบำเพ็ญบารมีหลายชาติภพ ผู้นำในอาณาจักรโบราณ

พยายามนำความเชื่อเหล่านี้มาเสริมสร้างสถานภาพของพระองค์เสริมสร้างฐานะกษัตริย์ให้เป็นเจ้าที่สถิตย์อยู่บนภูเขาชื่อว่าพระศิวะ ทำให้มีการสร้างศิวะลึงค์เพื่อสถาปนาสถานะความเป็นเทพเจ้าความเชื่อกล่าวสั่งเสริมให้ผู้นำมีอำนาจ สูงสุด

เศรษฐกิจ
คนในอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักปลูกข้าวเพื่อรับประทานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร

ยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร

และระบายน้ำยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประ ทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร และระบายน้ำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า ต่อเรือหรืออาจเสียภาษีเป็นผลิตผลที่มีค่า เช่น เครื่องหอม ไข่มุก หรือทองคำเพื่อขอความคุ้ม

ครองเป็นการตอบแทนคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาต่อมาจึงเริ่มมีการค้าขาย

กันดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีน

สังคมและวัฒนธรรม
สังคมของอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าได้มีการพัฒนาให้กษัตริย์มีสถานภาพสูง ด้วยคติที่รับ

จากอินเดียแต่ไม่รับการ แบ่งชนชั้นแบบวรรณะของอินเดีย คงแบ่งชนชั้นแบบกว้างๆ คือชนชั้นผู้ปกครอง ชนชั้นที่อยู่ใต้การ

ปกครองที่รวมด้วยทาส

– ความเชื่อและศาสนา  ความเชื่อดั้งเดิมของคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือธรรมชาติโดยไม่เชื่อว่ามีวิญญาณที่ม

อำนา๗เหนือธรรมชาติต่างๆ สถิตอยู่แบะมีความเชื่อในชีวิตหลังการตาย ดังนั้นการรับศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือเทพเจ้าหลายองค์

จึงไม่ขัดกับความเชื่อแบบเดิม

– ภาษาและวรรณกรรม ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภาษาถิ่นมากมายและมีเรื่องเล่าในท้องถิ่นเป็นแบบตำนาน  นอกจาก

นี้วรรณกรรมต่างๆได้แก่ มหาภารตะ รามเกียรติ์และอาหรับราตรีเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

– วิทยาการและเทคโนโลยี  ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการถลุงโลหะมาตั้งแต่

สมัยก่อนประวัติศาสตรรู้จัก ชลประทาน และการเดินเรือเลียบชายฝั่ง จึงได้นำเทคโนโลยีบางประการมาใช้
– ศิลปกรรม   อาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๒๑ผลิตงานด้านศิลปะ เช่นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม

และดนตรีโดยได้รับ อิทธิพลทางด้านศาสนาและโบราณสถานนอกจากนี้ยังนิยมการแกะสลักมีทั้งภาพลอยตัวและภาพนูนต่ำ

ความเสื่อม
              อาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมสลายไปในเวลาที่ต่างกันบางอาณาจักรสลายไปโยไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก

ความเสื่อมจากภายใน เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชินอำนาจทากงการเมืองในหมู่สมาชิกมีผลให้อาณาจักรแยกออกเป็นเจินละและเจินละน้ำทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจโดยมี สามเหตุสำคัญคือ ต้องการควบคุมแหล่งทรัพยากรและกำลังคน  ความเสื่อมจากภายนอก  โดยมักเกิดจากการที่อาณาจักรถกศัตรูภายนอกโจมตรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานการค้ากับนานาชาติ

สภาพทางการเมืองการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นช่วงระยะเวลาที่ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อกับอาณาจักรต่าง ๆในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้บรรดาอาณาจักร ต่างๆในภูมิภาคนี้ได้พยายามพัฒนาดังแปลงวัฒนธรรมที่ได้รับจากภายนอกให้ผสมกลมกลืมกับวิถีชีวิต

เอเชียกลาง

ดินแดนเอเชียกลางเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ลำบากและอยู่ห่างไกลจากทะเลทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆเกิดขึ้นในบริเวณนี้น้อย ชาวนอมาดิกที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปในบริเวณนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวนอมาดิกและกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลาง เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อยๆมารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮั่นที่เข้ารุกรานยุโรป ชาวเติร์กที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา ชาวหวู่และหู่ที่โจมตีจีนและชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป

ความโดดเด่นของชาวนอมาดิกสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 รัสเซียเข้าครอบครองเอชียกลางเอบทั้งหมด เหลือแต่มองโกเลียและอัฟกานิสถานที่เป็นรัฐเอกราช แต่มองโกเลียก็เป็นรัฐบริวารรัฐหนึ่งของโซเวียต และโซเวียตพยายามเข้าครอบงำอัฟกานิสถานแต่ไม่สำเร็จ ส่วนที่ถูกโวเวียตยึดครองได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกกดขี่ เมื่อ โซเวียตสลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2534 รัฐของโซเวียตในเอเชียกลาง 5 รัฐได้เป็นรัฐเอกราช

หลักฐานทางพันธุศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์เข้าสู่เอเชียกลางเมื่อ 40,000 – 50,000 ปีมาแล้ว ถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่เก่าแก่ของมนุษย์แห่งหนึ่ง แหล่งนี้อาจเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนอพยพเข้าสู่ยุโรป ไซบีเรียและอเมริกาเหนือ คาดว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในช่วงต้นราว 4,000 ปีก่อนพุทธศักราช มีชุมชนเล็กๆพัฒนาการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรและเริ่มทำการเกษตร รวมทั้งเริ่มเลี้ยงม้าซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่เป็นอาหาร และเริ่มใช้เป็นพาหนะในอีก 500 ปีต่อมา กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อชาวนอร์มาดิก

ชาวนอร์มาดิกมีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญคือ แกะ แพะ ม้า และอูฐ นิยมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน อาศัยอยู่ในเตนท์หรือค่ายพักที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองเล็กๆในบริเวณที่ชุ่มชื้นของเอเชียกลาง เช่นการเกิดอารยธรรมบักเตรีย-มาร์เกียนา ที่มีการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันโครโนโว ในช่วงยุคสำริดที่เป็นแหล่งกำเนิดของการใช้รถม้าซึ่งอยู่ทางเหนือของไซบีเรียตะวันตก รัสเซีย และบางส่วนของคาซัคสถาน และคงอยู่มาจนถึง 457 ปีก่อนพุทธศักราช บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน และอาจจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมยูราลิกและอัลไตอิกด้วย

รวา พ.ศ. 443 นครซอกเดียกลายเป็นเมืองสำคัญและเป็นที่พักของพ่อค้าบนเส้นทางสายไหม มีประชากรที่หลากหลายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ กลุ่มของชาวนอร์มาดิกในเอเชียกลาง รวมทั้งชาวฮั่นและชาวเติร์กกลุ่มอื่นๆ ของโตคาเรีย ชาวเปอร์เซีย ชาวไซเทีย และกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนอื่นๆ และชาวมองโกลอีกจำนวนหนึ่ง

เหรียญของกษัตริย์ยูเครติเดส อาณาจักรกรีก-บักเตรีย เมื่อ 171-145 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งแต่ 2,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีรัฐขนาดใหญ่และมีอำนาจในทางใต้ของเอเชียกลาง และพยายามแผ่อำนาจเข้ามาครอบครองบริเวณนี้ จักรวรรดิเมเดียและจักรวรรดิอาแคเมนิดเคยครอบครองบางส่วนของเอเชียกลาง จักรวรรดิเซียหนูจัดเป็นจักรวรรดิแห่งแรกในเอเชียกลาง ตามมาด้วยจักรวรรดิตูเยยและจักรวรรดิมองโกลในเวลาต่อมา หลังจากสงครามจีน-เซี่ยหนู จีนเริ่มแผ่อำนาจมาทางตะวันตกจักรวรรดิเปอร์เซียและมาซีโดเนียเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียกลางโดยเข้ามาก่อตั้งเมืองและควบคุมเส้นทางการค้า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำวัฒนธรรมกรีกเข้ามาและสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย เอสชาเตเมื่อ พ.ศ. 214 ในบริเวณที่เป็นทาจิกิสถานในปัจจุบันนี้ หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 220 บริเวณที่เป็นเอเชียกลางรวมอยู่ในจักรวรรดิเซเลซูอิด ใน พ.ศ. 293 เอเชียกลางมีการตั้งอาณาจักรบักเตรียหรืออาณาจักรกรีก-บักเตรียที่มีการขยายอำนาจไปสู่อินเดียและจีนจนกระทั่งจนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจลงไปเมื่อ พ.ศ. 418 อาณาจักรอินโด-กรีกที่มีฐานที่มั่นในปัญจาบและควบคุมเขตอิทธิพลไปถึงอัฟกานิสถาน ได้พัฒนามาเป็นอาณาจักรพุทธแบบกรีก อาณาจักรกุษาณเป็นอาณาจักรที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-9 และสืบทอดวัฒนธรรมแบบพุทธและแบบกรีก อาณาจักรเหล่านี้มีอำนาจควบคุมเส้นทางสายไหมที่เชื่อมจีนกับยุโรปซึ่งต่อมาอำนาจจากภายนอก เช่น จักรวรรดิซัสซาเนียพยายามเข้ามาครอบครองเส้นทางสายนี้