การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

  • LEARNING MANAGEMENT SYSTEM - ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์

  • [email protected]

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

  • หน้าหลัก
  • กลุ่มสาระ
    • คณิตศาสตร์ (16)
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (12)
    • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (12)
    • ภาษาไทย (15)
    • ภาษาอังกฤษ (16)
  • ห้องเรียนออนไลน์
  • เข้าสู่ระบบ

ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์

โทร.-

ระบบคืออะไร (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 บทที่ 1)

  • หน้าแรก
  • ระบบคืออะไร (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 บทที่ 1)

  • 01 เม.ย. 2564
  • วิชา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 4
  • เข้าชม : 849 Views

ระบบคืออะไร (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 บทที่ 1)

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

หน้าแรกsubjectsว21181 ออกแบบและเทคโนโลยี ม.1

12/29/2563 12:56:00 หลังเที่ยง

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทเรียนออนไลน์

รายวิชาพื้นฐาน ว21181 ออกแบบและเทคโนโลยี 1

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทที่ 1

เทคโนโลยีรอบตัว

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทที่ 2

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทที่ 3

ระบบทางเทคโนโลยี

บทที่ 4

วัสดุและเครื่องมือช่างพื้นฐาน

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทที่ 5

กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

บทที่ 6

กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

การออกแบบและเทคโนโลยี ม.2 ppt

รหัสวิชา ง20258
การออกแบบและเทคโนโลยี

รายวิชาคอมพิวเตอร์

โดย ครูจิรปรียา ชัยทะ

ผลการเรียนรู้

1. เข้าใจ และ อธิบายระดับของเทคโนโลยีได้

ผลการเรียนรู้

2. อธิบายกระบวนการทางเทคโนโลยีแต่ละขั้นตอนได้

ผลการเรียนรู้

3.เข้าใจและอธิบายการออกแบบได้

ผลการเรียนรู้

4. ปฏิบัติการออกแบบโดยการถ่ายทอดความคิดเป็นภาพวาด 2 มิติ และ 3 มิติ

ผลการเรียนรู้

5.เข้าใจและอธิบายความคิดสร้างสรรค์กับกระบวนการทางเทคโนโลยี

ผลการเรียนรู้

6.ปฏิบัติการทำโครงงานออกแบบด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี

ระดับของเทคโนโลยี

แบ่งออกเป็น

3 ระดับ คือ

เทคโนโลยีแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่

  • เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน (Basic Technology)
  • เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
  • เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)

เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน (Basic Technology)

เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากธรรมชาติการใช้แรงงาน ของคนในท้องถิ่น เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ตอบสนองความต้องการระดับต้น ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาควบคู่มากับการอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น  เช่น กระต่ายขูดมะพร้าวครกตำข้าว ลอบดักปลา 

เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)

เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านมาเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากยิ่งขึ้น ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น

เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)

เทคโนโลยีระดับสูง เป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ขั้นสูง มีการใช้ระบบฐานข้อมูลและการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตลอดจนมีการศึกษาวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีระดับนี้ เช่น อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค อุปกรณ์และวิธีการในการตัดแต่งพันธุกรรมพืช ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ลักษณะของเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

ลักษณะของเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

ลักษณะของเทคโนโลยี

เทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นสิ่งของ เครื่องใช้

เทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นวิธีการ

เทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นสิ่งของ เครื่องใช้

มนุษย์ใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เทคโนโลยีประเภทนี้จะพบเห็นได้อยู่ทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์

เทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็น

วิธีการ

เทคโนโลยีประเภทนี้เกิดจากการที่มนุษย์ได้พยายามหาวิธีการใดวิธีการหนึ่งมาใช้แก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จ สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ เช่น เมื่อมีปัญหาฝนแล้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯก็ทรงคิดค้นวิธีการทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นอยู่ในขณะนี้ก็คือ"ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ก็จัดเป็นเทคโนโลยีประเภทวิธีการได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

กระบวนการทางเทคโนโลยี มีทั้งหมด

7 ขั้นตอนดังนี้

ความหมายของกระบวนการทางเทคโนโลยี

วิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”

กระบวนการทางเทคโนโลยี มีทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)

2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)

3. เลือกวิธีการ (Selection)

4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)

5. ทดสอบ (Testing)

6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)

7. ประเมินผล (Assessment)

1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)

ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ตัวอย่างปัญหาที่สนใจศึกษาในโรงเรียน

  • ปัญหาขยะขวดพลาสติก มีเยอะ

2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)

การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูล

1. วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย 5W1H

what ปัญหาคืออะไร ตอบ ขยะประเภทขวดพลาสติกมีจำนวนมาก ยากต่อการกำจัด

who ใครได้รับผลกระทบจากปัญหาบ้าง ตอบ ครู นักเรียน บุคลกรในโรงเรียน

where ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน ตอบ ในโรงเรียน

when ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอบ เมื่อมีขยะประเภทขวดพลาสติกมากยิ่งขึ้น

why เพราะเหตุใดจึงต้องแก้ปัญหา ตอบ เพื่อให้ขยะประเภทขวดพลาสติกในโรงเรียนมีปริมาณลดลง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม

how จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

ตอบ . เช่น 1. ประดิษฐ์ของเล่นจากขวดพลาสติก

2. ทำคอนโดผักไฮโดรโปนิก ด้วยขวดพลาสติก

2. หาข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาที่กำหนด

3. เลือกวิธีการ (Selection)

การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ตัวอย่างการเลือกวิธีการ

เมื่อรวบรวมข้อมูลและหาข้อสรุปของปัญหาได้แล้ว จึงมีการกำหนดแนวทางแก้ปัญหาขึ้น โดยการตั้งสมติฐานขึ้นว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น การเลือกทำคอนโดผักไฮโดรโปนิก ด้วยขวดพลาสติก

การเลือกต้องเลือกจากความคุ้มค่า ประหยัด สะดวก

สบาย ดีขึ้น และเป็นที่นิยม โดยเมื่อเลือกแล้วต้องออกแบบคอนโดผักไฮโดรโปนิกหลายๆรูปแบบ เช่น

แบบที่ 1 ใช้ขวดน้ำพลาสติกใส มาตัดแบ่งครึ่ง สำหรับปลูกผัก

แบบที่ 2 ใช้ขวดน้ำพลาสติกขวดนมทึบมาปลูกผัก

ตัวอย่างการเลือกวิธีการ

สรุปผลการวิเคราะห์

ควรจะเลือกแบบที่ 1 ใช้ขวดน้ำพลาสติกใส ที่สามารถตัดได้ง่าย คงทน และใช้งานได้ดีกว่า ลักษณะรูปทรงสวยงาม และรองรับน้ำหนักของผักเมื่อเจริญเติบโตได้ดี หาได้ง่ายและมีจำนวนมาก เพียงพอต่อการใช้งาน

4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)

การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนจากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ตัวอย่างการออกแบบและปฏิบัติการ

1. ออกแบบด้วยการวาดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติ ด้วยมือ หรือโปรแกรม

ควรวาดภาพให้สอดคล้องกับการทำงานจริง และสามารถดูแบบแล้วนำไปปฏิบัติการสร้างงานได้จริง

ตัวอย่างการออกแบบและปฏิบัติการ

2. การลงมือปฏิบัติตามตัวอย่าง

2.1 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และให้พร้อม

2.2 ปฏิบัติการขั้นตอนที่ 1 ไปจนจบ

5. ทดสอบ (Testing)

การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ตัวอย่างการทดสอบ

ผลของการทดสอบ

1. หลังการทดสอบพบว่า การใช้ขวดน้ำพลาสติก อยู่ในสภาพดีใช้งานได้คงทน

2. ระบบการหมุนเวียนน้ำ ยังมีน้ำซึมออกมาปริมาณมาก เนื่องจากท่อเวียนน้ำรั่วบางจุด

6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)

ารปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ตัวอย่างการปรับปรุง

ปรับปรุงเมื่อพบข้อผิดพลาด

ปรับปรุงระบบการหมุนเวียนน้ำ เปลี่ยนท่อเวียนน้ำใหม่ทำให้ระบบการไหลเวียนของน้ำทำงานดีขึ้น

7. ประเมินผล (Assessment)

การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างการประเมิน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ปัญหาขยะขวดพลาสติกในโรงเรียนลดลง ลดปัญหามลพิษ

2. ต้นทุนในการสร้างชิ้นงานถูก

3. สามารถใช้งานได้ดี

4. สามารถเป็นต้นแบบได้

ประโยชน์ของกระบวนการทางเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี

ผลดีต่อการทำงาน

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ

ช่วยให้การศึกษาและการกำหนดปัญหามีความชัดเจน

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล

ช่วยให้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาได้ครอบคลุม

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ

ช่วยให้ตัดสินใจเลือกแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสม

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ

ช่วยให้การสร้างชิ้นงานง่ายขึ้นและลดระยะเวลาในการสร้าง เพราะมีการออกแบบภาพร่างของการทำงาน ทำให้เห็นรายละเอียดของการทำงาน

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

ช่วยให้ทราบข้อบกพร่องของการทำงานก่อนนำไปปฏิบัติจริง

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล

ช่วยตรวจสอบผลการทำงานว่าตรงกับปัญหาหรือความต้องการหรือไม่

ใบงาน

1. ให้นักเรียนเขียน mind mapping เรื่อง ระดับของเทคโนโลยี พร้อมยกตัวอย่าง

2. ให้นักเรียนเขียน mind mapping เรื่อง กระบวนการทางเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน โดยให้บอกถึงลักษณะ ตัวอย่าง และประโยชน์ของกระบวนการทางเทคโนโลยีมาให้เข้าใจมากที่สุด

ตัวอย่างการทำงานในใบงานเรื่องการเขียน mind mapping สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกระบวนการทางเทคโนโลยี

กระบวนการทางเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน

1.กำหนดปัญหา

2....

3...

4...

5...

6...

7....