เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สสวท

เกณฑ์การให้คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

    1)  ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น โดยอาจนำเสนอในรูปแบบตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย โดยบอกเหตุผลในการเลือกการนำเสนอได้

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

 แหล่งข้อมูลที่นำมา

นำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เช่นจากการสังเกต การวัด การทดลอง และอื่น ๆ และนำมาแหล่งละหลายรายการ

นำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เช่นจากการสังเกต การวัด การทดลอง และอื่น ๆ แต่นำมาแหล่งละน้อยรายการ

นำข้อมูลมาจากน้อยแหล่ง และนำมาแหล่งละหลายรายการ

นำข้อมูลมาจากน้อยแหล่ง และนำมาน้อยรายการ

การจัดกระทำ

 ข้อมูล

จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ชัดเจน และตรงประเด็นทุกครั้ง

จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ชัดเจน และตรงประเด็นบ่อยครั้ง

จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ชัดเจน และตรงประเด็นบางครั้ง

จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ไม่ชัดเจน และไม่ตรงประเด็น

การนำเสนอข้อมูล

อธิบายเหตุผลในการเลือกการนำเสนอได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็นทุกครั้ง

อธิบายเหตุผลในการเลือกการนำเสนอได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็นบ่อยครั้ง

อธิบายเหตุผลในการเลือกการนำเสนอได้ชัดเจน และตรงประเด็นบางครั้ง

อธิบายเหตุผลในการเลือกการนำเสนอไม่อย่างชัดเจน และไม่ตรงประเด็น

  2) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

             หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปเกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยตรง  โดยเพิ่มความคิดเห็นด้วย

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

  การอธิบาย

อธิบายผลและข้อมูลได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็นทุกครั้ง

อธิบายผลและข้อมูลได้ค่อนข้างชัดเจน และตรงประเด็นบ่อยครั้ง

อธิบายผลและข้อมูลได้ค่อนข้างชัดเจน และตรงประเด็นบางครั้ง

อธิบายผลและข้อมูลได้ไม่ชัดเจน และไม่ตรงประเด็น

 การเพิ่มความเห็น

เพิ่มความเห็นข้อมูลอย่างมีเหตุผลทุกครั้ง

เพิ่มความเห็นข้อมูลอย่างมีเหตุผลบ่อยครั้ง

เพิ่มความเห็นข้อมูลอย่างมีเหตุผลบางครั้ง

ไม่เพิ่มความเห็นข้อมูล หรือมักเพิ่มความเห็นข้อมูลอย่างไม่มีเหตุผล

  3) ทักษะการตั้งสมมติฐาน

หมายถึง ความสามารถในการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามซึ่งอาจได้มาจากการสังเกต ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

การหาคำตอบ

ล่วงหน้า

พูดหรือเขียนแสดงคำตอบล่วงหน้าโดยอาศัยความรู้เดิม จากการสังเกต ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามได้อย่างสมเหตุสมผลทุกครั้ง

พูดหรือเขียนแสดงคำตอบล่วงหน้าโดยอาศัยความรู้เดิม จากการสังเกต ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามได้สมเหตุสมผลบ่อยครั้ง

พูดหรือเขียนแสดงคำตอบล่วงหน้าโดยอาศัยความรู้เดิม จากการสังเกต การใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น ตัวแปรตามได้อย่างสมเหตุสมผลบางครั้ง

พูดหรือเขียนแสดงคำตอบล่วงหน้าโดยอาศัยความรู้เดิม จากการสังเกต ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามอย่างไม่สมเหตุสมผล

  4) ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

หมายถึง ความสามารถในการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ในสมมติฐาน รวมทั้งความสามารถในการควบคุมและการเปลี่ยนค่าตัวแปร

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

การกำหนดตัวแปร

บ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมได้ถูกต้องทุกครั้ง

บ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมได้ถูกต้องบ่อยครั้ง

บ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมได้ถูกต้องบางครั้ง

บ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมไม่ถูกต้อง

บอกวิธีควบคุมตัวแปรต้นและ

ตัวแปรควบคุม

บอกวิธีควบคุมตัวแปรต้นและตัวแปรควบคุมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทุกครั้ง

บอกวิธีควบคุมตัวแปรต้นและตัวแปรควบคุมได้ถูกต้องและเหมาะสม บ่อยครั้ง

บอกวิธีควบคุมตัวแปรต้นและตัวแปรควบคุมได้ถูกต้อง และเหมาะสม บางครั้ง

บอกวิธีควบคุมตัวแปรต้นและตัวแปรควบคุม ไม่ถูกต้อง

บอกได้ว่าผลเกิดจากตัวแปรใด

บอกได้ว่าผลเกิดจากตัวแปรใดบ้างอย่างถูกต้องทุกครั้ง

บอกได้ว่าผลเกิดจากตัวแปรใดบ้างอย่างถูกต้องบ่อยครั้ง

บอกได้ว่าผลเกิดจากตัวแปรใดบ้างอย่างถูกต้องเป็นบางครั้ง

ไม่สามารถบอกได้ว่าผลเกิดจากตัวแปรใดบ้าง

  5) ทักษะการทดลอง

หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ ได้แก่ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลองรูปแบบต่าง ๆ

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

ความสามารถ

ในการออกแบบ

กำหนดวิธีการ อุปกรณ์ สารเคมี อย่างถูกต้องเหมาะสม และใช้อย่างถูกวิธีทุกครั้ง

กำหนดวิธีการ อุปกรณ์ สารเคมี อย่างถูกต้องเหมาะสม และใช้อย่างถูกวิธีบ่อยครั้ง

กำหนดวิธีการ อุปกรณ์ สารเคมี อย่างถูกต้องเหมาะสม และใช้อย่างถูกวิธีบางครั้ง

กำหนดวิธีการ อุปกรณ์ สารเคมี ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และใช้อย่างไม่ถูกวิธี

การปฏิบัติการทดลอง

ทดลองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ทันเวลา  ใช้อุปกรณ์และสารเคมีอย่างถูกต้อง คล่อง

แคล่ว และเหมาะสมทุกครั้ง

ทดลองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ทันเวลา ใช้อุปกรณ์และสารเคมีอย่างถูกต้อง   คล่องแคล่ว และเหมาะสมบ่อยครั้ง

ทดลองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ทันเวลา  ใช้อุปกรณ์และสารเคมีอย่างถูกต้องคล่องแคล่ว และเหมาะสมบางครั้ง

การทดลองไม่เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ทันเวลา  ใช้อุปกรณ์และสารเคมีไม่ถูกต้อง ไม่คล่อง และไม่เหมาะสม

การบันทึกผล

บันทึกผลคล่อง   แคล่ว ถูกต้อง และออกแบบตารางบันทึกผลที่เหมาะสมกับข้อมูลทุกครั้ง

บันทึกผลคล่องแคล่ว ถูกต้อง และออกแบบตารางบันทึกผลที่เหมาะสมกับข้อมูลบ่อยครั้ง

บันทึกผลคล่องแคล่ว ถูกต้อง และออกแบบตารางบันทึกผลที่เหมาะสมกับข้อมูลเป็นบางครั้ง

บันทึกผลไม่คล่องแคล่ว ไม่ค่อยถูกต้อง และออกแบบตารางบันทึกผลไม่เหมาะสมกับข้อมูล

  6) ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

             หมายถึง ความสามารถในการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล

ของข้อมูลเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

การแปลความหมายข้อมูล

การแปลความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทุกครั้ง

การแปลความหมายข้อมูลได้ถูกต้องเหมาะสมบ่อยครั้ง

การแปลความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบางครั้ง

การแปลความหมายข้อมูลไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม

 การใช้ทักษะอื่น 

 ในการตีความหมายข้อมูล

ใช้ทักษะอื่นในการตีความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เหมาะสมทุกครั้ง

ใช้ทักษะอื่นในการตีความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เหมาะสมบ่อยครั้ง

ใช้ทักษะอื่นในการตีความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เหมาะสมบางครั้ง

ไม่ใช้ทักษะอื่นในการตีความหมายข้อมูล

การบอก

ความสัมพันธ์

ของข้อมูล

บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้องทุกครั้ง

บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้องบ่อยครั้ง

บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างมีเหตุผลและถูกต้องบางครั้ง

บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลอย่างไม่มีเหตุผล และไม่ถูกต้อง

การสรุป

ความสัมพันธ์

ของข้อมูล

สรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างถูกต้องทุกครั้ง

สรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างถูกต้องบ่อยครั้ง

สรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างถูกต้องบางครั้ง

สรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ไม่ถูกต้อง

เกณฑ์การให้คะแนนจิตวิทยาศาสตร์

    1) ความสนใจใฝ่รู้

    หมายถึง พฤติกรรมที่เชื่อว่าการทดลองและค้นคว้าจะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาได้ มีความใฝ่ใจและพอใจใคร่จะสืบเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์และปัญหาใหม่ ๆ อยู่เสมอ

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

ความใฝ่ใจ และ

พอใจใคร่สืบเสาะหาความรู้

สืบเสาะหาความรู้อยู่เสมอ และมีความพอใจในการหาความรู้

สืบเสาะหาความรู้บ่อยครั้ง และมีความพอใจในการหาความรู้

สืบเสาะหาความรู้บ้าง และมีความพอใจบ้าง

ไม่ชอบสืบเสาะหาความรู้

ความระตือรือร้น

มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่ง

ต่าง ๆ สม่ำเสมอ

มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆบ่อยครั้ง

มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่ง

ต่าง เป็นบางครั้ง

ไม่มีความกระตือ

รือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ

การสนทนา

แลกเปลี่ยน  ซักถาม ฟัง อ่าน และสืบค้น

ชอบสนทนาแลกเปลี่ยน ซักถาม ฟัง อ่าน และสืบค้น อยู่เสมอ

ชอบสนทนาแลกเปลี่ยน ซักถาม ฟัง อ่าน และสืบค้นบ่อยครั้ง

สนทนาแลกเปลี่ยน ซักถาม ฟัง อ่าน และสืบค้นบ้างเป็นบางครั้ง

ไม่ชอบสนทนาแลกเปลี่ยน ซักถาม ฟัง อ่าน และสืบค้น

    2) ความรอบคอบ

    หมายถึง พฤติกรรมที่ยอมรับว่าความรอบคอบมีประโยชน์ เห็นคุณค่าของความรอบคอบ นำหลายวิธีการมาตรวจสอบผลหรือวิธีการทดลอง มีการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์ มีความละเอียดถี่ถ้วนในการทำงาน วางแผนการทำงานและจัดระบบการทำงาน ตรวจสอบความเรียบร้อยหรือคุณภาพของเครื่องมือก่อนทำการทดลอง และทำงานอย่างมีระเบียบเรียบร้อย

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

 การตรวจสอบผล

ตรวจสอบผลโดยใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์ทุกครั้ง

ตรวจสอบผลโดยใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์บ่อยครั้ง

ตรวจสอบผลโดยใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์บ้างในบางครั้ง

ตรวจสอบผลโดยไม่ได้ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์เสมอ

การจัดระบบ

ในการทำงาน

ทำงานอย่างเป็นระบบเสมอทำงาน

ทำงานอย่างเป็นระบบเป็นส่วนใหญ่

ทำงานอย่างเป็นระบบเป็นบางครั้ง

ไม่มีการจัดระบบในการทำงาน

ความเรียบร้อยใน

 การทำงาน

ตรวจสอบความเรียบร้อยหรือตรวจคุณภาพของเครื่องมือก่อนทำการทดลองเสมอ

ตรวจสอบความเรียบร้อยหรือตรวจคุณภาพของเครื่องมือก่อนทด ลองเป็นส่วนใหญ่

ตรวจสอบความเรียบร้อยหรือตรวจคุณภาพของเครื่องมือก่อนทดลองเป็นบางครั้ง

ไม่ตรวจสอบความเรียบร้อยหรือไม่ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนทำการทดลอง

    3) การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

    หมายถึง พฤติกรรมที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตน รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้

แย้งหรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดของตน ยอมรับการเปลี่ยนแปลง รับฟังความคิดเห็นที่ตนเองยังไม่เข้าใจและพร้อมที่จะทำความเข้าใจ และยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้และพร้อมที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

ความกล้าแสดง

ความคิดเห็น

กล้าแสดงความคิดเห็นของตนทุกครั้ง

กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเป็นบ่อยครั้ง

กล้าแสดงความคิดเห็นของตนบางครั้ง

ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของตน

การรับฟังคำ

วิพากษ์วิจารณ์

ข้อโต้แย้งหรือ

ข้อคิดเห็น

รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผลทุกครั้ง

รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผลบ่อยครั้ง

รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผลบางครั้ง

ไม่รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผล

การยอมพิจารณา

ข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้ทุกครั้ง

ยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้บ่อยครั้ง

ยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้บ้างเป็นบางครั้ง

ไม่ยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

    4) ความมีเหตุผล

    หมายถึง พฤติกรรมที่ยอมรับในคำอธิบายเมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ เห็นคุณค่าในการใช้เหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ไม่เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้แต่จะพยายามอธิบายสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล อธิบายหรือแสดงความคิดอย่างมีเหตุมีผล  หาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้น   ตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมเหตุสมผลของแนวความคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เสาะแสวงหาหลักฐานและข้อมูลจากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อสนับสนุนหรือคิดค้นคำอธิบาย และรวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอเสมอก่อนจะลงสรุปเรื่อง

 

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ควรปรับปรุง(1)

การเห็นคุณค่าใน

การใช้เหตุผล

ไม่เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทาง

วิทยาศาสตร์ได้

เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

บางครั้ง

เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

บ่อยครั้ง

เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

 การอธิบาย

 ความคิด

พยายามอธิบาย

หรือแสดงความคิด ต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล พร้อมทั้งหาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้นทุกครั้ง

พยายามอธิบายหรือแสดงความคิด ต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล  พร้อมทั้งหาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้น

บ่อยครั้ง

พยายามอธิบายหรือแสดงความคิด ต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล  พร้อมทั้งหาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้น

บางครั้ง

ไม่พยายามอธิบายหรือแสดงความคิด ต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล และไม่สนใจ  หาความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้น

การหาหลักฐาน

สนับสนุน

ตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมเหตุสมผลของแนวความคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และพยายามเสาะแสวงหาหลักฐานและข้อมูลจากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อนับสนุนหรือคิดค้นคำอธิบายทุกครั้ง

ตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมเหตุสมผลของแนวความคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และพยายามเสาะแสวงหาหลักฐานและข้อมูลจากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อสนับสนุนหรือคิดค้นคำอธิบายบ่อยครั้ง

ตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมเหตุ.สมผลของแนวความคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือ และเสาะแสวงหาหลักฐานและข้อมูลจากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อนับสนุนหรือคิดค้นคำอธิบายเป็นบางครั้ง

ไม่ตรวจสอบความถูกต้องหรือความ

สมเหตุสมผลของแนวความคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และไม่เสาะแสวงหาหลักฐานและข้อมูลจากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อนับสนุนหรือคิดค้นคำอธิบาย

การรวบรวม

ข้อมูลก่อนสรุป

รวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอทุกครั้ง ก่อนจะลงข้อสรุป

เรื่องราวต่าง ๆ

รวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอบ่อยครั้ง ก่อนจะลงสรุป

เรื่องราวต่าง ๆ

รวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอเป็นบางครั้ง ก่อนจะลงสรุปเรื่องราวต่าง ๆ

ไม่เคยรวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอ ก่อนจะลงสรุป

เรื่องราวต่าง ๆ

    5) การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

      หมายถึง พฤติกรรมที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดเป้าหมาย กำหนดกลวิธีเพื่อไปสู่เป้าหมาย และการประเมินผลงาน พร้อมที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้เข้ากันได้กับผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

 

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ควรปรับปรุง(1)

การมีส่วนร่วมใน

การตัดสินใจกำหนดเป้าหมาย กำหนด

กลวิธี การปฏิบัติงานกลุ่ม และการประเมิน

ผลงานกลุ่ม

มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกครั้ง

มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบ่อยครั้ง

มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางครั้ง

ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

มนุษยสัมพันธ์

มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นตลอดเวลา

มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่

มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบางเวลา

ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

1. หัวข้อโครงงาน

เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมทุกคนในกลุ่ม  และเป็นประโยชน์ต่อ

ผู้อื่นในท้องถิ่น

เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมทุกคนในกลุ่ม

เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมหลายคนในกลุ่ม

เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนใดคนหนึ่งในกลุ่ม

2. ข้อมูลพื้นฐาน

ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานมากพอจากหลายแหล่งข้อมูล และครอบคลุม

สามารถดำเนินงานต่อไปได้โดยไม่ติดขัด

ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานมากพอ และครอบคลุม  พอที่จะดำเนินงานต่อไปได้

ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานมากพอ ค่อนข้างครอบคลุมพอที่จะดำเนินงานต่อไปได้

ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานยังไม่มากพอที่จะดำเนินงานต่อไปได้

3. โครงร่าง

ความสำคัญ หลักการและเหตุผล ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข วัตถุประสงค์ และสมมติฐาน ในบทนำชัดเจน วิธีการดำเนินการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับสมมติฐาน และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลชัดเจน

ความสำคัญ หลักการและเหตุผล ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข วัตถุประสงค์ และสมมติฐาน ในบทนำชัดเจน วิธีการดำเนินการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับสมมติฐานและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ค่อนข้างชัดเจน

ความสำคัญ หลักการและเหตุผล ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข วัตถุประสงค์ และสมมติฐาน ในบทนำชัดเจน วิธีการดำเนินการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับสมมติฐานและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ไม่ค่อยชัดเจน

ความสำคัญ หลักการและเหตุผล ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข วัตถุประสงค์ และสมมติฐาน ในบทนำชัดเจน วิธีการดำเนินการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับสมมติฐานและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ไม่ชัดเจน

4. การดำเนินการทดลอง

ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือถูกต้องเหมาะสม  และดำเนินการตามขั้นตอน

ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือค่อนข้างถูกต้องเหมาะสม  และดำเนินการตามขั้นตอน

ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือไม่ค่อยถูกต้องเหมาะสม  และดำเนินการไม่เป็นไปตามขั้นตอน

ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือไม่ถูกต้องเหมาะสม  และดำเนินการไม่เป็นไปตามขั้นตอน

เกณฑ์

คุณภาพ

ยอดเยี่ยม(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ต้องปรับปรุง(1)

5. ผลการรวบรวมข้อมูล

ได้ข้อมูลมากพอตามที่เสนอไว้ในโครงร่าง สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลได้อย่างชัดเจน และออกแบบ

ตารางบันทึกหรือ

แปลข้อมูลเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพ  ข้าใจง่าย

ได้ข้อมูลค่อนข้างมากพอ  ตามที่เสนอไว้ในโครงร่าง  สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลได้ค่อนข้างชัดเจน และออกแบบตารางบันทึกหรือแปลข้อมูลเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพ เข้าใจ

ได้ข้อมูลค่อนข้างมากพอตามที่เสนอไว้ในโครงร่าง สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลได้ค่อนข้างชัดเจน และออกแบบตารางบันทึก ที่ดูเข้าใจยาก

ได้ข้อมูลไม่มากพอตามที่เสนอไว้ในโครงร่าง ไม่สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลได้ไม่ชัดเจน หรือออกแบบตารางบันทึกหรือแปลข้อมูลเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพ ที่ดูเข้าใจยาก

6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลจากตารางบันทึกผลเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่พิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้อย่างชัดเจน

วิเคราะห์ข้อมูลจากตารางบันทึกผลเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่พิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ค่อนข้างชัดเจน

วิเคราะห์ข้อมูลจากตารางบันทึกผลเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่พิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่ค่อยชัดเจน

วิเคราะห์ข้อมูลจากตารางบันทึกผลเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่พิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่ชัดเจน

7. รายงานฉบับสมบูรณ์

การจัดรูปเล่มพอเหมาะ เรียบร้อยบทคัดย่อกระชับ ครอบคลุม และอ่านเข้าใจง่าย บทสรุปตอบคำถามของโครงงานได้อย่างชัดเจน เอกสารอ้างอิงครบถ้วน

การจัดรูปเล่มพอเหมาะ เรียบร้อย  บทคัดย่อค่อนข้างกระชับ ครอบคลุม และอ่านเข้าใจง่าย  บทสรุปตอบคำถามของโครงงานได้ค่อนข้างชัดเจน เอกสารอ้างอิงครบถ้วน

การจัดรูปเล่มพอเหมาะ เรียบร้อย  บทคัดย่อไม่ค่อยกระชับ  ไม่ครอบคลุม และอ่านค่อนข้างเข้าใจง่าย บทสรุปตอบคำถามของโครงงานได้ไม่ค่อยชัดเจน เอกสารอ้างอิงไม่ครบถ้วน

การจัดรูปเล่มพอเหมาะ เรียบร้อยบทคัดย่อยังไม่กระชับ  ไม่ครอบคลุม และอ่านเข้าใจยาก

บทสรุปตอบคำถามของโครงงานไม่ได้   เอกสารอ้างอิงไม่ครบถ้วน

8. คุณภาพของผลงาน

น่าสนใจ  แปลกใหม่ และมีประโยชน์มาก

น่าสนใจ  แปลกใหม่ และมีประโยชน์ค่อนข้างมาก

น่าสนใจ  แปลกใหม่ และมีประโยชน์น้อย

น่าสนใจ  แปลกใหม่ และมีประโยชน์น้อยมาก